โครงการภาษา Swift ของแอปเปิลออกเวอร์ชั่น 6.0 โดยปรับปรุงที่ระดับตัวภาษาหลายประเด็น เช่น
- ปรับปรุงการทำงานแบบ concurrent: กระบวนการตรวจสอบ data race แม่นยำขึ้นลดคำเตือนแบบ false positive อย่างไรก็ดีฟีเจอร์นี้ยังเป็นออปชั่นต้องเปิดใช้งานเอง
- Typed throws: ประกาศฟังก์ชั่นโดยแจ้งว่าจะ throw อะไรออกมาได้บ้าง
- ทำงานร่วมกับ C++ ได้มากขึ้น: รองรับ virtual method, default argument, และ type ต่างๆ จาก C++ standard library ก็สามารถใช้งานใน Swift ได้แล้ว
- ใช้งานแบบ Embedded ได้: โดยใช้ฟีเจอร์ได้บางส่วนของภาษา รองรับทั้ง Arm และ RISC-V
- รองรับเลขจำนวนเต็มแบบ 128 บิตในตัว
- เพิ่มคำสั่งที่ช่วยให้เขียนโปรแกรมง่ายขึ้น เช่น
count(where:)
ที่นับข้อมูลใน sequence ที่ตรงเงื่อนไข
แอปเปิลเปิดตัวภาษา Swift ครั้งแรกในปี 2014 เพื่อเป็นภาษาหลักสำหรับพัฒนาแอพบน iOS และ macOS แทน Objective-C ของเดิม
ปีนี้ถือเป็นการครบรอบ 10 ปีของภาษา Swift ซึ่งในงาน WWDC 2024 สัปดาห์ที่แล้วก็มีการฉลองกันเล็กๆ น้อยๆ ในเรื่องนี้
ในงาน WWDC24 แอปเปิลสาธิตการพัฒนาอุปกรณ์ Matter ด้วย Swift แบบ Embedded Swift บนชิป ESP32 โดยสามารถสร้างอุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับ HomeKit ได้โดยง่าย
Embedded Swift เป็น subset ของภาษา Swift เต็มรูปแบบ เพื่อลดรูปให้ไบนารีที่ได้มีขนาดเล็กพอ เช่น ฟีเจอร์ reflection แต่โค้ดที่เขียนด้วย Embedded Swift นั้นจะทำงานด้วย Swift เต็มรูปแบบได้เสมอ โดยแอปเปิลพยายามผลักดันการใช้งานรูปแบบนี้มาระยะหนึ่งแล้ว และเพิ่มตัวอย่างมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่ตอนนี้ก็ยังเป็นโครงการระดับทดลองอยู่
Matter เป็นมาตรฐานกลางสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ที่น่าจะกลายเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในบ้านในยุคต่อไป
- Read more about แอปเปิลโชว์สร้างอุปกรณ์ Matter ด้วยภาษา Swift บน ESP32
- Log in or register to post comments
Arc Browser เว็บเบราว์เซอร์เน้นการปรับแต่งและฟีเจอร์ระดับสูง ประกาศออกเวอร์ชัน Windows 11 หลังเปิดทดสอบแบบ Beta มาได้สักพักหนึ่ง
Arc Browser เป็นผลงานของบริษัทสตาร์ตอัพ The Browser Company จากนิวยอร์ก ตัวมันใช้เอนจิน Chromium แล้วเขียนส่วน UI ขึ้นมาเองด้วยภาษา Swift เพราะเวอร์ชันแรกทำงานบน macOS เพียงอย่างเดียว (ออกช่วงกลางปี 2023) ล่าสุดทีมงานพัฒนาเวอร์ชัน Windows 11 โดยใช้วิธีนำโค้ด Swift มารันบน Windows 11 ด้วย ถือเป็นแอพตัวแรกที่เขียนด้วย Swift และทำงานบน Windows
