ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เคยเปิดรายงานศึกษา Hyperloop และความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเป็นรายงานที่คุณธนาธรจ้างให้ บริษัท Hyperloop ในแคนาดา ทำการศึกษา โดยเริ่มศึกษาในเส้นทางเชียงใหม่-กรุงเทพ-ภูเก็ต
ธนาธร บรรยายในหัวข้อ Hyperloop and Path Skipping Development Strategy ที่งาน Blognone Tomorrow 2019 ระบุว่าแนวคิดของ Hyperloop ไม่ใช่แค่การอำนวยความสะดวกในการเดินทางด้วยความเร็วสูง แต่ยังเป็นโอกาสของคนไทย ที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (middle income trap) และโอกาสในการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีของตัวเอง
คุณธนาธรเริ่มต้นบรรยายด้วยการยกตัวอย่างจำนวนประเทศที่ถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศรายได้ปานกลาง ในปี 1960 มีจำนวน 101 ประเทศ ผ่านมา 50 ปี เหลือ 88 ประเทศ มีแค่ 13 ประเทศที่หลุดออกจากกับดักรายได้ปานกลางได้
4 ประเทศในยุโรปที่หลุดจากกับดักคือ กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน ได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมสหภาพยุโรป ที่คนเดินทางเข้าหางานในสหภาพยุโรปได้อย่างเสรี อีก 2 ประเทศ เปอร์โตริโกและมอริเชียส เป็นหมู่เกาะเล็กทำรายได้จากการขุดเจาะน้ำมัน ส่วนอีก 6 ประเทศที่เหลือเป็นประเทศแถบเอเชียที่เราคุ้นเคยกันดีคือ อิสราเอล ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน
หากเทียบระยะเวลาที่ประเทศต่างๆ ใช้ในการก้าวข้ามการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง จะเห็นว่าประเทศตะวันตกอย่างอังกฤษ อเมริกา ใช้เวลานับร้อยปี แต่พอถึงยุคของประเทศฝั่งเอเชีย กลับสามารถใช้เวลาน้อยกว่ายุโรปและอเมริกามาก ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "ความมหัศจรรย์แห่งเอเชียตะวันออก" (East Asia Miracle)
ไม่ต้องเดินตามรอยใคร หลุดจากกับดักรายได้ปานกลางด้วยยุทธศาสตร์ Path-Skipping
ประเทศแถบเอเชียข้างต้น สามารถก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางได้อย่างรวดเร็ว เพราะใช้วิธีไม่ต้องเดินตามรอยประเทศตะวันตกไปเสียทุกก้าว จึงใช้เวลาน้อยกว่ามาก
ในสายวิชาด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ มีแนวคิด "ห่านบิน" (flying geese model) ที่มองว่าสินค้าประเภทต่างๆ เริ่มถูกพัฒนาในประเทศที่มีรายได้สูงก่อน เมื่อมันผลิตได้แพร่หลาย ฐานการผลิตก็จะถูกย้ายไปยังประเทศที่ค่าแรงการผลิตต่ำกว่า เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบ catch-up industrialization หรือการพัฒนาแบบไล่กวด ประเทศที่มีรายได้สูงแล้วก็ต้องคิดค้นสินค้าและนวัตกรรมใหม่ที่มีมูลค่าสูงพอจะผลักดันตัวเองขึ้นไปอีกขั้น โมเดลการพัฒนาแบบนี้เรียกว่าเป็นการเดินตามรอย (path-following)
ในไทยเองเราก็มีเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมแนวทางเช่นนี้ ธนาธรเล่าถึงในสมัยเขายังเด็กเมืองไทยเองก็เคยเต็มไปด้วยอุตสาหกรรมสิ่งทอ แต่หลังจากนั้นไม่นานอุตสาหกรรมสิ่งทอก็ออกจากประเทศไทยไปยังประเทศอื่นเช่นศรีลังกา
ส่วนแนวทางการพัฒนาอีก 2 แบบที่เหลือคือ path-skipping หรือการเดินตามแบบข้ามจังหวะเป็นช่วงๆ ที่ช่วยลดระยะเวลาลงได้มาก และอีกทางคือ path-creating ที่เป็นการสร้างทางเดินของตัวเอง ซึ่งยากที่สุดในบรรดาแนวทางทั้งหมด
คุณธนาธรยกตัวอย่าง DRAM หน่วยเก็บความจำในยุค 90 เพดานสูงสุดอยู่ที่ 16 เมกะไบต์ แต่เกาหลีใต้คิดใหม่ ซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศและก้าวข้ามไปทำที่เพดานสูงสุด 32 เมกะไบต์เลย นี่คือ Path-Skipping แม้เป็นทางเลือกที่ยากและซับซ้อน แต่เป็นหนทางให้หลุดกับดักรายได้ปานกลางได้
การเปลี่ยนแปลงระดับจุลภาค ที่สามารถทำได้เองเลย
คุณธนาธรยกตัวอย่างบริษัทไทยซัมมิทที่ตนเคยเป็นผู้บริหาร ซึ่งเริ่มปรับวิธีการทำงานมาตั้งแต่ปี 2012-2013 โดยจำนวนพนักงานลดลง แต่ยอดขายกลับเพิ่มขึ้น เพราะพัฒนากระบวนการทำงานให้ productivity เพิ่มขึ้นแทน
สิ่งที่กลุ่มบริษัทไทยซัมมิททำคือปรับตัว นำเอาเทคโนโลยีมาใช้อย่างเต็มที่ ตอบสนองความต้องการของตลาดและทิศทางของโลก
ตัวอย่างการปรับตัวของไทยซัมมิท คือ การคิดค้นบอดี้รถที่มีน้ำหนักเบาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า เป็นเสนอโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหา แทนการเสนอขายสินค้าตรงๆ ที่จะต้องลงไปสู้ในสงครามราคา และทำให้สัดส่วนกำไรลดลง แต่การเสนอโซลูชั่นให้ลูกค้าใช้ material ที่มีน้ำหนักเบา แต่รับแรงกระแทกมากขึ้นได้ เป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนกว่า และดีกว่าในเชิงธุรกิจ
