หลังจาก QUIC เข้าเป็น มาตรฐาน RFC9000 ก็นับว่าพร้อมใช้งานสำหรับบริการทั่วไปแล้ว สัปดาห์นี้ทาง Snapchat ก็ออกมารายการใช้งาน QUIC แบบจำกัดในผู้ใช้บางส่วน
Snapchat มีผู้ใช้บนโทรศัพท์มือถือ และหลายครั้งปัญหาการเชื่อมต่อเกิดจากผู้ใช้เปลี่ยนเน็ตเวิร์คจาก Wi-Fi ไปยังเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ทำให้การเชื่อมต่อตัดขาดและการเชื่อมต่อใหม่ใช้เวลานานเนื่องจากต้องเชื่อมต่อ TCP+TLS+HTTP2 การใช้ QUIC ช่วยให้ส่งข้อมูลได้ต่อเนื่องแม้ผู้ใช้เปลี่ยนไอพี (มีหมายเลขประจำตัวการเชื่อมต่อขนาด 64 บิต)
Cloudflare ประกาศรองรับ QUIC เวอร์ชั่น 1 หลังจาก IETF ออกมาตรฐาน RFC9000 เพียงหนึ่งวัน
โดยเลขเวอร์ชั่นที่ส่งระหว่างเชื่อมต่อจะกลายเป็น 0x00000001
จากเดิมเวอร์ชั่นดราฟจะเป็น 0xff00001b
(draft 27), 0xff00001c
(draft 28), และ 0xff00001b
(draft 29)
แม้ว่ามาตรฐานตัวจริงยังไม่ออกมา แต่เบราว์เซอร์จำนวนหนึ่งก็รองรับ QUIC มานานแล้ว (กูเกิลใส่ QUIC ใน Chrome เพื่อเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์กูเกิลเองแต่แรก) ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีอัตราการเชื่อมต่อ HTTP/3 ที่เลเยอร์ล่างเป็น QUIC ไปยัง Cloudflare ถึง 12.44%
โปรโตคอล QUIC เป็นกระบวนการเชื่อมต่อสำหรับเว็บที่ กูเกิลเสนอมาตั้งแต่ปี 2015 เพื่อเร่งความเร็วเริ่มต้น โดยเฉพาะการเชื่อมต่อแบบเข้ารหัสที่ปกติต้องส่งข้อมูลไปมาหลายครั้งก่อนจะเชื่อมต่อได้ ที่ผ่านมาโปรโตคอลมีการปรับแต่งหลายครั้งและแต่ละเวอร์ชั่นทำงานร่วมกันไม่ได้ วันนี้ทาง IETF ก็ประกาศมาตรฐานกลาง QUIC เป็น เอกสาร RFC9000
มาตรฐานของ QUIC จริงๆ จะออกเป็นชุด ตอนนี้มีเอกสาร RFC ออกมาแล้ว ได้แก่
- Read more about โปรโตคอล QUIC นิ่งแล้ว ออกเป็นมาตรฐาน RFC9000
- 3 comments
- Log in or register to post comments
ไมโครซอฟท์ประกาศโอเพนซอร์สไลบรารี MsQuic สำหรับการอิมพลีเมนต์ โปรโตคอล HTTP/3 หรือ QUIC โดยระบุว่าเป็นไลบรารีเดียวกับที่ไมโครซอฟท์จะใช้งานเอง
MsQuic กำลังถูกใช้งานภายในไมโครซอฟท์หลายส่วน ทั้ง Microsoft 365 ที่เริ่มรองรับ HTTP/3, ไลบรารีใน .NET Core 5.0, และ SMB ในวินโดวส์ที่กำลังทดสอบการรองรับ QUIC เช่นกัน โดยการรองรับ SMB บน QUIC นับเป็นการทดสอบสำคัญเพราะจะแสดงให้เห็นว่า QUIC สามารถใช้งานทั่วไปได้ ไม่ต้องเป็นเว็บ โดย QUIC มีความได้เปรียบที่การส่งข้อมูลเริ่มได้ทันทีตั้งแต่การส่งแพ็กเก็ตแรก (0-RTT) ทำให้ระยะเวลาหน่วงในการใช้งานแอปพลิเคชั่นลดลง และสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเมื่อปริมาณข้อมูลเต็มแบนวิดท์ (congestion control) ได้ ทำให้ทดสอบและใช้งานเทคนิคใหม่ๆ ได้เร็วขึ้นเทียบกับ TCP ที่ต้องรอระบบปฎิบัติการอัพเดต