AWS เพิ่มภาษาที่รองรับใน AWS SDK อีก 3 ภาษา ได้แก่ Kotlin, Rust, และ Swift โดยทั้งสามภาษายังอยู่ในช่วง Developer Preview
ภาษา Kotlin นั้นมักใช้งานในแอนดรอยด์เป็นหลัก รองรับบริการ 284 ตัว รองรับฟีเจอร์ของ Kotlin เองเช่น coroutine และรันแบบ concurrent ได้
ภาษา Rust นั้นก่อนหน้านี้มีโครงการ Rusoto ทดแทน AWS SDK ทางการที่สร้างโดยนักพัฒนาภายนอกอยู่ก่อนแล้ว แต่ทาง AWS ก็เลือกพัฒนาใหม่เป็น SDK มาตรฐาน ตอนนี้เวอร์ชั่นพรีวิวรองรับบริการ 288 ตัว หากใช้งานใน AWS เช่น EC2, ECS, หรือ Lambda จะคอนฟิกอัตโนมัติ และใช้ฟีเจอร์ของภาษา Rust เต็มที่
- Read more about AWS SDK รองรับภาษา Kotlin, Rust, Swift เพิ่มเติม
- 1 comment
- Log in or register to post comments
แอปเปิลเปิดตัว Xcode Cloud บริการคอมไพล์และทดสอบแอปอัตโนมัติ, Swift Playground เขียนแอปได้เต็มรูปแบบ
แอปเปิลเปิดตัวฟีเจอร์สำคัญสำหรับนักพัฒนาในงาน WWDC นอกเหนือจากการอัพเดต API ตามรอบการอัพเดตระบบปฎิบัติการแล้ว ยังมีเปิดตัวเครื่องมือพัฒนาอีกหลายรายการ
บริการแรกคือ Xcode Cloud บริการคลาวด์สำหรับการคอมไพล์แอป, ทดสอบ, และกระจายแอปรุ่นทดสอบให้เทสเตอร์ บริการนี้ทำให้นักพัฒนาไม่ต้องใช้เครื่องตัวเองในการคอมไพล์เอง ลดระยะเวลาที่เครื่องโหลดหนักลง ตัวบริการเริ่มทดสอบวงปิดในปีนี้และเปิดบริการจริงในปีหน้า ส่วนราคาจะแจ้งภายหลัง
แอป Swift Playground อัพเดตเป็นเวอร์ชั่น 4 สำหรับเรียนเขียนโค้ดบน iPad เพิ่มความสามารถในการเขียนแอปเต็มรูปแบบ สามารถเขียนแอปด้วย SwiftUI ได้ทันที รวมถึงสามารถส่งแอปขึ้น App Store โดยตรง
Acer Swift 3x (SF314-510G) มาพร้อมหน้าจอ IPS FHD 14 นิ้ว สัดส่วนหน้าจอต่อตัวเครื่อง 84% แสดงสีมาตรฐาน NTSC ได้ 72% ซีพียูมีตัวเลือก Intel Core i7-1165G7 และ Core i5-1135G7 พร้อมจีพียู Intel Xe Max
ตัวเครื่องมีพอร์ต USB Type-C แบบ Thunderbolt 4 หนึ่งพอร์ต, USB 3.2 Gen2 สองพอร์ต, HDMI หนึ่งพอร์ต รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi 6 ด้วยการ์ด Intel Wi-Fi 6 (Gig+) แบตเตอรี่ใช้งานได้ 17 ชั่วโมงครึ่ง พร้อมชาร์จเร็ว ชาร์จ 30 นาที ใช้งานได้ 4 ชั่วโมง น้ำหนัก 1.37 กิโลกรัม
ภาษา Swift พัฒนาขึ้นโดยแอปเปิล เพื่อใช้บนแพลตฟอร์มของแอปเปิลเองเป็นหลัก (iOS, macOS, watchOS, tvOS) และด้วยโครงสร้างแพลตฟอร์มที่คล้ายกัน ทำให้ Swift รองรับการใช้งานบนลินุกซ์ด้วย (ดิสโทรที่รองรับอย่างเป็นทางการคือ Ubuntu, CentOS, Amazon Linux 2)
