สวิตเซอร์แลนด์ผ่านกฎหมายเมื่อปี 2023 ที่ว่าด้วยการใช้ซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ในการทำงานของภาครัฐ (การใช้งานอาจจะมีอยู่แล้ว แต่ไม่มีกฎหมายรองรับ) ซึ่งในเนื้อหามีการกำหนดในซอฟต์แวร์ที่ภาครัฐพัฒนาเองหรือจัดซื้อจัดจ้างมา เปิดเผยเป็นโอเพสซอร์สทั้งหมด ยกเว้น หากมีเรื่องของความปลอดภัย หรือซอสโค้ดที่ใช้งาน มีเจ้าของเป็นบุคคลหรือบริษัทอื่นอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ในกฎหมายฉบับเดียวกันยังกำหนดให้รัฐบาลทำ Open Government Data เปิดเผยข้อมูล ที่ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่มีผลต่อความมั่นคง ให้เป็นสาธารณะด้วย
จากข่าว รัฐสภาไทยจัดกิจกรรม Open Parliament Hackathon เปิดฐานข้อมูลทั้งหมดเป็นครั้งแรก กิจกรรมเริ่มขึ้นแล้วในวันนี้ 6 ส.ค. 2024 และหน้าเว็บของโครงการ hack.parliament.go.th ก็เผยแพร่ชุดข้อมูลของรัฐสภาต่อสาธารณะ ตามที่ประกาศเอาไว้
ข้อมูลที่เปิดออกมามีทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่
วันนี้ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา หรือ "หมออ๋อง"รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 และ นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิส.ส.พรรคก้าวไกล มีแถลงข่าวงาน Open Parliament Hackathon 2024 ที่รัฐสภาไทยจะเปิดข้อมูล open data เป็นครั้งแรก และเชิญผู้สนใจเข้ามาร่วมเสนอไอเดียด้านเทคโนโลยีต่อรัฐสภาไทย ในรูปแบบ hackathon ซึ่งจะเป็นครั้งแรกอีกเช่นกันที่เราจะได้มีโอกาส "ค้างคืน" ในรัฐสภาไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศรับฟังความเห็นแนวนโยบาย “การเปิดกว้างให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลตามสิทธิของผู้ใช้บริการ (Open Data for Consumer Empowerment)” ที่จะเปิดให้ประชาชนสามารถส่งข้อมูลที่อยู่กับผู้ให้บริการแต่ละรายไปยังผู้ให้บริการรายอื่นๆ ได้สะดวก
แนวนโยบายนี้ยังเป็นการขอความเห็นในภาพกว้างเท่านั้น หลังจากกระบวนการนี้เสร็จแล้ว ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการทำงานอีกหลายอย่าง ได้แก่ 1) ออกเกณฑ์และแรงจูงใจให้สถาบันการเงินเปิดให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้หรือส่งข้อมูลทางการเงินไปยังผู้ให้บริการรรายอื่นๆ ได้สะดวก 2) กำหนดมาตรฐานกลางในการรับส่งข้อมูลเพื่อให้ผู้ให้บริการแต่ละรายใช้ข้อมูลที่ตรงกัน 3) พิจารณาการสสร้างโครงสร้างพื้นฐานกลางให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรุงเทพมหานครได้ทำ แบบสำรวจ BMA Open Data Survey เพื่อสอบถามความต้องการของประชาชนว่าอยากให้เปิดข้อมูลด้านใดและอย่างไร ทางทีมของกรุงเทพมหานครจะได้นำข้อมูลนี้ไปพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของประชาชนมากขึ้น
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนามคำสั่งกรุงเทพมหานคร ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ให้ทุกหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติตามนโยบายข้อมูลเปิด (Open Data Policy) โดยผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร จะต้องรวบรวมและเปิดเผยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลภายใน 30 วัน
ถัดจากนั้น สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร สำนักการคลัง และสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล จะต้องเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง และการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร ภายใน 90 วันด้วย
ก.ล.ต. เปิดชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน ทั้งข้อมูลสถิติย้อนหลัง, ข้อมูลรายละเอียดกองทุนต่างๆ, และ API สำหรับดึงข้อมูลกองทุนแบบรายวัน เรียกว่าบริการ SEC Open Data Services
ตัวชุดข้อมูลแบ่งออกเป็นสามประเภท ได้แก่ รายงานสถิติ ซึ่งเป็นภาพรวมของตลาดทุน ตัวข้อมูลมักเป็นไฟล์ Excel ออกข้อมูลใหม่ตามงวด, ชุดข้อมูล Excel, และชุดข้อมูล API ซึ่งตอนนี้ยังมีเฉพาะของมูลกองทุนรายวัน ระบุ ข้อมูลมูลค่าหน่วยลงทุน และประวัติการจ่ายเงินปันผล
ที่มา - ก.ล.ต.
