AIS ย้ำวางโครงข่ายภาคเหนือครอบคลุมหลากหลายภูมิศาสตร์ รับท่องเที่ยวช่วงพีกหน้าหนาว ตอบโจทย์คนทุกกลุ่ม
ภาคเหนือของประเทศไทยถือเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายของผู้ใช้งานโครงข่ายโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริโภคทั่วไป Digital Nomad กลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่าพื้นเมือง แรงงานต่างชาติ และภาคธุรกิจบริการ ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหารในพื้นที่สูงหรือพื้นที่ห่างไกล ซึ่งใช้งานโครงข่ายด้วยหลากหลายจุดประสงค์
ทว่าภูมิภาคนี้ก็ยังมีความท้าทายสำคัญ นั่นคือภูมิศาสตร์ที่มีความท้าทายในการขยายสัญญาณให้ครอบคลุมพื้นที่และประชากร ซึ่ง AIS ได้ขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในพื้นที่ภาคเหนือต่อเนื่อง เพื่อรองรับช่วงพีกการท่องเที่ยวของภาคเหนือในช่วงฤดูหนาว และผลักดัน Digital Inclusion เพื่อสร้างการเติบโตระยะยาว
Cloudflare เผยแพร่รายงานประจำปี 2024 Cloudflare Radar Year in Review เพื่อนำเสนอภาพรวมและแนวโน้มที่น่าสนใจของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตลอดปีที่ผ่านมา
ทราฟิกอินเทอร์เน็ตในปี 2024 มีปริมาณเพิ่มขึ้น 17.4% จากปีก่อน โดยบริการในเครือ Google มีส่วนแบ่งรวมมากที่สุด, OpenAI สูงสุดในกลุ่ม Generative AI, Binance สูงสุดในกลุ่มเงินคริปโต, WhatsApp สูงสุดในกลุ่มบริการรับส่งข้อความ และ Facebook สูงสุดในกลุ่มโซเชียลมีเดีย
TechCrunch รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ยืนยันได้บอกว่า Meta มีโครงการสร้างสายเคเบิลใต้น้ำใหม่ ความยาวรวมมากกว่า 40,000 กิโลเมตร ครอบคลุมการเชื่อมต่อกับพื้นที่ทั่วโลก มูลค่าโครงการมากกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ โดย Meta จะเป็นเจ้าของเคเบิลใต้น้ำโครงข่ายนี้เพียงรายเดียว จึงถือเป็นโครงการวางโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่มาก
แหล่งข่าวบอกว่าโครงการนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ยังไม่ได้เริ่มดำเนินงานวางสายเคเบิล โดยบริษัทน่าจะประกาศรายละเอียดต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการต้นปีหน้า ซึ่งมีทั้งรายละเอียดตำแหน่งการวางสาย จุดเชื่อมต่อ รวมทั้งอธิบายที่มาของโครงการนี้
โครงการ Tailwind เฟรมเวิร์ค CSS ยอดนิยมออกรุ่น 4.0 Beta 1 เบต้าแรกที่น่าจะแสดงให้เห็นว่าตัวจริงมีฟีเจอร์อะไรบ้าง โดยความเปลี่ยนแปลงมี 4 ด้านหลัก ได้แก่
โดเมนเนมระดับบนสุด .io เป็นที่นิยมของโลกไอทีไม่น้อย เพราะชื่อดูเท่เหมือนศัพท์ I/O ในโลกคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเว็บที่ใช้โดเมนเนม .io ได้แก่ github.io, sentry.io หรือร้านเกมอินดี้ itch.io เป็นต้น
