Eclipse Foundation ประกาศออก Theia IDE (อ่านว่า "ธีอา") เวอร์ชัน 1.50 ซึ่งนับเป็นรุ่นเสถียรรุ่นแรก ปลดป้าย Beta ออก และแนะนำให้คนทั่วไปใช้งาน
Eclipse Theia เป็นการนำซอร์สโค้ดของ Visual Studio Code มาพัฒนาต่อ โดยรองรับทั้งการรันบนเดสก์ท็อปและผ่านเบราว์เซอร์ ตัวโครงการเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2017 โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ Theia platformที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับให้องค์กรอื่นๆ นำไปสร้าง IDE แบบคัสตอม (เช่น Red Hat CodeReady Workspaces และ Arm Mbed Studio) กับตัว Theia IDEที่เป็น IDE มาตรฐานของ Eclipse Theia เอง (เดิมชื่อว่า Theia Blueprint)
ความนิยมของ VS Code ทำให้เกิดส่วนขยาย (extension) จำนวนมาก จนถึงขั้นฟอร์แมตส่วนขยายของ VS Code กลายเป็นมาตรฐานของวงการ และมี IDE ตัวอื่นนำไปใช้งาน โดยเฉพาะ IDE ที่ดัดแปลงต่อยอดมาจาก VS Code เช่น Code-OSS (VS Code เวอร์ชันไม่มีแบรนด์ไมโครซอฟท์), Eclipse Theia , Gitpod, Salesforce Code Builder, SAP Business Application Studio เป็นต้น
จากข่าว Oracle เปลี่ยนวิธีคิดค่าไลเซนส์ Java ใหม่ นับตามจำนวนพนักงานของทั้งองค์กร แทนการนับตามจำนวนพนักงานที่ต้องใช้งาน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือความนิยมใน Java ของบริษัทหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นแทน
Mike Milinkovich ผู้อำนวยการของมูลนิธิ Eclipse Foundation โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ บอกว่าเขาก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไม Java ถึงแพงขนาดนี้ และแนะนำให้ใช้ ไบนารี Temurin Java ของโครงการ Adoptium ภายใต้ Eclipse Foundation แทน ซึ่งเป็นไบนารีที่เข้ากันได้กับ Oracle Java 100%
เมื่อปลายเดือนที่แล้ว โครงการ Jakarta EE ที่เป็นผู้สืบทอด Java EE ในยุคโอเพนซอร์ส ที่ Oracle ยกให้ Eclipse Foundation ดูแลต่อ ประกาศออก Jakarta EE 10 ซึ่งถือเป็นรุ่นใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ออก Jakarta EE 8 รุ่นแรกภายใต้โครงการใหม่
ของใหม่ที่สำคัญในเวอร์ชันนี้คือการเพิ่ม Jakarta EE Core Profile 10 ถือเป็น profile ใหม่ที่ขนาดเล็กและเบากว่า Web Profile ของเดิม เพื่อใช้รันงานประเภท microservice/container บนคลาวด์
ตัว Core Profile ยังเพิ่ม Jakarta Contexts and Dependency Injection (CDI) 4.0 เวอร์ชัน Lite (CDI-Lite) สำหรับสร้างแอพที่ขนาดเล็กและเบาด้วย
Eclipse IDE ปัจจุบันออกเวอร์ชันใหม่ทุกไตรมาส ออกเวอร์ชัน 2021-06 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ
- รองรับ Java 16 เวอร์ชันล่าสุด
- รองรับสถาปัตยกรรม Mac AArch64 (Arm64) หรือ Apple M1
- ปรับปรุงเครื่องมือ Eclipse Java development tools (JDT)
