OpenAI ประกาศแต่งอดีตนายพล Paul M. Nakasone เป็นหนึ่งในบอร์ดของบริษัท โดยชูประสบการณ์เรื่องความมั่นคงไซเบอร์ของ Nakasone ว่าจะเข้ามาช่วยแนะนำแนวทางด้านความปลอดภัยของ AI
Paul Miki Nakasone เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น ปัจจุบันเขาเกษียณอายุแล้ว จุดที่น่าสนใจคือเขาเป็นอดีตผู้อำนวยการหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Agency - NSA) พร้อมควบตำแหน่งผู้อำนวยการกองกำลังไซเบอร์ของสหรัฐ (United States Cyber Command) ระหว่างปี 2018-2024 และเพิ่งลงจากตำแหน่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
Le Monde สื่อฝรั่งเศสรายงานว่า ฝ่ายนิติบัญญัติฝรั่งเศส ผ่านร่างกฎหมายที่อนุญาตให้ตำรวจสอดแนมผู้ต้องสงสัยในอาชญากรรมร้ายแรง ผ่านกล้อง ไมโครโฟน และตำแหน่ง GPS บนโทรศัพท์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (แต่ยังไม่แน่ชัดว่าวิธีการไหน รูปแบบไหน)
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าตำรวจจะสามารถใช้อำนาจนี้ได้ตามชอบ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้พิพากษาก่อน รวมถึงกฎหมายก็ห้ามบังคับใช้กับอาชีพนักข่าว, ทนาย และอาชีพอื่นๆ ที่มีความละเอียดอ่อน โดยจุดประสงค์ของกฎหมาย ตั้งใจจะจำกัดการใช้งานเฉพาะคดีที่ร้ายแรงเท่านั้น รวมถึงการเข้าถึงตำแหน่ง จะทำได้เฉพาะกรณีที่ความผิด มีโทษจำคุก 5 ปีขึ้นไปเท่านั้น
รัฐบาลสหราชอาณาจักร ออกคำสั่งห้ามใช้งานกล้องวงจรปิดจากประเทศจีน ในพื้นที่ของหน่วยงานภาครัฐ ด้วยเหตุผลว่าบริษัทผู้ผลิตกล้องเหล่านี้จะต้องทำตามกฎหมายข่าวกรองแห่งชาติ (National Intelligence Law) ของรัฐบาลจีน มีความเสี่ยงที่จะต้องส่งข้อมูลกลับไปให้รัฐบาลจีน
หน่วยงานภาครัฐของสหราชอาณาจักรจะต้องหยุดการใช้กล้องจากจีนในพื้นที่อ่อนไหวสูง (sensitive sites) โดยทันที ส่วนพื้นที่อื่นๆ ก็ให้เป็นวิจารณญาณของแต่ละหน่วยงานในการตัดสินใจว่าควรทำอย่างไร
ที่มา - UK Parliament via The Register
นักวิเคราะห์ระบุแอปสำหรับนักกีฬาโอลิมปิกส์ฤดูหนาวที่จีนมีช่องโหว่และเก็บข้อมูล ควรใช้มือถือแบบใช้แล้วทิ้ง
บริษัทวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ Internet 2.0 ให้คำแนะนำสำหรับนักกีฬาที่เตรียมตัวไปแข่งโอลิมปิกส์ฤดูหนาว ว่าควรซื้อมือถือใหม่แบบใช้แล้วทิ้งไปเป็น “burner phone” โดยใช้คู่กับแอคเคาท์ต่างๆ เช่น Google หรือ Apple ที่สร้างใหม่สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ เพื่อเลี่ยงความเสี่ยงในการถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว และไม่ควรนำมือถือเครื่องนั้นมาใช้ต่อหลังออกจากประเทศจีนแล้ว
กระทรวงการคลังสหรัฐ (Department of the Treasury) ออกคำสั่งแบนบริษัทเทคโนโลยีจีน 8 ราย ที่สนับสนุนการสอดส่องชาวมุสลิมอุยกูร์ ในมณฑลซินเจียงของประเทศจีน
คำสั่งแบนนี้มีผลให้บุคคลในสหรัฐอเมริกา ไม่สามารถซื้อหรือขายหุ้นของบริษัทเหล่านี้ในตลาดหลักทรัพย์ได้
บริษัทเทคโนโลยีจีนทั้ง 8 รายได้แก่
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา บริษัท Irisity ผู้ให้บริการด้านโปรแกรมวิเคราะห์วิดีโอด้วย AI สัญชาติสวีเดนระบุว่าได้นำส่งโปรแกรมวิเคราะห์วิดีโอให้กับรัฐบาลไทย เพื่อใช้ในการรักษาความมั่นคงของรัฐทั่วประเทศ
