กูเกิลประกาศว่าบรรจุภัณฑ์สินค้าฮาร์ดแวร์ของบริษัทได้แก่ Pixel, Fitbit และ Nest รุ่นใหม่ทั้งหมดปลอดจากชิ้นส่วนพลาสติกแล้ว (100% Plastic Free) ซึ่งเป็นความสำเร็จที่เร็วกว่าเป้าหมาย โดยกูเกิล เคยประกาศไว้ในปี 2020 ว่าบรรจุภัณฑ์สินค้าฮาร์ดแวร์ทั้งหมดจะปลอดพลาสติกในปี 2025
กูเกิลยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้ปลอดจากพลาสติกโดยยังคงความสวยงาม ตั้งแต่กระดาษที่ใช้ซึ่งแข็งแรงกว่าเดิม 3 เท่า มีน้ำหนักเบาลง ทำให้ลดปริมาณคาร์บอนในการขนส่ง ส่วนกันกระแทกผลิตจากกระดาษหนังสือพิมพ์รีไซเคิล
กูเกิลเปิดตัว Nest Learning Thermostat รุ่นใหม่ (นับเป็น 4th Gen) ใช้หน้าตาแบบใหม่ ตรงตาม ภาพหลุดก่อนหน้านี้
ดีไซน์ใหม่ของ Nest Learning Thermostat เป็นกระจกทรงโดมโค้งไร้ขอบ ดูเรียบหรูและมินิมัลกว่าเดิม ตัวหน้าจอ LCD ขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม 60% เพิ่มฟีเจอร์ Dynamic Farsight ปรับธีมและข้อมูลที่ต้องการแสดงผลได้ คล้ายๆ กับหน้าปัดนาฬิกาสมาร์ทวอทช์ รองรับการแสดงอุณหภูมิ นาฬิกา สภาพอากาศ คุณภาพอากาศภายนอก
กูเกิลอัปเดตความสามารถของอุปกรณ์สมาร์ทโฮมทั้ง Nest Camera และฟังก์ชันใน Google Home ด้วยพลังของ Gemini AI เพื่อให้รองรับการทำงานที่ฉลาดมากขึ้น มีรายละเอียดดังนี้
ความสามารถแรก เป็นการแยกแยะข้อมูลในวิดีโอ โดย Nest Camera สามารถเรียนรู้ทำความเข้าใจวัตถุที่เห็นในภาพดีขึ้น ไม่ใช่แค่จับว่ามีการเคลื่อนไหว ผู้ใช้งานสามารถค้นหาด้วยคำถามเช่น "Did the kids leave their bikes in the driveway?" แล้ว Google Home สามารถค้นวิดีโอย้อนหลังที่ตรงกับเงื่อนไขที่ถามออกมา
ในงานแถลงข่าว Pixel 9 ของกูเกิล ยังมีฮาร์ดแวร์รุ่นอื่นๆ ที่เตรียมเปิดตัวอีกจำนวนหนึ่ง ที่มีข่าวหลุดออกมาล่าสุดคือ Nest Learning Thermostat รุ่นใหม่ (นับเป็น Gen 4)
Nest Thermostat ถือเป็นสินค้าชิ้นแรกของบริษัท Nest ตั้งแต่ยุคก่อนโดนกูเกิลซื้อกิจการ มันถูกอัพเกรดครั้งสุดท้ายในปี 2020 และยังใช้โมเดลเดิมเรื่อยมา จึงไม่น่าแปลกใจนักที่มันจะถูกอัพเกรดอีกครั้งในปีนี้ หลังจากทิ้งช่วงไปนาน
หน้าตาของ Nest Thermostat รุ่นใหม่ยังใช้ทรงกลมแบบเดิม แต่ออกแบบให้โฉบเฉี่ยวขึ้น, เปลี่ยนพอร์ตจาก Micro-USB มาเป็น USB-C เรียบร้อยแล้ว (สักที) ส่วนราคาจำหน่ายคงต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้
คดีสิทธิบัตรระหว่างกูเกิลกับ Sonos ในประเด็นฟีเจอร์ควบคุมเสียงของลำโพง Google Home มีความคืบหน้าเพิ่ม โดยกูเกิลยื่นต่อศาลว่าวิธีการฟ้องสิทธิบัตรของ Sonos เป็นการกลั่นแกล้งทางธุรกิจ ซึ่งศาลเห็นด้วยกับข้อโต้แย้งของกูเกิล