ล่าสุด Swift ประกาศออกเวอร์ชัน 5.3 ที่มีฟีเจอร์สำคัญคือรองรับแพลตฟอร์ม Windows เต็มรูปแบบ ซึ่งทีมงาน Swift บอกว่าการรองรับ Windows ไม่ได้เป็นแค่การพอร์ตคอมไพเลอร์ แต่รวมถึงไลบรารีและเครื่องมืออื่นๆ ด้วย
ในการเขียน Swift บน Windows จำเป็นต้องใช้ Visual Studio 2019, Windows 10 SDK, Windows Universal C Runtime และ ดาวน์โหลดแพ็กเกจของ Swift เพิ่มเติมได้จากหน้าเว็บไซต์
- Read more about ภาษา Swift ออกเวอร์ชัน 5.3 ใช้งานบน Windows ได้แล้ว
- 7 comments
- Log in or register to post comments
Acer เปิดตัวโน้ตบุ๊กตระกูล Swift รุ่นใหม่ มาพร้อมซีพียู Intel Core 11th Gen และจีพียูออนบอร์ด Iris Xe แบ่งเป็นรุ่น Swift 5 หน้าจอขนาด 14 นิ้ว และ Swift 3 สองขนาด คือ 13.5 นิ้ว อัตราส่วน 3:2 (SF313-53) และ 14 นิ้ว อัตราส่วน 16:9 (SF314-59)
Swift 5หน้าจอ 14 นิ้ว Full HD ความสว่างสูงสุด 350 nits รองรับสีมาตรฐาน sRGB 100% ซีพียู Intel Core Gen 11th ตัวเลือก i5 และ i7 ผ่านมาตรฐาน Intel Evo ทัชแพดเคลือบสารป้องกันแบคทีเรีย เลือกเคลือบคีย์บอร์ดและตัวเครื่องด้วยสารป้องกันแบคทีเรียด้วย
น้ำหนัก 1 กิโลกรัม แบตเตอรี่ใช้งานได้สูงสุด 17 ชั่วโมง รองรับชาร์จเร็ว 30 นาที ใช้งานได้ 4 ชั่วโมง รองรับ Wi-Fi 6 และมีพอร์ต Thunderbolt 4
Acer เปิดตัว Acer Swift 5 รุ่นใหม่ หน้าจอ 14 นิ้ว ลดขนาดของขอบจอลง อัตราส่วนหน้าจอต่อตัวเครื่อง ถึง 90% จะมาพร้อมซีพียู Intel Core Gen 11th สถาปัตยกรรม Tiger Lake ที่ยังไม่เปิดตัวพร้อมชิปกราฟฟิกออนบอร์ด Intel Xe และการ์ดจอแยก NVIDIA Geforce MX350
เคลือบสารต่อต้านแบคทีเรีย (antimicrobial) ที่ทัชแพด ตัวเครื่องทำด้วยวัสดุแมกนีเซียมลิเธียม และแมกนีเซียมอะลูมิเนียม มีน้ำหนักเบากว่า 1 กิโลกรัมเช่นเคย มีพอร์ต HDMI, USB-A สองช่อง, USB-C Thunderbolt หนึ่งช่อง และมีรูเสียหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร แบตเตอรี่ ชาร์จ 30 นาที ใช้ได้ถึง 4 ชั่วโมง มี 2 สี คือ Mist Green และ Safari Gold
ช่วงนี้หลายๆ คน อาจต้องทำงานจากบ้าน หรือต้องยกโน้ตบุ๊กเปลี่ยนที่ทำงานบ่อยๆ เพราะที่ทำงานลดวันเข้าออฟฟิศ หรือน้องๆ นักเรียนนักศึกษาที่ต้องเรียนออนไลน์ อาจจะอยากได้โน้ตบุ๊กที่มีน้ำหนักเบาแต่ใช้งานได้ครบครันสักเครื่อง ไว้ทำงานให้คล่องตัวได้ทุกที่ วันนี้ผู้เขียนมี Acer Swift 5 โน้ตบุ๊กในตระกูล Swift หรือไลน์บางเบาของ Acer ที่ขึ้นชื่อเรื่องความกะทัดรัด และน้ำหนักที่เบากว่าหนึ่งกิโล แต่ประสิทธิภาพไม่แพ้ใครมาแนะนำ
