กรรมการกำกับนิวเคลียร์สหรัฐฯ (U.S. Nuclear Regulatory Commission - NRC) ประกาศอนุมัติให้ใช้งานเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กของบริษัท NuScale ได้ หลังจากบริษัทพยายามขออนุญาตมาหลายปี โดยเตาปฎิกรณ์เหล่านี้ผลิตไฟฟ้าเพียงเตาละ 50 เมกกะวัตต์ (ตามสเปคได้ถึง 77 เมกกะวัตต์) ฟีเจอร์สำคัญคือมันสามารถหยุดทำงานได้โดยไม่ต้องการระบบหล่อเย็นทำงานขณะปิดการทำงาน
ในการติดตั้งจริง NuScale จะติดตั้งเตาปฎิกรณ์ทีละ 12 ชุด ทำให้โรงงานไฟฟ้าแต่ละแห่งผลิตไฟฟ้าได้ 600 เมกกะวัตต์ บริษัทพยายามชูประเด็นว่าเนื่องจากแต่ละโมดูลมีขนาดเล็กและเรียบง่าย ทำให้การก่อสร้างจริงจะมีต้นทุนต่ำกว่าโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แบบเดิมๆ
ตัวเตาปฎิกรณ์ของ NuScale จะแช่อยู่ในสระน้ำชั้นใต้ดิน โดยการออกแบบทำให้เตาปฎิกรณ์สามารถปิดการทำงานได้เองแม้ไม่มีพลังงานจากภายนอก นับเป็นการปิดความเสี่ยงจากที่ผ่านมาอุบัติเหตุนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ๆ มักเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องจากเงื่อนไขที่โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องการให้ระบบหล่อเย็นทำงานตลอดเวลาแม้จะปิดการทำงานไปแล้วแต่ก็ตาม เช่น เชอร์โนบิลที่เป็นเกิดอุบัติเหตุขณะจำลองเหตุไฟดับและต้องการทดสอบระบบหล่อเย็น, หรือฟุกุชิม่าที่เกิดน้ำท่วมปั๊มจนระบบหล่อเย็นไม่ทำงาน
แม้ว่า NRC จะอนุมัติการใช้งานตัวเตาปฎิกรณ์ แต่ทาง NuScale ก็ต้องหาลูกค้าที่จะนำไปติดตั้งจริงอีกครั้ง ตอนนี้กลุ่มลูกค้า 18 รายเซ็นเพียง MOU กับ NuScale โดยยังไม่ยืนยันชัดเจนว่าจะเริ่มสร่างโรงงานไฟฟ้าจริง
ที่มา - ArsTechnica
Comments
อยากให้ไทยอนุมัติใช้พลังงานนิวเคลียร์ มาตั้งข้างบ้านผมก็ได้
เคลียร์พวก NGO กับนักการเมืองท้องถิ่นที่เข้าข้าง NGO ให้คนในพื้นที่ประท้วงให้ได้ก่อนครับ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ปัญหาไม่ได้อยู่่่ที่ความพร้อม แต่ปัญหาคือถ้าเกิดปัญหาเหมือนญี่ปุ่น เมืองฟุกุชิมะที่โรงงานนิวเคลียร์ระเบิดเมื่อ 10 ปีก่อน บ้านเราจะสามารถจัดการปัญหาที่เคยเกิดขึ้นแบบที่ญี่ปุ่นเมื่อ 10 ปีที่แล้วได้ไหม ถ้ามันเกิดปัญหาขึ้นมาจริงๆ
