มีรายงานว่า Hyperloop One บริษัทพัฒนาการขนส่งรูปแบบใหม่ผ่านท่อสุญญากาศความเร็วสูง ได้ปิดกิจการแล้ว หลังจากไม่ได้งานสัญญาสร้าง Hyperloop ในสเกลใหญ่จากหน่วยงาน โดยบริษัทจะทำการขายสินทรัพย์ทั้งหมด ตลอดจนยกเลิกสัญญาจ้างพนักงานที่เหลืออยู่ในสิ้นปีนี้
Hyperloop One ก่อตั้งในปี 2014 และรับเงินลงทุนมากกว่า 400 ล้านดอลลาร์ เปลี่ยนชื่อเป็น Virgin Hyperloop One ในปี 2017 จากการที่กลุ่มบริษัท Virgin เข้าร่วมลงทุน แล้วเปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อ Hyperloop One เหมือนเดิมเมื่อปีที่แล้วเพราะ Virgin ถอนการลงทุน ซึ่งบริษัทก็ปรับโมเดลธุรกิจมาเน้นการขนส่งสินค้าแทนการขนส่งคน
Virgin Hyperloop เปลี่ยนชื่อบริษัทกลับเป็น Hyperloop One หลังกลุ่มบริษัท Virgin ตัดสินใจถอดแบรนด์ออก เนื่องจากทิศทางการพัฒนาธุรกิจหันเหจากการพัฒนาระบบโดยสารคมนาคม เปลี่ยนมาเน้นเพื่อการขนส่งสินค้าเป็นหลัก โดยตอนนี้ เว็บไซต์ของบริษัท ก็ได้ปรับเปลี่ยนชื่อเว็บและชื่อบริษัทกลับมาเป็น Hyperloop One เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ Virgin Hyperloop มีปีที่ยากลำบากและเป็นเหตุให้ต้องปลดพนักงานออก 111 คนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาหลังการเปลี่ยนทิศทางธุรกิจทิ้งไอเดียการพัฒนาระบบเพื่อการโดยสารของคนไป โดยทิศทางใหม่จะเน้นการขนส่งสินค้าภาคพื้นดินเพื่อเชื่อมโยงกับท่าเรือขนถ่ายสินค้าเป็นหลัก
Virgin Hyperloop ( ชื่อเดิมคือ Hyperloop One ) บริษัทขนส่งไฮเปอร์ลูป ประกาศความสำเร็จในการทดสอบไฮเปอร์ลูปแบบมีผู้โดยสารจริงๆ เป็นครั้งแรก
การทดสอบครั้งนี้เกิดขึ้นที่ไซต์ทดสอบในเมืองลาสเวกัส ใช้แคปซูลพาหนะ Pegasus XP-2 รุ่นทดสอบที่จุผู้โดยสารได้ 2 คน วิ่งในท่ออัดอากาศแรงดัน 100 ปาสคาล ที่ความเร็ว 48 เมตรต่อวินาที เป็นระยะทาง 500 เมตร
ผู้โดยสารไฮเปอร์ลูป 2 คนแรกในประวัติศาสตร์คือ Josh Giegel ผู้ร่วมก่อตั้งและซีทีโอของบริษัท และ Sara Luchian ผู้อำนวยการฝ่ายประสบการณ์ผู้โดยสาร
เมื่อเดือนตุลาคม 2017 กลุ่มบริษัท Virgin ได้ ประกาศร่วมลงทุนใน Hyperloop One หนึ่งในบริษัทที่พยายามพัฒนา hyperloop การขนส่งแบบใหม่ที่ Elon Musk เป็นผู้เสนอไอเดีย ซึ่งในการลงทุนครั้งนั้นทำให้ Branson ได้เข้าไปนั่งเป็นประธานบอร์ด พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น Virgin Hyperloop One
ล่าสุด Branson ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานบอร์ดของ Virgin Hyperloop One แล้ว โดยให้เหตุผลว่าเขารู้สึกว่าบริษัทต้องการประธานบอร์ดคนใหม่ที่สามารถให้เวลากับงานได้มากขึ้น ซึ่งมันเป็นการยากสำหรับเขาที่จะทำอย่างนั้นเพราะมีหลายธุรกิจในกลุ่มบริษัท Virgin ที่เขาต้องดูแล โดยโฆษกของ Virgin ระบุว่าจะหาผู้บริหารคนใหม่จากภายในขึ้นมารับตำแหน่งนี้แทน
Virgin Hyperloop One ประกาศข้อตกลงกับทางการอินเดียและรัฐมหารัชฏะ ในการสร้างเส้นทาง Hyperloop ระหว่างเมืองปูเณ่ (Pune) ไปยังมุมไบ โดยผ่านสนามบินนานาชาติ Navi Mumbai เป็นระยะทางราว 160 กิโลเมตร (อ้างอิงจาก Google Maps)
