Prisma โครงการ ORM ยอดนิยมประกาศแนวทางกรทำงานร่วมกับชุมชนเป็นชุดนโยบายหลายด้าน ตั้งแต่การประกาศฐานข้อมูลที่ีรองรับเป็นลำดับแรก, แนวทางการทำงานร่วมกับชุมชน, และการออกเวอร์ชั่นใหม่ที่จะคาดเดาได้ง่ายขึ้น แต่ประเด็นหนึ่งที่ระบุด้วยคือการถอดโค้ด Rust ออกจากโครงการหลัก
โครงการ Prisma ใช้ Rust ใน prisma-engine สำหรับการอ่านคิวรี, ตรวจสอบความถูกต้อง, และรันคิวรี ปัญหาคือชุมชนผู้พัฒนาใน Prisma ส่วนใหญ่เขียนภาษา TypeScript ทำให้เมื่อต้องการแก้ไขฟีเจอร์ส่วนนี้ ทีมงานของ Prisma ต้องแก้ไขเองเป็นส่วนใหญ่ คนนอกมีส่วนร่วมได้ยาก ทาง Prisma จึงมองว่าหากย้ายโค้ดไป TypeScript นักพัฒนาก็จะเข้ามาช่วยแก้ไขได้มากขึ้น
ที่มา - Prisma
Deno รันไทม์ JavaScript/TypeScript ออกเวอร์ชั่น 2.0 หลังออกเวอร์ชั่นแรกมาสี่ปี
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการทำงานร่วมกันได้กับ Node.js เต็มตัว สามารถอ่านไฟล์ package.json
และโฟลเดอร์ node_modules
ได้
สำหรับ Deno เองที่จริงมีระบบจัดการแพ็กเกจผ่านไฟล์ deno.json
ของตัวเอง และตอนนี้ก็ยังสามารถใช้งานอ้างอิงแพ็กเกจ npm ได้เหมือนกัน แนวทางการเข้ากันได้กับ Node.js ทำให้ตอนนี้สามารถใช้งานเฟรมเวิร์คยอดนิยมได้แทบทั้งหมด เช่น Next.js, Astro, Remix, Angular, SevelteKit
Figma รายงานถึงกระบวนการย้ายโค้ดของตัวเอง จากเดิมที่ใช้ภาษา Skew ที่เริ่มใช้งานมาตั้งแต่เริ่มต้นบริษัท (ปล่อยเวอร์ชั่นแรกๆ ปี 2016 เหมือนกัน) โดยเงื่อนไขสำคัญคือการใช้ภาษา Skew เพื่อคอมไพล์โค้ดกลางไปใช้งานได้ทั้งเว็บและโทรศัพท์มือถือ โดยตอนนั้นภาษา TypeScript ยังซัพพอร์ตกันไม่มากนัก ทำให้ใช้ Skew เรื่อยมา แต่สุดท้ายก็พบว่าสร้างความลำบากเพราะใช้งานโค้ดหรือเครื่องมือภายนอกไม่ได้ ตลอดจนเสียเวลาฝึกพนักงานใหม่
ทาง Figma ระบุสาเหตุที่เปลี่ยนใจมาใช้ TypeScript ช้าเพราะ Skew เองมีกระบวนการออปติไมซ์ประสิทธิภาพดี ก่อนหน้านี้เคยทดสอบใช้ TypeScript แทน Skew แล้วพบว่าประสิทธิภาพใน Safari กลับลดลงเท่าตัว ซึ่งยอมรับไม่ได้เพราะ iOS ใช้ได้เฉพาะ Safari เท่านั้น
โครงการ Biome ชุดเครื่องมือสำหรับพัฒนาเว็บประสิทธิภาพสูงประกาศความสำเร็จในการพัฒนาโครงการให้เกือบเทียบเท่าโครงการ Prettier โครงการ code formatter ยอดนิยมที่มียอดดาวน์โหลดถึงสัปดาห์ละ 29 ล้านครั้ง
ก่อนหน้านี้ Biome ทำงานต่างกับ Prettier พอสมควร โดยสามารถผ่านชุดทดสอบของ Prettier ได้เพียง 85% เท่านั้น แต่เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาทาง Prettier ก็หาเงินจากสปอนเซอร์ต่างๆ มาตั้งรางวัล 22,550 ดอลลาร์ให้กับโครงการที่สามารถอิมพลีเมนต์ code formatter ที่ผ่านชุดทดสอบของ Prettier ได้เกิน 95% โดยเขียนโค้ดด้วยภาษา Rust และทางโครงการ Biome ก็เพิ่มฟีเจอร์อย่างรวดเร็วจนผ่านชุดทดสอบได้ 96% ได้รับรางวัลไปหลังการประกาศรางวัลเพียงสามสัปดาห์