- ปรับปรุงการทำงานของเทอร์มินัล เช่น การเปิดลิงก์ด้วย Ctrl+Click
นอกจากตัวโปรแกรมแล้ว องค์กรแม่คือ Eclipse Foundation ที่ปัจจุบันมีโครงการในสังกัดมากขึ้น ยังได้ตั้งคณะทำงาน Eclipse IDE Working Group ขึ้นมาเพื่อโฟกัสกับกระบวนการพัฒนาตัว Eclipse IDE ชัดเจนกว่าเดิม โดยมีสมาชิกเป็นตัวแทนจากบริษัทใหญ่ๆ เช่น IBM, SAP, VMware, Renesas อยู่ในคณะทำงานด้วย
- Read more about Eclipse IDE รองรับ Apple M1 แล้ว, รองรับ Java 16
- 7 comments
- Log in or register to post comments
Eclipse Foundation เปิดตัว Eclipse Theia เวอร์ชัน 1.0 โดยเรียกมันว่าเป็น "IDE ทางเลือกของ Visual Studio Code"
Theia (อ่านว่า "ธีอา" เป็น ชื่อเทพธิดากรีก ) เป็น code editor ที่ยอมรับตรงๆ ว่าได้แรงบันดาลใจมาจาก Visual Studio Code และตัวมันเองก็เป็นการนำโค้ดของ VS Code มาพัฒนาต่อด้วย
Eclipse Theia เขียนด้วยเทคโนโลยีเว็บ (เป็น TypeScript เหมือน VS Code) โดยใช้เอนจินแก้ไขโค้ด Monaco ตัวเดียวกัน และใช้ Language Server Protocol (LSP) ของ VS Code เพื่อรองรับภาษาโปรแกรมต่างๆ แถมใช้งานส่วนขยายของ VS Code ได้ด้วย
โครงการ Java EE ย้ายจาก Oracle ไปสู่ Eclipse Foundation โดยใช้ชื่อใหม่ว่า Jakarta EE และออกเวอร์ชันแรกคือ Jakarta EE 8 เมื่อเดือนกันยายน 2019 โดยไม่มีความแตกต่างใดๆ จาก Java EE 8 ที่ออกในปี 2017 นอกจากการเปลี่ยนข้อความ Java เป็น Jakarta เท่านั้น เพราะเป้าหมายคือรักษาความเข้ากันได้ของแอพพลิเคชันเดิมที่เขียนบน Java EE 8
เส้นทางใหม่ของ Java EE เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2017 เมื่อ Oracle ตัดสินใจยก Java EE ให้ Eclipse Foundation ดูแล ภายใต้ชื่อแบรนด์ใหม่ว่า Jakarta EE เพราะ Oracle ยังถือเครื่องหมายการค้า Java อยู่ (Java SE ยังเป็นของ Oracle)
ตอนนี้โครงการ Jakarta EE มีโลโก้ใหม่และ เว็บไซต์ของตัวเอง เป็นที่เรียบร้อย แต่ก็เจออุปสรรคสำคัญที่จะทำให้แอพพลิเคชันที่เขียนบน Java EE ในอดีต ไม่สามารถรันบน Jakarta EE ในอนาคตได้
ความร้อนแรงของ Kubernetes ทำให้มูลนิธิ Eclipse เสนอตั้งโครงการใหม่ชื่อ Eclipse Tempest ขึ้นมาเพื่อสร้างชุดเครื่องมือสำหรับพัฒนาแอพบน Kubernetes โดยเฉพาะ
Eclipse Tempest ไม่ได้เป็น IDE แต่จะเป็นชุดของปลั๊กอินสำหรับ IDE ยอดนิยม 3 ตัวคือ Eclipse IDE (เดสก์ท็อป), Eclipse Che (เว็บ) และ Visual Studio Code เพื่อให้การสร้างและทดสอบแอพพลิเคชันบน Kubernetes ผ่าน IDE เหล่านี้ทำได้ง่ายขึ้น
ในเบื้องต้น IBM ยินดีบริจากโค้ดจากโครงการ Microclimate ซึ่งเป็นตัวช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์บน Kubernetes และ Jenkins ให้เป็นโค้ดตั้งต้นของ Eclipse Tempest ด้วย
Red Hat เปิดตัว CodeReady Workspaces 1.0.0 เข้าสู่สถานะ GA สำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดยวางตัวเป็น IDE สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์บน Kubernetes โดยเฉพาะ (Kubernetes-native)