ไทยซัมมิทยังถือเป็นกลุ่มบริษัทที่มีหุ่นยนต์มากที่สุดในประเทศไทย คือ 1,765 ตัว มีการใช้ระบบ IoT เซนเซอร์เข้ามาในโรงงาน ตรวจจับข้อมูลการผลิตได้เรียลไทม์ มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์สามมิติขึ้นมาใช้เองในโรงงาน ไม่ต้องสั่งจากญี่ปุ่นอีกต่อไป เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดไทยซัมมิทพัฒนาขึ้นเองแบบ in-house เพราะไม่สามารถหาผู้ขายโซลูชั่นที่ตรงตามต้องการได้
ธนาธรชี้ว่าระบบอัตโนมัติในโรงงานเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ยังมีโรงงานในประเทศไทยอีกมากที่ยังเข้าไม่ถึง หรือไม่ได้นำระบบอัตโนมัติมาใช้อย่างเต็มที่ ดังนั้นนี่จึงเป็นโอกาสมหาศาลสำหรับใครก็ตามที่กำลังลงทุนด้านนี้ หรือบริษัทที่จะสามารถเป็น system provider ให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้
การเปลี่ยนแปลงระดับมหภาค Hyperloop ที่ไทยสร้างเอง
ที่คุณธนาธรกล่าวมาข้างต้นเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับจุลภาค ในระดับขององค์กรตัวเอง แต่ถ้ามองสเกลในระดับประเทศ การพัฒนาเฉพาะจุดเล็กๆ คงไม่เพียงพอ ต้องมีกลยุทธ์ในการพาประเทศไปข้างหน้าได้อย่างมีพลัง ไทยต้องสร้างอุตสาหกรรมที่ Path-Skipping ขึ้นมาให้ได้ และเขาเชื่อว่า Hyperloop ตอบโจทย์เรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมครั้งใหญ่
คุณธนาธรไม่ได้เน้นเรื่องเทคนิคของ Hyperloop เหมือนกับตอนแถลงข่าวเรื่องนี้ครั้งแรก แต่เน้นว่า Hyperloop จะให้อะไรกับคนไทยมากกว่า (หากต้องการรู้เรื่องเทคนิค สามารถอ่านย้อนหลังได้ที่นี่ )
ในบางอุตสาหกรรมเราอาจยังต้องเลือก path-following อย่างเช่นกรณีรถไฟความเร็วสูง แต่การลงทุนรถไฟความเร็วสูงนั่นหมายถึงเม็ดเงินแสนล้าน ลงทุนในเทคโนโลยีที่ประเทศอื่นนำไปไกลแล้ว สุดท้าย เงินแสนล้านจะถูกนไปจ้างผู้ผลิตจากจีน ญี่ปุ่นมาทำงานให้เรา
แต่ถ้าเราหยุดการลงทุนความเร็วสูงไว้ก่อน หันมาทำรถไฟปัจจุบันให้เป็นรางคู่ ทำให้รถไฟวิ่งด้วยความเร็วปานกลาง 120 กม.ต่อชั่วโมงให้ได้ก่อน และหันไปลงทุนวิจัยสร้าง Hyperloop ล่วงหน้าไว้เลย และรอให้เทคโนโลยี Hyperloop มันเติบโตจนใช้งานได้จริง ไทยจะสามารถสร้าง Hyperloop เองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการซื้อเทคโนโลยีจากต่างชาติ
คุณธนาธรเชื่อว่าถ้าเริ่มลงทุนตั้งแต่ตอนนี้ ในเวลา 10-12 ปี ยังมีความเป็นไปได้ที่จะเห็น Hyperloop ของไทยใช้งานได้จริง ซึ่งจะเป็นการสร้างอุตสาหกรรมที่มีตัวเลขการจ้างงานคนไทย 180,000 ตำแหน่ง และเป็นงานที่หนีการไล่ล่าของเทคโนโลยีได้ทัน หรือถึงแม้ว่า ต่อให้ Hyperloop ของไทยใช้งานไม่ได้จริง ความรู้ที่ได้จากการลงทุนวิจัยจะนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้เช่นกัน
คุณธนาธร มองไกลไปถึงการตั้งไทยเป็นแหล่งผลิต Hyperloop และวางตัวเองเป็นฮับของการเดินทางในอาเซียน โดยฮับที่มองไว้คือ พิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดตัดของสี่แยกอินโดจีน
รัฐที่ไม่เปิดรับสิ่งใหม่ เป็นต้นทุนมหาศาล
คุณธนาธรเชื่อว่าคนไทยมีความสามารถพอในการที่จะเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเอง และนี่เป็นหนทางที่ช่วยให้ไทยหลุดจากกับดักรายได้ปานกลางได้
เขาชี้ว่าการจะสร้างสิ่งใหม่ได้ ประเทศไทยต้องมีระบบนิเวศน์ 3 อย่างคือ
- คนต้องกล้าเสี่ยง มีสวัสดิการในสังคมที่รองรับความผิดพลาดในการสร้างสิ่งใหม่ ให้อย่างน้อยคนแพ้ยังมีที่ยืน ให้คนกล้าคิดถึงโอกาสในระยะยาว
- โอกาสต้องเปิด เราไม่สามารถสร้างสังคมที่ตอบโจทย์การพัฒนาต่อโลกหมุนเร็ว ถ้าไม่ยอมรับสิ่งใหม่ ความหลากหลาย และการแข่งขัน
- การปรับตัวของรัฐ รัฐที่ไม่ฟังเสียงประชาชน ไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลง จะกลายเป็นต้นทุนมหาศาลของสังคมที่ต้องแข่งกับโลกหมุนเร็ว
คุณธนาธรปิดท้ายการบรรยายว่าประเทศไทยยังมีความหวังอยู่ โดยยกตัวอย่างกลุ่มนักศึกษาไทยที่กำลังสร้าง POD ในงานที่ อีลอน มัสก์ จัดการแข่งขันทุกปี และปีนี้เป็นปีแรกที่มีนักศึกษาไทยไปแข่งด้วย และเชื่อว่าพวกเขาสามารถทำได้ รวมทั้งยังมีความหวังว่าไทยจะไปไกลกว่านี้ได้ด้วย
สามารถดูคลิปบรรยายฉบับเต็มได้ด้านล่าง
Comments
จนตอนนี้ ผมก็ยังไม่เข้าใจ คนที่คัดค้านตอนลงข่าวว่า ธนาธร จะมาพูดในงาน
ผมว่าคนที่ค้าน เค้าเกรงจะเอาโอกาสนี้ มาแฝงเรื่องของการเมืองด้วยนะครับ
แต่ถ้าเอาเท่าที่สรุปมา ผมว่า ทำไ้ดดี คือนำเสนอแนวคิด และมีประเด็นการเมือง
แค่นิดหน่อย พอกรุบกริบ 555
คนไทยไม่มีความสามารถในการทำอะไรแบบนี้ รอซื้ออย่างเดียว ไม่ก็เป็นลูกจ้าง
ความสามารถผมว่ามี แต่ที่ไม่มีคือทุนวิจัย สัดส่วนค่าใช้จ่ายงานวิจัยของไทยน้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
ผมคิดว่าความสามารถน่ะมี
แต่กลัว/อาย/ไม่กล้ารับ ความผิดพลาดตนเอง "อาจจะ" ก่อขึ้น จนคิดว่าอยู่เฉยๆ น่ะดีแล้วไม่เสียหายอะไร
มากกว่าครับ
attitude
อ่านบทความจบ หันหน้ามามองนายกคนปัจจุบันของประเทศไทย..