เราไม่ได้ตามข่าวแล้วนะว่าตอนนี้เป็นอย่างไร แต่ขอถามกลับได้ไหมว่าที่พม่าหรือเวียดนามมีโครงการจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (อย่างที่บอกไม่ได้ตามข่าวแล้วไม่แน่ใจว่ายังเดินหน้าสร้างต่อ หรือสร้างเสร็จแล้ว หรือเลิกแนวคิดนี้ไปแล้ว) บุคคลากรเขาเก่งกว่าเราไหม? และเขาสามารถควบคุมได้ไหม? และในเมื่อประเทศเพื่อนบ้านเรามีแผนจะสร้างซึ่งถ้าเกิดเหตุระเบิดขึ้นมาประเทศไทยก็โดนละอองรังสีแผ่มาถึงอยู่แล้วแน่ๆซึ่งเราก็ต้องเจ็บป่วย ล้มตายอยู่ดี จะดีกว่าไหมถ้าเราจะสร้างเองถ้าไฟฟ้าเหลือก็ส่งไฟฟ้าไปขายประเทศเพื่อนบ้านด้วย และถ้ากลัวมากก็ทำสัญญาข้อตกลงไปเลยถ้าคุณจะมาสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จังหวัดฉันคุณต้องแบ่งกำไรมาพัฒนาจังหวัด พัฒนาการศึกษา สิ่งแวดล้อม กี่เปอร์เซ็นต์ก็ว่าไป คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนก็จะดีขึ้น เกิดการพัฒนา
โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ "ไม่สามารถระเบิดได้ครับ" มันไม่ใช่ระเบิดครับ นับรวมกับระเบิดปรมาณูไม่ได้นะครับ
ที่มันเคยมีปัญหามาในอดีตคือกัมมันตรังสีรั่วไหลครับ ซึ่งกำจัดได้ยากมากจริงแต่ทั้งนี้ ทั้งฟุกุชิมะ หรือ เชอร์โนบิล ต่างเป็น generation 1 ทั้งคู่ ซึ่งถูกเรียกว่ารุ่น Alpha ด้วยซ้ำ
โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ถ้าจะสร้างใหม่ตอนนี้ ถูกบังคับให้ต้องเป็น generation 3.1 แล้ว ซึ่งประสิทธิภาพและความปลอดภัยมันต่างกันเยอะแล้วครับ
และยิ่งถ้าหากสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ไทย ต่อให้เป็น Gen1 โอกาสที่จะเจอปัญหาก็ยังมีน้อยมาก ถึงแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ แผ่นดินไหวแรงๆ มีมั้ย? ซึนามิมีมั้ย(ถ้าสร้างฝั่งอ่าวไทย)? นอกนั้นต้องกลัวอะไรอีก... สงคราม? อุกาบาตตกใส่?
ผมก็คิดเหมือนคนก่อนนี้เหมือนกันนะ จะมาสร้างหลังบ้านผม ผมก็ยินดี ขอผมเข้าไปทำงานในนั้นด้วยก็พอ(อยากเดินไปที่ทำงานข้างบ้าน)
สำหรับคนทั่วไปอาจจะต้องนับว่าการระเบิดจากไอน้ำดันจนตึกปลิวนี่เป็นการระเบิดด้วยนะครับ บอกว่าระเบิดไม่ได้แต่เห็นโรงงานกระจุยกระจายออกไปเป็นวงกว้างได้นี่อาจจะดูเลี่ยงบาลีเกินไป
lewcpe.com , @wasonliw
อันนี้ผมสงสัยว่าถ้ามาสร้างในไทยมันมีหน่วยงานกลางหรือหน่วยงานนานาชาติอะไรมาควบคุมคุณภาพการก่อสร้างมั้ยครับ ลองหาๆดูเหมือนแต่ละประเทศจะตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลเอง
เพราะถ้าถามผม สิ่งที่กลัวสุดคือมาตรฐานการก่อสร้างเนี่ยแหละครับ ยิ่งเพิ่งมีข่าวสะพานร่วงอีก...