คำโต้แย้งของกูเกิลระบุว่า ทั้งสองบริษัทเคยหารือทำลำโพงร่วมกันในปี 2014 หลังจากนั้นดีลล่ม กูเกิลออกลำโพงเองในปี 2015 แต่ Sonos กลับรอจนถึงปี 2019 ค่อยยื่นฟ้องกูเกิลละเมิดสิทธิบัตร และเพิ่งนำฟีเจอร์ควบคุมเสียงตามสิทธิบัตรนี้มาใช้กับลำโพงของตัวเองในปี 2020 ด้วยซ้ำ
กูเกิลมีสินค้ากลุ่มหน้าจออัจฉริยะ (Smart Display) แบรนด์ Nest Hub และ Nest Hub Max โดย รุ่น Max ที่ออกในปี 2019 มีกล้องเว็บแคมด้านหน้า แถมรองรับการคุยวิดีโอคอลล์ผ่านแอพ 3 ตัวได้แก่ Google Duo, Google Meet , Zoom
Google Home ประกาศเพิ่มความสามารถด้าน Automation ใน Household Routines โดยสามารถนำข้อมูลจากอุปกรณ์ในบ้านมาเป็นเงื่อนไขตั้งต้น (Starter) เพื่อให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานตามกำหนด (Action) ได้เพิ่มเติมอีกรวม 18 รายการ
ของใหม่ที่เพิ่มมาเช่น ใช้เงื่อนไขดูว่าประตู-หน้าต่างเปิดหรือปิด, อุปกรณ์ชาร์จอยู่หรือไม่, อุณหภูมิถึงตัวเลขที่กำหนด, ค่าความชื้นถึงตัวเลขที่กำหนด ฯลฯ ส่วนการสั่งทำงาน เช่น ปรับแสงตามรูปแบบ, ปิดเปิดอุปกรณ์, ตั้งจับเวลา จนถึงสั่งรีบูทอุปกรณ์ และอัพเดตซอฟต์แวร์
นอกจากนี้ส่วน Script Editor (สถานะพับลิกพรีวิว) ยังเพิ่มการรองรับคำสั่งจากกล้อง ปรับแต่งข้อความที่แจ้งเตือน และดูข้อมูล Automation logs ได้ด้วย
กูเกิลประกาศข่าวว่าออกอัพเดตให้อุปกรณ์ทั้งสาย Android และ Nest รองรับโปรโตคอล Matter สำหรับสื่อสารกับอุปกรณ์สมาร์ทโฮมเรียบร้อยแล้ว ตามหลัง ซัมซุง และ แอปเปิล ที่ปล่อยอัพเดตกันตั้งแต่เดือนตุลาคม
กระบวนการอัพเดตเป็นไปโดยอัตโนมัติ โดยฝั่ง Android เป็นการอัพเดตที่ตัว Google Play services ให้รองรับ Matter API ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม และไม่ต้องรออัพเดตจากผู้ผลิต
กูเกิลออกไคลเอนต์ของแอพ Google Home เวอร์ชันเว็บ สำหรับใช้งานจากพีซี ตามที่ เคยประกาศไว้
การใช้งานเพียงเข้าไปที่ home.google.com แล้วล็อกอินด้วยบัญชีกูเกิลตามปกติ (อาจยังไม่ได้ปล่อยให้ทุกคนใช้งาน ทยอยปล่อยตามสไตล์กูเกิล) โดยฟีเจอร์ของเวอร์ชันเว็บยังจำกัดอยู่แค่การดูภาพจาก กล้องวงจรปิดตระกูล Nest Cam และกริ่งประตูติดกล้อง Nest Doorbell กับการควบคุมอีกเล็กน้อย เช่น เปิด-ปิดกล้อง ดูสถานะกล้อง เท่านั้น
กูเกิลเปิดตัวฮาร์ดแวร์ตระกูล Nest ใหม่ 2 อย่าง ได้แก่
Nest Wifi Proเราเตอร์ Wi-Fi รุ่นใหม่ที่รองรับมาตรฐาน Wi-Fi 6E สำหรับทำ mesh Wi-Fi ได้ดีขึ้น ใช้คลื่นย่าน 6GHz ที่ยังไม่คับคั่งเท่ากับย่าน 5GHz และ รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์สมาร์ทโฮม Matter
