ตัวแทนของ Amazon ยืนยันการหยุดส่ง Kindle Colorsoft ที่เป็น Kindle จอสีรุ่นแรก ให้กับลูกค้าชั่วคราว หลังจากลูกค้ากลุ่มแรกที่ได้รับสินค้า โพสต์รายงานปัญหาหน้าจอด้านล่างเป็นแถบไฟสีเหลือง ( ดูตัวอย่าง ) ทำให้ คะแนนรีวิวเฉลี่ยตอนนี้ที่เว็บ Amazon อยู่ที่ 2.6 ดาว
Amazon บอกว่าปัญหานี้มีการรายงานจากผู้ใช้งานจำนวนน้อย ซึ่งบริษัทกำลังตรวจสอบปัญหาด้านคุณภาพสินค้า หากลูกค้าคนใดที่เจอปัญหานี้สามารถติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าได้
Amazon อัปเดตเครื่องอ่านอีบุ๊กตระกูล Kindle รุ่นใหม่ ซึ่งมาพร้อมการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง รายละเอียดดังนี้
Kindle Colorsoft Signature Edition
Kindle Colorsoft Signature Edition (ชื่อจะยาวไปไหน) เป็น Kindle หน้าจอสีรุ่นแรกด้วยเทคโนโลยี Kaleido ของ E Ink ซึ่ง Amazon นำมาปรับแต่งด้วย LED พิกเซล ทำให้ลดการสะท้อนแต่ยังได้ความสว่าง และรายละเอียดภาพที่คมชัด
Kindle Colorsoft ขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว กันน้ำ รองรับการชาร์จทั้ง USB-C และแบบไร้สาย แบตเตอรีอยู่ได้นาน 8 สัปดาห์ ความจุ 32GB ราคา 279.99 ดอลลาร์ สินค้าเปิดให้สั่งจองวันนี้ โดยเริ่มจัดส่ง 30 ตุลาคม เป็นต้นไป
Rakuten Kobo เปิดตัวเครื่องอ่านอีบุ๊กรุ่นใหม่ โดยเป็นครั้งแรกที่ Kobo มีรุ่น E-Ink จอสี ได้แก่ Kobo Libra Colour และ Kobo Clara Colour ใช้เทคโนโลยีหน้าจอแสดงผล Kaleido 3 ความละเอียด 300ppi แบบจอขาวดำ และ 150ppi เมื่อใช้งานในโหมดสี
Kobo Libra Colour ราคาขาย 219.99 ดอลลาร์ หน้าจอ 7 นิ้ว รองรับการใช้งานร่วมกับ Kobo Stylus 2 ส่วน Kobo Clara Colour ราคา 149.99 ดอลลาร์ หน้าจอ 6 นิ้ว ทั้งสองรุ่นมีคุณสมบัติกันน้ำ IPX8
นอกจากนี้ Rakuten Kobo ยังออกเครื่องอ่านอีบุ๊กจอขาวดำ Kobo Clara BW หน้าจอ 6 นิ้ว รุ่นอัปเกรดด้วยหน่วยประมวลผลและพื้นที่หน่วยความจำที่มากขึ้น ราคา 129.99 ดอลลาร์ ทั้งหมดสินค้าเริ่มส่งมอบ 30 เมษายน 2024 เป็นต้นไป
ถ้าจะพูดถึงเครื่องอ่านอีบุ๊ก หลายคนน่าจะนึกถึงเครื่องตระกูลคินเดิลของอเมซอน โดยในปัจจุบันเครื่องอ่านอีบุ๊กของอเมซอนแบ่งออกเป็น 4 ตระกูล เรียงตามลำดับราคาไล่ตั้งแต่ รุ่น Kindle (basic), Paperwhite, Oasis และรุ่นพี่ใหญ่สุด Scribe ที่มีหน้าจอกว้างถึง 10.2 นิ้ว ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดที่อเมซอนเคยมีมา
ผมเคยใช้ Kindle DX จอใหญ่ 9.7 นิ้ว มาก่อนและยังติดใจการใช้งาน E Ink จอใหญ่ๆอยู่ พอดีเร็วๆนี้ได้ซื้อ Kindle Scribe มาใช้งาน จึงจะขอรีวิวการใช้งาน ข้อดี ข้อเสีย เผื่อใครจะได้เห็นภาพรวมการใช้งานได้มากขึ้น
