มีรายงานเพิ่มเติมของการ ปลดพนักงานกูเกิล 12,000 คน ที่บริษัทเพิ่งประกาศไป ว่าทีมที่ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก คือทีมที่เกี่ยวข้องกับ โครงการ Fuchsia ซึ่งถูกปลดคิดเป็น 16% ของพนักงานทั้งหมดประมาณ 400 คน ซึ่งมากกว่าตัวเลขภาพรวมที่กูเกิลบอกว่า 6%
ทั้งนี้ฝ่ายที่ถูกปลดในช่วงแรกมีผลทันที เป็นพนักงานที่อยู่ในอเมริกา ส่วนประเทศอื่น กูเกิลบอกอยู่ในขั้นตอนดำเนินการตามกฎหมายท้องถิ่น
เว็บไซต์ 9to5google ที่เกาะติดความเคลื่อนไหวของระบบปฏิบัติการ Fuchsia อัพเดตความคืบหน้าของการทำให้ Fuchsia รองรับแอพฝั่ง Android ที่มีจำนวนมหาศาลได้
ข้อจำกัดของ Fuchsia คือมันไม่ใช่ลินุกซ์ แต่ใช้เคอร์เนลของตัวเองชื่อ Zircon ทำให้การใช้ประโยชน์จากแอพ Android ทำได้ยาก ที่ผ่านมากูเกิลมีโครงการภายใน (ที่บางส่วนเปิดเผยในฐานข้อมูลสาธารณะ) หลายโครงการเพื่อทดลองแนวทางที่เหมาะสม
ระบบปฏิบัติการ Fuchsia ของกูเกิลมีพัฒนาการสำคัญคือ สามารถรัน Chromium ตัวเต็มได้แล้ว จากที่ก่อนหน้านี้มีแค่ Simple Browser แบบง่ายๆ เท่านั้น
กูเกิลเริ่มพอร์ต Chrome มารันบน Fuchsia ได้สักพักใหญ่ๆ และตอนนี้เริ่มออกผลเป็นรูปเป็นร่างแล้ว แม้ยังมีบั๊กอยู่บ้างก็ตาม
ที่ผ่านมา กูเกิลนำ Fuchsia มาใช้งานในหน้าจออัจฉริยะ Nest Hub แต่ครอบด้วย UI อีกชั้นทำให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง การที่ Fuchsia เริ่มทำงานทั่วๆ ไปอย่างเบราว์เซอร์ได้ จึงเป็นการขยายขอบเขตของ Fuchsia ให้ไปไกลกว่าระบบปฏิบัติการเฉพาะอุปกรณ์
- Read more about ระบบปฏิบัติการ Fuchsia รัน Chromium ได้แล้ว
- Log in or register to post comments
เราเห็นระบบปฏิบัติการ Fuchsia ของกูเกิลเริ่มเครื่องติด โดยปีนี้ กูเกิลเปลี่ยนไส้ในของ Nest Hub รุ่นแรกจาก CastOS มาเป็น Fuchsia แต่ยังแทบไม่เห็นความแตกต่างในมุมของผู้ใช้ เพราะ UI ที่ครอบยังเป็นแบบเดิม
ล่าสุดใน ฐานข้อมูลบั๊กของ Chromium ระบุว่ากูเกิลเริ่มพอร์ต Chrome ไปยัง Fuchsia แล้ว กระบวนการนี้ยังต้องใช้เวลาอีกมาก และมีบั๊กย่อยๆ อีกมากมายที่ต้องแก้ก่อน Chrome จะสามารถรันบน Fuchsia ได้เต็มรูปแบบ
Fuchsia เป็นระบบปฏิบัติการใหม่ ที่กูเกิลเริ่มพัฒนาตั้งแต่ปี 2016 และถูกคาดเดาไปต่างๆ นานา แต่คาดเดากันจนเบื่อแล้ว Fuchsia ก็ยังไม่เสร็จสักทีจนคนเลิกสนใจกันไป
เวลาผ่านมา 5 ปี เดือนมิถุนายน 2021 ถือเป็นเดือนสำคัญของ Fuchsia เพราะกูเกิลประกาศนำระบบปฏิบัติการนี้มารันบนฮาร์ดแวร์จริงเป็นครั้งแรก นั่นคือ Nest Hub หน้าจออัจฉริยะของบริษัทเอง (Google Home Hub เดิม) ที่ของเดิมใช้ระบบปฏิบัติการ CastOS เป็นลินุกซ์รุ่นดัดแปลง