โครงการพัฒนาภาษา Swift ของแอปเปิลประกาศแผนการพัฒนารุ่น 5.3 โดยเป้าหมายหลักของเวอร์ชั่นนี้คือการพัฒนาประสิทธิภาพ และพยายามซัพพอร์ตแพลตฟอร์มให้มากขึ้น โดยเฉพาะการรองรับวินโดวส์และลินุกซ์ให้ครอบคลุมดิสโทรต่างๆ มากขึ้น
ก่อนหน้านี้ Swift มีคอมไพลเลอร์เป็นทางการบน Mac OS และ Ubuntu เท่านั้น แม้จะมีบริษัทภายนอกพัฒนาคอมไพลเลอร์มาคอมไพล์เป็น .NET และ Java Bytecode ได้ แต่ความเข้ากันได้ก็ไม่เท่ากับโครงการหลักอยู่ดี
Swift 5.3 จะตัด branch ในวันที่ 4 เมษายนนี้แยกออกไปพัฒนาตามเป้าหมาย โค้ดใน master หากต้องการรวมเข้า 5.3 จะต้องดึงผ่าน pull request เอา อย่างไรก็ดีมีโครงการย่อยๆ ตัดโค้ดออกไปตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคมแล้วบางส่วน
แอปเปิลมีแอป Swift Playgrounds ที่สอนการเขียนโปรแกรมและเรียนรู้ภาษา Swift สำหรับเด็กและอยู่ในรูปของเกม ล่าสุดตัวแอปรองรับบน macOS แล้ว หลังจากก่อนหน้านี้มีแค่บน iPad เท่านั้น
แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Catalyst ที่แอปเปิลต้องการเชื่อมแพลตฟอร์มแอปบน iOS และ macOS เข้าไว้ด้วยกัน ขณะที่ในหน้าเพจของแอป Swift Playgrounds ระบุว่าเวอร์ชัน macOS จะมีฟีเจอร์เพิ่มเข้ามาอย่างการ drag-and-drop เป็นต้น
Swift Playgrounds รองรับ 6 ภาษาคือได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมันและภาษาสเปน (ลาตินอเมริกา)
ของใหม่สำหรับนักพัฒนาสายแอปเปิลที่เปิดตัวในงาน WWDC 2019 คือ SwiftUIเฟรมเวิร์คสำหรับสร้าง UI แบบเนทีฟได้ทุกแพลตฟอร์มในจักรวาลแอปเปิล (macOS, iOS, iPadOS, watchOS, tvOS)
จุดเด่นของ SwiftUI คือการเขียนบรรยายชิ้นส่วน UI ด้วยภาษา Swift แบบ declarative (ลักษณะเดียวกับเฟรมเวิร์ค UI สมัยใหม่อย่าง React, Flutter, Angular) ทำให้โค้ดอ่านง่ายและดูแลง่าย รวมถึงสามารถสร้างคอมโพเนนต์ UI เพื่อนำไปใช้ซ้ำในแอพตัวอื่นๆ ได้ด้วย
SwiftUI มาพร้อมฟีเจอร์สมัยใหม่ อย่างการจัดการแอนิเมชันให้อัตโนมัติ นักพัฒนาเพียงแค่เขียนเมธ็อดกำหนดผลลัพธ์ แล้ว SwiftUI จะช่วยคำนวณการแสดงแอนิเมชันระหว่างทางให้เอง, ตัวของ SwiftUI ยังรองรับ Dark Mode ในระบบปฏิบัติการของแอปเปิลเรียบร้อยแล้วด้วย
กูเกิลปล่อยโครงการย่อยสำหรับ TensorFlow บนภาษาอื่นๆ เพิ่มเติมในงาน TensorFlow Dev Summit ปีนี้ โดยอัพเดต TensorFlowJS เป็นรุ่น 1.0 พร้อมใช้งานแล้ว
TensorFlowJS มาพร้อมกับเมเดลพร้อมใช้ 5 โมเดล ได้แก่
- MobileNet จัดหมวดหมู่ภาพ
- PoseNet จับท่าทางคน
- CocoSSD ตรวจจับวัตถุในภาพ
- Speech command จับคำสั่งจากเสียง 1 วินาที
- KNN Classifier จัดหมวดหมู่ข้อมูลแบบ k-nearnest
ดาวน์โหลด TensorFlowJS ได้จาก GitHub: tensorflow/tfjs-core
