กฎหมายก่อตั้งอินเทอร์เน็ตเกตเวย์แห่งชาติกัมพูชา หรือ National Internet Gateway (NIG) กำลังมีผลบังคับใช้สัปดาห์นี้ หลังจากนายกรัฐมนตรีฮุนเซ็นลงนามในกฎหมายตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ปีที่แล้ว
รัฐบาลกัมพูชาอ้างว่า NIG จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้ประชาชน แต่ Asia Internet Coalition (AIC) กลุ่มบริษัทไอทีข้ามชาติ ก็ออกมาแถลงคัดค้านกฎหมายนี้ ระบุว่ากฎหมายจะเปิดทางให้รัฐบาลบล็อคเนื้อหาใดๆ ได้ตามใจชอบ, พร้อมกับเพิ่มความเสี่ยงความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประชาชน ส่วนทาง Human Rights Watch ก็ระบุว่าการที่ทราฟิกต้องผ่านจุดเดียวทำให้รัฐบาลสามารถมอนิเตอร์การใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เต็มรูปแบบ
แนวคิดการรวบอินเทอร์เน็ตทั้งประเทศให้ผ่านจุดเดียว นับเป็นนโยบายสำคัญอีกอันหนึ่งของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยปลัดไอซีทีเคย พูดถึงนโยบายนี้เมื่อปี 2014 และ พลเอกประยุทธ์สั่งการเร่งรัดในปี 2015 ก่อนจะถูกต่อต้านเป็นวงกว้าง และไม่มีการพูดถึงนักในช่วงหลัง
ที่มา - The Register
Comments
ตรงย่อหน้าสุดท้าย ถ้าจะเอ่ยถึง น่าจะเอ่ยเป็นประเทศไทย แยกต่างหากด้วยก็ดีครับ ถึงแม้จะเคยมีเหตุการณ์นี้ แต่จากผมอ่านผ่านๆเหมือนไทยมีส่วนไปทำให้กัมพูชาทำ Single Gateway ยังไงยังงั้นเลย
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
แอบนอกประเด็น, เพิ่งสังเกตว่า ไทยกับกัมพูชาเขียนเลขเหมือนกัน.ตอนเด็กครูอาจสอนแต่ผมไม่จำ LoL
เรายืมเขามาครับ รวมถึงราชาศัพท์แทบทั้งหมด ก็เป็นคำยืมเขมรครับ
เรื่องแบบนี้โรงเรียนไม่สอนกันรุ่นผมเขาสอนให้ดูถูกเขมร จะไปยอมรับไม่ได้หรอกว่า เอาของเขามาทั้งนั้น
ขอม ไม่ใช่เขมร หรือเปล่านะครับ
อาจต้องเช็คแหล่งข้อมูลหลายๆ แหล่งหน่อยนะครับ อาณาจักรสมัยโบราณมันมีการโยกย้ายถิ่นฐาน เกณฑ์ผู้คน และถ่ายทอดวัฒนธรรมกันต่อๆ กันมา แต่อาณาจักรขอม กับเขมรเนี่ยเหมือนมันเกิดหลุมดำทางประวัติศาสตร์ทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงขอม กับคนเขมรในปัจจุบันได้