Nest Wifi Pro มาพร้อมดีไซน์ใหม่หน้าตาเหมือนกระปุกเซรามิก ไร้เสาและไฟสัญญาณ ใช้สีแบบเอิร์ธโทน ให้ดูเหมือนเป็นของตกแต่งบ้านมากกว่าสินค้าไอที ตัวเครื่องใช้วัสดุรีไซเคิล 60% วัดจากน้ำหนักเครื่อง
หน้าจออัจฉริยะ Nest Hub Max เพิ่มทางเลือกของคนที่ขี้เกียจพูดคำว่า "Hey Google" หรือ "Ok Google" ทุกครั้งก่อนสั่งงาน โดยเปิดให้สแกนใบหน้าของเราเก็บไว้ได้ เมื่อเราอยู่ในรัศมีของกล้อง Nest Hub Max ก็สามารถพูดประโยคสั่งงานได้โดยตรงเลย
ฟีเจอร์นี้เรียกว่า Look and Talk ต้องใช้การแยกแยะใบหน้า (Face Match) คู่กับการแยกแยะเสียง (Voice Match) พร้อมกัน กูเกิลบอกว่าฟีเจอร์นี้เป็นทางเลือกแบบ opt-in และวิดีโอที่ถ่ายใบหน้าของเราจะถูกเก็บในเครื่องเท่านั้น ไม่ส่งกลับเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลแต่อย่างใด
Matter เป็นโปรโตคอลกลางสำหรับอุปกรณ์สมาร์ทโฮมที่ทำงานข้ามค่ายได้ มีผู้สนับสนุนมากมายทั้ง Amazon , Samsung รวมถึงแอปเปิลและกูเกิลด้วย
กูเกิลประกาศไว้ตั้งแต่ I/O 2021 ว่าจะรองรับ Matter ตอนนี้เวลาผ่านมา 1 ปีเต็ม ก็ได้เวลาปล่อยของจริงๆ สักที
- อุปกรณ์ Nest
กูเกิลมีคดีกับแบรนด์เครื่องเสียง Sonos มาตั้งแต่ปี 2020 โดย Sonos ฟ้องกูเกิลว่าขโมยทรัพย์สินทางปัญญาหลังพัฒนาลำโพงอัจฉริยะร่วมกัน แล้วภายหลังกูเกิลออกลำโพง Google Home/Nest Mini ของตัวเอง ซึ่งมีฟีเจอร์แบบเดียวกับของ Sonos
วันนี้คณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (ITC) ของสหรัฐอเมริกา ตัดสินว่ากูเกิลละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของ Sonos เป็นสิทธิบัตร 5 รายการ และสั่งห้ามกูเกิลนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรชุดนี้เข้ามาขายในสหรัฐอเมริกา (อำนาจของ ITC เป็นเรื่องนำเข้าสินค้าเข้าประเทศ)
กูเกิลเปิดตัวสินค้าใหม่ในแบรนด์ Nest ได้แก่ กล้องวงจรปิด และกริ่งประตูอัจฉริยะ รวมทั้งหมด 4 รุ่นคือ
กูเกิลประกาศนโยบายด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของสินค้าสมาร์ทโฮมแบรนด์ Nest ประเด็นสำคัญคือการันตีออกแพตช์ความปลอดภัยและแก้บั๊กนาน "อย่างน้อย" 5 ปี นับจากฮาร์ดแวร์ชิ้นนั้นวางขาย
ตัวเลข 5 ปีถือเป็นตัวเลขขั้นต่ำที่การันตีเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว ฮาร์ดแวร์ Nest ที่ขายอยู่ในตลาดบางตัวก็มีอายุเกิน 5 ปีแล้ว เช่น Nest Cam Indoor ที่ขายในปี 2015 (อายุ 6 ปี) แต่ก็ยังอยู่ในระยะซัพพอร์ต
ส่วนมาตรการด้านความปลอดภัยอื่นๆ ได้แก่
Fuchsia เป็นระบบปฏิบัติการใหม่ ที่กูเกิลเริ่มพัฒนาตั้งแต่ปี 2016 และถูกคาดเดาไปต่างๆ นานา แต่คาดเดากันจนเบื่อแล้ว Fuchsia ก็ยังไม่เสร็จสักทีจนคนเลิกสนใจกันไป