แอปเปิลประกาศสนับสนุนโครงการเขียนโค้ดสำหรับทุกคน โดยจะเปิดเซสชั่น Hour of Code ให้เรียนฟรี ผ่านกิจกรรม Today at Apple ที่ร้าน Apple Store ทุกสาขาทั่วโลก รวมทั้งสาขาไอคอนสยาม ในประเทศไทยด้วย ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 14 ธันวาคม 2561
กิจกรรมดังกล่าวจัดเพื่อฉลองสัปดาห์แห่งการศึกษาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (3-9 ธันวาคม) โดยมีเซสชั่น อาทิ การแนะนำการใช้งาน Swift Playgrounds ซึ่งเป็นแอปบน iPad เหมาะสำหรับเด็กอายุ 12 ปี ขึ้นไป, Teacher Tuesdays หลักสูตรสำหรับคุณครู เพื่อรู้จักแหล่งข้อมูลสำหรับการเขียนโค้ด
ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดและ ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ฟรีที่นี่
กูเกิลร่วมส่งโค้ดเข้าโครงการภาษา Swift ของแอปเปิล โดยโค้ดถูกยื่นเพื่อเข้า GitHub ของ Swift แล้ว
สิ่งที่น่าสนใจคือ โค้ดจากกูเกิลเกี่ยวข้องกับ ระบบปฏิบัติการ Fuchsia ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการตัวที่สามของกูเกิล (นอกเหนือจาก Android และ Chrome OS) ที่ผ่านมา Fuchsia รองรับการเขียนแอพด้วยภาษา Dart, Go, C/C++ และจากหลักฐานล่าสุด เราจะเห็นว่า Fuchsia จะรองรับ Swift ด้วย
ตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า กูเกิลสร้าง Fuchsia ไปเพื่ออะไร
TIOBE รายงานดัชนีภาษาโปรแกรมยอดนิยมประจำเดือนตุลาคม 2017 การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือภาษา Swift ของแอปเปิล ตกฮวบลงมาอยู่อันดับ 16
Swift ได้รับความนิยมจนได้เข้า Top 10 เมื่อเดือนมีนาคม 2017 แต่ช่วงหลังอันดับกลับตกลงต่อเนื่อง ซึ่ง TIOBE วิเคราะห์ว่านักพัฒนาแอพเริ่มหันไปใช้เครื่องมือข้ามแพลตฟอร์มอย่าง Xamarin (C#), Apache Cordova (JavaScript), Ionic (JavaScript) เพื่อลดภาระการดูแลแอพสองเวอร์ชันบน Android และ iOS
ผลคือความนิยมใน Java, Swift, Objective-C ต่างก็ตกลงกันถ้วนหน้า เพียงแต่ฐานของ Java ยังเข้มแข็ง เลยยังรักษาอันดับหนึ่งไว้ได้
เมื่อต้นปี Chris Lattner อดีตหัวหน้าทีมพัฒนาภาษา Swift และ IDE Xcode ได้ ประกาศลาออกจาก Apple และย้ายไปทำงานอยู่ทีม Autopilot ของ Tesla ล่าสุดเค้าได้ประกาศผ่าน Twitter ส่วนตัว ว่าตอนนี้ย้ายไปทำกับทีม Google Brain แล้ว
Lattner อธิบายลงใน เว็บไซต์ส่วนตัว เพิ่มเติมว่า เมื่อตอนทำงานอยู่ Tesla ได้สร้างสิ่งดีๆ ร่วมกับทีมขึ้นมามากมาย แต่เค้าคิดว่าบริษัทไม่เหมาะกับตัวเอง สุดท้ายก็ตัดสินใจลาออกและย้ายไปทำงานอยู่กับทีม Google Brain โดยเริ่มทำงานในอาทิตย์หน้า