มองทำไม ว่างนักก็ไปเลี้ยงปลาซิเดี๋ยวน้ำที่ท่วมอยู่ลดลง แบ้วจะไม่ได้เลี้ยงนะเออ
รถไฟความเร็วสูงก็ไม่แย่นะคุณ
ไม่แย่ แต่ห้าปีผ่านไป ไม่มีอะไร และ สองอย่างนี้ ไม่ dependency กัน
ถ้าไม่อ่านจะไปรู้อะไร
เป็น แนว ความคิด ที่ด ี
วิธีหลุดออกจากกับดักรายได้ปานกลางอีกวิธีนึงก็คือเศรษฐีในไทยทุกคนต้องเสียสละตัวเองคล้ายๆ Bill Gates ที่บริจาคทรัพย์สินหรือตั้งองค์กรการกุศลด้วยทุนไม่ต่ำกว่าหนึ่งในสามของทรัพย์สินตัวเอง ไม่รู้จะเป็นไปได้มากหรือน้อยกว่า Hyperloop นะ
ธนาคารชี้ว่าระบบอัตโนมัติในโรงงานเกิดขึ้นมานานแล้ว >> ธนาธร?
ขอบคุณค่ะ
"รัฐที่ไม่เปิดรับสิ่งใหม่ เป็นต้นทุนมหาศาล" ใช่เหรอ Hyperloop นี่แพงมากเลยนะ และกว่าจะวิจัยและใช้งานได้จริงมันแพงโคตรๆกว่าด้วย และพลังอุตสาหกรรมไทยก็ไม่ได้ใหญ่มากมายอะไรถ้าจะให้ก้าวกระโดดข้ามไป Hyperloopถ้าล้มเหลวมันจะไม่ใช้แค่ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แต่อาจถึงขั้นล้มละลายเลยยังได้
ความรู้ที่ได้จากการศึกษา วิจัย Hyperloop นี่ เราจะไม่มีปัญญาเอาไปใช้ทำอย่างอื่นเลยใช่ไหมครับ ถึงว่าถ้า Hyperloop ใช้ไม่ได้แล้วเราจะล้มละลายเลย?
ลงทุนแล้วล้มเหลว ยังไงเราก็ได้"ความรู้"ครับ แต่ถ้าไม่คิดจะทำอะไรเลย ก็มีแต่"ความไม่รู้"แล้วก็ใช้เงินซื้ออย่างเดียว ต้นทุนมหาศาลแค่ไหน?
ผมมองว่าโดยธรรมชาติของหน่วยงานรัฐแล้ว น่าจะเสียเปล่าอ่ะ เพราะทั่วไปแล้วเวลาวิจัยหยุดกลางทางแล้วยุบหน่วยนั้นความรู้ก็ไปพร้อมกับนักวิจัยที่เผ่นไปหางานใหม่นั่นแล ส่วนเอกสารทิ้งไว้แต่แทบจะไม่มีใครรื้อกลับขึ้นมาอีกทิ้งให้ฝุ่นจับอยู่มุมใดมุมหนึ่งรอการจำหน่าย (ชั่งโลขาย) ต่อไป - -"
ถึงจะคิดถึงในทางอุดมคติ สืบต่อความรู้ได้ แต่ในความเป็นจริงหากความรู้นั้นไม่ได้ถูกจำกัดด้วยทรัพยากรที่เป็นเอกลักษณ์ หรือข้อกฏหมาย พอผ่านไปซักพักก็จะมีความรู้ที่ใหม่และดีกว่ามาแทนที่ โดยทีมวิจัยที่ใดที่หนึ่งในโลกที่ทรัพยากรและทุนพร้อมกว่าแทน
แปลว่าสมมติถ้าเราเกิดเลือกวิจัย Hyperloop ขึ้นมาจริงๆจังๆ เราจะไม่มีการทำอย่างอื่นควบคู่ ไม่ว่าจะเป็นการแก้กฎหมาย ปรับปรุงโครงสร้าง อะไรพวกนี้เลยใช่ไหมครับ ถึงจะกลับไป loop เดิมๆอย่างเดียว ถ้าคิดอย่างนั้น ผมก็ไม่เห็นด้วยครับให้วิจัย ไม่ใช่แค่ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นอนาคตของประเทศด้วย เหมือนกลับไป 2500 เลยครับ ย่ำที่เดิมเลย
การแก้กฏหมายและข้อบังคับต่างๆ เพื่อเอาไปลงกับโครงการที่ไม่เห็นอนาคตชัดเจน ไม่ต่างจากการเอาไปเล่นการพนันหรอกครับคงไม่มีใครทำแน่
และที่สำคัญคืองบประมาณครับ ลองประกาศว่าจะดึงงบชนบท งบโครงการประชานิยม มาวิจัย hyperloop เดี๋ยวก็มีคนมาประท้วงว่าเหลื่อมล้ำในอีกแง่นึงแหง
ใน session เค้าบอกว่าจะเอางบรถไฟความเร็วสูงมาแบ่งทำรถไฟความเร็วปานกลาง รถเมล์ไฟฟ้า และ R&D hyperloop แทนครับ
อันนั้นยิ่งยากใหญ่ครับรถไฟความเร็วสูงที่ได้ราคานั้นคือต่อแบบลดแล้วลดอีก ถ้าเจียดมาปั่นโครงการอื่นแล้วมันจะไม่ได้ราคาเดิม แถมน่าจะผิดสัญญาที่ยื่นกู้ในประเทศด้วย - -"
ไม่ใช่ครับ เค้าหมายถึงไม่สร้างรถไฟความเร็วสูงแล้วเอางบมาทำอย่างอื่นแทนดีกว่าเลย
เอิ่ม อันนี้ผมไม่รู้เค้าคิดไปได้ไงเหมือนกันนะ
ถ้าหยุดสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงอันนี้ไปเลย แล้วเอางบไปทำอย่างอื่นทั้งหมดแบบนี้ แทนที่จะได้งบจะกลายเป็นจะได้หนี้มหาศาลแทนแน่ครับ เงินที่เหลือไม่น่าจะจ่ายค่าปรับเอกชนพอ แถมน่าจะโดนคนให้กู้เงินฟ้องอีกกระทง เพราะเอาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
