หนังสือพิมพ์ The Guardian ของอังกฤษ ประกาศเลิกโพสต์ข่าวอัพเดตบน Twitter/X ด้วยเหตุผลว่าแพลตฟอร์มมีคอนเทนต์ที่เป็นพิษเป็นภัย (X is a toxic media platform) เช่น ทฤษฎีสมคบคิดของฝ่ายขวาสุดขั้ว การเหยียดเชื้อชาติ และตัวเจ้าของคือ Elon Musk ก็ใช้แพลตฟอร์มเพื่อสร้างอิทธิพลทางการเมือง
The Guardian บอกว่านโยบายนี้จะมีผลเฉพาะบัญชีอย่างเป็นทางการของ The Guardian ทั้งหมดจะหยุดโพสต์ข่าวเท่านั้น จะไม่มีการบล็อคการเข้าถึงลิงก์ที่แชร์จาก Twitter/X แต่อย่างใด ทางนักข่าวยังอาจแปะลิงก์ Twitter/X ในเนื้อหาข่าวได้ตามความเหมาะสม และนักข่าวมีอิสระในการใช้งาน Twitter/X เช่นเดียวกับโซเชียลเน็ตเวิร์คอื่นๆ
ระบบไอทีของสำนักข่าว The Guardian มีปัญหาอย่างหนักโดยคาดว่าระบบไอทีในบริษัทถูกโจมตีจากแรนซัมแวร์ จนประกาศให้พนักงานทำงานที่บ้านตลอดอาทิตย์นี้และให้งดการต่อ VPN เข้ากับระบบของบริษัท
ระบบภายในได้รับผลกระทบทั้งไม่สามารถเข้าถึงระบบ Wi-Fi ภายในตึกสำนักงานได้ รวมทั้งไม่สามารถเข้าถึงบริการขององค์กรและระบบการเงินที่ใช้ร่วมกัน แต่ยังสามารถเผยแพร่บทความลงบนเว็บไซต์เนื่องจากใช้ระบบทางบรรณาธิการที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ
Katherine Viner บรรณาธิการใหญ่ และ Anna Bateson ผู้บริหารระดับสูงของสำนักข่าวเชื่อว่าเหตุการณ์นี้เกิดจากการโจมตีจากแรนซัมแวร์ แต่ยังคงพิจารณาถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้อย่างอื่นด้วย
ประเด็นขัดแย้ง Facebook/Cambridge Analytica ยังมีแง่มุมต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด Campbell Brown หัวหน้าฝ่ายข่าวของ Facebook ไปพูดที่งานสัมมนา Future of News ที่จัดโดยหนังสือพิมพ์ Financial Times และยอมรับว่า Facebook เคยขู่จะฟ้องหนังสือพิมพ์ The Guardian ที่เป็นผู้ออกมาแฉเรื่อง Cambridge Analytica
ในโพสต์ของ Mark Zuckerberg เขายอมรับว่า Facebook รู้เรื่องปัญหา Cambridge Analytica ครั้งแรกจาก The Guardian ในปี 2015 และล่าสุดก็ทราบข้อมูลสื่อสามรายจาก The Guardian, Channel 4 และ The New York Times ว่า Cambridge Analytica ไม่ได้ลบชุดข้อมูลที่เป็นปัญหาทิ้ง
ต่อเนื่องจากข่าวบริษัทสื่อหลายแห่งเริ่ม หยุดใช้งาน Facebook Instant Articles ล่าสุด The Guardian หนึ่งใน สื่อกลุ่มแรก ที่เป็นคู่ค้าร่วมทดลอง Instant Articles ได้ประกาศหยุดใช้ทั้ง Instant Articles และ Apple News แล้ว
The Guardian ให้เหตุผลว่าช่วงที่ผ่านมาเป็นการทดสอบดูว่าระบบเหล่านี้ จะตอบสนองทั้งด้านการอ่านข่าว และประโยชน์เชิงธุรกิจได้หรือไม่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป The Guardian ก็ตัดสินใจให้ผู้อ่านเข้ามาอ่านเนื้อหาผ่านเว็บไซต์ ซึ่งสามารถควบคุมบรรยากาศ ระบบสมาชิก และสิ่งต่างๆ ได้ดีมากกว่า เนื่องจากแนวทางของ The Guardian ต้องขายระบบสมาชิกในการเข้าถึงเนื้อหาด้วย
ทั้งนี้ The Guardian ยังคงให้เนื้อหาบางส่วนรองรับ Google AMP อยู่
ที่มา: 9to5Mac
ในตำนานการแฉข้อมูล NSA ของ Edward Snowden นั้น ตัวของ Snowden ส่งข้อมูลให้กับหนังสือพิมพ์ The Guardian ของอังกฤษ ซึ่งทีมบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ก็เก็บข้อมูลชุดนี้ไว้ใน MacBook Air เครื่องหนึ่ง ก่อนจะนำส่งข้อมูลให้สื่อรายอื่นๆ ปล่อยออกสู่สาธารณะ
เมื่อการแฉ NSA เริ่มต้นขึ้น หน่วยข่าวกรองของอังกฤษหรือ GCHQ (ซึ่งเป็นพันธมิตรกับ NSA) ก็กดดันให้หนังสือพิมพ์ส่งมอบไฟล์ทั้งหมดของ Snowden ให้ทางการ โดยขู่ว่าจะใช้มาตรการทางกฎหมายกับหนังสือพิมพ์ ทำให้บรรณาธิการของ Guardian ตัดสินใจ "ทำลาย" ไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในอังกฤษ ซึ่งก็คือโน้ตบุ๊กเครื่องนี้นั่นเอง (ยังมีสำเนาไฟล์ชุดอื่นๆ อยู่ในอเมริกาและบราซิล ซึ่งพ้นจากอำนาจกฎหมายอังกฤษ)
สื่อชั้นนำของโลก 5 รายคือ CNN, Guardian, Reuters, Financial Times และ The Economist ประกาศจัดตั้งกลุ่มพันธมิตร Pangaea Alliance เพื่อทำระบบโฆษณาออนไลน์ใช้เองโดยไม่ต้องพึ่งกูเกิล ไมโครซอฟท์ หรือเฟซบุ๊ก
จุดเด่นของ Pangaea Alliance คือเป็นสื่อชื่อดังระดับโลก และมีฐานผู้อ่านรวมกัน 110 ล้านคนต่อเดือน (แถมเป็นกลุ่มผู้อ่านระดับบนที่มีกำลังซื้อสูง) ช่วยให้ Pangaea มีอำนาจต่อรองกับแบรนด์ต่างๆ ที่จะมาลงโฆษณาได้มากขึ้น
ระบบโฆษณาของ Pangaea จะเริ่มทดสอบรุ่นเบต้าในเดือนเมษายน