ดีลนี้มูลค่าเริ่มต้น 1 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 3.34 ล้านบาท แต่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลอื่น โดย Irisity ระบุว่าข้อมูลเป็นความลับตามปกติของอุปกรณ์ด้านความมั่นคงและเป็นไปเพื่อการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า
หลังจากข่าวเรื่อง Apple เตรียมเพิ่มฟีเจอร์รายงานผู้ใหญ่เมื่อเด็กรับหรือส่งภาพโป๊ เพิ่งประกาศออกมาก็เป็นประเด็นใหญ่ในเรื่องความเป็นส่วนตัว ล่าสุด หัวหน้าฝ่าย WhatsApp ของ Facebook ได้แสดงความกังวลต่อแผนนี้
Will Cathcart หัวหน้าฝ่าย WhatsApp โพสต์ผ่าน Twitter บัญชี @wcathcart ว่า Apple สร้างและดำเนินระบบสอดแนบที่ใช้สแกนข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเหตุผลใดก็ได้ที่ Apple เองหรือรัฐบาลตัดสินใจว่าสิ่งนี้ต้องควบคุม พร้อมแสดงความกังวลในกรณีหากรัฐบาลจีนหรือรัฐบาลประเทศอื่นจะใช้ระบบนี้อย่างไร? หรือจะโดนบริษัทสปายแวร์นำไปใช้ในทางที่ผิดหรือไม่?
สำนักข่าว Reuters รายงานว่าบริษัทโทรคมนาคมหลายแห่งในเมียนมา ได้รับคำสั่งลับจากรัฐบาลทหารเมียนมา ห้ามผู้บริหารระดับสูงเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าเป็นผู้บริหารชาวเมียนมาหรือชาวต่างชาติก็ตาม
นอกจากนี้ บริษัทโทรคมนาคมเหล่านี้ยังได้รับคำสั่งให้ติดตั้งระบบดักจับข้อมูล โดยมีกำหนดว่าต้องเสร็จภายในวันที่ 5 กรกฎาคม (วันนี้) ซึ่งรัฐบาลทหารมีแรงกดดันอย่างต่อเนื่องให้บริษัทเหล่านี้ติดตั้งระบบดักจับข้อมูลให้เสร็จโดยเร็ว
เมียนมามีโอเปอเรเตอร์โทรศัพท์มือถือรายใหญ่ 4 ราย ได้แก่
Facebook รายงานผลการค้นพบแฮกเกอร์ชาวจีนที่ใช้แพลตฟอร์มในการพยายามแฮกบัญชีและกระจายมัลแวร์ทางอินเทอร์เน็ต โดยกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มชาวอุยกูร์ในต่างแดน
กลุ่มแฮกเกอร์นี้ ในวงการความปลอดภัยจะรู้จักในชื่อว่า Earth Empusa, Evil Eye หรือ White PoisonCarp จะใช้แพลตฟอร์มของตัวเองกระจายมัลแวร์และแฮกบัญชีผู้ใช้บนอินเทอร์เน็ต กลุ่มเป้าหมายคือชาวอุยกูร์ในต่างประเทศที่เป็นนักกิจกรรม นักข่าว ทั้งในสหรัฐฯ, ตุรกี, ซีเรีย, ออสเตรเลีย และแคนาดา
บอสตัน เมืองหลวงของรัฐแมสซาชูเซตส์ในสหรัฐฯ ออกกฎห้ามหน่วยงานของเมืองใช้งานระบบจดจำใบหน้าอย่างเป็นทางการ จากมติการลงคะแนนเป็นเอกฉันท์โดยสมาชิกสภาเมืองทั้งหมด 13 คน
ตามกฎหมายของเมืองบอสตันนี้ คือกำหนดห้ามหน่วยงานของเมืองรวมถึงตำรวจใช้ระบบรู้จำใบหน้า ซึ่งรวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้จากบุคคลที่สามด้วย โดยจะมีข้อยกเว้นเฉพาะกรณีเกี่ยวกับอาชญากรรมบางกรณีเท่านั้น
Michelle Wu หนึ่งในสมาชิกสภาเมืองบอสตันระบุว่า บอสตันไม่ควรจะใช้เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการแบ่งแยก ซึ่งจะเป็นภัยคุกคามต่อความเป็นส่วนตัวและสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้อาศัยในเมือง
เว็บไซต์ ABACUS ของจีน รายงานว่าตอนนี้มีปัญหาความปลอดภัยกล้องวงจรปิดในบ้าน คือแฮกเกอร์เข้าขโมยข้อมูลบัญชีและเอาบัญชีนั้นๆ ไปขายลงออนไลน์ และขายได้ในราคาเพียงแค่ 50 หยวน หรือราว 218 บาท ตำรวจบอกว่ามีผู้ได้รับผลกระทบเป็นหมื่นบัญชีเลยทีเดียว