แต่ชะตากรรมของโดเมนเนม .io เริ่มไม่ชัดเจนเสียแล้ว เพราะโดเมนนี้อาจถูกเลิกใช้งานไปอย่างถาวร
เหตุผลเป็นเพราะว่าโดเมนเนม .io เป็นโดเมนเนมระดับบนสุดที่อิงตามรหัสประเทศ (ccTLD หรือ Country Code Top Level Domain) แต่ประเทศเจ้าของ .io เป็นประเทศที่แทบไม่มีใครรู้จัก นั่นคือ British Indian Ocean Territory หรือ Chagos Islands เป็นหมู่เกาะขนาดเล็กกลางมหาสมุทรอินเดีย (อยู่ใต้ศรีลังกาและมัลดีฟส์ลงไปอีกไกลพอสมควร)
mitmproxy โปรแกรมดักการเชื่อมต่อเว็บเพื่อดีบั๊กกระบวนการทำงาน ออกเวอร์ชั่น 11 โดยมีฟีเจอร์หลักคือการรองรับ HTTP/3 หลังจากรองรับ HTTP/2 มาแล้วก่อนหน้านี้
ฟีเจอร์นี้ทดสอบบนเบราว์เซอร์หลัก คือ Chrome, Firefox, และ cURL แล้ว อย่างไรก็ดี Chrome นั้นไม่ยอมรับใบรับรองที่ผู้ใช้ใส่เข้ามาเองในฐานข้อมูลทำให้การใช้งานผ่าน Chrome ต้องเรียกใช้ผ่าน command line เท่านั้น
- Read more about mitmproxy ออกเวอร์ชั่น 11 รองรับ HTTP/3 เต็มตัว
- 1 comment
- Log in or register to post comments
รัฐบาลโจ ไบเดนออกเอกสารแนวทางการพัฒนาความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต วางแนวทางบีบให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต้องเปิดใช้งาน RPKI ที่เป็นกระบวนการยืนยันความถูกต้องของเส้นทางอินเทอร์เน็ต
Resource Public Key Infrastructure (RPKI) เป็นกระบวนการยืนยันว่า ISP ที่ประกาศเส้นทางไปยังเน็ตเวิร์คต่างๆ นั้นมีสิทธิ์ประกาศจริง ไม่ได้ประกาศมั่วๆ ออกมาเพื่อดึงทราฟิกของเน็ตเวิร์คอื่นให้ผ่านตัวเอง ที่ผ่านมาบริการสำคัญๆ หลายตัวถูกดึงทราฟิกจากการคอนฟิก RPKI ผิดจนใช้งานไม่ได้ทั่วโลกมาแล้วหลายครั้ง
AIS Fibre3 ประกาศมาตรการชดเชยแล้ว จากกรณีที่ผู้ใช้บริการพบเจอปัญหาใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่ได้ในบางพื้นที่บริการ แม้ทำการเปิดปิดเร้าเตอร์แล้วก็ตาม
AIS ระบุผ่านบัญชี Facebook อย่างเป็นทางการว่า “AIS Fibre3 ขออภัยอย่างสูง จากกรณีที่ลูกค้าไม่ได้รับความสะดวกจากการใช้บริการบางพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา โดยขณะนี้ระบบได้รับการแก้ไขเรียบร้อยและการใช้งานกลับมาเป็นปกติแล้ว”
AIS Fibre3 ประกาศมอบการชดเชยให้ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ ดังนี้
- ปรับลดยอดค่าบริการ 2 วัน ในรอบบิลถัดไป
- AIS POINTS 100 คะแนน
เมื่อได้ปรับลดยอดและมอบคะแนนให้ลูกค้าแล้ว จะมี SMS ยืนยันส่งมาให้
โครงการ Ladybird ก่อตั้ง Ladybird Browser Initiative นิติบุคคลไม่หวังกำไรเพื่อดูแลโครงการในระยะยาวที่มุ่งสร้างเบราว์เซอร์ที่ไม่ได้ถูกควบคุมโดยบริษัทใดๆ