David Heinemeier Hansson (@dhh) ผู้ร่วมก่อตั้ง Basecamp และผู้สร้าง Ruby on Rails ประกาศถอดภาษา TypeScript ออกจากโครงการ Turbo ที่เร่งความเร็วหน้าเว็บด้วยการลดการโหลดจากการกดลิงก์หรือส่งข้อมูลฟอร์ม
Hansson ระบุในประกาศว่าเขาไม่เคยชอบ TypeScript ตั้งแต่แรก และไม่ชอบตลอดที่ใช้งานมา 5 ปี แต่กลับชอบ JavaScript มากกว่าและนับว่าเป็นภาษาที่ชอบเป็นรองเพียง Ruby เท่านั้น และข้อเสียต่างๆ ของ JavaScript ก็ถูกแก้ไปเยอะแล้ว โดยเฉพาะ ระบบ class ขณะที่ภาษา TypeScript นั้นเพิ่มขั้นตอนการคอมไพล์เข้ามาและบังคับใช้ type จนวุ่นวายและสุดท้ายในเคสยากๆ ก็ต้องใช้ any
ผู้สร้างภาษาโปรแกรมยอดนิยม 4 คน มารวมตัวกันเป็นครั้งแรกในงานเสวนาเพื่อการกุศล Language Creators Charity Fundraiser โดยรายได้จากการขายบัตรจะมอบให้หน่วยงานด้านการศึกษา Last Mile Education Fund และ NumFOCUS
ผู้สร้างภาษาโปรแกรมทั้ง 4 คนที่เข้าร่วมได้แก่
- Adele Goldberg - Smalltalk
- Guido Van Rossum - Python
- Anders Hejlsberg - Turbo Pascal, C#, TypeScript
- James Gosling - Java
งานเสวนาครั้งนี้จัดโดยกลุ่ม PyData Seattle วันที่ 19 กันยายน 2023 ที่เมือง Bellevue ในรัฐวอชิงตัน
ก่อนหน้านี้ 3 จาก 4 คนข้างต้น (ไม่รวม Goldberg) เคยขึ้นเวทีร่วมกันมาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2019 รวมกับอีกคนคือ Larry Wall ผู้สร้างภาษา Perl
Bun รันไทม์จาวาสคริปต์ ออกเวอร์ชั่น 0.7 โดยตัว Bun นั้นมีทั้ง runtime, bundler, transpiler, และ package manager โดยชูจุดแข็งที่ประสิทธิภาพดีกว่า NodeJS มาก ในเวอร์ชั่นล่าสุดก็หันมาปรับปรุงการทำงานร่วมกับโค้ด NodeJS เดิมพร้อมกับเพิ่มโหมดประหยัดแรม
เนื่องจาก API ของ Bun ยังไม่เท่ากับ NodeJS ทำให้ไม่สามารถรันเฟรมเวิร์คยอดนิยมหลายตัวบน Bun ในเวอร์ชั่นนี้ก็รองรับ Vite เพิ่มเข้ามาในระดับทดลอง สำหรับ API ที่เพิ่มเข้ามา เช่น Worker
สำหรับการรันโค้ดแยกออกจาก main thread เพื่อเตรียมรองรับ API worker_threads
ของ NodeJS, หรือ AsyncLocalStorage
ที่เป็น API จำเป็นสำหรับ NextJS
- Read more about Bun รองรับ NodeJS API เพิ่มขึ้น ใส่โหมดประหยัดแรม
- 3 comments
- Log in or register to post comments
Deno รันไทม์คู่แข่ง NodeJS ออกเวอร์ชั่น 1.34 โดยเพิ่มฟีเจอร์สำคัญคือการคอมไพล์โปรแกรมเป็นไบนารีไฟล์เดียวให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น
