ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ตั้งแต่กลางปีที่แล้วที่ทางอเมซอนได้เปลี่ยนวิธีการเชื่อมต่อข้อมูลจาก UMS ที่มองเห็นคินเดิลเป็น external drive ได้ กลายมาเป็น MTP (Media Transfer Protocol) ในตัว Scribe และบรรดาคินเดิลรุ่นใหม่ที่ออกตัวในปีนี้ก็ใช้โปรโตคอลนี้ทั้งหมด
ซึ่งผู้ใช้งาน Windows ไม่มีปัญหา Windows Explorer ยังมองเห็นและโอนไฟล์เข้าออกได้
ส่วนผู้ใช้ MacOS Finder ที่ไม่ซัพพอร์ต MTP หลายคนจะสับสน รวมถึงต้องขนขวายหาโปรแกรมจากที่อื่นๆมาลงเพื่อจัดการไฟล์ ซึ่งบางตัวก็ไม่ค่อยเสถียรผีเข้าผีออกอย่างมาก
ถ้าจะพูดถึงเครื่องอ่านอีบุ๊ก หลายคนน่าจะนึกถึงเครื่องตระกูลคินเดิลของอเมซอน โดยในปัจจุบันเครื่องอ่านอีบุ๊กของอเมซอนแบ่งออกเป็น 4 ตระกูล เรียงตามลำดับราคาไล่ตั้งแต่ รุ่น Kindle (basic), Paperwhite, Oasis และรุ่นพี่ใหญ่สุด Scribe ที่มีหน้าจอกว้างถึง 10.2 นิ้ว ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดที่อเมซอนเคยมีมา
ผมเคยใช้ Kindle DX จอใหญ่ 9.7 นิ้ว มาก่อนและยังติดใจการใช้งาน E Ink จอใหญ่ๆอยู่ พอดีเร็วๆนี้ได้ซื้อ Kindle Scribe มาใช้งาน จึงจะขอรีวิวการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย เผื่อใครจะได้เห็นภาพรวมการใช้งานได้มากขึ้น
ออกตัวก่อนว่า ภาพถ่ายทั้งหมดใช้กล้องมือถือถ่าย ภาพที่ได้อาจจะมีเรื่อง white balance ได้ อย่างพื้นหลังเป็น Miiiw Desk Pad สีน้ำตาล แผ่นเดียวไม่มีเปลี่ยนครับ
จากที่พยายามเจาะตลาดจีนมาสิบปีนิดๆ มาบัดนี้อเมซอนประกาศโยนผ้าขาว ปิดคินเดิลสโตร์ในจีนแล้วครับ
สรุปสั้นๆ ไทม์ไลน์จะเป็นอย่างนี้ครับ
- Read more about อเมซอนโยนผ้าขาว - ประกาศปิดคินเดิลสโตร์จีนในปี 2024
- 5 comments
- Log in or register to post comments
วันนี้ทางอเมซอนร่อนจดหมายถึงผู้ใช้งานในสหรัฐ ระบุว่าหลังวันที่ 17 สิงหาคมนี้ อุปกรณ์คินเดิลรุ่นเก่าๆ จะเข้าใช้งานสโตร์บนเครื่องไม่ได้ มีผลให้ไม่สามารถเข้าไปเลือกดู ซื้อ หรือยืม หนังสือใหม่จากในสโตร์ไม่ได้อีก
เครื่องที่กระทบคือ Kindle 2, Kindle DX/DXG, Kindle Keyboard, Kindle 4 และ Kindle 5
Amazon ยังให้ส่วนลด 30% ในการซื้อเครื่องใหม่พร้อมกับเครดิตหนังสือ 40 เหรียญเพื่อเป็นการปลอบใจ
แต่ช้าก่อน อ่านมาถึงตรงนี้ก็อย่าเพิ่งรีบโยนเครื่องที่มีอยู่ในมือทิ้งครับ อ่านให้จบก่อน ประกาศนี้ไม่กระทบกับหนังสือที่เรา "ซื้อ" มาแล้ว เรายังสามารถเปิดอ่านในเครื่องได้ และยังเข้าไปดูรายการจาก Archived Items/Library ของเราได้ตามปกติ (ผู้แปล: รวมถึง sideload ก็น่าจะไม่มีผลกระทบ)
เมื่อสองวันที่ผ่านมา บริษัท Gingerlabs ผู้พัฒนา Notability แอพสำหรับการจดบันทึกยอดนิยมบน iPad ได้ประกาศสายฟ้าแลบว่าในรุ่น 11.0 ที่เพิ่งออกมาจะยกเลิก pricing model แบบซื้อขาด (one-time purchase) เปลี่ยนมาเป็น annual subscription แทน โดยจะไปกักความสามารถหลายอย่างที่มีอยู่เดิมและที่เคยซื้อฟีเจอร์เพิ่ม ยกตัวอย่างเช่น iCloud sync, Handwriting recognition, auto-backup และ math conversion ไว้ โดยจะอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับ subscriber เท่านั้น