Ladybird พยายามสร้างเบราว์เซอร์จากมาตรฐานอย่างเดียวโดยไม่ดึงโค้ดจากโครงการอื่นๆ มาใช้งาน ต่างจากเบราว์เซอร์ต่างๆ ทุกวันนี้ที่แชร์โค้ดระหว่างกันจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น Chrome, Edge, หรือ Safari
เบราว์เซอร์สมัยใหม่มีส่วนประกอบจำนวนมากที่ซับซ้อน ตั้งแต่เอนจินการเรนเดอร์เว็บ, เอนจินจาวาสคริปต์, WebAssembly, ไลบรารีเข้ารหัส, ไลบรารี HTTP, ตลอดจนไลบรารีกราฟิก โดยโครงการจำนวนมากมาจากโครงการ SerenityOS
สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่น หรือ NICT รายงานผลการทดสอบร่วมกับสถาบันอีกหลายแห่ง ในการพัฒนาวิธีส่งข้อมูลผ่านไฟเบอร์ใยแก้วพาณิชย์ ด้วยความเร็วเป็นสถิติใหม่ 402 Tb/s โดยผลทดสอบนี้ถูกนำเสนอในงาน Optical Fiber Communication Conference 2024 ที่แซนดีเอโก
ระยะทางที่ใช้ในการส่งข้อมูลคิดเป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร มีการใช้ตัวขยายสัญญาณ 6 ชนิด บนแบนด์วิธว่าง 37 THz เพื่อให้ได้ความเร็วในการส่งข้อมูลที่ระดับ 402 Tb/s ทำให้นอกจากได้ความเร็วที่สูงสุดใหม่ ยังขยายแบนด์วิธส่งข้อมูลเพิ่มอีกด้วย
กสทช. สหรัฐฯ หรือ FCC ประกาศเริ่มกระบวนการร่างกฎควบคุมความปลอดภัยของบริษัทโทรคมนาคมให้มีการรักษาความปลอดภัยโปรโตคอล BGP
BGP เป็นโปรโตคอลสำหรับการประกาศว่าเส้นทางใดสามารถไปยังเน็ตเวิร์คใดได้บ้าง ซึ่งหากคนร้ายประกาศว่ามีช่องทางความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อไปยังเน็ตเวิร์คของบริษัทเป้าหมาย ก็จะมีคนส่งทราฟิกไปยังคนร้ายได้ เรียกว่าการโจมตีแบบ BGP hijacks
กูเกิลประกาศโครงการสร้างโครงข่ายไฟเบอร์ ที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปแอฟริกาและทวีปออสเตรเลีย มีชื่อโครงการว่า Umoja(ภาษาสวาฮีลี แปลว่าการรวมกัน)
จุดเริ่มต้นของโครงข่ายอยู่ที่ประเทศเคนยา ผ่านประเทศยูกันดา, รวันดา, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, แซมเบีย, ซิมบับเว และแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อหลัก เพราะกูเกิลมีศูนย์ข้อมูลคลาวด์ที่โจฮันเนสเบิร์ก จากนั้นเป็นเคเบิลใต้น้ำผ่านมหาสมุทรอินเดียไปออสเตรเลีย
Umoja จะเชื่อมต่อกับโครงการก่อนหน้านี้ของกูเกิลคือ Equiano ที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปแอฟริกากับยุโรปผ่านประเทศโปรตุเกส เพิ่มการเชื่อมต่อที่เสถียรมากขึ้น ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคแอฟริกา
ทรู คอร์ปอเรชั่น ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตโทรศัพท์มือถือและบ้าน เปิดตัวแพ็คเกจอินเตอร์เน็ตใหม่ 5G Super Gamer และ PRO AI เอาใจเกมเมอร์ทั้งโทรศัพท์มือถือ และเน็ตบ้าน เปิดเน็ตเลนพิเศษสำหรับการเล่นเกมโดยเฉพาะมีรายละเอียดดังนี้
