กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ป้องกันการแอบตามรอย ให้กับเครือข่าย Find My Device (unwanted Bluetooth tracking เช่น มีคนแอบใส่แท็กตามรอยไว้กับกระเป๋าหรือรถยนต์ของเรา) จำนวนสองอย่างดังนี้
- Temporarily Pause Locationผู้ใช้สามารถปิดการแสดงพิกัดของสมาร์ทโฟนได้ชั่วคราว เป็นเวลาสูงสุด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้แอบตามรอยไม่รู้ว่าเราอยู่ที่ไหน และเรามีเวลาค้นหาตัวแท็กที่แอบใส่เข้ามาเพื่อดึงออก
- Find Nearbyหากระบบมองว่าเราถูกแอบตามรอยและแจ้งเตือนให้เราทราบ เราสามารถสั่งผ่านสมาร์ทโฟนของเราเองให้ช่วยค้นหาว่า แท็กนั้นแอบซ่อนอยู่ตรงไหนได้
ที่มา - Google
Mishaal Rahman บล็อกเกอร์สาย Android ชื่อดัง ให้ข้อมูลว่ากูเกิลเริ่มปล่อยอัพเดตฟีเจอร์ป้องกันขโมยของ Android ที่ประกาศไว้ในเดือนพฤษภาคม ให้กับผู้ใช้บางส่วนแล้ว
ฟีเจอร์กลุ่มนี้เรียกว่า Android Theft Protection ประกอบด้วยฟีเจอร์ย่อย 3 อย่าง ได้แก่
Mishaal Rahman บล็อกเกอร์สาย Android ชื่อดัง โพสต์ข้อมูลว่าโซนี่เริ่มปล่อยอัพเดตเฟิร์มแวร์ให้หูฟังไร้สายของตัวเองบางรุ่น ให้รองรับ เครือข่ายตามหาอุปกรณ์ Find My Device ของกูเกิล แล้ว หูฟังโซนี่รุ่นที่เข้าข่ายได้อัพเดต คือ WF-1000XM5, WH-1000XM5, LinkBuds S
ก่อนหน้านี้ กูเกิลได้รองรับหูฟังไร้สายยี่ห้อ JBL ไปก่อนแล้ว และเครือข่าย Find My Device ยังรองรับการหาอุปกรณ์ smart tag จากหลายยี่ห้อด้วย
ข้อจำกัดของ Find My Device ของกูเกิลคือยังไม่รองรับอุปกรณ์เสริมค่ายซัมซุง ซึ่ง ใช้ระบบ SmartThings Find ของตัวเองแยกกัน
กูเกิล เพิ่มเติมเนื้อหา ในหน้าซัพพอร์ตของ Find My Device เครือข่ายช่วยตามหาอุปกรณ์แบบออฟไลน์ หลังจากมี รายงานการเปรียบเทียบ ประสิทธิภาพการระบุตำแหน่งว่ายังทำได้ไม่ดี เมื่อเทียบกับ AirTag และเครือข่าย Find My ของแอปเปิล
โดยกูเกิลยืนยันว่าการออกแบบระบบที่ใช้การรวบรวมข้อมูลเป็นค่าเริ่มต้น (aggregation by default) กล่าวคืออุปกรณ์ต้องอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอุปกรณ์ Android จำนวนมากพอจึงเริ่มส่งข้อมูลพิกัดออกมาได้ เป็นสิ่งที่เสริมความปลอดภัยกรณีถูกอุปกรณ์ตามรอยและอยู่ในพื้นที่ส่วนบุคคล ซึ่งกูเกิลเลือกแนวทางนี้ตั้งแต่ต้น ทำให้เครือข่าย Find My Device แตกต่างจากเครือข่ายอื่น
ผู้ใช้ Reddit ชื่อ chiselplow เปิดเผยว่าทดลองเปรียบเทียบการทำงานของ Apple AirTag กับป้ายติดตามค่าย Android ที่ใช้ เครือข่าย Find My Device ของกูเกิล (เพิ่งเริ่มเปิดบริการเมื่อเดือนเมษายน) โดยนำป้าย AirTag กับ ป้ายยี่ห้อ Pebblebee ใส่กล่องพัสดุเดียวกัน แล้วส่งพัสดุทางไปรษณีย์ให้ญาติที่อยู่รัฐอื่น เพื่อติดตามดูว่าเครือข่ายค้นหาอุปกรณ์แต่ละค่ายสามารถทำงานได้ดีแค่ไหน
Motorola เปิดตัว Moto Tag ป้ายติดตามอุปกรณ์ ที่รองรับเครือข่าย Google Find My Device สามารถเชื่อมต่อได้ทั้ง Bluetooth และ Ultra Wideband (UWB)
ตัวป้ายยังมีปุ่มกดที่ตั้งค่าได้เอง ค่าดีฟอลต์คือกดแล้วสมาร์ทโฟนจะส่งเสียงเพื่อให้ตามหาได้ง่าย หรือจะตั้งปุ่มเป็นรีโมทสำหรับถ่ายภาพจากกล้องมือถือก็ได้เช่นกัน