Apple ประกาศเพิ่มภาษาในแอพ Swift Playgrounds อีก 5 ภาษา เพื่อให้ผู้ใช้เรียนรู้และเข้าใจหลักการเขียนโปรแกรมและตัวภาษาโปรแกรม Swift ด้วยภาษาท้องถิ่น
สำหรับ 5 ภาษาที่เพิ่มเข้าไปได้แก่ภาษาจีนกลาง, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมันและภาษาสเปน(ลาตินอเมริกา) เมื่อผู้ใช้เลือกเปลี่ยนเป็นภาษาดังกล่าว แอพจะเปลี่ยนจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เลือกไว้ในทุกจุด ทำให้ผู้ใช้เรียนภาษาโปรแกรม Swift ด้วยภาษาของตัวเองได้อย่างเข้าใจมากขึ้น
Tim Cook ซีอีโอของ Apple กล่าวว่า แอพ Swift Playgrounds ช่วยให้คนทุกเพศทุกวัยสามารถเรียนรู้การเขียนโค้ดแบบง่ายๆ ทุกคน และขณะนี้ก็มีผู้ดาวน์โหลดแอพไปแล้วล้านกว่าครั้ง
- Read more about แอพ Swift Playgrounds รองรับภาษาท้องถิ่นอีก 5 ภาษา
- 1 comment
- Log in or register to post comments
ดัชนีความนิยมของภาษาเขียนโปรแกรม TIOBE เดือนมีนาคมนี้ ภาษา Swift ของ Apple เข้าสู่ 10 อันดับล่าสุดแล้ว เมื่อเทียบกับมีนาคมปีที่แล้ว พบว่าอยู่ในอันดับที่ 14 และมีนาคมปีนี้ขยับขึ้นมาเป็นอันดับที่ 10 ทำให้มีความนิยมอยู่ที่ 2.268% เพิ่มขึ้น 0.68%
TIOBE อธิบายว่า ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา Apple ประกาศจะแทนที่ Objective-C ด้วยภาษา Swift ให้ได้ ซึ่งคาดหวังไว้ว่ามันจะถูกนำไปใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในความเป็นจริงมันถูกนำไปใช้อย่างช้าๆ เนื่องจากแอพที่ถูกเขียนด้วย Objective-C มีขนาดใหญ่ ทำให้นักพัฒนาเลือกที่จะไม่ย้ายโค้ดไปเป็น Swift ถ้าหากเป็นต้องสร้างแอพใหม่ถึงจะเลือกไปใช้ Swift นั่นเอง
ส่วน 5 อันดับภาษาเขียนโปรแกรมยอดนิยมยังคงเป็น Java, C, C++, C#, และ Python เช่นเดิม และภาษา Objective-C ปีที่แล้วอยู่ในอันดับที่ 15 ปีนี้ร่วงลงไปเป็นอันดับที่ 16
Chris Lattner ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาของ Apple ที่อยู่เบื้องหลังภาษา Swift และ IDE อย่าง Xcode รวมไปถึง complier ต่างๆ ได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะลาออกจากบริษัทสิ้นเดือนนี้
ข้อความที่ปรากฎในอีเมลของ Lattner ที่ส่งในกลุ่มทีมพัฒนา Swift ระบุว่า Ted Kremenek จะเป็นหัวหน้าโปรเจคภาษา Swift คนใหม่และจะเข้ามาบริหารจัดการ Swift.org อีกด้วย โดย Kremenek ตอนนี้มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการอาวุโสฝ่าย Languages และ Runtimes ของ Apple ส่วน Lattner จะยังเข้ามาช่วยพัฒนาภาษา Swift อยู่
