วันศุกร์ที่ 27 ส.ค. Cyberspace Administration of China หรือหน่วยงานควบคุมอินเทอร์เน็ตในจีนประกาศแบนการจัดอันดับความนิยมคนดังรวมถึงไอดอล โดยมีประเด็นเริ่มมาจากข่าวคราวเสียหายของดาราจีนเช่น Zheng Shuang โดนข้อหาหลบเลี่ยงภาษี และ Kris Wu ในข้อหาข่มขืน นอกจากนี้ยังห้ามจัดกิจกรรมส่งเสริมการโปรโมทไอดอลทุกรูปแบบ
วันที่ 6 ส.ค. ที่ผ่านมา ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บังคับใช้ข้อกำหนดที่ห้ามเสนอข่าวที่ทำให้ประชาชนหวาดกลัวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
วันนี้ (10 ส.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ระบุว่านายกรัฐมนตรี ออกข้อกำหนดให้ยกเลิก ตามข้อกำหนดมาตร 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 29)
จากประเด็นอินเดียออกกฎควบคุมเนื้อหาบนโซเชียลมีเดียเข้มงวดขึ้น บังคับบริษัทโซเชียลต้องดำเนินการตามคำขอทางกฎหมายอย่างรวดเร็ว เพื่อลบโพสต์และเปิดเผยว่าเนื้อหามาจากไหน ซึ่งกดดันบริษัทโซเชียลมีเดียอย่างมาก
ล่าสุด ทวิตเตอร์ ยอมทำตามกฎใหม่ แต่งตั้ง Vinay Prakash หรือผู้ที่จะมารับเรื่องร้องเรียนเพื่อปฏิบัติตามกฎไอทีใหม่ในประเทศ บังคับต้องเป็นคนอินเดียเท่านั้น และต้องจัดทำ "รายงานเพื่อความโปร่งใส" เกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียนจากผู้ใช้ในอินเดียระหว่างวันที่ 26 พ.ค.-25 มิ.ย. 2021 ตามข้อกำหนดอื่นภายใต้กฎหมายไอทีฉบับใหม่ด้วย
Reuters รายงานว่า YouTube ลบวิดีโอตีแผ่การละเมิดสิทธิมนุษยชนในชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นวิดีโอจากช่อง Atajurt Kazakh Human Rights โดยเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ช่องดังกล่าวถูกบล็อกเนื่องจากละเมิดหลักเกณฑ์ของ YouTube ตามภาพหน้าจอที่ Reuters ตรวจสอบ ผู้ดูแลช่องได้ร้องเรียนการบล็อกวิดีโอทั้งสิบสองรายการไปยัง YouTube ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน โดยมีบางรายการที่ YouTube คืนสถานะให้
วันที่ 8 มิถุนายน นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ไปพิจารณาดูข้อกฎหมายและศึกษากฎระเบียบการออกกฎหมายเพื่อควบคุมเนื้อหาในสื่อออนไลน์และการนำเสนอในโซเชียลมีเดีย
นายอนุชา บอกเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ใช้เวลานานในการฟ้องร้องดำเนินคดีไม่ทันการต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยคำสั่งการนี้ไม่ใช่ให้ไปเขียนกฎหมาย แต่ให้ไปศึกษากฎหมายจากต่างประเทศ โดยประยุทธ์ยกตัวอย่างประเทศอินเดียที่มีกฎหมายดูแลเรื่องนี้อย่างชัดเจน
วันจันทร์ที่ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจอินเดียเข้าตรวจสอบสำนักงานทวิตเตอร์ทั้งสองแห่ง ถามหาเหตุผลเพิ่มจากการที่ทวิตเตอร์คาดป้ายกำกับในโพสต์ของโฆษกรัฐบาล ว่าเป็นสื่อที่ถูกควบคุมหรือ “manipulated media” แต่ในขณะที่เข้าไปสำนักงานนั้นไม่มีพนักงานทำงานอยู่ เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด
ล่าสุด ทวิตเตอร์ออกมาแสดงความกังวลต่อท่าทีคุกคามของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และกังวลเรื่องความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับพนักงานทวิตเตอร์ในอินเดีย ระบุว่า กังวลเกี่ยวกับการใช้กลวิธีการข่มขู่โดยตำรวจ จากการที่ทวิตเตอร์บังคับใช้ข้อกำหนดซึ่งใช้งานในทั่วโลก
Reuters รายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าวเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงใน Facebook ไม่ประสงค์เผยนาม ว่า รัฐบาลเวียดนามขู่แบน Facebook หากไม่ยอมเซนเซอร์เนื้อหาต่อต้านรัฐบาล
เว็บไซต์ The Register รายงานว่าจีนบล็อกเว็บไซต์สอนเขียนโค้ดสำหรับเด็ก Scratch โดยมีผู้ใช้งานในจีนพบว่าพวกเขาเข้าใช้งานเว็บไซต์ไม่ได้ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สาเหตุที่บล็อกนั้นไม่ชัดเจน แต่คาดว่าน่าจะมาจากวิดีโอที่โพสต์ในฟอรั่ม มีเนื้อหาไม่เห็นด้วยกับกฎหมายความมั่นคงใหม่ในฮ่องกง
Minecraft ไม่เพียงแค่เป็นพื้นที่ปลดปล่อยจินตนาการของเกมเมอร์ทุกวัย แต่ยังเป็นพื้นที่แสดงความเสรีทางข้อมูลข่าวสาร โดยองค์กรด้านข่าวสารไม่แสวงหาผลกำไร Reporters Without Borders ร่วมกับสตูดิโอดีไซน์ BlockWorks สร้าง Uncensored Library ในเกม Minecraft เป็นห้องสมุดดิจิทัลไว้เก็บบทความที่ถูกเซนเซอร์โดยรัฐบาลบางประเทศ เช่น เวียดนาม เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย ที่ไม่อยากให้ประชาชนของตัวเองได้เห็นข้อมูลเหล่านี้
สาเหตุที่ Reporters Without Borders เลือก Minecraft เพราะเป็นที่นิยมใช้งานไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่มีการจำกัดข้อมูลข่าวสาร และยังเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่ถูกจับตามองโดยรัฐบาล
เว็บไซต์ VICE รายงานว่า รัฐบาลจีนกำลังเพ่งเล็งตัวบุคคลที่วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลผ่านเรื่องไวรัสโคโรน่าหรือ COVID-19 บนโซเชียลมีเดียไม่ว่าจะเป็น WeChat และ Twitter บางรายถึงกับมีเจ้าหน้าที่มาหาถึงประตูบ้านเลยทีเดียว
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี โพสต์ Facebook เผยว่าได้ไปเยือน Facebook ที่สหรัฐฯ และได้ไปหารือเรื่องมาตรการจัดการกับข่าวปลอม ข้อมูลปลอม หรือเพจที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม ผิดกฎหมาย และยังย้ำด้วยว่าเรื่องเหล่านี้เป็น "ปัญหาหนักของประเทศไทย"
รัฐบาลอินเดียปิดการใช้งานอินเทอร์เน็ตในเชตแคชเมียร์และจัมมูมาเป็นเวลาเกือบ 6 เดือนแล้ว หลังรัฐบาลอินเดียเพิกถอนบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่มอบสถานะพิเศษให้แก่ดินแดนแคชเมียร์ จนศาลสูงสุดสั่งให้รัฐบาลทบทวนมาตรการแบนอินเทอร์เน็ต เพราะถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
ล่าสุด รับาลกู้คืนอินเทอร์เน็ตให้ใช้บางส่วนแล้ว โดยยังจำกัดเฉพาะเครือข่ายบรอดแบนด์ที่ใช้ในสถานประกอบการ เช่น โรงพยาบาล โรงแรม ธนาคาร คนที่อาศัยในหุบเขาก็จะสามารถใช้งาน 2G ได้แล้ว แต่ไม่ใช่ทุกเว็บไซต์ที่ใช้งานได้ โซเชียลมีเดียยังคงถูกบล็อกต่อไป รัฐบาลระบุว่าจะตั้งเครื่องกระจายสัญญาณเน็ต 400 จุดให้นักท่องเที่ยวด้วย
รัฐบาลอินเดียปิดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในแคว้นแคชเมียร์มาหลายเดือนแล้ว ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลอินเดียเพิกถอนบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่มอบสถานะพิเศษให้แก่ดินแดนแคชเมียร์
ล่าสุดศาลสูงสุดอินเดียตัดสินว่าการปิดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นผิดกฎหมาย และต้องทบทวนมาตรการใหม่ และต้องมาพร้อมกับการนำพยานหลักฐานที่จะได้รับผลกระทบหากเปิดให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตมาให้การต่อศาล
Ladakh Times สำนักข่าวท้องถิ่นของอินเดีย เผยเอกสารที่ระบุว่าตำรวจแคชเมียร์ (ดินแดนทางตอนเหนือของอินเดีย) แนะนำให้คนที่เป็นแอดมินกลุ่มแชทใน WhatsApp มาลงทะเบียนที่สถานีตำรวจที่อยู่ใกล้ที่สุด เป้าหมายคือควบคุมข้อความแสดงความเกลียดชัง และข้อมูลเซนซิทีฟที่เป็นภัยคุกคามความสงบเรียบร้อย และยังบอกด้วยว่าแอดมินต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่แชร์ลงกลุ่ม ทั้งๆ ที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ
รัสเซียมีมาตรการควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศอย่างเข้มข้น ล่าสุดรัฐบาลยืนยันแล้วว่า ได้ทดสอบการตัดอินเทอร์เน็ตในประเทศออกจากโลกภายนอก และทดสอบด้วยว่าเมื่อตัดแล้ว คนในประเทศจะยังใช้อินเทอร์เน็ตได้หรือไม่ ซึ่งทดสอบไปแล้วกลายขั้นตอน และมีกรบังคับให้ผู้ให้บริการต่างๆ ในรัสเซียทั้งโอเปอเรเตอร์ ผู้ให้บริการอีเมล ต้องเข้าร่วมการทดสอบด้วย
การตรวจสอบได้ดำนินไปในระยะเวลาหลายวันก่อนหน้านี้ เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายที่รัสเซียออกกฎมาเพื่อตอบโต้กับสหรัฐฯ ซึ่งรัสเซียมองว่า เป็นยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางไซเบอร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกาที่มีลักษณะก้าวร้าว
ตุรกีออกกฎให้ผู้ให้บริการคอนเทนต์ออนไลน์ทุกแห่งต้องมาขอใบอนุญาตให้ออกอากาศจาก RTUK หน่วยงานควบคุมสื่อของตุรกีกฎใหม่กระทบเว็บไซต์คอนเทนต์ต่างๆ ทั้งข่าว,หนัง ทั้งในและนอกประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ Netflix
Financial Times รายงานว่า วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียลงนามในกฎหมายควบคุมอินเทอร์เน็ต ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในรัสเซียสามารถตัดขาดการเชื่อมต่อจากเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ และระบุให้มีการสร้างระบบโดเมนระดับประเทศ ซึ่งจะทำให้ประเทศสามารถออนไลน์ได้หากถูกตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตทั่วโลก โดยกฎหมายจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤศจิกายนปีนี้
กฎหมายนี้จะเพิ่มการใช้อำนาจรัฐควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนในชาติมากขึ้นไปอีก จากเดิมที่บล็อคเว็บไซต์ จำกัดการใช้งาน VPN การแชร์เนื้อหาสุ่มเสี่ยงก็สามารถติดคุกได้ เป็นต้น