- Read more about ก.ล.ต. เปิดชุดข้อมูลตลาดทุน มี API ข้อมูลกองทุนรายวัน
- 1 comment
- Log in or register to post comments
เมื่อวานนี้ (20 มิ.ย.) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และคณะ เดินทางเข้าพบผู้บริหารสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA โดยประกาศความร่วมมือด้านความโปร่งใส และการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด 4 ด้านคือ
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส. กทม. พรรคก้าวไกล ทำข้อมูลและเผยแพร่ งบประมาณปี 2565 ที่เพิ่งผ่านสภาวาระที่ 1 ในรูปแบบ Excel จากเดิมที่อยู่ในรูปแบบ PDF เพื่อให้ machine นำข้อมูลไปวิเคราะห์และอ่านต่อได้
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้วางแนวนโยบายและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการก้าวเป็นรัฐบาลดิจิทัล ยกระดับความโปร่งใส ตรวจสอบได้หรือการเป็นรัฐบาลเปิด (Open Government) เพิ่มการได้รับความเชื่อใจจากประชาชน (Public Trust)
เนื่องจากเพิ่งมีเวลาสะสางไฟล์เพลงที่มีเก็บไว้แล้วพบว่ามีเพลงจำนวนมากที่ไม่มี metadata ทำให้ไม่รู้ว่าเพลงอะไร ในยุคนี้เราไม่ต้องเปิดเพลงฟัง แล้วจับเนื้อร้อง เพื่อเอาไปค้นหาด้วย Google อีกแล้ว เราสามารถใช้ Shazamเพื่อหาว่าเพลงที่เปิดอยู่คือเพลงอะไรได้โดยง่ายแล้วไปแก้ไขข้อมูลด้วยมือ หนึ่งถึงสองเพลงแรกยังสนุกอยู่ แต่ปรากฏว่ามีนับร้อยเพลงที่ไม่มี metadata ก็ไม่ไหวแล้ว ถึงได้พยายามหาวิธีที่ดีกว่านี้ แล้วคำตอบคือ MusicBrainzครับ
Waymo บริษัทรถยนต์ไร้คนขับของ Alphabet ประกาศเปิดฐานข้อมูลเซ็นเซอร์-กล้องที่เก็บมาจากการทดสอบขับรถบนถนนจริง เพื่อให้คนนอกสามารถนำไปลองวิเคราะห์หรือประมวลผลได้
ข้อมูลของ Waymo มีทั้งหมด 1,000 ชิ้น (segment) แต่ละชิ้นมีความยาว 20 วินาที เก็บข้อมูลที่ความถี่ระดับ 10Hz (รวมกันแล้วทั้งหมด 200,000 เฟรม) และเป็นข้อมูลที่มีความหลากหลายของสภาพถนน-สภาพอากาศสูง เช่น กลางวัน กลางคืน ทะเลทราย ฝนตก
ส่วนข้อมูลที่เก็บ ประกอบด้วยกล้อง 5 ตัว, lidar 5 ตัว และข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่น การแปะป้าย (label) ยืนยันแล้วว่าวัตถุในกล้อง-เซ็นเซอร์คืออะไร เพื่อให้คนที่นำข้อมูลไปวิเคราะห์ สามารถตรวจเช็คได้ว่าอัลกอริทึมของตัวเองแม่นยำแค่ไหน
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เซ็นกฎหมาย Open Data หรือเปิดเผยข้อมูลให้มีผลบังคับใช้แล้ว โดยกฎหมายนี้มีจุดประสงค์ให้ข้อมูลสาธารณะที่เผยแพร่โดยหน่วยงานของรัฐบาลสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นผ่านสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ บนออนไลน์
โดยนอกจากตัวข้อมูลจะอ่านได้แล้ว ยังต้องนำข้อมูลไปประมวลผลต่อได้ด้วย (ต้องไม่ใช่ PDF) และนำไปใช้ได้โดยไม่ติดกรรมสิทธิ์
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย หรือ iTIC ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่แสวงผลกำไรที่มีภารกิจรวบรวมข้อมูลสภาพจราจรในกรุงเทพและประเทศไทยจากแหล่งต่างๆ แล้วนำมาประมวลผลและเผยแพร่ เช่นส่งออกจากคลื่นวิทยุ FM RDS-TMC สู่อุปกรณ์นำทางในรถยนต์ หรือเผยแพร่ทางเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น (ตัวอย่างเว็บไซต์ที่แสดงผลข้อมูลสภาพจราจรจาก iTIC คือ Longdo Traffic ) ได้เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพจราจรในกรุงเทพฯและประเทศไทยหลายชุดข้อมูล
วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา เป็นวันเปิดข้อมูลสากล หรือ International Open Data Day เป็นวันที่กลุ่มคนที่สนใจระบบข้อมูลแบบเปิดทั่วโลกจะร่วมกันจัดกิจกรรม เช่น พัฒนาแอพพลิเคชั่นการเปิดข้อมูล, แฮกกาธอน จุดประสงค์ของการจัดงานคือสนับสนุนให้ภาครัฐเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใส และเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะที่แท้จริง
ด้านประเทศไทยก็มีจัดกิจกรรมเช่นกัน เป็นเวทีเสวนา Open Data และแฮกกาธอนสร้างชุดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง จัดขึ้นที่ TK Park เซนทรัลเวิลด์
องค์กรร่วมจัดงานคือ มูลนิธิฟรีดิช เนามัน, สถาบัตส่งเสริมประชาธิปไตย, สถาบันพระปกเกล้า, องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน, เครือข่ายพลเมืองเน็ต, มูลนิธิอันเฟรล, มูลนิธิกองทุนไทย, สถาบันเทคโนโลยีเพื่อนวัตกรรมสังคม, สถาบัน Change Fusion และ Blognone
แนวคิดการเปิดเผยข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในรัฐบาลทั่วโลก แต่ข้อมูลหลายอย่างก็เข้าถึงได้ง่ายเกินไปจนกระทั่งกลายเป็นการละลาบละล้วงประชาชน รัฐบาลที่ก้าวหน้าด้านไอทีและความเป็นส่วนตัวอย่างเกาหลีใต้ก็เจอปัญหาแบบเดียวกัน เมื่อรัฐบาลเปิดตัวเว็บ birth.korea.go.kr
ตัวเว็บแสดงข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-49 ปี) ที่ยังไม่มีลูก เป็นกราฟตามเขตต่างๆ ของประเทศ ยิ่งมีหญิงที่เข้าข่ายมากเพียงใดก็จะเป็นสีชมพูเข้มขึ้นเรื่อยๆ
เชิญนักพัฒนา Web/Mobile Application ร่วมสร้าง Application จากข้อมูล Open Data เพื่อการเตรียมรับมือภัยพิบัติที่ดีกว่าเดิม ในหัวข้อแนวทางการพัฒนา Web/Mobile Application การเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ
- สามารถใช้ข้อมูล หรือตัวอย่างข้อมูลที่ online จากแหล่งต่าง ๆ อาทิ data.go.th กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย กรมอุตุนิยมวิทยา ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมชลประทาน สำนักงานสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี กรมควบคุมมลพิษ GISTDA สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เป็นต้น
- พัฒนาเป็น Web/Mobile Application หรือ อุปกรณ์ เพื่อประชาชนทั่วไป หรือ ใช้กับหน่วยงาน องค์กร
- สามารถเชื่อมโยงกับประเด็นการใช้งานอื่น ๆ ได้ เช่น การเกษตร การพัฒนาเมือง การขนส่งและโลจิสติกท์ เป็นต้น
- Read more about ขอเชิญร่วมงาน Emergency Disaster Mitigation Hackathon
- 1 comment
- Log in or register to post comments
Blognone เสนอข่าวสารผลงานของ EGA หรือ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) มาเรื่อยๆ และเคยมีโอกาสสัมภาษณ์ ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ EGA ในหลากหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ EGA พยายามทำอยู่ขณะนี้