หลังกูเกิลออกมา ให้ข้อมูล แบบเป็นทางการเมื่อปลายปีที่แล้ว ระบบปฏิบัติการ Fuchsia ที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับงานทั่ว ๆ ไป (general purpose) ก็เริ่มนำมาเผยแพร่ใช้งานจริง โดยจะอัพเดตกับผู้ใช้งาน Nest Hub รุ่นแรก ก่อน (ชื่อเดิม Google Home Hub) ซึ่งแทนที่ระบบปฏิบัติการเดิม CastOS ที่มีรากฐานเป็น Linux
ผู้ใช้ Nest Hub จะทยอยได้รับอัพเดตได้ไม่กี่เดือนข้างหน้า เริ่มจากกลุ่มผู้ใช้งานใน Preview Program ก่อน ซึ่ง 9to5Google บอกว่าผู้ใช้งานอาจไม่สังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงจากหน้าตาการใช้งานมากนัก
หลังเป็นโครงการลับที่ไม่ลับของกูเกิลอยู่นานตั้งแต่ปี 2016 (ไม่เคยพูดถึงอย่างเป็นทางการ แต่ โค้ดอยู่บน Git ที่เข้าได้แบบสาธารณะ ) วันนี้กูเกิลก็พูดถึง Fuchsia เป็นครั้งแรกผ่านบล็อก Google Open Source พร้อมประกาศว่าจะรับโค้ดจากนักพัฒนาภายนอกองค์กรแล้ว
กูเกิลเรียก Fuchsia ว่าเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับงานทั่วๆ ไป (general purpose) ที่ตั้งใจเป็นโครงการระยะยาว (long-term project) โดยใช้แนวคิดเรื่องความปลอดภัย การอัพเดตได้ง่าย และประสิทธิภาพ (prioritize security, updatability, and performance)
Google เริ่มการพัฒนาระบบปฏิบัติการ Fuchsia มาสักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งล่าสุด Google ได้เปิดเว็บไซต์ fuchsia.dev อย่างเป็นทางการ โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ของ Fuchsia
ข้อมูลของเว็บไซต์ Fuchsia จะเหมือนกับที่ Fuchsia Git แต่มาพร้อมฟอร์แมตที่ดีกว่า รวมถึงเป็นโดเมนที่ Google ยืนยันด้วย (ข้อมูลจาก WHOIS )
เราเห็นข่าวเกี่ยวกับ FuchsiaOS
ระบบปฏิบัติการใหม่ของ Google ซึ่ง Dave Burke หัวหน้าทีมแอนดรอยด์เคยบอกไปแล้วว่า ทีม Fuchsia เป็นอิสระจากทีม Android
ล่าสุด Google I/O ที่ผ่านมา Hiroshi Lockheimer ตำแหน่ง SVP ที่ดูแล Android, Chrome และ Chromecast ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า Fuchsia เป็นการทดลองคอนเซ็ประบบปฏิบัติการใหม่ของ Google เท่านั้นและ Google ก็มีการทดลองเทคโนโลยีใหม่อยู่เรื่อยๆ Fuchsia เป็นหนึ่งในนั้น
อาจเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับนักพัฒนาสาย JavaScript เมื่อ Yang Guo หนึ่งในนักพัฒนาของโครงการ Node.js ประกาศออกทวิตว่ากำลังช่วย Google หาคนทำงานอยู่ โดยเป็นนักพัฒนาที่สามารถพอร์ต (port) โครงการ Node.js ลง Fuchsia ได้
