ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เซ็นกฎหมาย Open Data หรือเปิดเผยข้อมูลให้มีผลบังคับใช้แล้ว โดยกฎหมายนี้มีจุดประสงค์ให้ข้อมูลสาธารณะที่เผยแพร่โดยหน่วยงานของรัฐบาลสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นผ่านสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ บนออนไลน์
โดยนอกจากตัวข้อมูลจะอ่านได้แล้ว ยังต้องนำข้อมูลไปประมวลผลต่อได้ด้วย (ต้องไม่ใช่ PDF) และนำไปใช้ได้โดยไม่ติดกรรมสิทธิ์
Center for Data Innovation องค์กรที่สนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลระบุว่า นี่เป็นชัยชนะที่สำคัญ และสหรัฐฯ ได้เป็นผู้นำของโลกด้านการเปิดเผยข้อมูลโดยรัฐแล้ว
ตัวกฎหมายผ่านสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2018 ที่ผ่านมาโดยมีมติเป็นเอกฉันท์
ภาพจาก Shutterstock
ที่มา - Engadget
Comments
ข้อมูลจะจะ ?
ถ้างั้นก็น่าจะช่วยให้การเปิดเผยเอกสารของ FBI กับ CIA ที่เป็นของเก่าแต่ถูกปกปิดเป็นไปได้บ้างนะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เท่าที่จำไม่ผิดมีกฏหมายสั่ง CIA เปิดรายงานข้อมูลลับต่อสาธารณะเมื่อข้อมลอายุครบ 5 หรือ 10 ปี นะครับเหมือนใน blognone เคยมีข่าวหรือเปล่าจำไม่ได้ละ
ข้อมูลสาธารณะ คงพวก ผลงานวิจัยต่างๆ สถิติโดยหน่วยงานรัฐต่างๆ
ส่วนข้อมูลลับ มันยังไงก็ลับ ถถ
มันมีการลดระดับความลับลงเรื่อย ๆ ครับ เช่น ลับสุดยอดสุดยอด สิบปีป่านไปเหลือแค่ ลับสุดยอด อีกสิบปีผ่านไปเหลือแค่ ลับ และอีกสิบปีผ่านไป ก็ไม่เหลือความลับแล้วครับ ถึงได้เห็นพวกเอกสาร CIA เก่า ๆ หลุดออกมาตามสื่อไงครับ เช่นตำแหน่งเมืองที่ CIA คาดว่าจะโดนบอมด้วยระเบิดอะตอมในช่วงสงครามเย็น จนถึงตอนนี้มันยังเป็นความลับอยู่ไหมละครับ? ก็คงไม่แล้วละครับ
ของไทย เอาเป็น pdf ก่อนก็ยังดี...
ของไทย พิมพ์ออกมา ลงลายเซ็น แล้ว Scan เข้าระบบกลับเข้าไป ก็เป็น PDF ละครับ
น้ำตาจะไหล แล้วของไทยจัดแข่ง OpenData ไป เป็นยังไงบ้างหว่า ไม่มีใครมาเล่าให้ฟังเลย
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!