ช่วงหลังมานี้ ซอฟต์แวร์สอดแนม-ตามรอยที่เรียกว่า stalkerware หรือ spouseware ซึ่งมักใช้ในการติดตามพฤติกรรมของคู่รัก สามี/ภรรยา บุตรหลาน พนักงานในองค์กร ฯลฯ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกเรียกว่า legal spyware คือเป็นสปายแวร์ที่ถูกกฎหมาย (เพราะเป็นการใช้งานกับคนในครอบครัวกันเอง หรืออาจบอกว่ามันคือ parental control แทน) แม้ไม่ถูกต้องในเชิงจริยธรรม (ผู้ถูกติดตามไม่ทราบว่าถูกติดตั้งซอฟต์แวร์นี้)
Mark Zuckerberg ให้สัมภาษณ์กับ Jonathan Zittrain อาจารย์ด้านกฎหมายของ Harvard Law School ในประเด็นที่หลากหลาย
หนึ่งในประเด็นที่สนทนาคือเรื่องการเข้ารหัสแบบ end-to-end ซึ่ง Zuckerberg บอกว่าเขาสนับสนุนแนวทางนี้ เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ โดยยกตัวอย่างเปรียบเทียบว่า "การส่งข้อความเหมือนกับห้องนั่งเล่นในบ้าน และเราคงไม่อยากอยู่ในสังคมที่มีกล้องในห้องนั่งเล่นทุกบ้านหรอก"
เจตนาของ Zuckerberg ตั้งใจหมายความว่าการส่งข้อความโดยไม่เข้ารหัส เหมือนกับห้องนั่งเล่นที่มีกล้องให้คนอื่นสอดส่องเราได้ อย่างไรก็ตาม วิธีการเปรียบเทียบของเขาดันไปเหมือนกับ Portal ฮาร์ดแวร์ของ Facebook ที่มีกล้องคุยวิดีโอคอลล์ในห้องนั่งเล่น
Amazon มีผลิตภัณฑ์หนึ่งชื่อว่า Rekognition เป็นเทคโนโลยีสแกนตรวจจับใบหน้าเรียลไทม์ มีรายงานจาก The Washington Post ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจในเมืองออร์แลนโด และโอเรกอนได้ใช้ Rekognition นี้ด้วย โดยใช้ข้อตกลงเพื่อไม่เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ ส่งผลให้เกิดความกัลวลเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะเจ้าหน้าที่สามารถเรียกใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าแบบ real-time บนเครือข่ายกล้องทั่วเมืองได้
ล่าสุดผู้ถือหุ้น Amazon ออกมากดดันให้ Amazon ล้มเลิกการขายเทคโนโลยี Rekognition แก่หน่วยงานรัฐ ในจดหมายที่ผู้ถือหุ้นรวมตัวกันสื่อสารไปยัง Amazon ระบุว่า "เรากังวลว่าเทคโนโลยีนี้จะใช้เพื่อกำหนดเป้าหมายและสำรวจผู้อพยพและองค์กรภาคประชาสังคมอย่างไม่เป็นธรรม และยังกังวลว่ายอดขายอาจเพิ่มขึ้นสำหรับรัฐบาลในระบอบเผด็จการ"
เมื่อวานนี้ (ตามเวลาในประเทศไทย) Theresa May นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ได้แถลงที่หน้าบ้านพักและสถานที่ทำงานของนายกรัฐมนตรี (รู้จักกันในนาม 10 Downing Street หรือ Number 10) โดยระบุว่าอินเทอร์เน็ตต้องถูกควบคุม เพื่อให้มีความปลอดภัยกับพลเมืองของอังกฤษ หลังจากเหตุก่อการร้ายกลางกรุงลอนดอนเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา และมีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง
นายกรัฐมนตรีอังกฤษระบุว่า การควบคุมอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น เพราะผู้ก่อการร้ายหัวรุนแรงใช้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ปลอดภัย (safe spaces) ในการแผยแพร่ความรุนแรง พร้อมทั้งยังกล่าวโทษบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ว่ายังมีมาตรการป้องกันที่ไม่ดีเพียงพอ และอังกฤษจะไม่ยอมให้ผู้ก่อการร้ายเหล่านี้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นที่บ่มเพาะความรุนแรง โดยจะทำงานร่วมกับรัฐบาลชาติพันธมิตรเพื่อสร้างข้อตกลงในการควบคุมอินเทอร์เน็ตที่มีเป้าหมายเพื่อจำกัดพื้นที่ของกลุ่มก่อการร้าย