ออกตัวก่อนว่า ภาพถ่ายทั้งหมดใช้กล้องมือถือถ่าย ภาพที่ได้อาจจะมีเรื่อง white balance ได้ อย่างพื้นหลังเป็น Miiiw Desk Pad สีน้ำตาล แผ่นเดียวไม่มีเปลี่ยนครับ
หลังจากที่ PINE64 ได้ เปิดตัว PineNote เครื่องอ่านอีบุ๊คจอ e-ink ที่โฆษณาว่าลงลินุกซ์ได้ ไปเมื่อปีก่อน มาวันนี้ ผมได้สั่งซื้อ PineNote มาเพื่อลองใช้งานกับพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ เลยถือโอกาสหยิบมารีวิวกันครับ
Amazon เปิดตัว Kindle Scribe เครื่องอ่านอีบุ๊กหน้าจอ 10.2 นิ้ว นับเป็นเครื่องขนาดใหญ่นับแต่ Kindle DX ที่เลิกขายไปเมื่อสิบปีก่อน น้ำหนักเครื่อง 490 กรัมพอๆ กับแท็บเล็ตหน้าจอขนาดใกล้เคียงกัน แต่จุดเด่นของ Kindle Scribe คือหน้าจอ e-Ink ความละเอียด 300ppi และอายุแบตเตอรี่ที่ใช้ได้นานนับสัปดาห์
ราคา 339 ดอลลาร์แถมปากกาพื้นฐานมาในตัว หรือเลือกปากกาพรีเมี่ยมที่มีปุ่มเพิ่มและยางลบด้านท้ายปากกาได้ในราคา 30 ดอลลาร์ สามารถจดโน้ตลงหนังสือ, ไฟล์ PDF, หรือ Microsoft Word ก็ได้ ตอนนี้ยังไม่กำหนดวันวางจำหน่ายแน่นอนแต่ Amazon ระบุว่าจะขายก่อนสิ้นปีนี้
วันนี้ทางอเมซอนร่อนจดหมายถึงผู้ใช้งานในสหรัฐ ระบุว่าหลังวันที่ 17 สิงหาคมนี้ อุปกรณ์คินเดิลรุ่นเก่าๆ จะเข้าใช้งานสโตร์บนเครื่องไม่ได้ มีผลให้ไม่สามารถเข้าไปเลือกดู ซื้อ หรือยืม หนังสือใหม่จากในสโตร์ไม่ได้อีก
เครื่องที่กระทบคือ Kindle 2, Kindle DX/DXG, Kindle Keyboard, Kindle 4 และ Kindle 5
Amazon ยังให้ส่วนลด 30% ในการซื้อเครื่องใหม่พร้อมกับเครดิตหนังสือ 40 เหรียญเพื่อเป็นการปลอบใจ
แต่ช้าก่อน อ่านมาถึงตรงนี้ก็อย่าเพิ่งรีบโยนเครื่องที่มีอยู่ในมือทิ้งครับ อ่านให้จบก่อน ประกาศนี้ไม่กระทบกับหนังสือที่เรา "ซื้อ" มาแล้ว เรายังสามารถเปิดอ่านในเครื่องได้ และยังเข้าไปดูรายการจาก Archived Items/Library ของเราได้ตามปกติ (ผู้แปล: รวมถึง sideload ก็น่าจะไม่มีผลกระทบ)
Amazon มาแบบเซอร์ไพร์ส ประกาศรองรับไฟล์อีบุ๊กแบบ EPUB บนเครื่องอ่านอีบุ๊กตระกูล Kindle ทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องซื้อจาก Amazon ก็ได้
เดิมที Kindle รองรับไฟล์ .AZW หรือ .MOBI เท่านั้น แม้ว่าไฟล์อีบุ๊กมาตรฐานเป็น EPUB แต่ Amazon ก็ไม่ยอมรองรับสักทีมาเป็นเวลานานมาก
ล่าสุด Amazon ประกาศว่าบริการส่งไฟล์เข้าเครื่องผ่านแอพ Send to Kindle บนมือถือ/คอมพิวเตอร์ จะรองรับไฟล์ EPUB ในช่วงปลายปี 2022 และจะปิดการส่งไฟล์แบบเก่า .AZW และ .MOBI แล้ว แม้ว่าไฟล์เดิมบนเครื่องจะยังใช้งานได้ต่อไปก็ตาม