การเดินทางด้วย Hyperloop จะใช้เวลาราว 25 นาทีเท่านั้น จากปกติที่ต้องใช้เวลาราว 2.5 ถึง 3 ชั่วโมงบนรถยนต์และรถไฟ และจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า Hyperloop จะช่วยเหลือชาวอินเดียที่เดินทางระหว่างสองเมืองนี้เป็นประจำราว 150 ล้านคน ก่อให้เกิดรายได้ทางเศรษฐกิจราว 5.5 พันล้านเหรียญตลอดระยะเวลา 30 ปี
หลังระดมทุนหาเงินทั้งจาก หมวก และ เครื่องพ่นไฟ ไปแล้ว ล่าสุดมีข่าวคราวเกี่ยวกับ Boring Company ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักอย่างการขุดอุโมงค์ใต้ดินเสียที เมื่อบริษัทได้รับใบอนุญาตจากกรุงวอชิงตันดีซี ให้ขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินสำหรับเส้นทาง Hyperloop แล้ว
จุดที่ Boring Company ได้รับอนุญาตให้เจาะบริเวณเลขที่ 53 New York Avenue Northeast โดยโฆษกของบริษัทระบุว่าพื้นที่ตรงนี้อาจเป็นสถานีของ Hyperloop ในอนาคตด้วย โดยตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับโปรเจ็คนี้
วันนี้กลุ่มบริษัท Virgin จากอังกฤษประกาศเข้าลงทุนใน Hyperloop One บริษัทพัฒนา hyperloop วิธีการขนส่งแบบใหม่ที่ถูกเสนอไอเดียโดย Elon Musk โดย Richard Branson ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท Virgin ระบุว่า Virgin สนใจลงทุนในธุรกิจหลากหลายแขนงที่มีนวัตกรรม รวมถึงเทคโนโลยีการขนส่งที่สามารถเปลี่ยนชีวิตคนได้
Virgin ไม่ได้เปิดเผยมูลค่าการลงทุน แต่นั่นก็มากพอที่จะเปลี่ยนชื่อ Hyperloop One เป็น Virgin Hyperloop One พร้อมให้ Branson เข้าไปนั่งในบอร์ดบริหารด้วย (ย้ำว่า Hyperloop One ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับ Elon Musk และ/หรือ SpaceX เลยนะครับ เป็นแค่บริษัทที่วิจัยสิ่งที่ Elon เสนอไว้เฉยๆ)
แผนการปฏิวัติการเดินทางด้วยรูปแบบขนสงมวลชนแบบใหม่ของ Hyperloop One อาจยากที่จะประสบความสำเร็จหากบริษัทไม่ดึงทั้งภาคเอกชนและภาครัฐเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ ด้วยเหตุนี้ Hyperloop One เลยประกาศโครงการ Global Challenge ที่ให้ภาคส่วนต่างๆ ของแต่ละประเทศได้ยื่นข้อเสนอสำหรับการสร้างเส้นทาง Hyperloop ทั่วโลก
ล่าสุด Hyperloop One ได้คัดเลือกเส้นทาง 10 เส้นทางแรกสำหรับการสร้าง Hyperloop แล้ว โดยพิจารณาจากทั้งโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ, เทคโนโลยี, กฎหมายและข้อกำหนดเกี่ยวกับการขนส่งและสิ่งแวดล้อม และทั้ง 10 เส้นทางนั้นอยู่ใน 5 ประเทศได้แก่
สหรัฐอเมริกา
Blognone อาจไม่ได้ลงข่าวเกี่ยวกับ Hyperloop บ่อยนัก แต่ไอเดียการขนส่งมวลชนแบบใหม่ที่เสนอโดย Elon Musk ซีอีโอของ SpaceX และ Tesla ก็มีความเคลื่อนไหวอยู่เรื่อยๆ โดย SpaceX ได้สร้างท่อสำหรับวิ่งทดสอบระยะทางประมาณ 1 ไมล์ และจัดการแข่งขันขึ้นเพื่อหาทีมที่สามารถสร้าง Hyperloop Pod ที่นำไปสู่การใช้งานจริง