ถ้างั้นก็ต้องกลัวพวกคอนโดด้วยครับ ตึกสำนักงานต่าง ๆ ด้วย ว่ามันจะถล่มลงมามั้ยพวกนี้น่าจะสร้างยากกว่าสะพานกลับรถอีกครับ
ผมเข้าใจว่าในแง่ของคอนโด มันก็เป็นแบบนั้นอยู่แล้วนะ แบรนด์แย่ๆก็จะเจอโพสต์บ่อยๆว่าให้เลี่ยง หรือ "กลัวพวกคอนโด" แบบที่คุณว่า แบรนด์ดีๆก็พอจะเชื่อใจได้หน่อย
พอเราเห็นบางโครงการที่มองยังไงก็เห็นว่า "ลดคอส" แน่ๆ ถนนทำแบบลวกๆแปปเดียวพังเหมือนเดิม ก็เลยสงสัยว่าแล้วโรงงานนิวเคลียร์มันจะอยู่ในหมวดไหนครับ หมวดที่ที่ก่อสร้างตามหลัก มีหน่วยงานมาทำ QC หรือยังไง
แต่จะว่าไป เหมือนที่ผ่านมาเร็วๆนี้ก็มีคอนโดถล่มนะ :v
ทำไมถึงคิดว่าโรงงานนิวเคลียร์จะทำลวก ๆ ได้ล่ะครับ ถ้าทำขึ้นมาน่าจะวาระแห่งชาติเลยนะนั่น
มันเคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตครับ นั่นคือ เหตุการณ์โรงไฟฟ้า Chornobyl ระเบิด ที่มาจากความประมาทของผู้ควบคุมตอนทดสอบระบบโรงไฟฟ้า, การลัดขั้นตอนและลดต้นทุนในโครงสร้างโรงไฟฟ้า และงานออกแบบเตาปฏิกรณ์ที่ไม่ได้มีความปลอดภัยเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของสหรัฐฯ และชาติตะวันตกในตอนนั้น ซึ่งมันคือ RBMK Reactor (หาอ่านได้เพิ่มเติมครับ)
แล้วมันกระทบกับโรงไฟฟ้าอีกหลายโรงที่ใช้โครงสร้างนี้ด้วย หรือมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะในยุโรปตะวันออกและประเทศที่เคยอยู่ใต้สหภาพโซเวียต พอหลังโซเวียตล่ม หลายๆโรงก็เลยเริ่มมีการปลดประจำกาหลังจากนั้นมาเรื่อย บางที่ก็รื้อทิ้งเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่มาทดแทน, พัฒนาเป็นพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ หรือปล่อยคืนสู้ธรรมชาติหลังทำความสะอาดพื้นที่เสร็จ แถมบางโรงก็สร้างไม่เสร็จด้วย หรือไม่ได้สร้างเลย ซึ่งกระทบหลังเกิดเหตุโรงไฟฟ้า Chornobyl ระเบิด
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
โรงไฟฟ้ารุ่นใหม่ระบบความปลอดภัยหนาแน่นกว่าครับ ความเป็นไปได้สูงสุดที่จะเกิดอุบัติเหตุในไทยคงเป็นHuman errorเพียงอย่างเดียวซึ่งก็ยังคงเป็นไปได้ยากมากครับคุณไม่ต้องกังวลเรื่ิงความปลอดภัยเลย ที่จริงควรกังวลเรื่องบบริหารจะถูกโกงกินมากกว่าจนทำให้การจัดการกับสารกัมมันตรังสีและงานด้านการซ่อมบำรุงโรงงานด้อนคุณภาพจากการโกงกินงบประมาณมากกว่าครับ
ยังไงก็แล้วแต่ประเทศไทยควรมีโรงไฟฟ้านิวเคลียอยู่ดีครับด้วยประโยชน์สารพัดอย่างที่จะได้มาเมื่อเทียบกับความเสี่ยงใดๆก็ตาม
ประเทศไทยมีแผนที่อนุมัติมาแล้ว เพียงแต่พอเจอเคสฟูกูชิมะ แล้วก็เลย กลัวกัน
ตอนแรกก็กลัวนะแต่พอมีข่าวลือว่าจะได้ค่าชดเชยความเสี่ยง 50,000 บาทต่อเดือนสำหรับครอบครัวที่บ้านอยู่ใกล้นี่จะขอซื้อที่ติดโรงงานนิวเคลียร์เลย
น่าจะแค่ลือนะครับ ถ้าใกล้ขนาดต้องจ่าย 50,000 นี่ผมว่าเวณคืนดีกว่า
พื้นที่โดยรอบแบบใกล้ๆ เลยน่าจะรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโรงงานไฟฟ้าหมด ส่วนไกลๆ หลักกิโลอาจจะได้แค่เงินสนับสนุนโรงพยาบาล โครงการตรวจโรคเพิ่มเติมประจำปีฟรีอะไรแบบนั้น
lewcpe.com , @wasonliw