Amazon ให้เหตุผลว่าไฟล์ .AZW และ .MOBI เป็นไฟล์แบบเก่าที่ไม่รองรับฟีเจอร์ของ Kindle รุ่นใหม่ๆ แล้ว จึงตัดสินใจย้ายมาใช้ EPUB แทน
Hauwei เปิดตัว MatePad Paper เครื่องอ่านอีบุ๊กหน้าจอ E Ink ตัวแรกของบริษัท
MatePad Paper ใช้หน้าจอ E Ink FullView ขนาด 10.3 นิ้ว ขอบจอบาง รองรับปากกา Huawei M-Pencil สามารถวาดรูปหรือเขียนลายมือลงบนหน้าจอได้ แปลงลายมือเป็นข้อความได้ สามารถแบ่งจอเพื่อจดโน้ต (split-screen annotations)
Huawei บอกว่าหน้าจอของ MatePad Paper ให้ความรู้สึกเหมือนกระดาษ จอใหญ่อ่านสบายตา แต่ก็มีฟีเจอร์ Smart Refresh ปรับการรีเฟรชจอตามประเภทของเนื้อหา (เช่น ภาพ GIF) ส่วนการเขียนก็ตอบสนองรวดเร็ว latency ของปากกาอยู่ที่ 26ms มีเทมเพลตช่วยจดโน้ตหลายรูปแบบ บันทึกเสียงได้
Amazon เปิดตัวเครื่องอ่านอีบุ๊ก Kindle รุ่นล่างสุด 89.99 ดอลลาร์ โดยเป็นเวอร์ชันใหม่ที่เพิ่มไฟที่จอภาพ สำหรับอ่านหนังสือในที่มืดแล้ว
ก่อนหน้านี้ Kindle แยกออกเป็น 3 รุ่นย่อยตามระดับราคา ได้แก่ Kindle รุ่นพื้นฐานราคา 89.99 ดอลลาร์ ไม่มีไฟในตัว, Kindle Paperwhite รุ่นมีไฟ ราคา 129.99 ดอลลาร์ และ Kindle Oasis รุ่นท็อปสุด ราคา 249.99 ดอลลาร์
ถ้าจะพูดถึงเครื่องอ่านอีบุ๊ก คนจำนวนไม่น้อยก็น่าจะนึกถึงเครื่องตระกูลคินเดิลของอเมซอน ซึ่งปัจจุบันอเมซอนแบ่งเครื่องอ่านอีบุ๊กของตนเองออกเป็นสามซีรีส์ เรียงตามลำดับราคาไล่ตั้งแต่ รุ่น Kindle (basic) รุ่น 8, Paperwhite ไปจนถึง Oasis ซึ่งถือเป็นรุ่นท็อปในสาย
พอดีช่วงกลางกรกฎาคมที่ผ่านมา ผมมีโอกาสสั่งซื้อ Kindle Oasis 2 ซึ่งเครื่องที่สั่งเป็นรุ่น certified refurbish แบบ Wi-Fi only ความจุ 32 GB พร้อมโฆษณาราคา 210 เหรียญสหรัฐ (ปกติ 280 เหรียญสหรัฐ) และพอดีผมมี Kindle Voyage อยู่ด้วย ดังนั้นในการรีวิวการใช้งานอาจจะมีการเปรียบเทียบกัน เผื่อใครจะได้เห็นภาพมากขึ้น
คำเตือนภาพประกอบเยอะครับ
พอดีเพื่อนผมที่ทำงานเพิ่งสั่งซื้อ Kobo Aura Edition 2 มา พอดีผมได้มีโอกาสดูแลของแทนเพื่อนเป็นเวลาหนึ่งคืน ต้องขอออกตัวก่อนว่า เนื่องจากเวลาน้อย เลยไม่ได้มีโอกาสวางแผนตรวจสอบอย่างละเอียด ลักษณะจะเป็นทดสอบการใช้งานอย่างคร่าวๆ ในลักษณะรีวิวทั่วไป และถือโอกาสมาแชร์ให้ผู้ที่สนใจได้ทราบกัน
สำหรับตัวนี้คือ Kobo Aura Edition 2 ที่เริ่มวางจำหน่ายในเดือนสิงหาคมปี 2016 ราคา 119.99 เหรียญสหรัฐ เป็น Kobo รุ่นราคาถูกที่สุดที่วางขายปัจจุบัน มีเฉพาะ Wi-Fi อย่างเดียวและไม่มีโฆษณาใดๆ
คำเตือน รูปประกอบเยอะนะครับ
- Read more about รีวิว Kobo Aura Edition 2
- 15 comments
- Log in or register to post comments
หลังจาก อเมซอนออก Oasis รุ่นสองไป วันนี้ทางอเมซอนก็ออกอัปเดตซอฟต์แวร์รุ่น 5.8.11 สำหรับเครื่องรุ่นใหม่ โดยอัปเดตรอบนี้สำหรับอุปกรณ์ในรุ่นที่หกขึ้นไป อันได้แก่ Kindle Oasis (2016), Voyage, Kindle (2014, 2016) และ Paperwhite (2013, 2015) ครับ
ส่วนตัวอัปเดตย่อยใหม่ครั้งนี้มีอะไรที่ปรับปรุงไปบ้างนั้น นอกจากคำอธิบายกว้างๆ ว่า ปรับปรุงประสิทธิภาพ (performance improvements) แล้วยังมีการปรับปรุงฟีเจอร์เล็กน้อย 3 ข้อดังนี้ครับ
Amazon อัพเกรดเครื่องอ่านอีบุ๊ก Kindle Oasis ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2016 แบบเงียบๆ โดยเพิ่มฟีเจอร์สำคัญคือ "กันน้ำ" เข้ามา ถือเป็นครั้งแรกของ Kindle ที่กันนำได้ ใครที่อยากนำ Kindle ไปนอนอ่านในอ่างอาบน้ำหรือในสระว่ายน้ำ ฝันก็น่าจะเป็นจริงสักที (มาตรฐาน IPX8 ลงน้ำลึกไม่เกิน 2 เมตรนาน 60 นาที และไม่รวมน้ำทะเล)
Kindle Oasis รุ่นที่สองขยับมาใช้หน้าจอขนาด 7" (ของเดิม 6") ความละเอียด 300 ppi ไร้แสงสะท้อนแม้ใช้งานกลางแดดจัด ฟีเจอร์อื่นคือรองรับ Audible คลัง audiobook ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
Kindle Oasis ตัวใหม่มีความจุให้เลือกสองขนาดคือ 8GB และ 32GB ราคาเริ่มต้น 249.99 ดอลลาร์ ถูกกว่ารุ่นแรกอยู่ 50 ดอลลาร์
หลังจากออกอัปเดต 5.8.8 ไปไม่ถึงเดือน วันนี้ทางอเมซอนก็ออกอัปเดตซอฟต์แวร์รุ่น 5.8.9 สำหรับเครื่องรุ่นใหม่ โดยอัปเดตรอบนี้สำหรับอุปกรณ์ในรุ่นที่หกและเจ็ด อันได้แก่ Kindle Oasis, Voyage, Kindle (2014, 2016) และ Paperwhite (2013, 2015) ครับ
ส่วนตัวอัปเดตย่อยใหม่ครั้งนี้มีอะไรที่ปรับปรุงไปบ้างนั้น นอกจากคำอธิบายกว้างๆ ว่า ปรับปรุงประสิทธิภาพ (performance improvements) แล้วยังมีการปรับปรุงฟีเจอร์ 5 ข้อดังนี้ครับ
หลังจากออกอัปเดต 5.8.7 ไปประมาณสามเดือน เมื่อวานทางอเมซอนก็ออกอัปเดตซอฟต์แวร์รุ่น 5.8.8 สำหรับเครื่องรุ่นใหม่ๆ โดยอัปเดตรอบนี้สำหรับอุปกรณ์ในรุ่นที่หกและเจ็ด อันได้แก่ Kindle Oasis, Voyage, Kindle (2014, 2016) และ Paperwhite (2013, 2015)
ส่วนตัวอัปเดตย่อยใหม่ครั้งนี้มีอะไรที่ปรับปรุงไปบ้างนั้น นอกจากคำอธิบายกว้างๆ ว่า ปรับปรุงประสิทธิภาพ (performance improvements) แล้วยังมีการปรับปรุงฟีเจอร์ 2 ข้อดังนี้ครับ