We Are Social และ Meltwater ออกรายงานข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกประจำปี 2024 ซึ่งมีรายงานแยกสำหรับข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตประเทศไทยโดยเฉพาะ Digital 2024: Thailand เหมือนเช่นเคย ซึ่งรายงานนี้ช่วยสะท้อนภาพรวมและพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
รายงานมีทั้งหมด 132 หน้า โดยมีส่วนสรุปที่เป็นไฮไลท์หลายอย่างดังนี้
ภาพรวมประเทศไทย
ประชากรอินเทอร์เน็ตไทยมี 63.21 ล้านคน คิดเป็น 88.0% ของประชากรทั้งประเทศ (71.85 ล้านคน) ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้น 0.1% จาก ข้อมูลในปี 2023 มีการใช้งานโซเชียลมีเดีย 49.10 ล้านคน (68.3% ของประชากรทั้งหมด) และมีการใช้โทรศัพท์มือถือ 97.81 ล้านเลขหมาย คิดเป็น 136.1% ของจำนวนประชากร
ICANN ตัดสินใจเลือกโดเมน .INTERNAL เป็นโดเมนมาตรฐานสำหรับใช้งานภายในองค์กร แบบเดียวกับหมายเลขไอพีที่มี private IP ให้ใช้งานภายใน หลังจากเริ่มกระบวนการเลือกโดเมนเพื่อการนี้มาตั้งแต่ปี 2020 และมีตัวเลือกถึง 35 รายชื่อ ก่อนจะตัดเหลือสองชื่อสุดท้ายคือ .INTERNAL และ .PRIVATE และตัดสินในเลือกชื่อเดียวในที่สุด
โดเมนที่ใช้งานเป็นการภายในทุกวันนี้มักอาศัยการตั้ง TLD ขึ้นมาเองตามใจชอบ โดยเลือกชื่อที่ไม่มีการใช้งานมาก่อน เช่น Zyxel เคยใช้ TLD .zyxel-usg
หรือคนจำนวนมากใช้งาน .home
ปัญหาคือโดเมนเหล่านี้กระจัดกระจาย และมีแนวโน้มจะรั่วไหล มีการยิง DNS ออกไปภายนอก
Dr. David L. Mills หรือ Dave Mills ผู้ประดิษฐ์ NTP หรือ Network Time Protocol ซึ่งเป็นวิธีการซิงก์เวลาของคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา ด้วยอายุ 85 ปี โดย Vinton Gray Cerf หนึ่งในผู้ร่วมสร้าง TCP/IP เป็นคน รายงาน ข้อมูลนี้
Cerf กล่าวถึง Dave Mills ว่าเขาถือเป็นหนึ่งในบุคคลต้นแบบที่ร่วมสร้างสิ่งที่เป็นพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตยุคแรก โดย Mills สร้าง NTP ขึ้นมาในปี 1985 เพื่อแก้ไขปัญหาในเวลานั้นที่อุปกรณ์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีเวลาที่ไม่ตรงกัน
จีนอัพเกรด Internet backbone ภายในประเทศที่ใช้เชื่อมเมืองใหญ่เข้าด้วยกันเป็นท่อแบนวิดท์สูง 1.2Tbps ในชื่อโครงการ Future Internet Technology Infrastructure (FITI) เชื่อมสามเมือง คือ ปักกิ่ง, อู่ฮั่น, และกวางโจว รวมระยะทาง 3,000 กิโลเมตร
FITI ร่วมกันพัฒนาโดย มหาวิทยาลัย Tsinghua, China Mobile, Huawei, และ CERNET.com โดยเริ่มทดสอบมาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา
ตัว FITI เองเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2021 เชื่อมมหาวิทยาลัย 40 แห่งใน 35 เมือง โดยพยายามผลักดันให้เป็นเชื่อมต่อด้วย IPv6 ไปพร้อมกัน