เดิม Deno รองรับคำสั่งคอมไพล์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 1.6 แต่ก่อนหน้านี้ไม่รองรับการคอมไพล์โปรแกรมที่ดึงไลบรารีจาก npm ในเวอร์ชั่นนี้ก็รองรับแล้วทำให้สามารถใช้งานได้หลากหลายขึ้น ข้อดีของการคอมไพล์ทำให้สามารถนำโปรแกรมไปรันเครื่องอื่นได้สะดวกขึ้น แบบเดียวกับโปรแกรมภาษา Go ที่มักส่งไบนารีไฟล์เดียวไปรันได้เลย นอกจากนี้ยังมีข้อดีคือเวลาเริ่มรันโปรแกรมสั้นลงด้วย
Bun รันไทม์คู่แข่งก็เพิ่ง รองรับการคอมไพล์ในเวอร์ชั่นล่าสุด
ไมโครซอฟท์ปล่อย TypeScript 5.0 หลังจากออกเวอร์ชั่นเบต้าตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยรวมแล้วเหมือนเวอร์ชั่นเบต้าแทบทั้งหมด ยกเว้นตอนนี้บังคับต้องใช้ NodeJS 12.20 ขึ้นไปเท่านั้น
ฟีเจอร์ใหญ่ที่สุดคือ Decorators ที่กลายเป็นฟีเจอร์มาตรฐาน และการใช้ enum ที่จะปรับเป็น union enum ทั้งหมด ทำให้อ้างค่าแต่ละค่าเป็นตัวเลขก็ได้หรือเป็น type ก็ได้ จากเดิมที่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
สามารถดาวน์โหลดได้ทันที และตอนนี้ทีมงานก็เริ่มไปพัฒนา TypeScript 5.1 กันแล้วคาดว่าจะออกได้ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้
ที่มา - Microsoft
- Read more about ไมโครซอฟท์ปล่อย TypeScript 5.0
- 1 comment
- Log in or register to post comments
ไมโครซอฟท์ปล่อย TypeScript 5.0 ตัวทดสอบแรก ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือการทำงานเร็วขึ้น และโค้ดที่ได้มีขนาดเล็กลงมาก และในเวอร์ชั่นหลักนี้ยังถอด flag ต่างๆ ที่มีการใช้งานน้อยๆ ออกไป
ฟีเจอร์สำคัญคือ Decorators ที่ ECMAScript กำลังจะรองรับเช่นกัน แม้ว่าก่อนหน้านี้ TypeScript จะมี Decorators อยู่ก่อนแล้ว แต่เป็นฟีเจอร์ระดับทดลองเท่านั้นและผู้ใช้ต้องเปิด flag --experimentalDecorators
เอง การทำงานของเวอร์ชั่นทดลองกับเวอร์ชั่นมาตรฐานนี้ทำงานไม่เหมือนกัน
การทำงานโดยรวมเร็วขึ้น tsc ใช้เวลาเริ่มต้นเหลือ 89% ของเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ ระยะเวลา build ใช้เวลา 86% และแพ็กเกจรวมมีขนาดเหลือเพียง 58% เทียบกับ TypeScript 4.9
ภาษา TypeScript เปิดตัวต่อโลกครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2012 มาถึงวันนี้มีอายุครบ 10 ปีพอดี ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา TypeScript เติบโตขึ้นมาก จนมีความนิยมแซงหน้า JavaScript แล้วจากสถิติของบางสำนัก
Daniel Rosenwasser หัวหน้าโครงการ TypeScript ของไมโครซอฟท์ เขียนบล็อกเล่าความหลังว่าในช่วงแรกๆ คนไม่เข้าใจว่าไมโครซอฟท์กำลังทำอะไร และมองว่าการกำหนดชนิดตัวแปร (type) ให้ JavaScript เป็นเรื่องเลวร้ายด้วยซ้ำ แต่สุดท้าย TypeScript ก็พิสูจน์ตัวเองว่ามีข้อดีจริงๆ และกลายเป็นภาษายอดนิยมในทุกวันนี้