เมื่อวันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา อเมซอนออกอัปเดต 5.8.7 สำหรับเครื่อง Kindle รุ่นที่หกขึ้นไป อันได้แก่ Kindle Oasis, Kindle Voyage, Kindle (2014, 2016), Kindle Paperwhite (2013, 2015)
ที่พิเศษในครั้งนี้คือ การเพิ่มฟอนต์ Ember และ Ember Bold ให้เลือกใช้เพิ่มเติม รวมฟอนต์ทั้งหมดเป็น 10 แบบ
อันนี้เป็นเก็บข่าวเก่าครับ ปลายเดือนที่ผ่านมาทางอเมซอนออกอัปเดต 5.8.5 สำหรับเครื่อง Kindle รุ่นที่หกขึ้นไป อันได้แก่ Kindle Oasis, Kindle Voyage, Kindle (2014, 2016), Kindle Paperwhite (2013, 2015) และยังมีอัปเดตย่อยอีกสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดปล่อยเมื่อต้นเดือนที่่ผ่านมาเป็นรุ่น 5.8.5.0.2
ในรุ่น 5.8.5 นอกจากคำอธิบายกว้างๆ ว่า ปรับปรุงประสิทธิภาพแล้ว ยังมีการปรับปรุงฟีเจอร์ 3 ข้อ ด้วยกันดังนี้
ปัญหาอย่างหนึ่งของการอ่านอีบุ๊คที่ยังทำได้ไม่ค่อยดี คือการกรีดหนังสือหรือพลิกหน้าอย่างเร็ว
หลายครั้งเวลาที่เราอ่านนิยายหรือหนังสือวิชาการที่มีการพูดถึง แผนที่, รูป, กราฟ, ตาราง หรือแม้แต่โน้ตหรือไฮไลท์ของตัวเองก่อนหน้า สิ่งที่คนอ่านส่วนใหญ่ทำคือ นั่งพลิกเปลี่ยนหน้าย้อนหลังไปเรื่อยๆ ทีละหน้าเพื่อหาเนื้อหาที่ต้องการจนกว่าจะเจอ แต่หลายครั้งมักจะเจอปัญหาว่าเมื่ออ่านกราฟหรือแผนที่ที่ต้องการแล้ว กลับลืมตำแหน่งเดิม ทำให้อ่านต่อไม่สนุก
ตามธรรมเนียมแล้ว Amazon จะเปิดตัวเครื่องอ่านอีบุ๊กรุ่นปรับปรุงตามวงรอบทุกปี แต่รอบนี้มาเร็วขึ้นเล็กน้อย ครั้งนี้เป็นของน้องเล็ก Kindle รุ่นล่าง โดยยังใช้จอความละเอียดเดิม 800x600 ขนาด 6 นิ้ว ขนาดโดยรวมลดลงเล็กน้อย เหลือ 16.0 x 11.5 x 0.91 เซนติเมตร น้ำหนักลดลง 15% เหลือเพียง 161 กรัม
ที่พิเศษคือ ครั้งนี้มีเครื่องสีขาวให้เลือกซื้อด้วย ซึ่งในรุ่นก่อนหน้าวางจำหน่ายเครื่องสีขาวเฉพาะในตลาดจีนและญี่ปุ่นเท่านั้น และที่สำคัญคือเครื่องรุ่นนี้มาพร้อม Bluetooth ในตัวและซอฟต์แวร์รองรับ VoiceView ผ่าน Bluetooth โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Adapter เสริม (แน่นอนว่าต้องใช้หูฟัง Bluetooth ด้วย)
สามารถสั่งจองได้แล้วตั้งแต่วันนี้ เริ่มส่งของวันที่ 7 กรกฎาคม และยังรับส่งมาเมืองไทยอีกด้วย
สองสามวันก่อน ทางอเมซอนออกอัปเดตซอฟต์แวร์รุ่น 5.8.1 สำหรับเครื่อง Kindle รุ่นใหม่ๆ สำหรับอุปกรณ์ในรุ่นที่หก, เจ็ดและแปด อันได้แก่ Kindle Oasis, Kindle Voyage, Kindle (2014), Kindle Paperwhite (2013, 2015)
ส่วนตัวอัปเดตย่อยใหม่ครั้งนี้มีอะไรที่ปรับปรุงไปบ้างนั้น นอกจากคำอธิบายกว้างๆ ว่า ปรับปรุงประสิทธิภาพ แล้วครั้งนี้ยังมีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ 4 ข้อด้วยกันดังนี้