ที่มา - Tsinghua
กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจีนออกประกาศบังคับให้อุปกรณ์ Wi-Fi ที่จะขอรับรองให้ใช้งานต้องรองรับ IPv6 และเปิดใช้งานเป็นค่าเริ่มต้น พร้อมกับอธิบายวิธีการคอนฟิก IPv6 ไว้ในคู่มือ
ข้อบังคับนี้บังคับกับอุปกรณ์ Wi-Fi ที่ใช้คลื่นความถี่ 2.4GHz และ 5GHz พร้อมกับระบุแนวทางการตรวจสอบว่าอุปกรณ์รองรับ IPv6 จริงก่อนที่จะอนุญาตให้ใช้งานอุปกรณ์แต่ละรุ่น
รัฐบาลจีนมีแนวทางจะ ปรับอินเทอร์เน็ตทั้งประเทศไปใช้งาน IPv6 ภายในปี 2030 โดยที่ผ่านมาบังคับกับเว็บไซต์ภาครัฐ, อุปกรณ์ระดับ backbone สำหรับประกาศนี้จะมีผลวันที่ 12 ธันวาคมที่จะถึงนี้
Amir Golestan ซีอีโอบริษัท Micfo ถูกศาลสั่งจำคุก 5 ปีฐานฉ้อโกง (defrauding) จากการเปิดบริษัทปลอม เพื่อไปยื่นขอหมายเลขไอพีจาก ARIN หน่วยงานแจกจ่ายหมายเลขไอพีในภูมิภาคอเมริกาเหนือ
อัยการสหรัฐฯ ระบุว่า Golestan ปลอมแปลงเอกสารเพื่อขอหมายเลขไอพีจาก ARIN และตั้งข้อหารวม 20 ข้อหาในปี 2019 หลังจากสู้คดีมาระยะหนึ่ง Golestan ตัดสินใจรับสารภาพในปี 2021 และหลังจากนั้นคดีก็อยู่ระหว่างการรอกำหนดโทษแต่ถูกเลื่อนมาหลายครั้งจนมีการกำหนดโทษเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
หมายเลขไอพีที่ Golestan ขอไปทั้งหมด 757,760 หมายเลข มูลค่ารวม 10-15 ล้านดอลลาร์ Golestan เคยระบุว่าเขาเป็นผู้จัดหาหมายเลขไอพีให้กับผู้ให้บริการ VPN หลายราย
Verisign ผู้ให้บริการจดทะเบียนโดเมน .com เตรียมขึ้นราคาค่าโดเมนวันที่ 1 กันยายนนี้ โดยขึ้นราคาแบบขายส่ง จาก 8.97 ดอลลาร์ต่อปีเป็น 9.59 ดอลลาร์ ตามข้อตกลงระหว่าง Verisign กับ ICANN ที่อนุญาตให้ขึ้นราคาได้ไม่เกินปีละ 7%
ทาง Namecheap ผู้ให้บริการจดโดเมนรายย่อยประกาศขึ้นราคาพร้อมกัน โดยจะขึ้นราคาขายปลีกประมาณ 9% เป็น 15.88 ดอลลาร์ต่อโดเมน
ผู้ถือโดเมนเดิมยังคงต่ออายุโดเมนได้ที่ราคาเดิมต่อไปจนสิ้นเดือนสิงหาคมนี้
ที่มา - Domain News Wire , Namecheap
- Read more about โดเมน .com ขึ้นราคา วันที่ 1 กันยายนนี้
- Log in or register to post comments
Cloudflare เพิ่มบริการแจ้งเดือนเหตุขโมย route BGP ซึ่งทำให้ทราฟิกที่ควรวิ่งตรงไปยังเซิร์ฟเวอร์กลับถูกดึงไปยังยัง ISP อื่นๆ ได้ (BGP Origin Hijack) โดยเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเรื่อยๆ ในอินเทอร์เน็ตทุกวันนี้ ทั้งจากเหตุที่ไม่ได้ตั้งใจและเหตุที่คนร้ายตั้งใจโจมตีเป้าหมายจริงๆ
การขโมย route นี้อาศัยการที่คนร้ายเป็น ISP ที่แล้วประกาศเส้นทางไปยังหมายเลขไอพีที่ตัวเองไม่ได้เป็นเจ้าของ ส่งผลให้ ISP อื่นๆ ส่งทราฟิกที่ต้องการติดต่อหมายเลขไอพีนั้นๆ ส่งทราฟิกเข้าไปยัง ISP ของคนร้าย เหตุการณ์ครั้งใหญ่ๆ เช่น เมื่อปี 2018 ISP แห่งหนึ่งในไนจีเรียสามารถทำให้คนเข้าถึงกูเกิลไม่ได้นานถึง 74 นาที