แถวบ้านผมนี่คนลาวทั้งนั้นเลยนะครับ ถูกเกณฑ์มาจากเมืองลาวตอนรัชกาลที่ 1-3 สิ่งที่ยืนยันว่าเขาเป็นคนลาว คือศิลปะวัฒนธรรมและภาษาพูดที่ยังใกล้เคียงคนอีสาน และคนลาว มากกว่าไทยภาคกลาง ที่กำลังจะบอกคือสมัยก่อน เมื่อตีเมืองนึงได้ สิ่งที่เขาต้องการคือผู้คน ไม่ใช่พื้นที่ ดังนั้นพอผู้คนถูกกวาดต้อนไปที่อื่น พื้นที่นั้นอาจมีชาติพันธ์อื่นเข้ามายึดครองได้ สิ่งที่จะยืนยันว่าคนกลุ่มนั้นคือคนท้องถิ่นเดิมคือศิลปะวัฒนธรรมนะครับ ไม่ใช่พื้นที่ ซึ่งศิลปะวัฒนธรรมของคนเขมรในปัจจุบันแทบหาความเชื่อมโยงกับอาณาจักรขอมในอดีตไม่ได้เลย
ถ้าบอกว่าขอมถูกคนกลุ่มนึงที่เคยยึดครองพื้นที่ในแผ่นดินไทยในปัจจุยันเข้าตี แล้วช่างฝีมือขอมถูกเกณฑ์เข้ามาอยู่ในดินแดนที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในปัจจุบันผมว่ายังน่าเชื่อถือกว่า เพราะศิลปะวัฒนธรรมต่างๆ ของขอมมันกระจายอยู่เต็มพื้นที่ภาคกลางของไทย ซึ่งเป็นศิลปะที่เกิดยุคหลัง ยุคขอมเรืองอำนาจ แต่ก็ไม่ได้บอกว่าคนกลุ่มนั้นคือคนไทยนะครับ เพราะคนไทยเนี่ยเอาจริงๆ มาทีหลังเลย แต่จุดแข็งของคนไทยคือเบ้าหลอมรวมศิลปะวัฒนธรรมของชาติพันธ์ต่างๆ ออกมาในรูปแบบไทยๆ ก็แค่นั้่นเอง
สมการถ่ายทอดวัฒนธรรม
ขอม -> ชนชาติ X -> ไทย
ขอม -> เขมร -> ไทย ต่างกันนะครับ
https://www.youtube.com/watch?v=gGGsraoFHTI
ราชสำนักเขมรใช้ภาษาไทยนะครับ คำเขมรมีอยู่ในภาษาไทยแค่ 200 คำโดยประมาณแค่นั้น เพราะสมัย ร1-3 ก็มีองค์ประกันอยู่ที่ไทย รับของไทยไปเยอะ หลักฐานที่ว่าราชสำนักเขมรพูดไทย มากจากปากของ สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี พระองค์เอง ครูสอนนาฏศิลป์ก็พูดว่ามาจากสยาม
เขาไม่ได้สอนมาว่า เขมรไปยึดอำนาจขอมตอนกำลังอ่อนแอเพราะโดนฝั่งไทยตีตอนแข็งเมืองแล้วเกณฑ์กลับไทยไปเพียบ มาด้วย? (เขมรเกิดมาได้เพราะฝั่งเรานั่นแหละ แถมต้องเรียนสอนแบบหลอกตัวเองอีก)ไหนจะไปเคลมคนไทยเป็นคนเขมรอีก lol
เรื่องขอมเหมือนกับว่าจะมีแค่ที่ไทยที่พูดถึงและแยกระหว่างขอมกับเขมร แต่คนประเทศอื่นรู้จักแค่เขมรและบางคนก็มองว่าเรื่องนี้เป็นเพราะไทยต้องการแยกตัวเองว่าไม่ใช่คนเขมร บางทีอ่านเจออย่างนี้แล้วอยากให้มีการชำระประวัติศาสตร์ร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชาเลย
ทุกวันนี้ในเพจที่คุยประวัติศาสตร์ระหว่างประเทศคนกัมพูชาชอบบอกว่าไทยชอบเอาวัฒนธรรมเขมรเป็นของไทย ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็เป็นเรื่องพื้นที่ซ้อนทับทางพื้นที่สมัยก่อนเหมือนโรมันที่ไปกระจายในหลายๆ ประเทศ สเปนก็มีสิ่งก่อสร้างของโรมัน พวสิ่งก่อสร้างสมัยทราวดี, ละโว้ ไทยก็บอกนะว่าเป็นวัฒนธรรมขอม แต่คนนอกอย่างคนกัมพูชาก็เหมือนมองว่าไทยเคลมว่าเป็นของไทย