ที่สำคัญดีไม่ดีคราวนี้จีนจะขึ้นบัญชีดำไทยเอา อันนี้ก้าวกระโดดแน่ครับ กระโดดถอยหลังไปหลายก้าวเลย - -"
อันนี้ผมก็งง งบสร้างรถไฟความเร็วสูงนี่กู้มานี่นา หรือว่าเค้าหมายถึงกู้สัญญาอื่น งบเท่ากัน ละเอามาทำแบบที่ว่ามาแทน ไม่กู้สัญญาเดิมแล้ว
ถ้าผมจำไม่ผิด รถไฟความเร็วสูงที่เข้าขั้นเซ็นสัญญาแล้วนี่มีแต่เส้นกรุงเทพ โคราชเองนะครับ เส้นอื่นยังไม่ถึงไหนเลย ก็อาจจะเก็บไว้แค่เส้นนี้ ส่งนเส้นทางอื่นๆก็ยกเลิกไปก่อน
คิดว่าโครงการเจรจามาหลายสิบรอบคงยกเลิกไม่ได้ง่ายๆ น่ะครับ และส่วนหนึ่งที่จีนยอมให้เราเยอะมากทั้งลดค่าสร้าง ทั้งแถมรถไฟรุ่นใหม่ และเปลี่ยนสัญญาสัดส่วนการกู้ในประเทศ เพราะเค้าต้องวางรางรถไฟยิงยาวจากจีนไปสิงคโปร์ให้ได้น่ะครับ
โครงการใหญ่ระดับนี้ มันก็ต้องมีการเจรจาหลายรอบเป็นธรรมดาครับ เราน่าจะมาถกกันว่าทางเลือกไหนดีที่สุดสำหรับประเทศในระยะยาวมากกว่าจะมากังวลเรื่องเจรจามาเยอะแล้ว ตราบในที่ยังไม่ลงนามก็คือไม่ลงนามครับ ยกตัวอย่างรัฐบาลนี้ก็เพิ่งยกเลิกสัญญานำเข้า LNG 1.5 ล้านตันไป เพราะสถานการณ์การใช้พลังงานเปลี่ยน ในเมื่อสัญญายังไม่ลงนามก็ไม่มีผลผูกพันธ์ การเอาการเจรจามาเป็นข้ออ้างมันเป็น Sunk Cost Fallacy ครับ
เอ ทางเลือกไหนดีมากกว่าในระยะยาว ถ้าหลักสิบปีรถไฟความเร็วสูงครับ เพราะเป็นอันที่ทำได้เลยเอกชนสนับสนุนมีเงินทุนเพราะจะใช้ประโยชน์ด้วย
ส่วน hyperloop อันนี้ยังทำไม่ได้ เพระมันเป็นส่วนที่กู้มาครับ มองอีกแง่เหมือนกูเงินมาซื้อบ้าน แต่เราเอาเงินนั้นไปแทงหวยก็โดนเจ้าหนี้ฟ้องสิ
ผมว่าแทงหวยก็ไม่ถูก จริงๆ ถ้าจะให้เทียบคือ เราจะกู้เงินมาซื้อบ้านหรือเอาไปเรียนมหาลัยน่าจะตรงกว่า
reply ผิดตำแหน่งจากที่ post
reply ผิดตำแหน่งจากที่ post
+1
ที่บอกว่า อุตสาหกรรมไทยก็ไม่ได้ใหญ่มากมายอะไร เพราะประเทศอื่นๆเขาไม่ได้เริ่มที่ 1 เขามีพื้นฐานทางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่รองรับอยู่แล้ว เขาจะไปเริ่มที่ 8-9-10 ในขณะที่ไทยจะยังอยู่ที่ 1-2 มันยากมาเลยนะที่จะมองในแง่ดีว่าเราจะเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีแข่งกับประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
แต่ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย เราก็จะไม่มีวันไปเป็น 8-9-10 ไงครับ
ข้อแรกส่วนตัวไม่ทราบรายเอียด
ข้อสองถ้าเป็นบริษัทเอกชน หรือใช้งบส่วนตัวจะไม่ว่านะ
+100 เอาทุนไปละลาย ต่อให้สำเร็จซึ่งคงยากมากๆ ก็ต้นทุนสูงกว่ารถไฟความเร็วสูงอยู่ดี
จริงๆคิดว่าจะได้เห็นแผนดำเนินงาน เหมือนกำลังบอกว่าเราจะทำหุ่นironman แข่งกับ โทนี้สตาก และมีจีนรอกอปอยู่ข้างหลัง
ถ้าอยากจะทำจริงๆควรทำในสิ่งที่เราคิดเองไม่มีคนทำมาก่อน
และถ้าเราได้ทำHyperloopจริงทำนายได้เลยว่าถ้าให้เดาเหตุการณ์สมมุตว่าทำสำเร็จแล้ว Hyper loop เป็นที่นิยม คนทำเสร็จคนแรกจะเป็น อิลอนมาค ส่วนไทยก็กำลังทำอยู่แต่ด้วยบุคลากรของเราไม่พร้อมจึงใช้เวลามากในการพัฒนา และในเวลาเดียวกัน จีนและยี่ปุ่นที่มีเทคโนโลยีรถไฟฟ้าอยู่แล้วเป็นเรื่องง่ายที่จะนำมาต่อยอดและก็จะใช้ความสามารถทุกๆทางเพื่อสร้างสิ่งที่เหมือนกันและผลิตออกมาโดยจีนจะทำในราคาที่ถูกกว่า และยี่ปุ่นจะทำได้ในคุณภาพที่สูงกว่า ถ้าเราสามารถทำเสร็จก่อนจีนและยี่ปุ่นแต่คิดว่าคงไม่
เห็นด้วยเลย เชิงวิจัย/พัฒนา เราไม่ได้มีศักยภาพพื้นฐานของ Hyperloop ที่จะไปสู้ประเทศพัฒนาแล้วได้เลย