CircleCI บริษัทซอฟต์แวร์ด้าน continuous integration (CI) สรุปสถิติการใช้งานของลูกค้าจำนวน 2 ล้านคน ให้เห็นกันว่าภาพรวมของวงการ software delivery ในปัจจุบันเป็นอย่างไร
สถิติหนึ่งที่น่าสนใจคือ ภาษาโปรแกรมยอดนิยมที่ถูกใช้งาน build ผ่านระบบ workflow ของ CircleCI ปรากฏว่าแชมป์เก่า JavaScript ถูกโค่นซะแล้ว กลายเป็น TypeScript ที่มาแรงจนแซงหน้าขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งแทน (JavaScript ตกเป็นที่ 2, อันดับ 3 Ruby, อันดับ 4 Python, อันดับ 5 Go)
CircleCI บอกว่าความนิยมของ TypeScript ที่เป็นการแก้ปัญหาของ JavaScript โดยเพิ่มแนวคิดเรื่องชนิดของตัวแปร (type) เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะช่วยให้นักพัฒนาหาบั๊กได้ง่ายขึ้นตั้งแต่ตอนเขียน (ใช้ IDE ตรวจ) หรือตอนคอมไพล์ แทนที่จะเป็นตอนรัน
Luca Casonato หนึ่งในนักพัฒนาหลักของโครงการ Deno เปิดโครงการ Fresh เฟรมเวิร์คสำหรับ frontend ขนาดเล็ก แต่มีแนวคิดแก้ปัญหาเฟรมเวิร์คอื่นๆ หลายอย่าง
ตัวเฟรมเวิร์คเป็นแบบ server side render (SSR) และอาศัยการทำ routing ด้วยไฟล/โฟลเดอร์แบบเดียวกับ Next.js แต่ Fresh นั้นไม่มีการ build สามารถแก้ไฟล์แล้วรันได้ทันที หรือหากอยู่ระหว่างการพัฒนาก็เพิ่มออปชั่น --watch
เพื่อให้โหลดไฟล์ใหม่ทันทีระหว่างแก้ไข และผลที่ได้หากไม่ได้กำหนดไว้เฉพาะก็จะไม่มี javascript ไปถึงเบราว์เซอร์ผู้ใช้เลย
ตอนนี้ Fresh ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา และผู้พัฒนาแนะนำว่าอย่าเพิ่งทำไปใช้บนโปรดักชั่น
ที่มา - Deno
ข้อจำกัดประการสำคัญของ JavaScript คือการไม่กำหนดชนิดของตัวแปร (type) แบบตายตัว (static typing) เมื่อ JavaScript ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงมีคนพยายามแก้ปัญหานี้ด้วยการประดิษฐ์ภาษาหรือเครื่องมือใหม่ๆ ที่เป็น JavaScript แบบมี type เข้ามา (เช่น TypeScript, Closure Compiler หรือ Flow) เพื่อจัดระเบียบการเขียนโค้ดให้มีโครงสร้างมากขึ้น
แนวทางของภาษาแบบ TypeScript คือให้มนุษย์เขียนโค้ดด้วยภาษาใหม่ที่มีระเบียบขึ้น จากนั้นใช้เครื่องมือ "แปลง" (ในที่นี้คือ transpiler ) ภาษาใหม่กลับมาเป็น JavaScript อีกทีหนึ่ง
ภาษา TypeScript กลายเป็นภาษาที่มาแรงขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้ทดแทน JavaScript ในหลายโอกาส และถูกนำไปใช้งานในเฟรมเวิร์คดังๆ อย่าง Angular 2 หรือ Deno
สำหรับผู้ที่สนใจหัดเขียน TypeScript ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศแจกฟรี TypeScript Handbook เวอร์ชันเขียนใหม่ให้เป็นปัจจุบัน
คู่มือเล่มนี้เป็นการสอนเขียน TypeScript สำหรับคนที่เขียน JavaScript มาก่อนแล้ว รูปแบบการสอนเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับขั้น และเน้นไปที่ฟีเจอร์ที่พบเจอบ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน
ไมโครซอฟท์ประกาศออกภาษา TypeScript เวอร์ชัน 4.0 ซึ่งเป็นการออกเวอร์ชันใหญ่ในรอบ 2 ปี (เวอร์ชัน 3.0 ออกเดือนกรกฎาคม 2018) มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจดังนี้
ไมโครซอฟท์เปิดตัวเว็บไซต์ของภาษา TypeScript เวอร์ชันใหม่ พร้อมโลโก้ใหม่อย่างเป็นทางการ
เดิมทีโลโก้ของ TypeScript เป็นตัวอักษรล้วนๆ ไม่มีลูกเล่นอะไร (ดีกว่า JavaScript ที่ไม่มีโลโก้อย่างเป็นทางการเลยแม้แต่น้อย) แต่ภาวะขาดแคลนโลโก้สำหรับใช้เป็นสัญลักษณ์ ทำให้ชุมชนโปรแกรมเมอร์ต้องสร้างโลโก้แบบไม่เป็นทางการขึ้นมาใช้กันเอง ผลคือโลโก้ JavaScript ที่เป็น JS ในกรอบสีเหลืองที่เราคุ้นกันดี ส่วน TypeScript ก็มีคนสร้างล้อตามกันเป็นคำว่า TS ในกรอบสีน้ำเงิน
ไมโครซอฟท์จึงนำโลโก้ TypeScript ที่นิยมอยู่แล้วมาดัดแปลงเล็กน้อย เปลี่ยนมาใช้ฟอนต์ Segoe UI ของไมโครซอฟท์เอง และปรับมุมของสี่เหลี่ยมให้โค้งแทน ออกมาเป็นโลโก้ตามที่เห็นกัน
Ryan Cavanaugh หัวหน้าทีมวิศวกรรมที่ดูแลการพัฒนาภาษา TypeScript ของไมโครซอฟท์ให้สัมภาษณ์กับ StackOverflow บอกว่าจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ TypeScript ได้รับความนิยมอย่างมาก เป็นเพราะกูเกิลตัดสินใจนำไปใช้ในโครงการ Angular 2
Cavanaugh ร่วมทีมพัฒนา TypeScript มาตั้งแต่ก่อนเปิดตัวในปี 2012 (ผู้สร้าง TypeScript คือ Anders Hejlsberg ซึ่งเป็นผู้สร้าง Turbo Pascal, Delphi, C#) เขาเล่าว่าตอนนั้นไมโครซอฟท์ต้องการนำ JavaScript มาสร้างแอพพลิเคชันขนาดใหญ่ แต่ติดปัญหาเรื่องขาดฟีเจอร์ตัวแปรแบบ static typing
Ryan Dahl ผู้เริ่มโครงการ Nodejs เมื่อปี 2009 และออกจากโครงการไปเมื่อปี 2012 กลับมาพัฒนาโครงการ Deno ที่เป็นรันไทม์สำหรับรันจาวาสคริปต์นอกเบราว์เซอร์เหมือนกัน แต่พัฒนาขึ้นด้วยแนวคิดที่ต่างออกไป โดยเลือกใช้ภาษา Rust ในการพัฒนา และสร้างโครงการ rust_v8 สำหรับนำเอาเอนจิน V8 มาใช้งาน และตอนนี้ Deno ก็ออกเวอร์ชั่น 1.0 พร้อมสำหรับการใช้งานจริงแล้ว
ฟีเจอร์สำคัญของ Deno ได้แก่
ไมโครซอฟท์อัพเดต TypeScript เข้าสู่เวอร์ชัน 2.2 แล้ว เวอร์ชันนี้ทีมงานระบุว่าพัฒนาภาษาบนมาตรฐานเดียวกับ ECMAScript และมีฟีเจอร์ที่ทำให้ชุดโค้ดมีประสิทธิภาพมากขึ้นในระยะยาว
ใน TypeScript 2.2 เพิ่มเครื่องมือช่วยแนะนำเมื่อเกิด error ใน editor รวมไปถึงเพิ่มคำสั่งใหม่ๆ เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
- Read more about ไมโครซอฟท์อัพเดต TypeScript เป็นเวอร์ชัน 2.2
- Log in or register to post comments
Type Script
ว่าด้วยเรื่อง การเขียน Type Script บทที่ 1 : Type Script คืออะไร ?