เมื่ออาทิตย์ก่อนทาง EGA จัดงานพบปะสื่อออนไลน์ บล็อกเกอร์ สตาร์ทอัพบางราย มีประเด็นพูดคุยเกี่ยวกับบริการอิเล็กทรอนิกส์และผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ ทาง Blognone เห็นว่าน่าสนใจและมีประโยชน์ จึงเก็บประเด็นมาฝาก
โครงการทดลอง Compact Muon Solenoid (CMS) เป็นตัวตรวจจับอนุภาคหนึ่งในสองตัวของวงแหวนเร่งความเร็วอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) ตอนนี้ทาง CERN ก็ประกาศปล่อยข้อมูลจากตัวตรวจจับนี้ที่ตรวจวัดได้ในปี 2011 ปริมาณข้อมูลกว่า 300TB สู่สาธารณะ เป็น สัญญาอนุญาตแบบ CC0 ที่ผู้ใช้จะนำข้อมูลไปทำอะไรก็ได้
ข้อมูลมีสองชุดได้แก่ข้อมูลพื้นฐาน (primary datasets) สำหรับนักวิจัยที่ต้องการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อ และข้อมูลดัดแปลงแล้ว (derived datasets) สำหรับนักเรียนที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้งานโดยไม่เปลืองพลังประมวลผลเกินไป นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจำลองที่สร้างขึ้นมาจากซอฟต์แวร์
- Read more about CERN เปิดข้อมูลจากการทดลองในปี 2011 กว่า 300TB
- 10 comments
- Log in or register to post comments
เวียนกันมาอีกครั้งกับ งาน International Open Data Day ที่หน่วยงานไทยหลายแห่ง ร่วมกันจัดงานขึ้นในปีที่แล้ว งานปีนี้จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (ตรงข้าม MBK)
กิจกรรมในงานมีทั้งเวทีเสวนาเรื่อง Open Data นำเสนอความคืบหน้าของเว็บไซต์ data.go.th ในรอบปีที่ผ่านมา (ช่วงเช้า) และกิจกรรม Barcamp Bangkok: OpenData (ช่วงบ่าย)
อ่านรายละเอียดของงาน และลงทะเบียนได้ที่ 2016 International Open Data Day and Barcamp Bangkok: OpenData ไม่เสียค่าใช้จ่าย
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรม กระทรวงการเศรษฐกิจ ไต้หวัน จัดกิจกรรมการพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชั่น หรือ Open Data Hackathonในวันที่ 3-4 ตุลาคม 2558 ณ Ma:D Club for Change เอกมัยซอย 4
ขอเชิญนักพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่สนใจปัญหาด้าน สุขภาพ ภัยพิบัติ และการจราจรในเมือง และการใช้ Open Data บน data.go.th หรือ online data จากหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ในการแก้ปัญหาเข้าร่วมแข่งขัน ( หมดเขตรับสมัคร 29 กันยายน 2558)
จากที่ รัฐบาลสหรัฐโพสต์งบประมาณประจำปี 2016 ลง GitHub ในรูปแบบของไฟล์ CSV เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนนำข้อมูลงบประมาณชุดนี้ไปวิเคราะห์ต่อตามหลัก open data
ไมโครซอฟท์ก็เป็นเสือปืนไว นำไฟล์งบประมาณมาพล็อตกราฟด้วย Power Map เครื่องมือช่วยวาด visualization บน Microsoft Excel ที่หลายคนคุ้นเคยกันดี
กราฟ 3 มิติที่ไมโครซอฟท์พล็อตให้ดู แสดงให้เห็นงบประมาณของกระทรวงต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี (เริ่มนับจากปี 1976) โดยรายจ่ายก้อนใหญ่ของรัฐบาลสหรัฐคืองบประมาณด้านประกันสังคม (social security) ด้านการคลัง, สาธารณสุข และการทหาร