ตัว IDE ทำงานบนเว็บทั้งหมด และตัวเซิร์ฟเวอร์เองก็รันอยู่บน Kubernetes เอง ทำให้ลดระยะเวลาการเซ็ตอัพสภาพแวดล้อมสำหรับนักพัฒนาเมื่อมีคนใหม่เข้ามาร่วมทีมงาน และทำให้สะดวกในการควบคุมไม่ให้ทีมงานนำโค้ดออกไปภายนอก
โครงการพัฒนามาจาก Eclipse Che เพิ่มชุด stack ที่ Red Hat เตรียมไว้ให้สำหรับการพัฒนาโครงการด้วยภาษาต่างๆ
หลังจาก Java EE กลายเป็นโครงการในสังกัดของ Eclipse Foundation และ ใช้ชื่อโครงการว่า EE4J เพื่อเลี่ยงการใช้เครื่องหมายการค้า Java ที่ยังเป็นของ Oracle
ล่าสุดโครงการ EE4J ประกาศชื่อแบรนด์ใหม่ของ Java EE ว่าเป็น Jakarta EE
กระบวนการตัดสินใจเรื่องชื่อมาจาก การนำเสนอของชุมชน ซึ่งมีคนเสนอเข้ามาหลายร้อยชื่อ สองชื่อที่เข้ารอบสุดท้ายคือ Jakarta EE กับ Enterprise Profile และการโหวตตัดสินโดยชุมชน ชื่อ Jakarta EE ชนะด้วยคะแนน 64.4%
ภาษา Rust ที่พัฒนาโดย Mozilla เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการใช้งานใน Firefox ที่แนวคิดการทำงานแบบขนานของ Rust ช่วยให้ Firefox ทำงานเร็วขึ้นมาก
จากข่าว Samsung DeX จะรองรับการรันลินุกซ์เดสก์ท็อปจากมือถือ ล่าสุดซัมซุงโพสต์วิดีโอบนช่อง YouTube ของตัวเอง โชว์คอนเซปต์การรัน Ubuntu บน DeX ให้เห็น
วิดีโอนี้ยังระบุว่าเป็นแค่ Concept Demo อาจไม่ใช่เดโมที่ใช้งานได้จริง ในวิดีโอแสดงการรัน Ubuntu 16 จากไอคอนในเดสก์ท็อปของ DeX แล้วรัน Eclipse ใน Ubuntu อีกต่อหนึ่ง สามารถทำงานเขียนโค้ด C/C++ ที่คอมไพล์เป็นเนทีฟสำหรับสถาปัตยกรรม ARM ได้ทันที
ซัมซุงเรียกฟีเจอร์นี้ว่า Linux on Galaxy และประกาศว่าจะใช้กับดิสโทรใดๆ ก็ได้
Red Hat ประกาศซื้อกิจการบริษัท Codenvy ผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนา Eclipse Che
Eclipse Che เป็นโครงการย่อยในสังกัด Eclipse Foundation มันคือ Cloud IDE หรือ IDE เวอร์ชันที่รันอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ แล้วเรียกใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์
ตัวของ Che เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใครๆ ก็ดาวน์โหลดไปรันในเซิร์ฟเวอร์เองได้ ส่วนบริษัท Codenvy หารายได้จากการโฮสต์ Che บนเซิร์ฟเวอร์ตัวเองให้เช่าใช้งานพร้อมซัพพอร์ต และมีเวอร์ชัน Che Team/Enterprise สำหรับตลาดองค์กร
Google Cloud Platform (GCP) อำนวยความสะดวกให้นักพัฒนามากขึ้น โดยออกปลั๊กอิน Cloud Tools for Eclipse เพื่อให้คนใช้ Eclipse สามารถเชื่อมต่อกับ App Engine ได้โดยตรง
ในอดีต กูเกิลเคยออก Google Plugin for Eclipse ที่ใช้เขียนโค้ดด้วย GWT บน App Engine มาก่อน แต่ปลั๊กอินตัวนี้ล้าสมัย ไม่อัพเดตแล้ว ใช้กับ Eclipse 4.6 Neon ไม่ได้ กูเกิลจึงแนะนำให้ย้ายมาใช้ Cloud Tools for Eclipse แทน
