Competition and Markets Authority (CMA) หน่วยงานกำกับดูแลการค้าของสหราชอาณาจักร อนุมัติ ดีลการควบกิจการบริษัทซอฟต์แวร์ความปลอดภัย NortonLifeLock กับ Avast มูลค่า 8 พันล้านดอลลาร์ ที่ประกาศในเดือนสิงหาคม 2021
NortonLifeLock เคยซื้อกิจการ Avira มาก่อนเมื่อปี 2020 และมาซื้อ Avast อีกต่อหนึ่ง หากดีลนี้ผ่านก็จะกลายเป็นอาณาจักรซอฟต์แวร์ความปลอดภัยรายใหญ่ที่มีผู้ใช้รวมกันมากกว่า 500 ล้านคน
NortonLifeLock เตรียมควบรวมกับ Avast ด้วยดีลมูลค่าประมาณ 8.1-8.6 พันล้านดอลลาร์ (ตามแต่การลงคะแนนของผู้ถือหุ้น Avast) ดีลนี้จะทำให้ NortonLifeLock กลายเป็นเจ้าของหุ้นทั้งหมดของ Avast และผนวกรวมกันกลายเป็นอาณาจักรแอนตี้ไวรัสขนาดยักษ์ที่มีผู้ใช้รวมกันกว่า 500 ล้านคน หลัง Norton ซื้อ Avira ช่วงเดือนธันวาคม 2020
Vincent Pilette ซีอีโอของ NortonLifeLock ระบุว่าการควบรวมครั้งนี้จะเสริมความแข็งแกร่งของบริการให้กับผู้ใช้มากกว่า 500 ล้านคนได้ในอนาคต และทำให้บริษัทสามารถเร่งนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะมาเปลี่ยนแปลงโลกความปลอดภัยไซเบอร์ได้ดียิ่งขึ้น
NortonLifeLock บริษัทแม่ปัจจุบันของ Norton Antivirus ( ร่างใหม่ของ Symantec หลังแยกกิจการในปี 2019 ) ประกาศฟีเจอร์ใหม่คือ Norton Crypto
Vincent Pilette ซีอีโอของ NortonLifelock ระบุว่าเงินคริปโตกลายมาเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตลูกค้าแล้ว แต่ที่ผ่านมา การขุดเหมืองยังทำได้ยาก มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจากโค้ดที่ใช้ขุดเหมือง ดังนั้นแทนที่จะเสี่ยง ปิดแอนตี้ไวรัสหรือซอฟต์แวร์ความปลอดภัยเพื่อขุดเหมือง ก็ทำให้ลูกค้าแอนตี้ไวรัสสามารถขุดเหมืองได้โดยตรงแทนดีกว่า
แอพความปลอดภัย Norton 360 จะสามารถแบ่งทรัพยากรเครื่องมาขุดเหมือง Ethereum ได้ จากนั้นเหรียญที่ได้จะเข้าในกระเป๋า Norton Crypto Wallet ที่ซิงก์กับคลาวด์ เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย
บริษัทแอนตี้ไวรัสซื้อกิจการกันเอง โดย NortonLifeLock (ชื่อใหม่ของ Symantec) ซื้อบริษัทร่มแดง Avira จากเยอรมนี มูลค่า 360 ล้านดอลลาร์ จ่ายเป็นเงินสดทั้งหมด
ที่มาที่ไปของทั้งสองบริษัทมีความซับซ้อนอยู่บ้าง เริ่มจากเมื่อปีที่แล้ว Symantec แยกครึ่งบริษัท โดยขายธุรกิจ Enterprise Security พร้อมแบรนด์ Symantec ให้กับ Broadcom โดยยังเหลือธุรกิจฝั่งคอนซูเมอร์เอาไว้คือ แอนตี้ไวรัสแบรนด์ Norton และบริการป้องกันข้อมูลส่วนตัว LifeLock จึงเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น NortonLifeLock
ช่วงหลังมานี้ ซอฟต์แวร์สอดแนม-ตามรอยที่เรียกว่า stalkerware หรือ spouseware ซึ่งมักใช้ในการติดตามพฤติกรรมของคู่รัก สามี/ภรรยา บุตรหลาน พนักงานในองค์กร ฯลฯ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกเรียกว่า legal spyware คือเป็นสปายแวร์ที่ถูกกฎหมาย (เพราะเป็นการใช้งานกับคนในครอบครัวกันเอง หรืออาจบอกว่ามันคือ parental control แทน) แม้ไม่ถูกต้องในเชิงจริยธรรม (ผู้ถูกติดตามไม่ทราบว่าถูกติดตั้งซอฟต์แวร์นี้)
Symantec ประกาศว่า ดีลขายกิจการ ส่วนของลูกค้าองค์กร (Enterprise Security) ให้กับ Broadcom ที่มูลค่า 10,700 ล้านดอลลาร์ ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งดีลนี้รวมการขายแบรนด์ Symantec ด้วย ทำให้ Symantec ต้องเปลี่ยนชื่อบริษัท
โดยชื่อใหม่คือ NortonLifeLockมีที่มาจากผลิตภัณฑ์ส่วนคอนซูเมอร์ที่ไม่ได้ขายออกไป นั่นคือแอนตี้ไวรัส Norton และบริการป้องกันข้อมูลส่วนตัว LifeLock นอกจากนี้ยังเปลี่ยนตัวย่อในการซื้อขายในตลาดหุ้นเป็น NLOK ด้วย
การขายธุรกิจส่วนองค์กรออกไป ทำให้จากนี้ NortonLifeLock จะโฟกัสที่การทำตลาดลูกค้าบุคคลเพียงอย่างเดียว
หลังมี ข่าวลือ ว่า Broadcom เจรจาซื้อ Symantec วันนี้ข่าวอย่างเป็นทางการออกมาแล้วว่า Broadcom ประกาศซื้อกิจการ Symantec ครึ่งบริษัท
บริษัท Symantec จะขายกิจการฝั่งลูกค้าองค์กร (Enterprise Security) พร้อมสิทธิการใช้แบรนด์ "Symantec" รวมมูลค่า 10.7 พันล้านดอลลาร์ (3.3 แสนล้านบาท) ให้กับ Broadcom โดยจ่ายเป็นเงินสดทั้งหมด