CISA หรือ Cybersecurity and Infrastructure Security Agency หน่วยงานความมั่นคงไซเบอร์ของสหรัฐ ซึ่งเป็นหน่วยงานแม่ของ US-CERT ออกคำสั่งทางปกครอง ให้หน่วยงานพลเรือนทั้งหมดของรัฐบาลสหรัฐ ต้องอุดช่องโหว่ Log4j ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 24 ธันวาคม 2021
CISA มีอำนาจสั่งให้หน่วยงานภาครัฐของสหรัฐต้องลดความเสี่ยงจากช่องโหว่ความปลอดภัยสำคัญๆ (Significant Risk of Known Exploited Vulnerabilities) ตาม รายการที่กำหนด เมื่อ CISA เพิ่มช่องโหว่ CVE-2021-44228 เข้ามาในรายการ หน่วยงานภาครัฐจึงต้องอุดช่องโหว่นี้ให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด
ช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Atlassian ออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่ร้ายแรงระดับวิกฤติใน Confluence Server ระบบจัดการโครงการซอฟต์แวร์ (CVE-2021-26084) แต่หลังจากออกแพตช์มาไม่นาน US-CERT ก็เตือนว่าคนร้ายเริ่มใช้ช่องโหว่โจมตีแล้ว องค์กรที่ใช้งานซอฟต์แวร์จึงควรเร่งอัพเดตทันที
ช่องโหว่นี้เป็นช่องโหว่ OGNL (Object-Graph Navigation Language) injection แฮกเกอร์สามารถยิงสคริปต์เข้าไปรันบนเซิร์ฟเวอร์ได้โดยไม่ต้องยืนยันตัวตนใดๆ ทำให้กระทบเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดแม้จะเป็นเซิร์ฟเวอร์ปิดสำหรับใช้งานในองค์กรเท่านั้น
US-CERT ร่วมกับ Department of Homeland Security (DHS) และ FBI ออกประกาศแจ้งเตือนถึงมัลแวร์ Volgmer และ FALLCHILL ที่มีความเกี่ยวข้องกับเกาหลีเหนือ
FALLCHILL เป็นมัลแวร์แบบ RAT (Remote Access Trojan) ที่เปิดทางให้แฮกเกอร์เข้าควบคุมเครื่องได้เต็มรูปแบบ เมื่อเครื่องของเหยื่อถูกติดตั้ง FALLCHILL แล้วจะเก็บข้อมูลทั่วไปของเครื่องกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ควบคุม และรอรับคำสั่งรันโปรแกรมใดๆ บนเครื่อง พร้อมกับความสามารถถอนตัวเองออกจากเครื่องของเหยื่อพร้อมลบร่องลอยออกไปได้
ทาง US-CERT เปิดเผยรายชื่อไอพีที่ใช้ควบคุม FALLCHILL พร้อมกับเผยแพร่ค่า MD5 ของไฟล์ในมัลแวร์สองไฟล์คือ 1216da2b3d6e64075e8434be1058de06และ e48fe20eb1f5a5887f2ac631fed9ed63 ที่เป็นส่วนหนึ่งของมัลแวร์
US-CERT ส่งประกาศแจ้งเตือนไปยังองค์กรสมาชิกประมาณ 100 องค์กร แจ้งเตือนว่าวันนี้จะมีการเปิดเผยช่องโหว่ของการเชื่อมต่อ Wi-Fi แบบ WPA2 ทำให้แฮกเกอร์อาจถอดรหัสการเชื่อมต่อได้สำเร็จ, นำข้อมูลเดิมมาส่งซ้ำ (replay), ขโมยการเชื่อมต่อ (TCP hijack), หรือใส่ข้อมูลเพิ่มเติมไปในการเชื่อมต่อ
รายงานนี้ระบุว่ากระบวนการเชื่อมต่อสี่ทาง (4-way handshake) ในขั้นที่สามอาจจะมีการขอให้ส่งกุญแจหลายครั้งได้ แต่การส่งหลายครั้งกลับใช้ค่า nonce เดียวกัน จนกระทั่งการเข้ารหัสอ่อนแอ
CERT หน่วยงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ ออกมาเตือนภัยช่องโหว่เราเตอร์ Netgear หลายรุ่น ซึ่งมีบั๊กสำคัญที่เปิดให้ผู้โจมตีสามารถยิงคำสั่งเข้ามาจากภายนอก และขอให้ผู้ใช้เราเตอร์รุ่นนี้หยุดใช้งานทันทีจนกว่าจะมีแพตช์
การทำงานของช่องโหว่นี้คือ แฮ็กเกอร์จะหลอกล่อให้คนที่อยู่ภายในเครือข่าย คลิกลิงก์บนเว็บที่ฝังคำสั่งสำหรับเราเตอร์เอาไว้ และเราเตอร์มีข้อผิดพลาดในการกรองคำสั่งเหล่านี้ ส่งผลให้คำสั่งไปรันใน shell ที่สิทธิ root ส่งผลให้แฮ็กเกอร์สามารถเข้ามาควบคุมเราเตอร์ได้แทบทั้งหมด 100%
CERT แนะนำให้เจ้าของเราเตอร์หยุดใช้งานทันทีจนกว่า Netgear จะออกแพตช์ให้ หรือไม่อย่างนั้นก็สามารถปิดการทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์ภายในเราเตอร์ไปก่อนได้ (ต้องทำใหม่ทุกครั้งที่เราเตอร์รีบูต เพราะเว็บเซิร์ฟเวอร์จะทำงานอัตโนมัติ)
ปัญหามัลแวร์เข้ารหัสข้อมูลเรียกค่าไถ่ (ransomware) ดูจะไม่มีวี่แววเบาลงแต่อย่างใด ตอนนี้หน่วยงานแจ้งเตือนความปลอดภัยไซเบอร์ของสหรัฐฯ (US-CERT) และแคนาดา (CCIRT) ก็ออกประกาศร่วมกัน แจ้งเตือนผู้ที่ยังไม่เจอมัลแวร์เหล่านี้เสียเองให้ตระหนักและป้องกัน
ประกาศแจ้งเตือนนี้ระบุว่าจุดเริ่มต้นของ ransomware เกิดมาในช่วงปี 2012 ที่เริ่มมีรายงานจาก Symantec ว่ามัลแวร์ประเภทนี้ทำเงินได้อย่างมากเดือนละเกือบสี่แสนดอลลาร์จากเซิร์ฟเวอร์ควบคุมเพียงตัวเดียว หลังจากนั้นมัลแวร์สายใหม่ๆ ในประเภทเดียวกันก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ประกาศแจ้งเตือนนี้ระบุทางป้องกันเอาไว้ 7 แนวทาง