- Read more about Cloudflare เปิดบริการแจ้งเตือนการขโมย route BGP
- Log in or register to post comments
ทีมวิศวกรจากกูเกิลเสนอ Web Environment Integrity API (WEI) ฟีเจอร์ในเบราว์เซอร์ที่เปิดให้เว็บตรวจสอบได้ว่าผู้ใช้กำลังเข้าใช้งานด้วยเบราว์เซอร์ที่น่าเชื่อถือ ไม่มีการดัดแปลง
ประโยชน์ของ API นี้ เช่น สำหรับตรวจสอบการเข้าเว็บด้วยบ็อต, การสร้างบัญชีจำนวนมากๆ บนบริการต่างๆ, การตรวจสอบยอด engagement หรือยอดการชมโฆษณาว่าไม่ได้มาจากบ็อต
Cloudflare ประกาศเริ่มใช้โปรโตคอล MASQUE ที่ขี่อยู่บน HTTP/3 อีกอีกทีหนึ่ง มาให้บริการ VPN บนแอป WARP คู่กับ Wireguard
เนื่องจาก HTTP/3 หรือ QUIC นั้นรองรับการเชื่อมต่อหลายสตรีมพร้อมกับ การให้บริการ VPN ผ่าน MASQUE จึงเป็นเหมือนการเชื่อมต่อผ่าน proxy ดั้งเดิมที่เราเคยใช้กันมา คำสั่งเชื่อมต่อนั้นยังใช้ HTTP CONNECT เหมือนกันอีกด้วย ข้อดีที่เหนือ Wireguard คือไฟร์วอลล์มักไม่บล็อคพอร์ต 443 สำหรับ HTTP/3, กระบวนการเข้ารหัสสามารถใช้อัลกอลิทึมใหม่ๆ ได้, และในอนาคตเมื่อมาตรฐาน Multipath QUIC พร้อมใช้งานก็จะสามารถเชื่อมต่อหลายช่องทางได้พร้อมกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถสลับการเชื่อมต่อเช่น Wi-Fi มาเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์มือถือได้โดยสามารถส่งข้อมูลต่อเนื่อง
nginx เว็บเซิร์ฟเวอร์ยอดนิยม เริ่มรองรับ HTTP/3 เป็นฟีเจอร์ระดับทดลองในเวอร์ชั่น 1.25 หลังจาก มาตรฐาน HTTP/3 ออกตัวจริงมาตั้งแต่กลางปี 2022 ที่ผ่านมา
ที่จริงแล้วโค้ดรองรับ HTTP/3 ถูกพัฒนาใน nginx มานานแล้ว โดยเวอร์ชั่นทดลองแรกมีมา ตั้งแต่ปี 2020 แต่ยังเป็นโค้ดแยกออกจากโครงการหลัก
ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ฟีเจอร์นี้เข้ามาใน nginx ตัว mainline แต่กระนั้นโดยดีฟอลด์แล้วฟีเจอร์นี้ก็จะไม่ถุกคอมไพล์มาด้วย ผู้ที่ต้องการใช้งานต้องเพิ่มออปชั่น --with-http_v3_module
เองตอนคอมไพล์
- Read more about nginx 1.25 รองรับ HTTP/3 ระดับทดลอง
- 1 comment
- Log in or register to post comments
ปัญหาของนักพัฒนาเว็บช่วงหลังที่เจอกันบ่อยคือแม้จะมี API ใหม่ๆ ให้ใช้งาน และหลายครั้งออกเป็นมาตรฐานแล้ว แต่เบราว์เซอร์แต่ละยี่ห้อก็รองรับไม่พร้อมกัน ทำให้นักพัฒนาต้องมาระวังว่าอะไรใช้ได้ไม่ได้ ที่ผ่านมาแม้จะมีการจัดมาตรฐานมาทำเป็นชุดทดสอบ เช่น Interop แต่สุดท้ายนักพัฒนาก็ต้องมาดูเองอยู่ดีว่าเบราว์เซอร์ใดผ่านข้อไหนบ้าง ในงาน Google I/O ปีนี้กูเกิลจึงเปิดตัว Baseline โลโก้แจ้งนักพัฒนาว่าฟีเจอร์ใดพร้อมใช้งานโดยทั่วไปแล้ว