ผมหาข้อมูลที่กล่าวมาไม่เจอนะ ขอเดาว่าคงมีใครไปคำนวณเงินจาก กองทุนพัฒนาไฟฟ้า ที่จำนวนเงินกองทุนได้รับตามประเภทกำลังผลิตไฟฟ้าของโรงงานพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่นั้น และจากที่โรงงานพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์มีข้อจำกัดว่าต้องเป็นพื้นที่ชุมชนเบาบางมาก ทำให้ถ้าหารเฉลี่ยเป็นต่อครัวเรือนคงเป็นจำนวนที่มาก แต่เงินกองทุนนี้ไม่ได้แจกให้แต่ละครัวเรือน เขาให้เขียนเป็นโครงการของชุมชนแล้วไปเบิกเงินกองทุนนะครับ
50 เมกกะวัตต์ นี่มันเยอะแค่ไหนครับ พอจ่ายให้ 1 นิคมอุตสาหกรรมไหม
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
หมู่บ้านเล็กๆ หรือระดับเมืองเล็กๆ อาจจะเพียงพอ แต่นิคมอุสหกรรม อาจจะไม่พอ เพราะส่วนใหญ่ใช้ไฟในการผลิตเยอะพอสมควร และบางโรงงานทำงานตลอด 24 ชั่วโมงด้วยเนี่ยสิ
แต่ถ้าขนาดมันเล็กพอที่จะสร้างได้หลายโรงไฟฟ้า ก็น่าสนใจที่จะตั้งในเขตนิคมอุตสาหกรรมที่ต้องการไฟตลอดเวลา แต่ถ้าจะตั้งเพื่อจ่ายไฟเข้าชุมชน ก็น่าจะตั้งให้ห่างๆ ไว้อย่างน้อย 25 กิโลฯ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนอุ่นใจก็ยังดี
ส่วนการก่อสร้าง อาจจะถูกกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบเดิมที่มีอยู่ ลดข้อจำกัด ลดขนาดพื้นที่ก่อสร้าง และยืดหยุ่นในการเลือกพื้นที่ก่อสร้างที่ระบบใหม่อาจตอบโจทย์แทนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบเดิมมีข้อจำกัดและเงื่อนไขเยอะพอสมควร
ตอนนี้ปัญหาในบ้านเราคือ การต่อต้านจากชุมชนที่ค่อนข้างรุนแรงและหนักแน่น แถมเจอ NGO และผู้มีอิทธิพลเข้ามามีเอี่ยวด้วยพอสมควร และแม้แต่โรงไฟฟ้าหลายแบบที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ก็โดนแบบนี้ แล้วยังมาบ่นเรื่องไฟไม่พอ ไฟตกอีก ก็เพราะต่อต้านแบบดื้อๆ ด้านๆ แบบนี้ไง
ปล. แต่พอพูดถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก ก็อดพูดถึงการสกัด Plutonium จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เอาไปใช้ทำอาวุธนิวเคลียร์ไม่ได้เหมือนกัน เพราะจากข่าวที่ตามเรื่อย เหมือนว่าเกาหลีเหนือจะทำแบบนั้นอยู่กับโรงไฟฟ้าของตัวเองเพื่อสร้างหัวรบนิวเคลียร์ใช้เองขึ้นมา ไม่แน่ใจว่าโรงไฟฟ้าระบบนี้จะป้องกันการสกัดแร่พวกนี้ออกจากเตาปฏิกรณ์ได้หรือเปล่า
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
บ้านกลางๆ ใช้ไฟ 15A หรือประมาณ 3.3kW ก็ได้ประมาณ 15,000 หลังครับ ตีกลมๆ ผมว่าประชากร 30,000 คน++
โรงงานนี่นับยาก มีโรงงานสักโรงเป็นโรงเหล็กหรือโรงปูนก็อาจจะเกินแล้ว แต่ถ้างานประกอบอื่นๆ ก็อาจจะได้
lewcpe.com , @wasonliw
ยินดีที่ยังมีบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์อยู่ เพราะรู้สึกว่านวัตกรรมด้านนี้มันหยุดนิ่งมานานแล้ว แถมเจอเคสญี่ปุ่นไปทุกประเทศก็กลัวกันหมดบางประเทศประกาศตัวไปทำพลังงานทดแทน แล้วปิดโรงนิวเคลียร์จนไฟไม่พอซะฃั้น
ราคาพลังงานแพง เลยรีบอนุมัติสินะ
เชียร์ให้เมืองไทยมีซะทีโรงนิวเคลียร์เนี่ย ทุกวันนี้ถ้าเพื่อนบ้านเลิกขายก๊าซนี่นึกไม่ออกว่าจะอยู่ยังไง
เชียร์ให้ไทยมีเสียงครับ
คือประเทศเรานี่ น่าจะเหมาะที่จะมีมากที่สุดแล้วมั้ง
ภัยธรรมชาติแรง ๆ ไม่มีเลย
แต่ภัยจากน้ำมือมนุษย์และการบริหารจัดการนี่ จะเยอะกว่าคนอื่นหน่อย ๆ