Henry Silverman ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการใน Facebook เผยทิศทางการต่อสู้กับข่าวปลอม ข้อมูลปลอมของ Facebook หลังจากนี้ว่าจะต้องขอคำแนะนำและทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญภายนอกในการแก้ไขปัญหานี้
Google ยังเจอการประท้วงต่อเนื่องหลังเหตุการณ์ล่าสุดที่พนักงานออกมาประท้วงว่า Google ปกป้อง Andy Rubin แม้เขาจะทำผิดร้ายแรง ล่าสุดมาที่เรื่อง Dragonfly หรือบริการเสิชในจีนที่ทำโดย Google ซึ่งเป็นบริการค้นหาที่ Google ทำโดยยอมเซนเซอร์ข้อมูลตามแนวทางรัฐบาลจีน แม้จะยังไม่มีผู้บริหารคนไหนใน Google ออกมาพูดเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ
กลุ่มพนักงาน Google ยังร่วมมือกับ Amnesty International ในการประท้วงครั้งนี้ด้วยเพราะบริการดังกล่าวกระทบสิทธิมนุษยชน กลุ่มผู้ประท้วงบอกว่า นี่ไม่เกี่ยวกับการที่บริการนี้ไปเปิดในจีน แต่จุดยืนคือ คัดค้านเทคโนโลยีที่กดขี่และเป็นภัยกับผู้คน ไม่ว่ามันจะไปเกิดขึ้นที่ไหนก็ตาม
Sina Weibo เว็บไซต์ไมโครบล็อกของจีนกลับลำการตัดสินใจก่อนหน้าที่เคยสั่งแบนคอนเทนต์เกย์ไป เนื่องจากมีแรงต่อต้านจากผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก
Weibo ประกาศผ่านโพสต์บนเว็บไซต์ โดยยืนยันว่าตอนนี้ได้ยกเลิกการแบนคอนเทนต์เกย์แล้ว แต่ในการแบนเรื่องอื่นอย่างเช่นภาพโป๊หรือความรุนแรงนั้นจะยังคงดำเนินต่อไป โดยทางบริษัทขอขอบคุณสำหรับการสนทนาและเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นนี้
ก่อนหน้านี้ Weibo สั่งแบนคอนเทนต์ต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงคอนเทนต์ประเภทเกย์ด้วย ไปจนทำให้มีแฮชแท็ก #iamgay และ #iamgaynotapervert ซึ่งในภายหลัง Weibo ก็สั่งแบนต่อด้วยเช่นกัน โดยในครั้งนั้น Weibo แบนเนื้อหาที่ผิดกฎหมายไปแล้วกว่า 56,000 ชิ้น และปิดบัญชีผู้ใช้ไปแล้ว 108 ราย
นับวัน จีนยิ่งมีมาตรการคุมเข้มทางวัฒนธรรมบนโลกดิจิทัลเข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลจีนก็ แบนเว็บไซต์ขายคัมภีร์ไบเบิล ล่าสุด Weibo หรือ Twitter ของจีน ทำแคมเปญ clean-up กำจัดเนื้อหาที่สุ่มเสี่ยงและผิดกฎหมายจีน ไม่ว่าจะเป็นมังงะญี่ปุ่น เนื้อหาเกย์ เนื้อหาโป๊ รวมทั้งเนื้อหาเกมรุนแรงด้วย เช่น Grand Theft Auto
จากมาตรการดังกล่าวของแพลตฟอร์มสร้างความไม่พอใจให้ชาวเน็ต ต่างพากันสร้างแฮชแท็ก I am gay ที่มีการใช้ไปกว่า 170,000 ครั้ง ก่อนที่ Weibo จะแบนออก มีข้อความจากชาวเน็ตบอกด้วยว่า ไม่น่าเชื่อที่ประเทศจีนมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ แต่มาตรการดังกล่าวทำให้รู้สึกเหมือนย้อนกลับไปยังยุคศักดินา