ที่ดราม่าคือ ประกาศถอนสิทธิ์ลูกค้าที่ซื้อขาดแต่เดิม โดยจะปลอบใจให้เป็นสิทธิ์ 1-year subscription ในปีแรก ส่วนเมื่อถึงพฤศจิกายนปีหน้าจะต้องจ่าย subscription เพื่อเข้าถึงความสามารถข้างต้น หาไม่จะลดความสามารถเหลือเป็นรุ่นทดลองใช้งาน
เมื่อวานนี้ทางอเมซอนร่อนจดหมายไปถึงผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกา แจ้งให้ทราบว่าเนื่องจากทางผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในสหรัฐจะเริ่มทยอยปิดโครงข่ายในระบบ 2G และ 3G ตั้งแต่ธันวาคมปีนี้ มีผลให้อุปกรณ์รุ่นเก่าอย่าง Kindle 1, Kindle 2 และ Kindle DX จะไม่สามารถออนไลน์ได้อีกต่อไป
แต่สำหรับอุปกรณ์รุ่นใหม่กว่านั้น อย่าง Kindle Keyboard, Kindle Touch, Paperwhite รุ่น 1/2/3, Voyage หรือ Oasis รุ่น 1 ยังสามารถออนไลน์ได้ผ่าน WiFi ส่วนเครื่องรุ่นใหม่กว่านั้นใช้โครงข่าย 4G แล้ว จึงไม่มีผลกระทบจากเหตุการณ์นี้แต่อย่างใด พร้อมกันนี้ยังให้สิทธิ์ส่วนลดซื้ออุปกรณ์คินเดิลรุ่นใหม่ 50-70 เหรียญ และเครดิตสำหรับซื้ออีบุ๊คอีก 25 เหรียญ โดยเครดิตจะพ่วงกับการซื้อเครื่องใหม่
เมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมาสำนักงานกฎหมาย Hagens Berman ได้ยื่นฟ้องต่ออเมซอนที่ศาลแขวงนิวยอร์กใต้
โดยในคำฟ้องนั้นทางสำนักงานฯ เชื่อว่า อเมซอนละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด ลักลอบทำสัญญาลับๆ กับบรรดาสำนักพิมพ์ทั้ง 5 ได้แก่ Penguin Random House, Hachette, HarperCollins, Macmillan, และ Simon & Schuster เพื่อทำให้ราคาอีบุ๊คบนอเมซอนถูกที่สุด เป็นการลดการแข่งขัน ซึ่งเป็นผลเสียแก่ผู้บริโภค
ในคำฟ้องมีการอ้างถึงแทคติคต่างๆที่อเมซอนทำเพื่อให้มั่นใจว่าราคาอีบุ๊คในร้านค้าตัวเองจะต้องถูกที่สุดอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น
อันนี้เป็นข่าวเก่านะครับ รอจนเมนูมันเปลี่ยนแล้วถึงเอามาลง คือเมื่อวันที่ 20 เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางอเมซอนออกอัปเดตซอฟต์แวร์รุ่น 5.12.4 สำหรับเครื่องรุ่นที่เจ็ดขึ้นไป อันได้แก่ Kindle Oasis 1/2/3, Voyage, Kindle 8/10 และ Paperwhite 2/3/4 ครับ
ส่วนตัวอัปเดตย่อยใหม่ครั้งนี้มีอะไรที่ปรับปรุงไปบ้างนั้น นอกจากคำอธิบายกว้างๆ ว่า ปรับปรุงประสิทธิภาพ (performance improvements) และแก้บั๊กแล้ว แล้วยังมีการปรับปรุงฟีเจอร์ใหม่อีกเล็กน้อย ดังนี้ครับ
- Read more about คินเดิลออกอัปเดต 5.12.4 - ปรับเมนู Display Settings
- Log in or register to post comments
ช่วงนี้ COVID-19 กำลังระบาด หลายประเทศมีมาตรการสั่งหยุดการเรียนการสอน ทำให้เด็กๆ น้องๆ หลายคนต้องหยุดอยู่กับบ้าน ในวันนี้ทาง Audible ผู้ให้บริการหนังสือเสียง เปิดบริการ Audible Stories ให้ฟังหนังสือเสียงฟรีโดยไม่ต้องสมัคร ไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้บัตรเครดิตใดๆ ไม่มีข้อตกลงผูกมัดใดๆ มีแต่เว็บเบราเซอร์ก็พอ