ทั้งนี้ ท่าทีของรัฐบาลอังกฤษที่แสดงผ่านนายกรัฐมนตรีอังกฤษครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเมื่อปี 2009 Gordon Brown นายกรัฐมนตรีอังกฤษในเวลานั้นก็เคยกล่าวลักษณะเช่นนี้ เพียงแต่ตอนนั้นไม่ได้มาหลังจากเหตุการณ์ก่อการร้ายเหมือนรอบนี้
ที่มา - The Independent
ในปัจจุบันที่ความเป็นส่วนตัวและการสอดแนมเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญ เรามักเห็นข่าวต่างๆ ออกมาจากในมุมของนักรณรงค์ ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย แต่หากเรามองการสอดแนมจากมุมของบุคคลผู้ทำหน้าที่ดักฟังสอดแนม และเก็บข้อมูล เราจะมองการสอดแนมไปอย่างไร?
- Read more about รีวิวเกม Orwell -- เมื่อคุณคือผู้ทำหน้าที่ดักฟัง
- 8 comments
- Log in or register to post comments
ประเด็นต่อสู้กับการสอดส่องจากภาครัฐเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มีการพูดถึงกันอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด Adam Harveyศิลปินที่ใช้แฟชั่นเพื่อต่อกรกับการสอดส่องร่วมมือกับ Hyphen-Labsนำเสนอ “HyperFace”ลวดลายแพทเทิร์นที่ถูกออกแบบมาเพื่อหลอกซอฟต์แวร์ระบบจดจำใบหน้า (Facial Recognition) ให้คิดว่าลวดลายที่เห็นนั้นคือดวงตาและปากของมนุษย์ ลวดลายนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งบนเสื้อผ้าหรือผ้าพันคอ เพื่อหลอกซอฟต์แวร์ดังกล่าว
HyperFace จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 16 มกราคา 2017 ที่เทศกาลภาพยนตร์ Sundance Film Festival โดยเป็นส่วนหนึ่งของโปรเจ็คท์ที่ชื่อว่า NeuroSpeculative AfroFeminism
สถานการณ์การรักษาความมั่นคงในอังกฤษมีความคืบหน้าในวันนี้ คือ ร่างกฎหมาย Investigatory Powers ที่ให้อำนาจเจ้าหนาที่สืบสวนในการเข้าถึงข้อมูลอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ผ่านสภาในอังกฤษทั้งสองสภาแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายเหลือเพียงพระราชินีลงนามยอมรับเท่านั้น
กฎหมายตัวนี้มีการถกเถียงกันมานานเป็นปี เพราะฝั่งปกป้องสิทธิมนุษยชนเห็นว่ากฎหมายนี้ละเมิดความเป็นส่วนตัว เนื้อหาของกฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมและมีอำนาจจัดการในเรื่องต่างๆ ดังนี้
หน่วยงานอังกฤษที่รับผิดชอบเรื่องกล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัย ออก ร่างแนวทางการใช้กล้องวงจรปิด เป็นเอกสาร 16 หน้า มีใจความสำคัญว่า กล้องวงจรปิดตามสถานที่สาธารณะ ต้องใช้งานเพื่อปกป้องประชาชนจากอันตราย และไม่เป็นการสอดแนมประชาชนเสียเอง
เมื่อวันที่ 7 ก.ค. บริษัท Axis Communications ผู้ผลิตกล้องวงจรปิด จัดงาน Axis Solutions Expo 2016 ภายใต้แนวคิด Innovating for Smarter, Safer World แสดงสินค้า นวัตกรรม และเทคโนโลยีกล้องวงจรปิดในยุคดิจิทัลที่มีความสามารถนอกเหนือจากบันทึกภาพ โดยเทคโนโลยีเด่นที่จัดแสดงในงาน มีลักษณะการทำงานภาคธุรกิจที่กล้องวงจรปิดสามารถเข้าไปเป็นโซลูชั่นได้