- Read more about Type Script : บทที่ 1
- 1 comment
- Log in or register to post comments
ไมโครซอฟท์เปิดตัว TypeScript 2.0 ตัวจริง โดยฟีเจอร์ของภาษาเองเปลี่ยนไปหลายอย่าง แม้ว่าทางโครงการจะระบุว่ามาตรฐานภาษาจะใกล้เคียงกับ ECMAScript ต่อไป
ฟีเจอร์สำคัญคือการแปลงตัวแปรให้ไม่มีค่า null ได้แล้ว จากเดิมที่ตัวแปรใดๆ สามารถมีค่าเป็นได้ทั้ง null และ undefined แต่การที่ตัวแปรมีค่าที่โปรแกรมเมอร์คิดไม่ถึงได้เช่นนี้ทำให้เกิดบั๊กในหลายจุด ตอนนี้ฟีเจอร์ตัวห้ามตัวแปรมีค่าเป็น null ยังเป็นออปชั่น --strictNullChecks
ให้เปิดใช้งานได้เอง แต่ไมโครซอฟท์ก็แนะนำให้เปิดฟีเจอร์นี้ตลอดเวลา
อีกฟีเจอร์คือการประกาศสมาชิกในคลาสให้เป็นตัวแปรแบบ readonly ทำให้สามารถแก้ไขค่าได้เฉพาะใน constructor เท่านั้น
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ หรือติดตั้งผ่าน npm
โครงการ Angular (ชื่อเดิมคือ AngularJS) เป็นเฟรมเวิร์คสำหรับพัฒนาเว็บที่สร้างโดยกูเกิล ตัวไลบรารีรุ่นแรกสุดถูกเขียนด้วย JavaScript แต่ปีที่แล้ว กูเกิลก็ประกาศว่า จะพัฒนา Angular 2.0 ด้วยภาษา AtScript ซึ่งเป็นซูเปอร์เซ็ตของ JavaScript/ECMAScript แทน
แต่ล่าสุด กูเกิลกลับลำโดยประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ (ถือเป็นของแปลกสำหรับสองบริษัทนี้) โดย Angular 2.0 จะเปลี่ยนมาใช้ ภาษา TypeScript ของไมโครซอฟท์ แทนการใช้ AtScript ของตัวเอง และจะเริ่มจาก TypeScript 1.5 เวอร์ชันใหม่ที่จะออกในเร็วๆ นี้
ไมโครซอฟท์เคยออก ภาษา TypeScript ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมใหม่ที่แปลงเป็น JavaScript ได้ ภาษานี้เปิดตัวในปี 2012 และถูกพัฒนามาเรื่อยๆ สถานะปัจจุบันคือเวอร์ชัน 1.0 (ออกเมื่อเดือนเมษายน 2014)
ล่าสุดไมโครซอฟท์เริ่มโชว์ TypeScript 1.1 เวอร์ชันพรีวิว (CTP) โดยของใหม่ที่สำคัญคือคอมไพเลอร์ตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิมประมาณ 4 เท่าตัว ซึ่งในอนาคตไมโครซอฟท์จะเปลี่ยนมาใช้คอมไพเลอร์ตัวนี้แทนเมื่อแก้บั๊กเสร็จ
ผู้สนใจทดสอบสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานร่วมกับ VS 2013 หรือ VS 14 CTP ก็ได้
ข่าวนี้ต่อจาก ไมโครซอฟท์เปิดตัว Visual Studio Online บริการกลุ่มเมฆสำหรับการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว IDE สำหรับเขียนโปรแกรมผ่านเบราว์เซอร์ชื่อ "Monaco"
ZDNet มีเบื้องหลังการสร้าง Monaco ว่าเกิดจากฝีมือของ Erich Gamma อดีตพนักงานของ IBM และผู้นำฝ่ายเทคนิคของโครงการ Eclipse ที่ย้ายมาอยู่กับไมโครซอฟท์เมื่อปี 2011 โดยเขาตั้งศูนย์วิจัยสาขาในเมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีเพื่อนร่วมงานของเขาที่ IBM จำนวนหนึ่งย้ายมาร่วมทีมด้วย