ปกติแล้วรอม MIUI แบ่งเป็น แบบเสถียร (stable) ที่มากับเครื่องสำหรับผู้ใช้ทั่วไป มีเสถียรภาพสูงกว่า ปกติจะอัพเดตเป็นรายเดือน กับรุ่นเบต้า (beta) ที่ต้องหามาติดตั้งเอง ใช้เพื่อทดสอบฟีเจอร์หรือลูกเล่นใหม่ๆ อาจเสถียรน้อยกว่า แต่จะได้ลองฟีเจอร์ใหม่ๆ ปกติจะอัพเดตเป็นรายสัปดาห์
เมื่อสี่วันก่อน Xiaomi ประกาศว่า จริงๆ แล้วรอมเบต้านั้นตั้งใจสำหรับให้แฟนๆ มีส่วนร่วมในการพัฒนารอมได้ทดสอบและให้ฟีดแบ็คแก่ทีม R&D เพื่อช่วยปรับปรุง ก่อนที่จะปล่อยฟีเจอร์ขึ้นไปยังรอมฉบับเสถียรต่อไป
ทางอเมซอนออกอัปเดตซอฟต์แวร์รุ่น 5.11.2 สำหรับเครื่องในรุ่นที่หกขึ้นไป อันได้แก่ Kindle Oasis 1/2 (2016, 2017), Voyage, Kindle 7/8/10 (2014, 2016, 2019) และ Paperwhite 2/3/4 (2013, 2015, 2018) ครับ
ส่วนตัวอัปเดตย่อยใหม่ครั้งนี้มีอะไรที่ปรับปรุงไปบ้างนั้น นอกจากคำอธิบายกว้างๆ ว่า ปรับปรุงประสิทธิภาพ (performance improvements) และแก้บั๊กแล้ว แล้วยังมีการปรับปรุงฟีเจอร์ใหม่อีกเล็กน้อย ดังนี้ครับ
ปรับปรุงตัวกรอง: สามารถแยกหนังสือที่อ่านจบแล้วแล้วหรือยังไม่จบได้ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาคนที่ชอบซื้อหนังสือมา ดองไว้เยอะๆ แล้วจำไม่ได้ว่าอ่านเล่มไหนจบไปแล้วบ้าง (ฟีเจอร์นี้มีบน iOS ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา)
ทางอเมซอนออกอัปเดตซอฟต์แวร์รุ่น 5.11.1 สำหรับเครื่องในรุ่นที่หกขึ้นไป อันได้แก่ Kindle Oasis 1/2 (2016, 2017), Voyage, Kindle 7/8 (2014, 2016) และ Paperwhite 2/3/4 (2013, 2015, 2018) ครับ
ส่วนตัวอัปเดตย่อยใหม่ครั้งนี้มีอะไรที่ปรับปรุงไปบ้างนั้น นอกจากคำอธิบายกว้างๆ ว่า ปรับปรุงประสิทธิภาพ (performance improvements) แล้วยังมีการปรับปรุงฟีเจอร์ใหม่อีกเล็กน้อย ดังนี้ครับ
รองรับคีย์บอร์ดใหม่: ภาษาอาฟรีกานส์, เดนมาร์ก, ไอซ์แลนด์, นอร์เวย์ และภาษาสวีเดน
รองรับการแปลภาษา: รองรับการแปลไปเป็นภาษา อาฟรีกานส์, กาตาลา, ไอซ์แลนด์, สวีเดน และภาษาเวลส์ รวมถึงจากภาษาเหล่านี้ไปเป็นภาษาอื่น
วันนี้กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนธันวาคม 2018 แพตช์รอบนี้เป็นแบบตามปกติมี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 ธ.ค. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน ชุด 5 ธ.ค. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 ธ.ค. มาด้วย)
แพตช์ 1 ธ.ค. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 17 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) 6 จุด เป็นเรื่องของ Mediaserver เจ้าเก่าทั้ง 4 จุด ส่วนแพตช์ 5 ธ.ค. แก้เพิ่มอีก 36 จุด ส่วนมากเป็นเรื่องช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตอย่าง Qualcomm โดยเป็นช่องโหว่ระดับร้ายแรงถึง 5 จุด