การแข่งขันรอบแรกมีขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม 2017 มีทีมเข้าร่วมการแข่งมากมาย แต่ต้องผ่านการทดสอบจำนวนมากถึงจะได้ลงวิ่งในท่อจริง เช่นการทดสอบว่าตัวรถพอดีกับรางหรือไม่, ทดสอบการเบรก ไปจนถึงการทดสอบว่าตัวรถและระบบสื่อสารสามารถทำงานได้ในท่อเกือบสุญญากาศ และเหลือทีมที่ผ่านเข้ารอบเพียง 3 ทีมเท่านั้นที่ได้แข่งจริง คือ
Hyperloop One ที่กำลังวิจัยและพัฒนา Hyperloop รูปแบบการเดินทางความเร็วสูงแบบใหม่ผ่านท่อสุญญากาศ เปิดเผยว่าการทดสอบครั้งใหญ่ (full-scale) ครั้งแรกของบริษัทเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคมที่ผ่านมาประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี
ถึงแม้ตามแนวคิดของ Hyperloop จะทำความเร็วสูงสุดที่ 1,220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ทว่าการทดสอบดังกล่าวทำความเร็วอยู่ที่ราว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นหลักไมล์แรก โดยขณะนี้ Hyperloop One กำลังทดสอบในเฟสที่สอง ในการทำความเร็วที่ราว 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
Hyperloop One บริษัทที่วิจัยและพัฒนารูปแบบการขนส่งมวลชนแบบใหม่ ที่อาศัยแคปซูลเป็นห้องโดยสาร เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงผ่านท่อ ซึ่งริเริ่มโดย Elon Musk ได้ประกาศสร้างโรงงานแห่งแรกของบริษัทขึ้นที่ย่าน North Las Vegas รัฐเนวาดา
โรงงานแห่งนี้มีชื่อว่า Hyperloop One Metalworks มีพื้นที่ราว 105,000 ตารางฟุต และคาดว่าจะมีพนักงานปฏิบัติงานที่โรงงานแห่งนี้ราว 170 คน เพื่อทดลองและผลิตชิ้นส่วนของ DevLoop หรือโปรโตไทป์ตัวแรกของการขนส่งแบบใหม่นี้ ที่คาดว่าจะเริ่มทดสอบได้ในปี 2017
ที่มา - TechCrunch
- Read more about Hyperloop One ประกาศตั้งโรงงานในรัฐเนวาดา
- 4 comments
- Log in or register to post comments
Hyperloop เป็นไอเดียการขนส่งมวลชนรูปแบบใหม่ที่ริเริ่มโดย Elon Musk ซีอีโอของ Tesla Motors คอนเซ็ปคือให้คนเข้าไปนั่งใน "แคปซูล" หรือ Pod บรรจุอยู่ในท่อความดันต่ำ มีตัวดูดอากาศแล้วพ่นไปด้านหลังทำให้ตัวแคปซูลเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้เร็วมาก ตามทฤษฎีที่ร่างไว้คืออาจเร็วได้ถึง 1,220 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว ( ข่าวเก่า )
หลังจาก Elon Musk เสนอไอเดียเรื่อง Hyperloop ออกมา เขาบอกว่าเขายุ่งเกินไปที่จะมาดูแลการวิจัยและพัฒนาเรื่องนี้ จึงเปิดให้บริษัทหรือใครก็ได้ที่สนใจเข้ามาแข่งขันเสนอไอเดียออกแบบ Hyperloop ของจริงเพื่อรับความช่วยเหลือต่อไป โดยมีผู้เล่นรายสำคัญคือบริษัท Hyperloop Technologies ที่ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Hyperloop One นำโดย Brogan BamBrogan อดีตวิศวกรด้านอวกาศ และ Shervin Pishevar นักลงทุนด้านการขนส่ง เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทเพื่อมาวิจัยและพัฒนา Hyperloop โดยเฉพาะ ซึ่งล่าสุดได้สร้างท่อสำหรับทดสอบเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตรในรัฐเนวาดา
- Read more about ผู้ร่วมก่อตั้ง Hyperloop One ลาออกจากบริษัทแล้ว
- 8 comments
- Log in or register to post comments