ASML ผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับโรงงานผลิตชิปเปิดเผยกับสำนักข่าว Reuters ว่าเครื่องจักรรุ่นต่อไปมีความก้าวหน้าตามกำหนด คาดว่าเครื่องทดสอบจะสำเร็จภายในครึ่งแรกของปี 2023 และสามารถส่งมอบให้ลูกค้าได้ในช่วงปี 2024-2025
เครื่องรุ่นต่อไปเป็นเทคโนโลยีการผลิต High-NA EUV ที่น่าจะช่วยย่อความละเอียดวงจรลงไปได้ถึงระดับ 2nm หรือเล็กกว่านั้น ตัวเครื่องมีราคาประมาณ 400 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 14,000 ล้านบาท ตัวเครื่องใหญ่กว่าเครื่องรุ่นก่อนหน้า 30% การขนย้ายจะต้องใช้เครื่อง 747 ถึง 3 เที่ยวบิน
ตอนนี้มีผู้ผลิตชิปสั่งจองเครื่องรุ่นทดสอบ (pilot machine) มาแล้ว 5 เครื่องที่จะส่งมอบภายในปี 2024 และมากกว่า 5 เครื่องที่เป็นรุ่นปกติจะส่งมอบปี 2025 เป็นต้นไป ทาง ASML ไม่ได้ระบุว่าลูกค้าเป็นใครบ้าง แต่ก่อนหน้านี้ก็เคยประกาศว่า อินเทลเป็นผู้ซื้อรายแรก เช่นเดียวกับผู้ผลิตชิปที่ติดปัญหาซัพพลายเชนจนไม่มีสินค้าขาย ตัว ASML เองก็ติดปัญหาเดียวกัน
ช่วงปีที่ผ่านมานับเป็นปีที่ดียิ่งของ ASML บริษัทมียอดขาย 18.6 พันล้านยูโร กำไรขั้นต้น 52.7% และมีงบลงทุนปีละ 2.5 พันล้านยูโร
ที่มา - Reuters
ภาพเครื่อง ASML EXE:5000 High-NA EUV โดย ASML
Comments
เครื่องผลิตชิปก็ต้องใช้ชิปเหมือนกันสินะ เจอปัญหาขาดแคลนแบบวนloop
มีใครสนใจซื้อมารีวิวไหมครับ
รอดูเลย เจ้าไกนจะออกชิปก่อน
Nikon กะ Canon ไม่แคร์แม้แต่น้อย 😒
ชิปเค้าไม่ทันสมัยหรือเค้าผลิตเองกันได้สบาย หรือยังไงครับ?
สนใจแต่ DUV ครับ
ต้องเทคโนโลยีสูงขนาดไหน ถึงไม่มีคู่แข่งเลย
ผมก็สงกะสัยเหมือนกัน
ล้ำหน้าคู่แข่งอยู่ 10ปีเป็นอย่างน้อยน่ะครับ
เทคโนโลยีระดับสูงล้ำกว่าคู่แข่งมาก และการคุ้มครองทางสิทธิบัตรที่บริษัทไม่ขายสิทธิ์เทคโนโลยีระดับสูงกับบริษัทอื่นๆ ที่ทำให้ไม่มีคู่แข่งในระดับเทคโนโลยีเดียวกัน
คงต้องรอให้บริษัทในตลาดอย่าง Nikon และ Canon หาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่คล้ายกันมาสู้ในอนาคต
แพงกว่าเครื่องบินอีก
อันนี้น่าจะยากกว่าที่ใครจะมาผลิตแข่ง หรือพัฒนาให้เทียบเท่าได้ไวๆ
ไม่รู้ว่าที่ทำให้ไม่มีเจ้าอื่นทำเครื่องแบบนี้ออกมาแข่งกันขายแบบนี้ เป็นเรื่องสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์, ความเชี่ยงชาญในการพัฒนาและผลิตเครื่องมือ และความซับซ้อนยุ่งยากของเทคโนโลยีด้วยหรือเปล่า
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
Nikon ว่าจะส่งเครื่อง duv 5 nm ขายให้จีน
เครื่องใหญ่ขนาดไหนเนี่ยใช้ 747 ถึงสามรอบ ผลิตสิ่งเล็กๆ แต่เครื่องใหญ่มาก
น่าจะเรื่องน้ำหนัก กับระวางบรรทุก ที่ต้องตีโครงกันกระแทก ทำให้ต้องแยกส่วน พอรวมกล่องแล้วใส่ลง 747 เครื่องเดียวไม่ไหวนะครับ
เครื่องของ Nikon และ Canon ยังผลิตไม่ถึง10นาโนเมตรเลย ASML จะผลิต2นาโนเมตรแล้ว