วันนี้กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนพฤศจิกายน 2018 แพตช์รอบนี้เป็นแบบตามปกติมี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 พ.ย. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน ชุด 5 พ.ย. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 พ.ย. มาด้วย)
แพตช์ 1 พ.ย. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 17 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) 4 จุด เป็นเรื่องของ Mediaserver เจ้าเก่าทั้ง 4 จุด ส่วนแพตช์ 5 พ.ย. แก้เพิ่มอีก 19 จุด เกือบทั้งหมดเป็นเรื่องช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตอย่าง Qualcomm เกือบทั้งหมด เป็นช่องโหว่ระดับร้ายแรงถึง 3 จุด
วันนี้ทางอเมซอนออกอัปเดตซอฟต์แวร์รุ่น 5.10.1.1 สำหรับเครื่องในรุ่นที่หกขึ้นไป อันได้แก่ Kindle Oasis 1/2 (2016, 2017), Voyage, Kindle 7/8 (2014, 2016) และ Paperwhite 2/3 (2013, 2015) ครับ
ส่วนตัวอัปเดตย่อยใหม่ครั้งนี้มีอะไรที่ปรับปรุงไปบ้างนั้น นอกจากคำอธิบายกว้างๆ ว่า ปรับปรุงประสิทธิภาพ (performance improvements) แล้วยังมีการปรับปรุงฟีเจอร์ใหม่ดังนี้ครับ
วันนี้กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนตุลาคม 2018 แพตช์รอบนี้เป็นแบบตามปกติมี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 ต.ค. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน ชุด 5 ต.ค. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 ต.ค. มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 ต.ค. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 23 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) 8 จุด เป็นเรื่องของ Mediaserver เจ้าเก่า 4 จุด ส่วนแพตช์ 5 ต.ค. แก้เพิ่มอีก 3 จุด แต่รอบนี้ไม่มีเรื่องช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์แต่อย่างใด
สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Pixel/Nexus รอบนี้ไม่มีแพตช์ด้านความปลอดภัย มีแต่เรื่องปรับปรุงฟีเจอร์ เช่น การปรับแต่งเรื่องการชาร์จ, ปรับปรุงการใช้งาน Android Auto สำหรับตระกูล Pixel
ในช่วงปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของ Xiaomi เริ่มเป็นที่สนใจของกระแสหลักนอกประเทศจีน เนื่องด้วยกลยุทธ์ในการวางตำแหน่งสินค้าให้มีสเป็คที่ดีในที่ราคาไม่แพง มีการออกรุ่นยิบย่อยมากในแต่ละปีที่ครอบคลุมทั้งตลาดล่างไปจนถึงกลาง รวมถึงล่าสุดที่ออกรุ่นที่มีสเป็คเหมือนรุ่นเรือธงค่ายอื่น แต่ในราคาที่ต่ำกว่าเป็นเท่าตัว ทำให้เป็นที่สนใจในวงกว้าง มีพ่อค้าจำนวนไม่น้อยนำเครื่องรุ่นจีนไปขายในตลาดต่างประเทศเป็นที่เอิกเกริก
อังคารบ้านเราที่ผ่านมา กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนกันยายน 2018 แพตช์รอบนี้เป็นแบบตามปกติมี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 ก.ย. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน ชุด 5 ก.ย. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 ก.ย. มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 ก.ย. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 24 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) 5 จุด ซึ่งรอบนี้เป็นเรื่องการได้สิทธิ์ (permission) โดยไม่ได้รับอนุญาต 3 จุด และเป็นเรื่องของ Mediaserver เจ้าเก่า 2 จุด ส่วนแพตช์ 5 ก.ย. แก้เพิ่มอีก 35 จุด ส่วนใหญ่แก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Qualcomm โดยในจำนวนนี้มีระดับร้ายแรงถึง 6 จุด
ถ้าจะพูดถึงเครื่องอ่านอีบุ๊ก คนจำนวนไม่น้อยก็น่าจะนึกถึงเครื่องตระกูลคินเดิลของอเมซอน ซึ่งปัจจุบันอเมซอนแบ่งเครื่องอ่านอีบุ๊กของตนเองออกเป็นสามซีรีส์ เรียงตามลำดับราคาไล่ตั้งแต่ รุ่น Kindle (basic) รุ่น 8, Paperwhite ไปจนถึง Oasis ซึ่งถือเป็นรุ่นท็อปในสาย
พอดีช่วงกลางกรกฎาคมที่ผ่านมา ผมมีโอกาสสั่งซื้อ Kindle Oasis 2 ซึ่งเครื่องที่สั่งเป็นรุ่น certified refurbish แบบ Wi-Fi only ความจุ 32 GB พร้อมโฆษณาราคา 210 เหรียญสหรัฐ (ปกติ 280 เหรียญสหรัฐ) และพอดีผมมี Kindle Voyage อยู่ด้วย ดังนั้นในการรีวิวการใช้งานอาจจะมีการเปรียบเทียบกัน เผื่อใครจะได้เห็นภาพมากขึ้น
คำเตือนภาพประกอบเยอะครับ
วันนี้ทางอเมซอนก็ออกอัปเดตซอฟต์แวร์รุ่น 5.9. 7สำหรับเครื่องรุ่นใหม่ โดยอัปเดตรอบนี้สำหรับอุปกรณ์ในรุ่นที่หกขึ้นไป อันได้แก่ Kindle Oasis 1/2 (2016, 2017), Voyage, Kindle 7/8 (2014, 2016) และ Paperwhite 2/3 (2013, 2015) ครับ
ส่วนตัวอัปเดตย่อยใหม่ครั้งนี้มีอะไรที่ปรับปรุงไปบ้างนั้น นอกจากคำอธิบายกว้างๆ ว่า ปรับปรุงประสิทธิภาพ (performance improvements) แล้วยังมีการปรับปรุงฟีเจอร์ใหม่อีกเล็กน้อยครับ
การคืนหนังสือ: ผู้ใช้สามารถสั่งคืนหนังสือที่ยืมมาจากบนเครื่องได้เลย ไม่ว่าจะหนังสือนั้นจะยืมมาจากห้องสมุด, จากโปรแกรม Prime Reading หรือ จากโปรแกรม Kindle Unlimited
อังคารบ้านเราที่ผ่านมา กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนกรกฎาคม 2018 แพตช์รอบนี้เป็นแบบตามปกติมี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 ก.ค. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน ชุด 5 ก.ค. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 ก.ค. มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 ก.ค. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 11 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) 3 จุด ซึ่งเป็นเรื่องของ Mediaserver เจ้าเก่า 1 จุด ส่วนแพตช์ 5 ก.ค. แก้เพิ่มอีก 33 จุด ส่วนใหญ่แก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Qualcomm โดยในจำนวนนี้มีระดับร้ายแรงถึง 8 จุด
สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Pixel/Nexus มีแพตช์ความปลอดภัยเพิ่มอีกถึง 26 จุด และมีการปรับปรุงประสิทธิภาพ WiFi บนอุปกรณ์เฉพาะ Pixel 2, 2 XL
พอดีเพื่อนผมที่ทำงานเพิ่งสั่งซื้อ Kobo Aura Edition 2 มา พอดีผมได้มีโอกาสดูแลของแทนเพื่อนเป็นเวลาหนึ่งคืน ต้องขอออกตัวก่อนว่า เนื่องจากเวลาน้อย เลยไม่ได้มีโอกาสวางแผนตรวจสอบอย่างละเอียด ลักษณะจะเป็นทดสอบการใช้งานอย่างคร่าวๆ ในลักษณะรีวิวทั่วไป และถือโอกาสมาแชร์ให้ผู้ที่สนใจได้ทราบกัน
สำหรับตัวนี้คือ Kobo Aura Edition 2 ที่เริ่มวางจำหน่ายในเดือนสิงหาคมปี 2016 ราคา 119.99 เหรียญสหรัฐ เป็น Kobo รุ่นราคาถูกที่สุดที่วางขายปัจจุบัน มีเฉพาะ Wi-Fi อย่างเดียวและไม่มีโฆษณาใดๆ
คำเตือน รูปประกอบเยอะนะครับ
- Read more about รีวิว Kobo Aura Edition 2
- 15 comments
- Log in or register to post comments
กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนมิถุนายน 2018 แพตช์รอบนี้เป็นแบบตามปกติมี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 มิ.ย. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน ชุด 5 มิ.ย. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 มิ.ย. มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 มิ.ย. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 20 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) 6 จุด ซึ่งเป็นเรื่องของ Mediaserver เจ้าเก่า 3 จุด ส่วนแพตช์ 5 มิ.ย. แก้เพิ่มอีก 38 จุด ส่วนมากแก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง LG, MediaTek, NVIDIA และ Qualcomm โดยในจำนวนนี้มีระดับร้ายแรง 6 จุด
วันนี้ทางอเมซอนก็ออกอัปเดตซอฟต์แวร์รุ่น 5.9.6 สำหรับเครื่องรุ่นใหม่ โดยอัปเดตรอบนี้สำหรับอุปกรณ์ในรุ่นที่หกขึ้นไป อันได้แก่ Kindle Oasis (2016, 2017), Voyage, Kindle (2014, 2016) และ Paperwhite (2013, 2015) ครับ
ส่วนตัวอัปเดตใหม่มีการปรับปรุงฟีเจอร์ 2 เรื่องดังนี้ครับ
เพิ่มฟอนต์ได้เอง: รองรับทั้ง OpenType (OTF) และ TrueType (TTF) เพียงแค่ก็อปปี้ลงโฟลเดอร์ fonts ในเครื่อง ก็ใช้ได้แล้ว
พบกันเป็นประจำทุกเดือนครับ ครั้งนี้ออกก่อนงาน Google I/O หนึ่งวันพอดี รอบนี้กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนพฤษภาคม 2018 แพตช์รอบนี้เป็นแบบตามปกติมี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 พ.ค. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน ชุด 5 พ.ค. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 พ.ค. มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 พ.ค. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 7 จุด (CVE) ส่วนแพตช์ 5 พ.ค. แก้เพิ่มอีก 16 จุด ส่วนมากแก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Qualcomm, NVIDIA โดยในจำนวนนี้มีระดับร้ายแรง 2 จุด
สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Pixel/Nexus มีแพตช์ความปลอดภัยเพิ่มอีกถึง 34 จุดและปรับปรุง multi-touch สำหรับทุกรุ่น และเฉพาะบน Pixel XL จะแก้ปัญหาการดึงกระแสเกินเวลาชาร์จไฟ