นอกจากนี้ Lattner ไม่ได้หวังว่าการลาออกของเค้าจะส่งผลกระทบต่อทีม Swift ที่กำลังพัฒนาเวอร์ชัน 4 แต่อย่างใด เค้าเชื่อว่าการพัฒนาภายใต้การดูแลของ Kremenek จะทำให้เวอร์ชันนี้มีความสมบูรณ์แบบและ Apple เองก็จะเริ่มโฟกัสที่ Swift 4 มากขึ้น หลังจากที่ปล่อยเวอร์ชัน 3.1 มาได้ซักพักแล้ว
ที่มา : MacRumors
แอปเปิลยืนยันแผนการปล่อย Swift 3.1 ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของ ปี 2017 และหลังจากที่ปล่อย Swift 3.1 เรียบร้อยแล้ว จะมุ่งไปที่การพัฒนา Swift 4 แทน
Swift 3.1 ถูกออกแบบมาให้ทำงานร่วมกับโค้ดเดิมของ Swift 3.0 ได้ ของใหม่ในรุ่นนี้คือปรับปรุงแกนของภาษา ปรับปรุงตัวจัดการแพ็คเกจ และปรับปรุง Swift บน Linux
รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ จะถูกสรุปช่วงวันที่ 16 มกราคมนี้ หลังจากนั้นจะแก้ไขเฉพาะข้อผิดพลาดสำคัญๆ บางอย่างเท่านั้น การพัฒนาจะเปลี่ยนไปโฟกัสที่ Swift 4 แทน รายละเอียดเพิ่มเติมของ Swfit 3.1 สามารถดูได้ในลิงก์ที่มาครับ
Facebook ได้ออก SDK สำหรับการรวมบริการของ Facebook เข้าไปในโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Swift ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งแอพที่พัฒนาสำหรับ iOS, watchOS, tvOS และ macOS
เนื่องจากปัจจุบันภาษา Swift ยังคงอยู่ในการพัฒนาเวอร์ชันที่ 3 ฉะนั้น Facebook SDK สำหรับภาษา Swift เวอร์ชันเบต้านี้จะรองรับเฉพาะ Swift 2.2.1 และ 2.3 เท่านั้น และจะอัพเดต Facebook SDK สำหรับภาษา Swift เพื่อให้รองรับ Swift 3 ในช่วงท้ายปีเมื่อตัวภาษาเข้าสู่สถานะ GM แล้ว
โค้ด Facebook SDK สำหรับภาษา Swift นี้ทาง Facebook ได้โอเพ่นซอร์สด้วย โดยซอร์สโค้ดของ SDK นี้สามารถดาวน์โหลดได้ทันทีผ่าน GitHub หรือจะรวมเข้ากับตัวแอพผ่าน CocoaPods หรือ Carthage ก็ได้
- Read more about Facebook ออก SDK สำหรับภาษา Swift เวอร์ชันเบต้า
- Log in or register to post comments
แอปเปิลเปิดตัว Swift Playgrounds แอพบน iPad ที่ออกแบบมาเพื่อสอนการเขียนโปรแกรมภาษา Swift โดยเฉพาะ
Swift Playgrounds จะมีอินเทอร์เฟซที่เอาใจผู้ใช้กลุ่มเด็ก บทเรียนหลักเป็นการ์ตูนน่ารัก ให้ผู้เล่นต้องเขียนโปรแกรมสั่งให้ตัวละครเดินไปมาและแก้ปริศนา (ลักษณะเดียวกับเว็บเขียนโปรแกรมพวก Code.org) เพื่อสอนให้เรียนรู้แนวคิดของ loop, parameter, function เป็นต้น
แอพออกแบบมาสำหรับ iPad เป็นหลัก มีปุ่มต่างๆ ช่วยให้เขียนโค้ดได้ง่ายโดยไม่ต้องพิมพ์ตัวอักษรมากนัก แอพจะเปิดให้ใช้ฟรีช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีนี้