Juniper Networks ประกาศเตรียมเข้าซื้อกิจการ 128 Technology สตาร์ทอัพที่พัฒนา AI สำหรับ SD-WAN มูลค่าดีลรวม 450 ล้านดอลลาร์ โดยจ่ายเป็นเงินสดและหุ้นของ Juniper
ดีลนี้เป็นดีลที่ Juniper ซื้อกิจการด้าน AI ต่อจาก Mist ในปี 2019 ซึ่ง Juniper ระบุว่าทำให้พอร์ตโฟลิโอ SD-WAN ของบริษัทโดดเด่นในด้านการบริหารจัดการเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วย AI ช่วยลดความยุ่งยากและยังลดค่าใช้จ่ายขององค์กรนั่นเอง
ข้อมูลจาก Crunchbase ระบุว่า 128 Technology ก่อตั้งในปี 2014 มีการเพิ่มทุนครั้งสุดท้ายซีรี่ส์ D ไป 30 ล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2019 นำโดยกองทุน G20 และ The Perkins Fund ได้เงินเพิ่มทุนรวมกว่า 96 ล้านดอลลาร์
สัปดาห์ที่ผ่านมา Cisco จัดงานสัมมนาประจำปี Cisco Live! 2018 มีเนื้อหาต่อเนื่องมาจากงานปี 2017 ที่เน้นให้วิศวกรเครือข่ายหัดเขียนโปรแกรม
ประกาศสำคัญในงานคือแพลตฟอร์ม Cisco DNA Center (ชื่อเรียก Software-Defined Networking หรือ SDN ของ Cisco) เปิด API ให้เรียกใช้งานแล้วกว่า 100 ตัว โดยมีบริษัทพาร์ทเนอร์หลายราย เช่น ServiceNow, Accenture โชว์เดโมการเข้ามาเชื่อมต่อ API ของ Cisco ในแง่ต่างๆ
Cisco บอกว่าในโลกของ OS บนคอมพิวเตอร์หรือมือถือ เปิดให้นักพัฒนาภายนอกเข้ามาสร้างแอพกันเป็นเรื่องปกติ แต่ในโลกของเครือข่ายเป็นระบบปิดมาโดยตลอด ตอนนี้ถึงเวลาเปลี่ยนมันเป็นระบบเปิดสักที
สัปดาห์ที่ผ่านมา Cisco จัดงานประจำปี Cisco Live 2017 โดยเปิดตัววิสัยทัศน์ใหม่ Intent-based Networking ระบบเครือข่ายแห่งอนาคตที่ฉลาดขึ้น นำเทคนิค big data, machine learning เข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนคอนฟิกของเครือข่ายให้เหมาะสมกับทราฟฟิกตลอดเวลา
Cisco ระบุว่าสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบใหม่ จำเป็นต้องใช้ทักษะใหม่ๆ ในการจัดการ โดยเป้าหมายของ Cisco คือคนสองกลุ่ม
จากข่าว Cisco เข้าซื้อ Viptela สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีเครือข่ายองค์กร อยากขอวิเคราะห์เหตุผลของการซื้อกิจการครั้งนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อยุทธศาสตร์ software-defined wide area network (SD-WAN) ของ Cisco ในอนาคต
SD-WAN คือเทคโนโลยีการจัดการเครือข่ายเชื่อมหลายสาขาแบบใหม่ ที่นำแนวคิดของ SDN (sofware-defined networking) เข้ามาใส่เพื่อให้บริหารจัดการง่ายขึ้นและลดต้นทุนการดูแลรักษาลง ทุกวันนี้ Cisco มีผลิตภัณฑ์ตระกูล SD-WAN อยู่แล้วสองตัวคือ Cisco Intelligent WAN (IWAN) และ Meraki SD-WAN ที่ได้จาก การซื้อ Meraki ในปี 2012
HP ประกาศซื้อกิจการบริษัท ConteXtream ที่ทำซอฟต์แวร์ด้านเครือข่ายเสมือน (software-defined networking หรือ SDN) ด้วยมูลค่าไม่เปิดเผย
ทุกวันนี้ HP มีธุรกิจด้านอุปกรณ์เครือข่ายจาก การซื้อ 3Com ในปี 2009 และเมื่อต้นปีก็เพิ่งซื้อ Aruba Networks มาเพิ่ม
Cisco ACI เปิดเราเตอร์ให้ควบคุมจากซอฟต์แวร์ภายนอกมาได้ ตอนนี้สำหรับผู้ดูแลระบบที่ชอบเขียนภาษา Python ก็มีตัวเลือกให้ใช้งานแล้ว เมื่อซิสโก้เปิดตัว acitoolkit ให้ดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี แถมโอเพนซอร์สแบบ Apache License 2.0
ตัว Cisco ACI เดิมก็รองรับ REST API อยู่แล้ว แต่การรองรับภาษา Python ตรงๆ ก็น่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับหน่วยงานที่ต้องการควบคุมเครือข่ายด้วยซอฟต์แวร์ไม่ต้องไปครอบ REST ด้วยภาษาที่ใช้พัฒนากันเอง อย่างไรก็ดียังมีบริการหลายตัวไม่รองรับในไลบรารีนี้ ได้แก่ service graphs, VMM Domains, SPAN, Atomic Counters, และการดึงค่าตรวจสอบอีกหลายอย่าง แต่ API ที่ให้มาก็น่าจะพอสำหรับการคอนฟิกพื้นฐานได้จำนวนมาก
- Read more about Cisco ACI เปิด API ภาษา Python
- 1 comment
- Log in or register to post comments
จากข่าวล่าสุดเรื่องโครงการ สวิตซ์เครือข่ายแบบเปิด Wedge ของ Facebook นักวิเคราะห์หลายสำนักต่างตั้งข้อกังวลว่าโครงการนี้อาจส่งผลกระทบกับ Cisco ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์เครือข่ายรายใหญ่โดยตรง เพราะอาจเป็นการเปลี่ยนเกมธุรกิจฮาร์ดแวร์ให้เป็น commodity มากขึ้น
โฆษกของ Cisco ได้ชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าวว่าโครงการนี้มีค่าใช้จ่ายแฝงในการนำไปใช้จริงอยู่มาก โดยเฉพาะค่าแรง ตัวอย่างเช่นโครงการวางระบบเครือข่ายทั่วไปนั้น ค่าใช้จ่ายฮาร์ดแวร์จะอยู่ราว 30% ขณะที่ค่าแรงบุคลากรอยู่ที่ 50% ซึ่งตัวเลขจะสูงขึ้นกว่านี้มากหากเป็นสวิตซ์เครือข่ายแบบเปิด นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายแฝงอย่างค่าไลเซนส์ซอฟต์แวร์เครือข่ายเสมือนจริงเพิ่มเข้ามาอีก
โครงการ Open Compute เริ่มต้นจากการออกแบบเซิร์ฟเวอร์ แต่ภายหลังก็ประกาศขยายมาทำอุปกรณ์เครือข่ายเป็นลำดับต่อไป ( ข่าวเก่า 1 , ข่าวเก่า 2 ) วันนี้มีผลงานเป็นรูปเป็นร่างออกมาโชว์แล้วครับ
อุปกรณ์ตัวแรกคือ "สวิตช์" ที่อยู่ภายใต้แนวคิดใหม่คือแยกส่วนการทำงานเป็นระดับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ (ตามแนวคิด software-defined networking) ผลงานที่ออกมาจึงถูกแยกเป็น 2 ส่วนด้วยเช่นกัน
ฮาร์ดแวร์: Wedge
ฮาร์ดแวร์สวิตช์ของ Facebook ใช้โค้ดเนมว่า "Wedge" มันคือสวิตช์เครือข่ายแนวใหม่ที่ใช้ชิ้นส่วนที่หาได้ทั่วไป
สำหรับผู้ดูแลเครือข่าย ปัญหาหนึ่งที่มักจะพบกันอยู่เสมอคือเรื่องของการตั้งค่าอุปกรณ์ ที่มักจะมีความแตกต่างกันไปตามผู้ผลิตแต่ละราย ซึ่งปัญหานี้ย่อมหมายถึงความปวดหัวของผู้ดูแลเครือข่าย ที่มีภาระในการจัดการอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน แต่จะต้องให้ทำงานร่วมกันให้ได้ ซ้ำร้ายกว่านั้น เรามักจะพบอุปกรณ์ที่การจัดการเป็นไปในลักษณะ “ปิด” กล่าวคือ ไม่มีหนทางอื่นในการจัดการอุปกรณ์ร่วมกัน นอกจากต้องใช้วิธีการเข้าถึง (เช่น telnet/ssh) ในการเข้าไปจัดการแต่ละอุปกรณ์
- Read more about รู้จักกับ Software-defined Network (SDN)
- 7 comments
- Log in or register to post comments
จากข่าว เลอโนโวซื้อกิจการเซิร์ฟเวอร์ x86 จากไอบีเอ็ม สิ่งที่ IBM ขายออกไปมีทั้งเซิร์ฟเวอร์และฮาร์ดแวร์เครือข่าย (เช่น สวิตช์) บางส่วน
ล่าสุดมีข่าวว่า IBM กำลังอยากขายหน่วยธุรกิจด้าน Software Defined Networking (SDN) หรือโซลูชันเครือข่ายที่ควบคุมด้วยซอฟต์แวร์ออกไปอีกเช่นกัน ส่วนเหตุผลในการขายน่าจะมาจาก IBM อยากไปเน้นกิจการด้านอื่นๆ เช่น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson หรือ ระบบกลุ่มเมฆ SoftLayer แทน
Cisco เปิดตัวหน่วยประมวลผลสำหรับเครือข่าย (network processor) รุ่นใหม่ในชื่อ nPower X1
nPower X1 มุ่งเป้าจับตลาดอุปกรณ์เครือข่ายยุคหน้าที่ต้องการพลังประมวลผลสูงๆ เพื่อจัดการกับแบนด์วิธจำนวนมหาศาลในยุค Internet of Things และบริหารจัดการโดยซอฟต์แวร์ (SDN - software-defined networking) มันจึงถูกออกแบบมาให้ทำงานด้านเครือข่ายแล้วให้ประสิทธิภาพสูง รองรับ throughput ที่ 400 Gbps ต่อชิปหนึ่งตัว (เมื่อใช้ชิปหลายตัวประมวลผลร่วมกันจึงรองรับโหลดขนาดหลาย Tbps ได้)
Cisco ยังบอกว่ามันรองรับ transaction ที่ไม่ซ้ำกันได้จำนวน "หลายร้อยล้าน" ต่อวินาที ส่วนรายละเอียดทางเทคนิคจะเปิดเผยเพิ่มเติมในวันที่ 24 กันยายนนี้