รายละเอียดของทวิตระบุว่า นักพัฒนาที่ได้ตำแหน่งนี้จะได้ทำงานในตำแหน่งวิศวกรซอฟต์แวร์ที่ Google ประจำสำนักงานเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี และจะต้องทำงานในสถานที่จริงเท่านั้น โดยจะต้องมีประสบการณ์ในการพัฒนา Node.js ส่วนแกนที่สำคัญ (core), C++ และ C++ toolchain ด้วย
เว็บไซต์ 9to5Google รายงานการพบไฟล์ Fuchsia SDK และ Android Emulator ใน repo บน Android Open Source Project (AOSP) ระบุ Fuchsia OS ใหม่ของกูเกิล จะสามารถรองรับแอป Android ด้วย ART (Android Runtime) เวอร์ชันพิเศษสำหรับ Fuchsia OS เพื่ออ่านไฟล์ .far ซึ่งเทียบเท่าไฟล์ .apk ของ Android
ภายใน AOSP ยังพบข้อมูลคำอธิบายของกูเกิลในไฟล์ README.md ด้วยว่า Fuchsia OS รองรับทั้งสถาปัตยกรรม x86 และ ARM64 ด้วยดังนี้
เว็บไซต์ 9to5Google พบโค้ดที่ส่งโดยวิศวกร Huawei เพื่อให้ Fuchsia OS รองรับชิป Kirin 970 พร้อมทดสอบรันบนมือถือ Honor Play แล้วด้วย ผ่าน Zircon เคอร์เนลของ Fuchsia OS ซึ่งเป็นเคอร์เนลที่ต่างจากบน Android ที่ใช้เคอร์เนลลินุกซ์
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่วิศวกร Huawei ส่งโค้ดไปยัง Fuchsia OS แต่เคยทำมาก่อนแล้วตั้งแต่ปีที่ผ่านมา
สำหรับ Fuchsia OS เป็นระบบปฏิบัติการใหม่ที่สำนักข่าว Bloomberg เคยอ้างข้อมูลวงในของกูเกิลว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาใหม่จากศูนย์ เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้ง IoT, รองรับการสั่งงานด้วยเสียง, เป็น OS ตัวเดียวสำหรับอุปกรณ์ทุกอย่างของบริษัท และต้องการแทนที่ทั้ง Android/Chrome OS ในอีก 5 ปีข้างหน้า
Bloomberg อ้างข้อมูลวงในของกูเกิล เกี่ยวกับ ระบบปฏิบัติการ Fuchsia ที่กูเกิลซุ่มพัฒนามานานกว่า 2 ปี
Google กำลังพัฒนาระบบปฏิบัติการใหม่ Fuchsia มาสักระยะหนึ่งแล้ว โดยเปิดให้ชุมชนนักพัฒนามีส่วนร่วมในการพัฒนาได้ ล่าสุด Chrome Unboxed รายงานว่า Google เริ่มปล่อยคำแนะนำให้นักพัฒนาโหลด Fuchsia ลงบน Pixelbook แล้ว
ในคู่มือเผยว่า การจะโหลด Fuchsia ได้จะต้องมี Pixelbook สองเครื่องเพื่อเป็นโฮสต์และทาร์เก็ตสำหรับโหลดตัวระบบปฏิบัติการเนื่องจากตัวระบบยังไม่ค่อยพร้อมนัก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากที่ Google เลือกใช้ Pixelbook ทำการทดสอบระบบปฏิบัติการใหม่ โดยก่อนหน้านี้ Fuchsia ในช่วงเริ่มต้นนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ฝังตัวมาก แต่ในช่วงหลังก็เริ่มขยายการทดลองไปยัง NUC ของ Intel หรือ Acer Switch Alpha 12 Chromebook แล้ว