Cloud Tools for Eclipse ใช้ได้กับทั้ง Eclipse 4.5 (Mars) และ Eclipse 4.6 (Neon) รายละเอียดการติดตั้งและใช้งาน อ่านได้จากที่มา
การพัฒนาแอพบน Android สมัยแรกๆ กูเกิลใช้วิธีออกปลั๊กอิน Android Developer Tools (ADT) ให้กับ IDE ยอดนิยมอย่าง Eclipse แต่เมื่อเวลาผ่านไป กูเกิลเปลี่ยนนโยบายมาเป็นการสร้าง IDE ของตัวเองคือ Android Studio (พัฒนามาจาก IntelliJ IDEA) แทน
กูเกิลประกาศมาตั้งแต่ต้นว่าให้นักพัฒนาย้ายไปใช้ Android Studio แต่ก็ยังซัพพอร์ตปลั๊กอิน Eclipse มาสักระยะหนึ่ง วันนี้เวลานั้นหมดลงแล้ว และกูเกิลประกาศหยุดซัพพอร์ต Eclipse Android Developer Tools อย่างเป็นทางการ
กระบวนการย้ายจาก Eclipse ADT มายัง Android Studio นั้นไม่มีอะไรยาก สามารถสั่ง Import Project มาได้ตรงๆ นักพัฒนาส่วนใหญ่น่าจะย้ายกันมาเกือบหมดแล้ว ถ้ายังมีท่านใดยังไม่ย้ายก็คงต้องถึงเวลาแล้วล่ะครับ
ที่มา - Android Developers Blog
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Red Hat และ Codenvy บริษัทที่รับผิดชอบการพัฒนา Eclipse รุ่นถัดไป สร้างมาตรฐานกลางสำหรับการเพิ่มภาษาโปรแกรมใหม่ๆ ให้ซอฟต์แวร์ IDE (Integrated Development Environment) รองรับได้ง่ายขึ้น
แนวคิดของเรื่องนี้คือตัว IDE หรือ Editor จะรองรับภาษาโปรแกรมใหม่ๆ ต้องมีข้อมูลของภาษานั้นเพื่อใช้ตรวจ syntax, เติมโค้ด (code completion) รวมถึงทำ refactoring ดังนั้น IDE จะถูกออกแบบให้ดึงข้อมูลของภาษาโปรแกรมจาก "Language Servers" ที่มีข้อมูลของแต่ละภาษาอยู่
พบกันปีละครั้งกับ ซอฟต์แวร์ในตระกูล Eclipse รุ่นใหม่ที่มีกำหนดออกช่วงปลายเดือนมิถุนายน ( ข่าว Eclipse Mars ของปี 2015 ) สำหรับปี 2016 ใช้โค้ดเนมว่า Neon และมีโครงการใต้ร่มของ Eclipse ออกรุ่นพร้อมกัน 84 โครงการย่อย ของใหม่ที่เป็นไฮไลท์ได้แก่
เมื่อปลายปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์ออกอีมูเลเตอร์สำหรับ Android ของตัวเอง มีจุดเด่นคือประสิทธิภาพสูง รันได้เร็ว (ใช้เทคโนโลยี Hyper-V ของไมโครซอฟท์เอง) แต่ข้อจำกัดของมันคือใช้ได้เฉพาะกับ Visual Studio 2015 เท่านั้น
ล่าสุดไมโครซอฟท์ขยายความสามารถของอีมูเลเตอร์ตัวนี้ ให้สามารถทำงานกับเครื่องมือพัฒนายอดฮิตในโลก Android ทั้งของใหม่ Android Studio และของเก่า Eclipse ที่ลงปลั๊กอิน ADT ได้แล้ว ช่วยให้ผู้สร้างแอพ Android ที่เหนื่อยหน่ายกับอีมูเลเตอร์ของกูเกิลที่ทำงานช้า สามารถเปลี่ยนมาใช้อีมูเลเตอร์ของไมโครซอฟท์ที่ทำงานเร็วกว่าได้
อนาคตของการพัฒนาซอฟต์แวร์บน Android มุ่งไปที่ Android Studio และกูเกิลเองก็เคย แนะนำให้ย้ายจาก Eclipse มาก่อนแล้ว
ล่าสุดกูเกิลออกมาประกาศว่าจะหยุดพัฒนา Eclipse Android Developer Tools (ADT) ในช่วงสิ้นปีนี้ และขอให้นักพัฒนาย้ายไปใช้ Android Studio แทน (สามารถสั่ง import project ของเก่ามาได้ง่ายๆ เลย)
ส่วนคนที่ยังอยากใช้ Eclipse จริงๆ ก็ยังมีทางเลือกคือใช้แพ็กเกจจากโครงการ Andmore ซึ่งเป็นโครงการโอเพนซอร์สใต้ร่มของ Eclipse และไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับกูเกิลแล้ว
ช่วงกลางปีของทุกปี โครงการ Eclipse จะออกซอฟต์แวร์รุ่นใหม่เสมอ ซึ่งปีนี้ใช้ชื่อรุ่นว่า "Mars" และนับเวอร์ชันเป็น 4.5.0 แล้ว ของใหม่ในรุ่นนี้มีหลายอย่าง (ขึ้นกับแต่ละโครงการย่อย) ที่เด่นๆ ได้แก่
หลังจาก Java 8 เปิดตัว ไม่นาน ค่าย Eclipse ก็ประกาศรองรับ Java 8 แล้ว
Eclipse เวอร์ชันที่รองรับคือ 4.3.2 (Kepler SR2) โดยมันจะถูกแพตช์เพิ่มเติมให้ใช้งานกับ Java 8 ได้อย่างเต็มที่ สำหรับคนที่มี Eclipse 4.3.2 อยู่แล้วก็ไม่ต้องดาวน์โหลดใหม่ทั้งตัว แต่ ดาวน์โหลดแพ็กเกจ Java 8 เพิ่มเติมได้เอง
Eclipse จะรองรับ Java 8 อย่างเต็มรูปแบบในเวอร์ชันหน้า (Eclipse Luna) ที่จะออกเดือนมิถุนายน 2014
ก่อนหน้านี้ NetBeans 8.0 รองรับ Java 8 แล้วเช่นกัน
- Read more about Eclipse รองรับ Java 8 แล้ว
- 3 comments
- Log in or register to post comments
หลังจากที่ทางโครงการ Eclipse ได้ ทดสอบโลโก้ใหม่ อยู่พักใหญ่ ล่าสุดก็ได้ประกาศโลโก้ใหม่ออกมาเรียบร้อยแล้ว โดยโลโก้ใหม่จะถูกนำไปใช้ใน release ถัดไปของ Eclipse (ชื่อรหัส Luna ) ที่จะออกมาในวันที่ 25 มิถุนายน 2557 ครับ
สามารถเข้าไปชมโลโก้ใหม่พร้อมทั้งอาร์ทเวิร์คต่าง ๆ ได้ที่ หน้าอาร์ตเวิร์คของโครงการ ครับ
- Read more about โครงการ Eclipse ประกาศโลโก้ใหม่แล้ว
- 11 comments
- Log in or register to post comments
หลาย ๆ คนคงจะคุ้นเคยกับโลโก้เดิมของ Eclipse ที่เป็นรูปจันทรุปราคาสีม่วงซึ่งใช้มานานกว่า 10 ปี ตอนนี้ทางโครงการกำลังดำเนินการสรรหาโลโก้ใหม่เพื่อมาแทนที่อันเดิมที่ดูออกจะโบราณไปเสียแล้ว โดยขณะนี้ทางโครงการกำลังทดสอบโลโก้แบบต่าง ๆ โดยการนำไปแสดงผลบนเว็บไซต์ของโครงการเพื่อฟังเสียงตอบรับจากผู้ใช้
สำหรับบางคนที่ไม่รู้จัก Eclipse เป็นหนึ่งในโปรแกรมประเภท IDE (สภาพแวดล้อมในการในการพัฒนาโปรแกรม) ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง โครงการ Eclipse เริ่มต้นขึ้นในปี 2001 โดย IBM ปัจจุบันบริหารโดยมูลนิธิ Eclipse
- Read more about โครงการ Eclipse กำลังทดสอบโลโก้ใหม่
- 17 comments
- Log in or register to post comments
ข่าวนี้ต่อจาก ไมโครซอฟท์เปิดตัว Visual Studio Online บริการกลุ่มเมฆสำหรับการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว IDE สำหรับเขียนโปรแกรมผ่านเบราว์เซอร์ชื่อ "Monaco"
ZDNet มีเบื้องหลังการสร้าง Monaco ว่าเกิดจากฝีมือของ Erich Gamma อดีตพนักงานของ IBM และผู้นำฝ่ายเทคนิคของโครงการ Eclipse ที่ย้ายมาอยู่กับไมโครซอฟท์เมื่อปี 2011 โดยเขาตั้งศูนย์วิจัยสาขาในเมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีเพื่อนร่วมงานของเขาที่ IBM จำนวนหนึ่งย้ายมาร่วมทีมด้วย