ไมโครซอฟท์ทดสอบเซลล์เชื้อเพลิงเก็บไฟสำรองในศูนย์ข้อมูล ใช้แทนเครื่องปั่นไฟดีเซล จ่ายไฟได้ 48 ชั่วโมง
ไมโครซอฟท์ประกาศผลการทดสอบเซลล์เชื้อเพลิงในศูนย์ข้อมูลโดยทีมงานทดสอบเซลล์เชื้อเพลิงของบริษัท Power Innvations ที่สามารถจ่ายไฟ 250 กิโลวัตต์ และจ่ายไฟต่อเนื่อง 48 ชั่วโมงได้สำเร็จและผ่านการทดสอบเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แสดงความพร้อมที่จะนำเซลล์เชื้อเพลิงไปใช้งานในศูนย์ข้อมูลจริง
เซลล์เชื้อเพลิงอาศัยการผลิตไฟฟ้าจากการรวมไฮโดรเจนเข้ากับออกซิเจน ผลที่ได้เป็นไฟฟ้าและน้ำ การใช้เซลล์เชื้อเพลิงมาสำรองไฟในศูนย์ข้อมูลมีข้อดีหลายอย่าง เช่นการเริ่มจ่ายไฟใช้เวลาไม่กี่วินาทีขณะที่เครื่องยนต์ดีเซลต้องใช้เวลาสตาร์ต 30 วินาที ขณะทำงานเซลล์เชื้อเพลิงไม่ปล่อยของเสียอื่นนอกจากน้ำ นอกจากนี้ช่วงเวลาที่ความต้องการไฟฟ้าต่ำเพราะพลังงานจากแหล่งหมุนเวียนเช่นกังหันลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์มีเหลือ ศูนย์ข้อมูลอาจจะชาร์จไฟเข้าเซลล์เชื้อเพลิงเตรียมไว้ใช้งานเวลาอื่นหรือแม้แต่ขายพลังงานออกไปยังระบบกริด
กระบวนการทดสอบเซลล์เชื้อเพลิงต่อเนื่อง 48 ชั่วโมง ใช้ก๊าซไฮโดรเจนรวม 51 กิโลกรัมผลิตไฟฟ้า 10,560 กิโลวัตต์-ชั่วโมง และได้น้ำออกมากว่า 7,000 ลิตร
ตอนนี้ทีมงานไมโครซอฟท์เตรียมจัดซื้อเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 3 เมกกะวัตต์ที่เทียบเท่ากับเครื่องปั่นไฟดีเซลในศูนย์ข้อมูล Azure จริงมาทดสอบต่อไป
ที่มา - Microsoft , Power Innovations
Comments
ยูนิตละกี่บาท
ไม่เลว ถ้าทำ electrolysis ได้จากไฟฟ้าช่วง off peak ได้ การจัดส่งก๊าซก็คงลดปัญหาลงไปได้เยอะ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
เชื้อเพลิง H ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมากทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและประสิทธิภาพ แต่การได้มาถึงH นั้นก็มีหลายทาง อยู่ที่ว่าการได้มาซึ่ง H นั้นกระทบต่อโลกแค่ไหน
The Dream hacker..
มันเก็บยากครับ H2 มันเบามาก 51 กิโลนี่ไม่แน่ใจว่าต้องเก็บกี่ลิตรที่ความดันเท่าไหร่ บางเทคโนโลยีซัดกัน 10,000 PSI
lewcpe.com , @wasonliw
มันจะย้อนแย้งบ้าง ถ้าเก็บด้วยการใช้ไฟฟ้าแยก H ออกจากน้ำ ถ้าใช้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์หรือพลังสะอาดก็พอรับได้ แต่ถ้าใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือนิวเคลียร์ก็อาจจะแน่นหน้าอกบ้าง แต่เคยดูช่อง discovery ตอนที่ fuel cell ยังเป็นตัวเลือกของเครื่องยนต์ไฟฟ้า เค้าให้ความเห็นว่าการคุมโรงไฟฟ้าฟอสซิลหรือนิวเคลียร์ใหญ่ๆ ไม่กี่อันดีกว่า+ง่ายกว่าการคุมคุณภาพเครื่องยนต์เป็นล้านๆ เครื่อง
ผมว่า พลังงานแบบนี้มันเหมาะกับที่เก็บใหญ่ๆ เพราะที่เก็บมันต้องแข็งแรงมาก เอามาใส่รถนี้น่ากลัวกว่า NGV อีก แรงดันมันสูงมากและไม่ใช่รถทุกคันจะได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี ขนาด NGV LPG เขายังให้จอดนอกอาคารเลย แต่พูดถึงเอาไฟฟ้าที่ช่วงเวลาที่ไม่ใช่มาปั่น H เก็บก็น่าสนใจเพราะเก็บใส่แบต ตัวแบตมันก็มีอายุสุดท้ายต้องดูว่าอะไรคุ้มกว่า
แต่การใช้งานระดับนี้ผมว่าปลอดภัยกว่า เราเอามาใช้แบบคนปกติทั่วไปนะครับ การดูแลรักษาเอยระดับศูนย์ข้อมูลนี่คงดูแลอยากดี ไม่เหมือนรถบ้านๆ แต่ข่าวรถน้ำมันไฟไหม้พึ่งไม่นานนี่ไหม้กันหลายคันอยู่
ใช่ครับเราเห็นตรงกันว่ามันไม่ควรใช้กับรถ ขนาดน้ำมันเกิดอุบัติเหตุยากกว่ายังมีข่าวอยุ่บ่อยๆ
มาแนว Toshiba Fuel Cell Storage ที่ออกข่าวไปก่อนหน้าหรือเปล่าเนี่ย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
วางไว้ใกล้ๆ Datacenter นี่ปลอดภัยใช่ไหมเนี่ย ฮ่าๆ
คงมีกำหนดระยะปลอดภัยอยู่นะครับ
ขนาดสถานีเติมก๊าซ LNG ในโรงงาน ยังมีกำหนดเลย
ถังเล็กสุด ระยะต่ำสุด 7 เมตรรอบด้าน ว่ากันไปถึง 23 เมตรรอบด้าน ตามขนาดความจุถัง
fuel cell ความจุสูงๆ แบบนี้อาจจะ 50-60 เมตร หรือกว่านั้นก้ได้
อาจจะสร้างอาคารแยกไกลๆเลยรึเปล่าครับ ไฟฟ้ามันส่งตามสายได้
แค่ศูนย์ข้อมูลก็กินไฟเยอะมากเลยแฮะ