ทั้งด้านวิจัย(สู้อเมริกาไม่ได้) และ ด้านการผลิตที่(สู้จีนไม่ได้)เหมือน อึ่งอ่างพองตน ที่พยายามพองตัวให้ใหญ่เท่าวัว อะ
ซึ่งแน่นอนว่าจบไม่สวยแน่
ไม่รวมกับแนวคิดของ Hyperloop ที่มีความเป็นไปได้น้อย/ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจไม่มากพอ
เราควรเอาทรัพยกรที่เรามีอยู่อย่างจำกัดไปพัฒนาด้านอื่นจะดีกว่า
Elon Musk จะทำสำเร็จเป็นคนแรกได้ยังไงครับ ในเมื่อเขาไม่ได้ลงมาพัฒนาด้วยเลย (- -")
เขาขุดเสนอไอเดียนี้ (ซึ่งจริงๆในทางทฤษฎีก็มีมานานแล้ว) แล้วเสนอว่าเทคโนโลยีมันน่าจะถึงจุดที่สามารถเอามาทำจริงได้แล้ว และให้เงินมาจัดประกวด Prototype ครั้งแรกนิดหน่อยครับ กระแสการพัฒนามันเลยเกิดขึ้นมา แต่ปัจจุบันผู้เล่นหลักๆที่มีอยู่ 2-3 บริษัท ไม่ใช่ของ Elon โดยตรงเลยครับ (พี่แกทำแค่ Tesla, SpaceX และ Neuralink ก็โหดพอแล้ว)
ส่วนจีนและญี่ปุ่นเทคโนโลยีก้าวหน้ากว่าเราก็จริง แต่เขาลงทุนกับรถไฟความเร็วสูงไปมากแล้ว ทำให้ incentive การลงมาเล่น Hyperloop น้อยกว่าเรา (Innovator's Dilemma) ส่วนเทคโนโลยีที่เรายังขาดก็ไปหาทาง Joint มาสิครับ
ลองดูอย่างจีน พื้นฐานทางเทคโนโลยีเขาเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ก็ไม่ได้ดีไปกว่าเรา แต่รัฐเขาบีบให้บริษัทผู้ผลิตรถไฟต่างชาติมาลงทุนตั้งโรงงาน "และถ่ายทอดเทคโนโลยี" จนเขามีทรัพยากรบุคคลจะพัฒนาเอง มาขายเราได้ คือถ้าคิดแค่ว่าเราไม่มีพื้นฐาน แล้วจะไม่ทำอะไรเลย มันก็อยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆอะครับ
งานวิจัยไทย ส่วนใหญ่เข้าถึงยาก ไม่มีใครต่อยอด
วิจัยแล้วความรู้ถูกเก็บไว้ในมหาลัย
ได้คะแนนทุกอย่างก็จบ
คำว่า นวัตกรรม จึงได้แค่ตื่นเต้นเวลาเห็นข่าว
จริงๆผมอยากให้คนไทยวิจัย หรือคิดค้นพัฒนาเรื่องใช้สมุนไพรแทนยาฝรั่ง
เรื่องการนำผลิตภัณฑ์การเกษตรมาใช้ประโยชน์ เช่น เอามาทดแทนภาชนะพลาสติก
เรื่องเกษตรอินทรี เกษตรชีวภาพ
แบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้า
หลายๆด้านคู่แข่งอาจจะเยอะ ก็ต้องสู้มันทุกทาง มันต้องชนะซักทางสิ
คุณคงไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์หลายตัวเป็นการต่อยอดจากการวิจัยในไทย และการวิจัยไม่ได้เกิดเพียงเป็นโปรเจ็คจบ มันยังมีงานวิจัยเชิงธุรกิจ ฯลฯ อีกเยอะ
งานวิจัยต่อยอดกราฟีนหลายตัวก็ต่อยอดมาจากของไทย งานวิจัยยา และทางด้านสาธารณสุขก็เยอะมาก และใช้งานได้จริงด้วยครับ
ล่าสุดก็ส่งงานวิจัยไปกับยานอวกาศของนาซาครับ อาทิตย์ก่อนนี่เอง
เมื่อวานนี้อยากบอกว่า "ประเทศไทยใช้แผนการพัฒนาแบบที่ 3 Path-creating Strategy แน่นอน เพียงแต่ว่าอาจจะไม่ได้ไปข้างหน้า" เพราะเรามีอะไรแบบไทยๆ ไม่สนใครอยู่ไม่น้อย และคงจะมีการพูดกันต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลหน้าใหม่เป็นอย่างน้อย
พอเข้าใจว่าทำไมถึงศึกษา Hyperloop แต่ผมเองก็ยังไม่เชื่อว่า Hyperloop จะสร้างได้คุ้มค่าคุ้มเสียง แต่ถ้าสร้างรถไฟความเร็วสูงในท่อทนสถาพอากาศ เพื่อให้ระบบรถไฟฟ้าทำงานได้แม้เจอสภาพพายุฝนฟ้าคนองโดยไม่ต้องหยุดเดินรถอันนี้ก็น่าสนใจ
ปกติรถไฟฟ้าน้ำไม่ท่วมหนักๆ ก็น่าจะวิ่งได้อยู่นะครับ ยกเว้นพวกพายุหมุนไรงี้ หรือแผ่นดินไหว ถึงในท่อก็อาจจะไม่ช่วยไร
ลบก่อนดีกว่า ขอไปดูคลิปให้จบก่อนค่อยมาแสดงความเห็นอีกที
เหมือนไม่ได้มองเรื่องรัฐศาสตร์
เห็นด้วยเรื่องเร่งทำรถไฟรางคู่ทั่วประเทศก่อน
แล้วเอาประสิทธิผลจากมูลค่าที่เกิดขึ้นทั่วประเทศนั้นมาเป็นทุนวิจัยเรื่องที่ใหญ่กว่า