แพลตฟอร์ม Weibo เปรียบได้กับทวิตเตอร์จีน แบนคำค้นหาบางคำเพิ่มเติมเช่น คำอวยพรเจริญหมื่นปี, ไม่มีวันตาย และแบนตัวอักษร N ด้วย คาดเป็นมาตรการรัฐบาลจีนหลังเจอกระแสต่อต้านความพยายามอยู่ยาวของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แก้รัฐธรรมนูญจีน ตัดประโยค "ห้ามผู้นำดำรงตำแหน่งเกินสองสมัย" ออกไป เท่ากับเป็นการเปิดทางให้ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง อยู่ในตำแหน่งยาว หลังจากนั้นก็เกิดกระแสต่อต้านในอินเทอร์เน็ต Victor Mair ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียระบุว่า การแบนคำ คีย์เวิร์ดและตัวอักษรใน Weibo เพิ่มเติมนั้น เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังมีกระแสออนไลน์วิจารณ์รัฐบาลที่แก้รัฐธรรมนูญ
สำหรับรายชื่อคำถูกแบนเพิ่มเติม ที่รวบรวมโดยเว็บไซต์ China Digital Times มีดังนี้
ประเทศจีนมีนโยบายควบคุมเนื้อหาออนไลน์เคร่งครัด และเคร่งครัดมากขึ้นเมื่อสี จิ้นผิง เป็นผู้นำสูงสุด เราจึงได้ยินข่าวจีนบล็อกเว็บไซต์บ่อยครั้ง ล่าสุดมีตัวเลขออกมาแล้วคือตั้งแต่ปี 2015 จนถึงตอนนี้ รัฐบาลจีนบล็อกเว็บผิดกฎหมายไปแล้วถึง 13,000 เว็บไซต์ และบล็อกบัญชีผู้ใช้ตามโซเชียลและเว็บไซต์ถึง 10 ล้านบัญชี
คณะกรรมการประจำสภาประชาชนแห่งชาติ หรือ Standing Committee of the National People's Congress ออกมารายงานตัวเลขเว็บไซต์ที่รัฐบาลบล็อก และยังระบุเพิ่มด้วยว่า ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน รัฐบาลเรียกคุยผู้ทำเว็บไซต์ไม่น้อยกว่า 2,200 เว็บ
ข้อมูลที่ Reuters ได้รับจาก Xinhua ระบุว่ามีข้อมูลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจีน โดย 90% เห็นด้วยกับแนวทางรัฐบาลปิดกั้นเนื้อหาออนไลน์ 63.5% ระบุว่าเนื้อหาออนไลน์ในระยะหลังนี้มีความรุนแรงทางเนื้อหาลดลง
Freedom House องค์กรสิทธิมนุษยชนในสหรัฐฯ ทำรายงานเสรีภาพสื่อออกมาเป็นประจำทุกปี ส่วนหนึ่งของรายงานในปี 2017 มีพูดถึงเรื่องข่าวปลอมออนไลน์ โดยชี้ให้เห็นว่าข่าวปลอมไม่ได้มีเพียงสหรัฐฯ เท่านั้นที่เจอปัญหา แต่มีอีกหลายประเทศ
ข่าวปลอมฝั่งสหรัฐฯ มีความเป็นไปได้สูงว่าเป็นการแทรกแซงจากภายนอก แต่ในหลายประเทศพบว่าเป็นข้อมูลปลอมที่เกิดขึ้นจากการจัดทำภายในประเทศเอง หรือแม้แต่เป้นข้อมูลที่ทำขึ้นโดยกลุ่มสนับสนุนรัฐบาล โดยปี 2017 มีถึง 30 ประเทศ (นับจาก 65 ประเทศที่มีเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ต) สูงที่สุดนับตั้งแต่ทำรายงานมา
ยังคงเป็นข้อถกเถียงว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ซึ่งมีสถานะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะสามารถบล็อคผู้ใช้รายอื่นบนทวิตเตอร์ได้หรือไม่ เพราะข้อมูลที่เผยแพร่จากประธานาธิบดีควรเป็นข้อมูลสาธารณะห้ามปิดกั้นการเข้าถึง ก่อนหน้านี้มีกรณีฟ้องร้องไปแล้ว คือ สถาบัน The Knight First Amendment จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ฟ้องโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ไล่บล็อคผู้ใช้ทวิตเตอร์รายอื่น กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการเข้าถึงข้อมูล ล่าสุดหน่วยงานรัฐออกมาโต้แล้วว่า คำสั่งศาลไม่มีอำนาจในการบังคับการใช้งานทวิตเตอร์ส่วนตัวของทรัมป์ หรือ @realDonaldTrump ได้