ฮาร์ดแวร์ Moto Tag กันน้ำกันฝุ่น IP67 และใช้แบตเตอรี่แบบ CR2032 อยู่ได้นาน 1 ปี ถอดเปลี่ยนได้ง่ายด้วย ราคาตัวละ 29 ดอลลาร์
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยให้กับระบบปฏิบัติการ Android โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะ Android 15 ที่เพิ่งออกอัปเดต Beta 2 เป้าหมายเพื่อปกป้องอุปกรณ์กรณีที่ถูกขโมย
กูเกิลประกาศเปิดเครือข่าย Find My Device ตามหาอุปกรณ์หายแบบออฟไลน์ ตามที่แจ้งไว้ก่อนหน้านี้ โดยเริ่มจากในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาก่อน
Find My Device สามารถตามหาสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแอนดรอยด์ได้แม้ไม่ต่อเน็ต เพราะใช้เครือข่าย Bluetooth แบบ mesh ของอุปกรณ์ที่กระจายตัวทั่วโลก (ลักษณะเดียวกับ Find My ของแอปเปิลที่มีตั้งแต่ปี 2019 ) ในกรณีของ Pixel 8 และ Pixel 8 Pro ยังมีฮาร์ดแวร์พิเศษที่ตามรอยได้แม้ปิดเครื่องหรือแบตหมดด้วย
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2023 กูเกิลประกาศบริการ Find My Device ตามหาอุปกรณ์ต่างๆ แบบออฟไลน์ โดยใช้พลังเครือข่าย Bluetooth ของอุปกรณ์ Android ทั่วโลก ลักษณะเดียวกับ Find My ของแอปเปิล
อย่างไรก็ตาม แผนการของกูเกิลถูกเลื่อนออกไป เพราะต้องการร่วมมือกับแอปเปิล ทำระบบรักษาความเป็นส่วนตัว ป้องกันผู้ใช้จากการถูกตามรอย (unwanted tracker detection) ได้ด้วย (ฝั่ง Android มีแต่แรกแล้ว ต้องรอฝั่ง iOS รองรับก่อน)
Google ประกาศผ่านบล็อกว่าจะชะลอการ ปล่อยฟีเจอร์แจ้งเตือนหากมี AirTag ถูกติดตามตัว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Find My Device ออกไปก่อน จนกว่า Apple ยืนยันสเปคกลาง และเริ่มใช้ฟีเจอร์นี้ใน iOS เพื่อปกป้องผู้ใช้งานจากการติดตามตำแหน่งที่ไม่ต้องการ
แม้ว่า Find My Device จะเป็นฟีเจอร์ที่มีประโยชน์มาก แต่เป็นฟีเจอร์ที่เปิดการติดตามตำแหน่งที่ผู้ใช้งานไม่ต้องการด้วย ตัวอย่างเช่น มีคนจงใจทิ้งผลิตภัณฑ์ที่มีเครือข่าย Find My Device ในกระเป๋าของผู้ใช้ แล้วสามารถติดตามตำแหน่งของคุณผ่านผลิตภัณฑ์นั้นได้
กูเกิลประกาศว่าคุณสมบัติการแจ้งเตือน หากถูก AirTag หรืออุปกรณ์แทร็กเกอร์บลูทูธอื่นติดตามโดยไม่รู้ตัว จะเริ่มใช้งานได้ผ่าน Find My Device ที่อัพเดตใน Android 6.0 ขึ้นไป เริ่มตั้งแต่วันนี้
ฟีเจอร์ดังกล่าว กูเกิลประกาศตั้งแต่งาน Google I/O เมื่อเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นความร่วมมือกับแอปเปิล เพื่อออกรูปแบบการตรวจจับ การแจ้งเตือน หากมีการใช้ AirTag หรืออุปกรณ์บลูทูธติดตามประเภทเดียวกันอย่างไม่พึงประสงค์
Find My Device จะแจ้งเตือนหากตรวจพบอุปกรณ์บลูทูธที่ไม่รู้จักติดตามผู้ใช้งานอยู่ สามารถกดดูข้อมูลเส้นทางแผนที่ซึ่งอุปกรณ์นี้ติดตามกับผู้ใช้งานได้ สามารถกดดูข้อมูลเลขซีเรียลหรือชื่อเจ้าของ (หากระบุ) สั่งให้อุปกรณ์ส่งเสียงเพื่อค้นหา
จากการ ประกาศความร่วมมือระหว่าง Apple และ Google เพื่อออกข้อกำหนดสำหรับการใช้ Bluetooth Tracker อย่างไม่เหมาะสม ในงาน Google I/O เมื่อคืนที่ผ่านมา Google ก้ประกาศว่า Android จะสามารถตรวจจับ AirTag หรือ Bluetooth Tracker ที่ไม่มีเจ้าของและถูกนำมาติดตัวผู้ใช้งานได้แล้ว