ดีกว่าเมกกะโปรเจคให้บางพื้นที่แล้วจบแค่นั้น
แต่จะทำเป้าหมายที่ธนาธรเสนอนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อำนาจต้องมาจากประชาชน มันจึงจะถูกใช้เพื่อประชาชนและคนไทยต้องเห็นคุณค่าของสิทธิและเชื่อในคุณค่าความสามารถตัวเองก่อน
ผมนับถือเขาที่มักจะเชิดชูความสามารถพนักงานเขาบ่อยๆก้าวแรกในการพัฒนาคือการเชื่อว่าเรามีคุณค่า ไม่ใช่ฝุ่น
ทำไมนึกถึง fuel cell ของ Toyota ทุกที
พัฒนามาหลายปีสุดท้ายไม่มีใครใช้เพราะเทคโนโลยีที่ดีกว่ามาแทน
ผู้นำวิสัยทัศน์ก้าวไกล จะนำพาประเทศเดินหน้าอย่างรวดเร็ว
มองในแง่ร้ายที่สุดคือ ไทยไม่เหมาะที่จะพัฒนาเลยเพราะเวลาจะทำก็โดนว่าไม่คุ้มค่ากับเงินและเวลาที่เสียไป ไม่ต้องคิดอะไรใหม่ อยู่แต่ใน comfort zone และซื้ออย่างเดียวดีกว่า(และอาจกินได้มากกว่า) สุดท้ายผลลัพธ์ก็คือ เป็นประเทศกำลังพัฒนาตลอดไป
จากที่ฟังๆดู เขาสื่อถึงการวิจัยก้าวกระโดดการพัฒนาเทคโนโลยีการขนส่ง ซึ่งมันก็แนวคิดที่เขานำเสนอให้เรารับรู้ละเตรียมความพร้อมในการรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ส่วนไทยเรานั้นจะดำเนินการอย่างไร บางมหาลัยก็ได้ทำการศึกษาวิจัยกันมาสักพัก ผลตอบรับจากหน่วยงานรัฐและเอกชนจะเป็นอย่างไร รอดูกันต่อไป
คงเหมือนจีน ไปซุ่มทำรถไฟความเร็วสูง แปปเดียวสร้างได้หลายสายเลย ตอนนี้ใครทำแข่งก็เสียเวลาเสียเงินสู้ซื้อจีนง่ายกว่า
ส่วน Hyperloop คงไม่ต่างถ้าทำก็อาจจะรวยไปขายต่างชาติได้อีก ไม่ work อย่างน้อยก็มีสิ่งที่ได้วิจัยระหว่างก็เป็นองค์ความรู้หรือวิธีการใหม่ๆ ไปจดสิทธิบัตรได้
แบบนั้นเอางบไปวิจัยอย่างอื่นที่จะมีความต้องการสูงในอนาคตไม่ดีกว่าหรอครับ เช่น แบตเตอรี่ชนิดใหม่ๆ เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าเกือบทั้งหมดก็ต้องใช้แถมรถไฟฟ้าก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นด้วย
+1
ก็ดีครับ อนาคตก็ไม่รู้อันไหนจะฮิตหรือไม่ฮิต ก็ต้องลงทุนวิจัยไปก่อน
ถ้ามีทุนเหลือหรือทีมงานวิจัยคนละทีม มีทรัพยากรเพียงพอก็วิจัยลงทุนหลายๆ ทางได้อยู่แล้วนะครับ
ทำไมถึงคิดว่าแบตเตอรี่ชนิดใหม่ๆมีความเป็นไปได้มากกว่า Hyperloop ล่ะครับ?
แบตเตอรี่เกิดขึ้นแล้ว และยังพัฒนากันอยู่แต่ Hyperloop ยังไม่เกิดแถมมีแนวโน้มจะแป๊ก
แป๊กแต่ได้ความรู้มาทำอย่างอื่น
ผมเห็นด้วยนะ แป้กก็ยังเอาองค์ความรู้มาทำอย่างอื่นต่อได้อีก
ปัญหาตอนนี้น่าจะเป็นว่า คุณธนาธรก็ยังไม่ได้แสดงวิสัยทัศน์ถัดไปว่าแล้วมันเอาไปใช้ทำอะไรต่อได้มากกว่าคือ Hyperloop โอกาสเกิดมันก็ยังไม่ชัดเจน ถ้าอยากให้มีน้ำหนักมากขึ้น ผมว่าแผนสองก็เป็นเรื่องที่ต้องคิดต้องแสดงแล้วนะ
+1 เห็นพูดกันทุกคนว่าเอามาทำอย่างอื่นได้ต่อ แต่กับคนที่ไม่มีความรู้ก็ได้แต่สงสัยว่าจะเอาอะไรมาใช้ทำอะไรได้บ้าง ไม่เห็นภาพเลยจริงๆ
ผมอยากเป็น Programmers แต่ผมไปไม่สุด ล้มเหลว และผมก็เปลี่ยนมาทำอาชีพ Designer ซึ่งไปได้สวย องค์ความรู้ที่ผมได้ตอนฝึกเขียนโปรแกรม ช่วยให้ผมสามารถคุยกับ Developers ได้สะดวกยิ่งขึ้น และผมเข้าใจเวลาที่ Developers คุยกัน (การเรียนรู้ ไม่ใช่สิ่งไร้ค่า เมื่อเทียบกับบางกลุ่มที่ไม่กล้าลองทำอะไรเลย สุดท้ายก็ไม่รู้อะไรเลย)