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ทางการจีนได้สั่งให้ China Electronics Technology Group ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจ ทำการพัฒนาระบบวิเคราะห์แนวโน้มการก่อการร้ายและอาชญากรรม โดยใช้ข้อมูลส่วนตัวที่เก็บได้จากประชาชนเป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์
ระบบดังกล่าวนี้จะใช้ข้อมูลทั้งเรื่องของอาชีพ งานอดิเรก พฤติกรรมการบริโภค และตัวบ่งชี้พฤติกรรมอื่นๆ ของประชาชนในรัฐ เพื่อวิเคราะห์หาแนวโน้มของการก่อการร้ายหรืออาชญากรรมก่อนที่จะเกิดขึ้นจริง โดยตัวแทนของรัฐวิสาหกิจดังกล่าวระบุว่าเป็นความจำเป็นที่จะต้องมีการสร้างระบบป้องกันที่ดีพอ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุแล้วต้องมาตามแก้ไขกันในภายหลัง
ต่อจากข่าว ปากีสถานเตรียมสั่งปิดระบบข้อความเข้ารหัสของ BlackBerry ด้วยเหตุผล "ความมั่นคง" ตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา ความคืบหน้าล่าสุดคือ BlackBerry เตรียมถอนตัวจากการทำธุรกิจในปากีสถานแล้ว
BlackBerry บอกว่าเสียใจที่ต้องออกจากปากีสถาน แต่การยอมให้รัฐบาลปากีสถานเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้เป็นสิ่งที่บริษัทยอมไม่ได้ บริษัทไม่มีนโยบายให้รัฐบาลของประเทศใดเข้าถึงข้อมูลผ่านช่องทางพิเศษ (back door) แต่ก็ยินดีให้ข้อมูลเป็นกรณีไปกับหน่วยงานรักษากฎหมายของประเทศนั้นๆ
Seagate เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5" ความจุ 8TB ที่ออกแบบมาสำหรับกล้องวงจรปิดเป็นพิเศษ ฮาร์ดดิสก์รุ่นนี้ใช้ชื่อว่า Seagate Surveillance HDD จุดเด่นนอกจากความจุแล้ว ยังรองรับการเขียนข้อมูลจำนวนมาก (180TB ต่อปี) มากกว่าฮาร์ดดิสก์เกรดปกติ 3 เท่า
เมื่อวานนี้ วุฒิสภาของสหรัฐฯ ได้ทำการลงมติผ่านร่างรัฐบัญญัติ Cybersecurity Information Sharing Act (CISA) ด้วยคะแนนเสียง 74 ต่อ 21 ท่ามกลางกระแสคัดค้านจากนักวิชาการและบริษัทต่างๆ ของสหรัฐฯ อย่างหนักหน่วง ในช่วงที่ผ่านมา
ตามกฎหมายฉบับนี้ บริษัทมีหน้าที่แบบไม่ผูกพัน (voluntary) ในการส่งข้อมูลของผู้ใช้ตามที่หน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ ต้องการและร้องขอ ซึ่งมีความกำกวมว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นคืออะไรกันแน่ และอาจขยายขอบเขตไปถึงข้อมูลส่วนตัวต่างๆ แม้ว่าจะมีการระบุว่าข้อมูลเหล่านี้ต้องถูกทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนได้ (anonymized) ก็ตาม
สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า กสทช. ปากีสถาน สั่งให้โอเปอเรเตอร์ในประเทศปิดบริการ BlackBerry Enterprise Services (BES) ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2015 เป็นต้นไป ด้วยเหตุผลด้าน "ความมั่นคง"
คาดว่าสาเหตุของการสั่งปิด BES ครั้งนี้เป็นเพราะหน่วยข่าวกรองปากีสถาน ไม่สามารถสอดแนมข้อความที่ถูกเข้ารหัสในระบบ BlackBerry ได้ จึงต้องสั่งให้ผู้ให้บริการในประเทศยุติบริการ BES แทน
ก่อนหน้านี้ BlackBerry เจอปัญหาแบบเดียวกันกับรัฐบาลอินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย และอินโดนีเซีย
ที่มา - Reuters