ก็มีคนกัมพูชาบอกว่าวัฒนธรรมไทยก็ต้องเหมือนอย่างคนแบบชนกลุ่มน้อยทางภาคใต้ของจีนสิเพราะพวกนี้พูดกลุ่มภาษาไท-กะได ฉะนั้นคนไทยก็ต้องมาจากคนกลุ่มนี้ก็ต้องแต่งตัวอย่างนั้น วัฒนธรรมก็ต้องเป็นอย่างชนกลุ่มพวกนั้น ดังนั้นอย่างโขนชนกลุ่มน้อยพวกนั้นไม่มีก็แสดงว่าโขนเป็นของกัมพูชา
คนไทยมองว่าแต่ก่อนแถวนี้มีคนหลายกลุ่มซึ่งอยู่ภายใต้วัฒนธรรมเขมร เลยรับเอาตัวอักษร, วัฒนธรรมเข้ามา มาภายหลังก็แยกตัวออกมาหลังเขมรมีอำนาจลดลงแต่ก็ยังมีวัฒนธรรมเขมรเป็นพื้นอยู่และก็ผสมกับวัฒนธรรมของตัวเอง
ส่วนคนกัมพูชาเหมือนมองว่าอดีตพื้นที่แถบนี้เป็นคนเขมรเป็นคนกลุ่มเดียวกันหมด แล้วคนไทยที่มาจากที่อื่นก็มาแย่งพื้นที่ มาแย่งเอาวัฒนธรรมเขมรมาเป็นของตน
คุณเชื่อหรือไม่ว่าประวัติศาสตร์คือ เครื่องมือทางการเมืองในการสร้างความชอบธรรมการในการยึดครองพื้นที่ ถ้าคุณเชื่อว่าประวัติศาสตร์ไทยที่สอนอยู่ในสถานศึกษาถูกสร้างขึ้นเพื่อกรณีนี้ ฝรั่งเศสก็ทำเช่นกันในการสร้างความชอบธรรมในการยึดครองพื้นที่อินโดจีนเพื่อแยกประเทศราชออกไปจากการยึดครองของสยาม
เหมือนเคยอ่านเจอบทความหรืองานวิจัยของคนญี่ปุ่นนี่แหล่ะที่เนื้อหาราว ๆ อย่างที่ว่ามานี้ แต่ไม่รู้ว่ามีถึงขนาดบิดเบือนเลยหรือเปล่า หรือยกแต่ประวัติตรงที่ทำให้ฝรั่งเศสได้ประโยชน์
ตำนานจริง 3 เท็จ 7 ประวัติศาสตร์ จริง 7 เท็จ 3
ทุกวันนี้ยังอยากให้นักประวัติศาสตร์ไทยทำงานร่วมกับนักประวัติศาสตร์กัมพูชาเลยจะได้สรุปอะไรตรงกัน
clip youtube อันนี้น่าสนใจครับhttps://www.youtube.com/watch?v=gGGsraoFHTI
มันไม่มี อะไรเป็น absolute หรอก เรื่องพวกนี้มันเกิดก่อนเขตแดนทั้งนั้น แต่จริงๆ เอาภาษามาคุยกันมันก็คุยกันได้ แต่คงไม่มีใครคุยด้วยยาวๆ ผมเจอ อันนี้น่าสนใจ ก็เอามาฝากไว้ ผมก็เพิ่งนั่งฟังวันก่อน ก็ได้รู้อะไรที่ไม่เคยรู้
เรื่องของเรื่อง ก่อนที่จะมีกรุงสุโขทัย มันเคยมีอาณาจักรที่ชื่อขแมร์ รึ เขมรเลยตั้งอยู่เต็มๆ
ย่อหน้าสุดท้ายมาไงฮ่าๆ ไม่เห็นเกี่ยว
ขอแสดงความเสียใจกับชาวกัมพูชาด้วย เจอปิดกั้นทางความคิดแน่นอน
That is the way things are.
เน็ทช้าไหมนั้น
ไทยก็มีแหละ แต่ตีเนียนๆให้ภาระไปตกที่ ISP ให้ monitor และบล็อคเว็ปเป็นรายๆไป ถ้าทำ single จากเน็ตเร็วอันดับสองของโลก คงร่วงไปอยู่ที่เท่าไรก็ไม่รู้ละนะ ?
จริงครับ ไทยก็มีแล้ว แต่ประชาชนยังไม่รู้ตัวแค่นั้นเอง