ผมทำงานอยู่ในบริษัท electronics ใน California ตอนนี้ บอกได้ว่าบริษัทใหญ่ๆบางบริษัทก็อยากไปตั้งทีมในไทยครับ แต่ติดที่เขาไม่มั่นใจว่าเขาจะสามารถหาบุคลากรด้านวิศวกรรมในประเทศได้ เนื่องจากไทยไม่เคยมีการผลิตโครงการด้านวิศวกรรมที่มีความซับซ้อนสูง ปัญหาของไทยคือ เราคล้ายๆนักศึกษาจบใหม่กำลังหางานอะครับ อยากได้งานแต่ไม่มีประสบการณ์ แต่จะมีประสบการณ์ต้องได้งานก่อน ผมมองว่าถ้ารัฐเข้ามาช่วยลงทุนตั้งไข่ในช่วงเริ่มต้น โดยการสนับสนุนโครงการที่ใช้เทคโนโลยีสูง แล้ว Spin-off เป็นบริษัทภายหลัง จะสามารถสร้างอุตสาหกรรม Hi-tech ในไทย และดึงดูดงานคุณภาพสูงเข้าประเทศได้
โมเดลนี้ก็คือ โมเดลเดียวกับที่ไต้หวัน และเกาหลีใต้ใช้สร้างอุตสาหกรรม Semi-conductor เมื่อ 20 ปีที่แล้วครับ (TSMC นี่ spin-off มาจากสถาบันวิจัยของรัฐบาลไต้หวัน และ Samsung ก็ได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่จากรัฐบาลเกาหลีใต้ผ่านระบบ Chaebol)
อย่าไปมองแค่ว่า Hyperloop มันคือรถไฟ แต่มันคือ ระบบทางวิศวกรรมขนาดใหญ่ที่ประกอบขึ้นมาจากระบบวิศวกรรมเทคโนโลยีระดับสูงย่อยๆจำนวนมาก ทั้งด้าน Mechanic, Aerodynamic, Materials, Electronics, IoT, AI, Robotics ฯลฯ การมีโครงการระดับนี้ บุคลากรในประเทศก็ยกระดับตามไปด้วย พอมีบุคลากรที่มีคุณภาพ มันก็จะดึงอุตสาหกรรมที่แชร์ทักษะเหล่านี้เข้ามา
เห็นภาพได้ค่อนข้างชัดดีครับ ขอบคุณครับ
แบตเตอรี่นี่ถ้าเป็น Lithium-based ก็เรียกได้ว่าตันแล้วนะครับ แล้วในแง่ทรัพยากรของไทยก็ไม่ได้เอิ้อให้เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่เท่าจีน
เทคโนโลยีด้านแบตเตอรี่ที่จะเป็น Next-gen คือ Solid state ซึ่งยังเป็นแค่ Lab-scale อยู่เลยนะครับ
ในขณะที่ Hyperloop มันก็คือ เอา Cabin เครื่องบินมาย่อส่วน ติด Maglev ด้านล่าง แล้วเอาไปวิ่งในท่อที่ดูดลมออก คือเทคโนโลยีทั้งหมดมันมีอยู่แล้ว แค่อยู่คนละที่ ถ้ามองในแง่ความ Maturity ของเทคโนโลยี ผมว่าลง Hyperloop ยังจะมีหวังมากกว่าอีกนะครับ
ผมเลยบอกไงครับว่าวิจัยแบตเตอรี่ชนิดใหม่ๆ หรือเอาที่เขาวิจัยแล้วมาต่อยอดให้สามารถผลิตจำนวนมากได้ในราคาที่ถูกได้ ส่วน Hyperloop ใช่ครับทุกอย่างมันมีอยู่แล้วแค่จับมารวมกันมันคือรถไฟ Maglev ในท่อเกือบสูญญากาศ แต่ปัญหามันมีเยอะ เช่น การหดขยายตัวของท่อ การรักษาระดับแรงดัน การเชื่อมต่อตัวรถไฟกับสถานี(แทบจะเกือบเหมือนการสวยอวกาศเชื่อมต่อกับสถานีเลย) รถไฟขัดข้องหยุดระหว่างทางทำอย่างไรให้ผู้โดยสารปลอดภัย แล้วทั้งหมดก็มาจบที่ราคาทั้งค่าก่อสร้างทั้งค่าบำรุงรักษายังไงมันก็ไม่ถูกกว่ารถไฟ Maglev มีแต่จะแพงกว่า คำถามมันอยู่ที่ว่าทำไมต้องใช้ Hyperloop สร้างมาเพื่อตอบสนองอะไร
ก็ได้รถไฟความเร็วสูงสุดๆ ที่เดินทางข้ามประเทศ ข้ามทวีป ได้ไวขึ้น ไม่ต้องนั่งเครื่องบินแบบ Concord ในอนาคตหรือนั่งจรวจของ SpaceX กระโดดข้ามโลกไปมา
ผมอ่านคอมเมนท์คุณแล้วยิ่งงงใหญ่เลยครับ แบตเตอรี่ชนิดใหม่นี่ต้องใช้เทคโนโลยีสูงมาก ขนาดแลปดังๆในอเมริกายังพัฒนาไปไม่ถึงไหนเลย เราจะไปตามคนอื่นทันได้ยังไง หรือจะวิจัยให้ผลิตมากขึ้นได้ ก็ไม่น่าจะตาม จีนและญี่ปุ่น ที่เค้าผลิตเป็นเจ้าตลาดอยู่ทุกวันนี้ทันนะครับ
ในขณะที่ Hyperloop นี่มัน Engineering-Validated แล้วนะครับ ตัวรถนี่ก็วิ่งกันจริงๆใน Test track แล้ว รอแค่ Test track ที่ยาวและใหญ่ขึ้น โครงการที่อินเเดียก็ใกล้จะเริ่มแล้ว ส่วนปัญหาที่คุณว่ามานี่ถ้าได้ลองศึกษาดู ก็มี Solution หมดแล้วนะครับ เหลือแค่ทดลองสร้างของจริงแค่นั้น มันไม่ใช่ปัญหาที่ Core-solution ของระบบเลย
