กรุงเทพมหานครได้ทำ แบบสำรวจ BMA Open Data Survey เพื่อสอบถามความต้องการของประชาชนว่าอยากให้เปิดข้อมูลด้านใดและอย่างไร ทางทีมของกรุงเทพมหานครจะได้นำข้อมูลนี้ไปพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของประชาชนมากขึ้น
การมีส่วนร่วมของประชาชน คือเป้าหมายของโครงการ Open Bangkok
โครงการนี้เป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับกทม. ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงชุดข้อมูล ปรับปรุงนโยบาย ประเมินการทำงาน รับบริการออนไลน์ ฯลฯ ยิ่งประชาชนมีส่วนร่วมกับการบริหาร ก็จะนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาเมืองได้รอบด้าน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มคุณภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น
หัวใจของ Open Bangkok คือการให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง อันเป็นแนวคิดที่อ.ชัชชาติย้ำมาตลอด
อย่างเช่น “Open Data” นโยบายเปิดเผยชุดข้อมูลสำคัญของเมือง ที่ผ่านมา กทม. ก็มีการเปิดเผยข้อมูลบน data.bangkok.go.th อยู่แล้ว แต่เป็นการเปิดตามความพร้อมของแต่ละหน่วยงาน แต่ไม่มีการตั้งคำถามเลยว่าข้อมูลนั้นเป็นประโยชน์กับประชาชนหรือไม่ หรือถูกจัดเก็บตามมาตรฐานที่ดีพอหรือยัง จึงเป็นที่มาของการทำ “BMA Open Data Survey” เพื่อสำรวจเลยว่าประชาชนอยากให้เปิดเผยชุดข้อมูลไหน ต้องการนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดอย่างไร กทม. จะนำผลจากแบบสอบถามนี้ไปปรับปรุงแนวทางการเปิดเผยข้อมูล ให้ตอบโจทย์ทั้งความโปร่งใส และประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดแก่ประชาชน
เนื่องจากประเทศไทยเองก็ยังไม่ได้เป็นรัฐบาลเปิด (Open Government) ความท้าทายของโครงการ Open Bangkok คือ จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามาถูกทาง สิ่งที่ทำอยู่จะนำไปสู่การเป็นหน่วยงานเปิดที่ได้รับการยอมรับจากสากลจริง ๆ ทีมงานจึงต้องศึกษาตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จจากต่างประเทศ ปรับแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของกทม.
BMA Open Data Survey ก็เลือกที่จะดัดแปลงมาจาก Open Data Impacts Survey ของอังกฤษ เพราะรัฐบาลอังกฤษขึ้นชื่อเรื่อง user-centric อันดับต้น ๆ ของโลก ซึ่งตรงกับหัวใจของโครงการ Open Bangkok พอดี
Open Bangkok นับว่าเป็นโครงการที่น่าจับตามองมาก เพราะเป็นการเปลี่ยนทั้ง mindset และวิธีการทำงานของหน่วยงานรัฐ เป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่อาจทำให้ประเทศไทยได้มีรัฐบาลเปิดแบบสากล
เชิญร่วมเป็นกำลังใจ และผลักดันมาตรฐาน กทม. ไปพร้อมกับเรา ผ่าน “BMA Open Data Survey: แบบสำรวจความสนใจและมุมมองต่อการเปิดเผยข้อมูลของกรุงเทพมหานคร” (ใช้เวลาไม่ถึง 3 นาทีเท่านั้น) https://survey123.arcgis.com/share/cbf00fb6b7894e739597566739bd2748?portalUrl=https://bmagis.bangkok.go.th/portal
Comments
เกิดมา 40-50 ปี ไม่เคยเชื่อว่านักการเมืองคนไหนดีสักคน..แต่การมาของชัชชาติ ทำให้เริ่มเห็นความหวัง..เมืองไทยก็มีหวังได้
รอดูกันยาวๆ ..ให้เวลา
ผู้ว่าอยู่แค่ 4 ปี เต็มที่สองสมัย สุดท้ายอยู่ข้าราชการปฏิบัติงานที่อยู่ยาวๆ จะทำกันได้นานขนาดไหน
ถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นเห็นชัด คนก็จะจำได้และเกิดการเปรียบเทียบครับ
แม้แต่ทักกี้ ที่หลายคนอาจไม่ชอบ แต่ก็ปฎิรูประบบราชการ มาเป็น one stop service เน้นการบริการให้ประชาชน ไม่ใช่ประชาชนไป"ขอ"ใช้บริการ แม้หลังรัฐประหารก็เปลี่ยนนโยบายไปบ้าง แต่คนก็ยังจำได้ว่ามันเคยดี (และหลายๆหน่วยงานก็ยังทำต่อ)
อยู่กทม.แค่4ปีพอ เสร็จแล้วขึ้นเป็นนายกต่อไปเลย
ศาลบอก ลุง อยู่ได้ถึงปี คศ 2070
เพิ่งรู้ว่ามี data.bangkok.go.th อยู่แล้ว แต่หัวข้อวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรม ไม่มีซักอัน