เวลาผ่านมา 5 ปี เดือนมิถุนายน 2021 ถือเป็นเดือนสำคัญของ Fuchsia เพราะกูเกิลประกาศนำระบบปฏิบัติการนี้มารันบนฮาร์ดแวร์จริงเป็นครั้งแรก นั่นคือ Nest Hub หน้าจออัจฉริยะของบริษัทเอง (Google Home Hub เดิม) ที่ของเดิมใช้ระบบปฏิบัติการ CastOS เป็นลินุกซ์รุ่นดัดแปลง
หลังกูเกิลออกมา ให้ข้อมูล แบบเป็นทางการเมื่อปลายปีที่แล้ว ระบบปฏิบัติการ Fuchsia ที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับงานทั่ว ๆ ไป (general purpose) ก็เริ่มนำมาเผยแพร่ใช้งานจริง โดยจะอัพเดตกับผู้ใช้งาน Nest Hub รุ่นแรก ก่อน (ชื่อเดิม Google Home Hub) ซึ่งแทนที่ระบบปฏิบัติการเดิม CastOS ที่มีรากฐานเป็น Linux
ผู้ใช้ Nest Hub จะทยอยได้รับอัพเดตได้ไม่กี่เดือนข้างหน้า เริ่มจากกลุ่มผู้ใช้งานใน Preview Program ก่อน ซึ่ง 9to5Google บอกว่าผู้ใช้งานอาจไม่สังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงจากหน้าตาการใช้งานมากนัก
กูเกิลประกาศรองรับโพรโทคอลสำหรับอุปกรณ์สมาร์ทโฮม Matter ที่พัฒนาโดยกลุ่มพันธมิตร CSA (ZigBee Alliance เดิม) ในอุปกรณ์ Android และ Nest
Matter เป็นโพรโทคอลมาตรฐานกลาง ที่หลายบริษัทช่วยกันพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาอุปกรณ์สมาร์ทโฮมข้ามค่ายคุยกันยาก โดยมี CSA เป็นหน่วยงานกลางคอยประสาน ตัวโพรโทคอลวิ่งอยู่บนเครือข่าย IP (ในที่นี้คือ Wi-Fi และ Thread )
กูเกิลเปิดตัวหน้าจออัจฉริยะ Nest Hub รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นภาคต่อของ Google Home Hub ที่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2018 โดยมาพร้อมกับการปรับดีไซน์ใหม่, ซีพียูแรงขึ้น และลำโพงที่ดังและเสียงดีกว่าเดิม แต่ของสำคัญจริงๆ คือการนำ Soli เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวที่กูเกิลเคยใส่ใน Pixel 4 แล้วถอดออกไปใน Pixel 5 กลับเข้ามาอยู่ใน Nest Hub เพื่อใช้ตรวจวัดคุณภาพการนอนหลับ
กูเกิลเปิดตัวหน้าจออัจฉริยะ Nest Hub รุ่นที่สอง ( รุ่นแรกออกในปี 2018 ตอนนั้นใช้ชื่อ Google Home Hub ) มีฟีเจอร์เด่นคือ ใส่เซ็นเซอร์ Soli แบบเดียวกับ Pixel 4 ลักษณะเดียวกับที่ใช้ใน Nest Thermostat รุ่นล่าสุด
ในที่สุด Google และซัมซุงก็ประกาศความร่วมมือเชื่อมต่อแพลตฟอร์มสมาร์ทโฮมของตัวเองให้สามารถทำงานร่วมกันได้แล้ว ทำให้อุปกรณ์อย่างกล้อง, กริ่งประตูหน้าบ้านและ thermostat ของ Nest สามารถสั่งงานได้ผ่านแอป SmartThings หรือกระทั่งสมาร์ททีวีและตู้เย็นอัจฉริยะของซัมซุงแล้ว
ในทางตรงกันข้าม อุปกรณ์สมาร์ทโฮมของซัมซุงก็จะรองรับการสั่งงานผ่าน Google Assistant ทั้งหมดแล้ว เช่นสั่งอุ่นเตาอบอัจฉริยะ หรือสั่งเปิดปิดและเปลี่ยนช่องทีวี (ทีวีจะรองรับเฉพาะ รุ่นที่ประกาศก่อนหน้านี้ ) ขณะที่การตั้งค่าในแอป SmartThings ก็จะมีลิงก์เชื่อมต่อกับ Google Assistant ให้ในแอป