กูเกิลร่วมส่งโค้ดเข้าโครงการภาษา Swift ของแอปเปิล โดยโค้ดถูกยื่นเพื่อเข้า GitHub ของ Swift แล้ว
สิ่งที่น่าสนใจคือ โค้ดจากกูเกิลเกี่ยวข้องกับ ระบบปฏิบัติการ Fuchsia ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการตัวที่สามของกูเกิล (นอกเหนือจาก Android และ Chrome OS) ที่ผ่านมา Fuchsia รองรับการเขียนแอพด้วยภาษา Dart, Go, C/C++ และจากหลักฐานล่าสุด เราจะเห็นว่า Fuchsia จะรองรับ Swift ด้วย
ตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า กูเกิลสร้าง Fuchsia ไปเพื่ออะไร
สิ่งหนึ่งที่ไม่มีพูดถึงเลยในงาน Google I/O 2017 คือ ระบบปฏิบัติการตัวใหม่ Fuchsia เรื่องนี้เลยมีคนยกมือถาม Dave Burke หัวหน้าทีม Android ในเรื่องนี้
คำตอบของเขาคือ Fuchsia เป็นโครงการทดลองที่เพิ่งเริ่มต้น (early stage experimental project) ซึ่งกูเกิลมีโครงการลักษณะนี้มากมาย และโครงการเหล่านี้อาจเปลี่ยนรูปแบบหรือยุบไปรวมกับโครงการอื่นในอนาคต ส่วน Fuchsia นั้นแยกการพัฒนาเป็นอิสระไม่ยุ่งกับ Android
สรุปว่าคำตอบของ Burke คือการไม่ให้ข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับ Fuchsia เพิ่มเติมนั่นเอง
ที่มา - Android Police
เมื่อเดือนสิงหาคม 2016 มีคนค้นพบระบบปฏิบัติการตัวใหม่ของกูเกิลชื่อ Fuchsia ที่ยังไม่แถลงข่าวเปิดตัว แต่พัฒนาแบบโอเพนซอร์สโดยมีโค้ดเผยแพร่บน Google Git/GitHub
ตอนนั้น Fuchsia ยังมีแต่คอมมานด์ไลน์ แต่ล่าสุดเว็บไซต์ Ars Technica ทดสอบและพบว่ามันมี GUI แล้วในชื่อ Armadillo
ระบบปฏิบัติการ Fuchsia ไม่ได้ใช้เคอร์เนลลินุกซ์ แต่ใช้เคอร์เนลใหม่ชื่อ Magenta ที่พัฒนาขึ้นเอง ส่วนอินเทอร์เฟซและแอพสร้างขึ้นด้วย Flutter เฟรมเวิร์คข้ามแพลตฟอร์มที่เขียนด้วยภาษา Dart
มีคนไปพบว่ากูเกิลแอบซุ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการตัวใหม่ชื่อ Fuchsia อยู่เงียบๆ โดยเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์ฝังตัวหรือ IoT
โครงการ Fuchsia พัฒนาแบบโอเพนซอร์ส มีหน้าเว็บอยู่บน Google Git และมิเรอร์บน GitHub
รายละเอียดของโครงการยังมีไม่เยอะนัก บอกว่าใช้เคอร์เนลตัวใหม่ชื่อ Magenta ที่พัฒนาต่อจากโครงการ LittleKernel, ส่วนติดต่อผู้ใช้จากโครงการ Flutter , ใช้ภาษา Dart เป็นภาษาหลักในการพัฒนา, รองรับซีพียู ARM 32/64 บิต และ x86 แบบ 64 บิต ตอนนี้มันสามารถรันได้บน Intel NUC และ Acer Switch Alpha 12 และในอนาคตจะใช้กับ Raspberry Pi 3 ได้ด้วย