หลังจาก ออกอัปเดต 5.7.3 ไปประมาณหนึ่งเดือน สองสามวันก่อน ทางอเมซอนก็ออกอัปเดตซอฟต์แวร์รุ่น 5.7.4 สำหรับเครื่องรุ่นใหม่ๆ โดยอัปเดตรอบนี้สำหรับอุปกรณ์ในรุ่นที่หกและเจ็ด อันได้แก่ Kindle Voyage, Kindle (2014), Kindle Paperwhite (2013, 2015)
ส่วนตัวอัปเดตย่อยใหม่ครั้งนี้มีอะไรที่ปรับปรุงไปบ้างนั้น นอกจากคำอธิบายกว้างๆ ว่า ปรับปรุงประสิทธิภาพและปรับปรุงเรื่องทั่วไป (performance improvements and general enhancements) ก็ไม่มีคำอธิบายอย่างเป็นทางการใดๆ ตามสไตล์การอัปเดตย่อยของอเมซอนครับ
Amazon เปิดตัวเครื่องอ่านอีบุ๊กรุ่นใหม่ Kindle Oasisตัวท็อปที่สุดในสายผลิตภัณฑ์ทั้งหมด มันใช้จอ E Ink ความละเอียดสูง 300 ppi ขนาด 6 นิ้ว (ตัวเดียวกับ Voyage และขนาดจอเท่ากัน) สิ่งที่พัฒนาขึ้นคือตัวเครื่องบางเฉียบเพียง 0.13 นิ้ว น้ำหนักเบากว่าเดิม 20% เหลือเพียง 131 กรัม (Voyage หนัก 180 กรัม)
Kindle Oasis ใช้แนวทางการออกแบบที่ต่างไปจากเดิมคือมี "สัน" เพื่อให้หยิบจับสะดวก (จะถือมือซ้ายหรือขวาก็ได้ สลับทิศได้ ซอฟต์แวร์จะสลับปุ่มพลิกหน้าให้ด้วย) หน้าจอของ Kindle Oasis ยังมีไฟ LED ถึง 10 ดวง (Voyage มี 6 ดวง, Paperwhite มี 4 ดวง) ให้ความสว่างมากขึ้นกว่าเดิม
Jeff Bezos ซีอีโอของบริษัท Amazon โพสต์ข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ว่า ทางบริษัทเตรียมเปิดตัว Kindle รุ่นใหม่ ที่จะก้าวขึ้นสู่รุ่นที่ 8 และจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ (all-new) รายละเอียดจะเปิดเผยในสัปดาห์หน้า
Kindle เป็นเครื่องอ่านอีบุ๊คจากทาง Amazon โดยรุ่นที่ 7 ที่วางขายอยู่ตอนนี้ ได้แก่ Kindle, Kindle Paperwhite และ Kindle Voyage
ที่มา - @JeffBezos (Twitter)
วันนี้ (22 มีนาคม 2016) เป็นวันสุดท้ายที่ Amazon ประกาศเตือนให้ผู้ใช้เครื่องอ่านอีบุ๊ก Kindle รุ่นเก่าๆ อัพเดตแพตช์สำคัญระดับ critical มิฉะนั้นจะไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
Kindle รุ่นที่ต้องอัพเดต ไล่ย้อนไปตั้งแต่ Kindle ตัวแรกสุด (2007) มาจนถึง Kindle Paperwhite 5th Generation (2012) ส่วนคนที่ซื้อ Kindle รุ่นปี 2013 ลงมา (Paperwhite 6th Gen และ Voyage) ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม ( รายละเอียดในข่าวเก่า )
กระบวนการอัพเดตสามารถต่อ Wi-Fi แล้วเลือก Sync ตามปกติ ถ้าอัพเดตแล้วจะเห็นข้อความ 03-2016 Successful Update ขึ้นมาบนหน้าจอ (แปลว่าเรียบร้อยแล้ว)