ส่วนเรื่องราคานี่ก็หลายๆเจ้าที่ประเมินตอนนี้ ไม่ได้แพงไปกว่า Maglev แถมเผลอๆจะถูกกว่าด้วยนะครับ การต้องสร้างท่อและดูดลมออกอาจจะดูแพงกว่า แต่แลกมากลับการประหยัดพลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนตัวรถ และ Wear & Tear ที่น้อยกว่า Maglev นะ (แต่ข้อนี้ก็ต้องรอดู เพราะคนที่ประเมินก็มีแต่บริษัทที่ขาย Hyperloop)
‘ถนนลูกรังยังไม่หมด’
จัดเลยครับ อย่ารอ อย่าราคาคุย แล้วให้ฝั่งตรงข้ามว่าเป็นเด็กสร้างบ้าน
จริงๆอีกฝั่งก็คนหัวล้านสร้างเมืองเหมือนกัน
นึกถึงกระทู้ต่อต้านรถไฟฟ้าสมัยก่อนในพันทิพ สุดท้ายทุกคนก็มาใช้ แถมแพงด้วย 5566
สมัยนั้นจะให้ใช้โมโนเรลกันด้วยซ้ำ
https://pantip.com/topic/32702889
โชว์เลยฮะ ทำให้คนแก่มันดู
Elon Musk ยังใช้ทุนตัวเองทำได้ ไม่ต้องไปรอใช้งบประมาณประเทศทำ
คุณก็ต้องทำได้เหมือนกัน สู้ ๆ นะ
เป้าหมายเค้าคือพาประเทศให้หลุดจากรายได้ปานกลางโดยยกระดับบุคลากรกับอุสาหกรรมในประเทศนี่ครับ ไม่ให้รัฐทำมันน่าจะไม่ได้นะ
ได้สิครับ ทำโชว์ไปก่อนเลย มีทรัพยากรณ์อยู่แล้วและได้ศึกษามาก่อนแล้ว ก็เดินหน้าลุยไปเองได้เลย ไม่ต้องรอรัฐบาล
พอทำไปได้จุดหนึ่ง และประสบความสำเร็จได้ดีเดี๋ยวรัฐบาลก็เข้ามาเอง (คงไม่ใช่รัฐบาลนี้หรอก)
ตามคอนเซป blognone อยากได้อะไรก็ทำเอาเองถ้าเกิดรัฐบาลมันห่วยแตกล้าหลัง ก็เริ่มเองเลย
ทำให้คนแอนตี้ได้รู้ด้วยว่า เป็นคนจริง ไม่ได้ดีแต่พูด
/ ขนาดทีมนักศึกษาของเยอรมันยังเริ่มทำไปก่อนได้เลย
คุณธนากรณ์ น่าจะมีทุนเยอะกว่าเด็กพวกนั้นเยอะมาก
ไม่น่าจะติดอะไร
แบบนั้นก็จะไม่ตรงตามจุดประสงค์หลักเขาสิครับ จะกลายเป็นรัฐมาอุ้มสมบัติเอกชน ถูกครหาว่าใช้อำนาจรัฐเอื้อตัวเอง
เหมือนผมเคยฟังคำสัมภาษณ์จากสักที่ว่าพอเข้ามาทำงานการเมือง เขาห้ามไทยซัมมิตรับงานจากรัฐบาลในอนาคต
(แน่นอน ทำได้ ไม่ผิด แต่เป้าหมายเขาใหญ่กว่าจะหยุดชีวิตที่ทำ Hyperloop เอง)
อีกอย่าง การลงมือทำที่ว่า คือการผลักดันความคิดหรือแสดงจุดยืน มันก็คือการลงมือทำในตัวมันเองอยู่นะการโดดลงมาสนามนี้ด้วยตัวเองก็ใกล้เคียงกับคำว่า"ทำเอง" ที่สุดแล้วนะ ถ้าเทียบกับคนรวยหลายคนที่เกาะกินกระแสที่เปลี่ยนแปลงโดยรัฐ
ข้ออ้างเยอะ
แต่ส่วนตัวก็แอบคิดนะ รูปแบบของประเทศที่โตไวแบบก้าวกระโดด
เกาหลีใต้ -> Samsung, วงการบันเทิง
จีน -> เอกชนเพียบ
รัฐเข้าไป support เอกชนทั้งนั้นเลยแฮะ ?
ก็ถึงบอกว่าทำได้ ไม่ผิดอะไร แต่เจ้าตัวจะต้องจดจ่อที่ตรงนั้นไง เวลาจะถูกตรึงตรงนั้น ถูกอุ้มเมื่อไหร่ ความต้องการห่างไกลไปทันทีชีวิตทางการเมืองมันไปต่อไม่ได้ ไม่สามารถมีอำนาจได้เส้นทางที่เขาสร้าง มันไม่ตรงกับภาพลักษณ์ในใจเขา
ผมว่ามันเข้าใจง่ายๆว่าจุดประสงค์ของคนๆนี้อยู่ตรงไหน ทำไมคุณแกล้งไม่เข้าใจเพื่อกระแนะกระแหน
หวังให้รัฐทำผมว่าม มันมีอะไรแอบแฝง หวังกล่อมประสาทสาวกนะครับ
รัฐบาลไทยหรือรัฐบาลโลกไหน การการมารีเสิร์ชแล้วทำแบรนด์เองโดยการทุ่มงบมาหาศาล
ไม่มีใครทำ อย่างมากก็ปรับปรุงพื้นฐานสังคมให้ดีขึ้น แค่นั้นพอ
ส่วนการ รีเสิร์ชที่ต่อยอดยอดจนทำรายได้จากอุตสาหกรรม ไม่มีรัฐไหนบ้าไปขนาดนั้น
คนเชื่อก็บ้าตาม ตูละงึด แถมงบลงทุนประเทศ มีกระจึ๋งนึง ทีเหลือเป็นเงินเดือนเพียวๆแหมมม
เอาจริงๆไม่ว่านโยบายหรือวิวัฒนาการด้านไหน ถ้ารัฐบาลสนับสนุนอย่างจริงจัง ก็มีโอกาสก้าวหน้านะครับ เดี๋ยวนี้คนไทย เก่งๆเยอะ หากนำงบประมาณจากภาษีคนไทยมากระตุ้นหรือส่งเสริมพัฒนาด้านต่างๆให้มีโอกาสริเริ่ม หรือเติบโตในภายภาคหน้า เชื่อว่าคุ้มกว่าให้คนแก่ๆทั้งหลายเอางบไปดูงานต่างประเทศหลายขุม แต่ความเป็นจริงคือรัฐบาลปัจจุบัน นั่นก็ไม่ได้ นี่ก็ไม่เอา แนะนำให้เลี้ยงปลา เปิดกูเกิ้ล อิหยังวะ!