Unknown Tracker Alert จะเป็นส่วนหนึ่งของแอป Find My Device โดยเมื่อสมาร์ทโฟนตรวจจับ Bluetooth Tracker ที่น่าสงสัย จะเด้งแจ้งเตือน และเมื่อกดเข้า Find My Device ก็จะแสดงแผนที่พร้อมเส้นทางที่ Tracker ติดตัวเรามา โดยมีตัวเลือก Play Sound ให้ตัว Tracker ส่งเสียงเพื่อค้นหาด้วย
กูเกิลมีบริการตามหาอุปกรณ์ Find My Devices มานานพอสมควรแล้ว ( เริ่มปี 2013 ชื่อเดิมคือ Android Device Manager ) แต่ช่วงหลังๆ อาจไม่ได้มีฟีเจอร์ใหม่มากนัก เมื่อเทียบกับ Find My ของฝั่งแอปเปิล ที่รองรับการหาอุปกรณ์แบบออฟไลน์มาตั้งแต่ปี 2019
ปีนี้กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์แบบเดียวกันให้ Find My Devices ดังนี้
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ใหม่ให้ Google Assistant สามารถตามหามือถือที่วางลืมทิ้งไว้ได้แล้ว ที่สำคัญคือใช้กับอุปกรณ์ iPhone/iPad ได้ด้วย
กรณีที่ใช้ Android และเปิดใช้ฟีเจอร์ Find My Device อยู่แล้ว สามารถพูด "Hey Google, find my phone" หรือ “ring my phone” ได้ทันที โทรศัพท์จะส่งเสียงดังแม้เปิดโหมด do not disturb ไว้ก็ตาม
ส่วนกรณีที่เป็น iOS ผู้ใช้ต้องตั้งค่าแอพ Google Home อนุญาตให้แสดงข้อความแจ้งเตือน และเปิดค่า critical alert ในหน้า Settings ของ iOS ก่อนถึงใช้งานได้ - วิธีการอย่างละเอียด
หลัง Google โชว์ฟีเจอร์ใหม่ที่จะเพิ่มใน Fast Pair (ระบบเชื่อมต่ออุปกรณ์ Bluetooth ของแอนดรอยด์) ไปในงาน I/O เมื่อ เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ล่าสุด Google เพิ่มฟีเจอร์เหล่านี้ให้กับ Fast Pair อย่างเป็นทางการ หลังเปิดตัว Pixel Buds 2
ฟีเจอร์ Find Device ช่วยผู้ใช้ค้นหาหูฟัง โดยกดให้หูฟังข้างซ้ายหรือขวาส่งเสียงได้ และสามารถติดตามตำแหน่งล่าสุดของหูฟัง ในแอป Find My Device ได้ หากผู้ใช้เปิด Location History ไว้
Google ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ Fast Pair ระบบเชื่อมต่ออุปกรณ์ Bluetooth ที่ใช้งานง่ายและเร็วสามอย่าง คือ Find My Device, แสดงรายละเอียดของอุปกรณ์มากขึ้น และเพิ่มฟีเจอร์ให้รองรับหูฟัง True Wireless
ฟีเจอร์สำคัญในรอบนี้ คือ Find My Device โดยอุปกรณ์ที่จับคู่ผ่าน Fast Pair จะปรากฏในแอปและเว็บของบริการค้นหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ของ Google ที่ชื่อว่า FInd My Device ด้วย ซึ่งจะแสดงข้อมูลว่าอุปกรณ์ที่ต่อ Bluetooth นี้ถูกใช้งานครั้งสุดท้ายที่ไหนและเมื่อไร พร้อมปุ่มสั่งให้ยกเลิกการจับคู่หรือสั่งให้เสียงอุปกรณ์ส่งเสียงขึ้นมาในกรณีที่อุปกรณ์อยู่ใกล้ ๆ
กูเกิลเปิดตัว Android Device Manager บริการให้ผู้ใช้ค้นหาอุปกรณ์ที่ลืมหรือถูกขโมยไป และแสดงตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์บนแผนที่ รวมถึงสั่งให้อุปกรณ์ส่งเสียงเรียกร้องความสนใจจากคนโดยรอบ และสั่งลบข้อมูลจากระยะไกลได้
กูเกิลจะเปิดให้บริการ Android Device Manager (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริการ Google Play) ในเดือนนี้ เครื่องต้องรัน Android 2.2 เป็นต้นไปจึงจะสามารถใช้บริการนี้ได้ และในอนาคตจะมีแอพบนอุปกรณ์พกพาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ได้สะดวกอีกด้วย