เป็นคู่แข่งกันในหลายสนาม แต่ก็ทำธุรกิจร่วมกันได้ กูเกิลประกาศว่าลำโพงตระกูล Google Nest และของยี่ห้ออื่นๆ ที่รองรับ Google Assistant สามารถเล่นเพลงจาก Apple Music ได้แล้ว
ก่อนหน้านี้ Google Assistant รองรับบริการเพลงแบบสตรีมมิ่ง 4 รายคือ YouTube Music, Spotify, Deezer, Pandora (เฉพาะในสหรัฐ) และล่าสุด Apple Music เป็นรายที่ห้า การใช้งานจำเป็นต้องเชื่อมบัญชีผ่านแอพ Google Home ในสมาร์ทโฟนก่อน
การใช้งาน Apple Music จำเป็นต้องมีสมาชิกแบบเสียเงินเท่านั้น และยังรองรับเฉพาะในบางประเทศคือ สหรัฐ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น
ที่มา - Google
Wall Street Journal ลงบทความเปรียบเทียบลำโพงอัจฉริยะระหว่าง HomePod Mini vs Amazon Echo และ Nest Audio ส่วนที่น่าสนใจคือมีการยืนยันจากโฆษกของ Google ว่าทีมกำลังพัฒนาการทำงานร่วมกันระห่าง Chromecast และ Nest Audio แต่ไม่ได้ให้รายอื่น ๆ ออกมาด้วย
ขณะที่ฝั่งคู่แข่งอย่าง Amazon Echo สามาาถทำงานร่วมกับ Fire TV หรือ HomePod Mini ทำงานร่วมกับ Apple TV / AirPlay ในการทำหน้าที่เป็นลำโพงโฮมเธียเตอร์ ก็คาดว่า Chromecast และ Nest Audio น่าจะออกมาในลักษณะเดียวกัน
ที่มา - WSJ
Nest เริ่มปล่อยระบบมอนิเตอร์ HVAC และแจ้งเตือนความผิดปกติเกี่ยวกับสภาพอากาศภายในบ้านให้ผู้ใช้ Nest Thermostat ทุกรุ่นแล้ว พร้อมแจ้งเตือนผ่านอีเมลหรือ Google Home หากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ
ระบบมอนิเตอร์อุณหภูมิ, การระบายอากาศ และสภาพอากาศหรือ HVAC เป็นระบบที่ทีม Nest พัฒนาขึ้นมาเป็น side project ซึ่งทางบริษัทเริ่มทดสอบกับผู้ใช้งาน Nest Home Report มาระยะหนึ่งแล้ว โดยระบบนี้จะคอยมอนิเตอร์และแจ้งเตือนเมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับอุณหภูมิ, การระบายอากาศ หรือว่าสภาพอากาศภายในบ้านผ่านอีเมลหรือแอป Google Home ถ้าเป็น เหตุการณ์ไม่ด่วนจะรายงานภายใน 1 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นเหตุด่วนที่ต้องจัดการทันทีระบบจะแจ้งเตือนเป็นแบบฉุกเฉิน
ปี 2019 Google ประกาศว่าจะใช้วัสดุรีไซเคิลเข้ามาในผลิตภัณฑ์ Made By Google ให้ได้ทุกตัวภายในปี 2022 ล่าสุด Google เผยว่าเริ่มใกล้สู่เป้าหมายบางส่วนแล้ว โดยฝาหลัง Pixel 5 ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 100% แล้ว และผลิตภัณฑ์ Nest ใช้พลาสติกรีไซเคิล 70% และ Nest Thermostat ตรงส่วนที่ยึดกับผนัง ใช้พลาสติกรีไซเคิลเช่นกัน