นับแต่แอปเปิลย้ายมาใช้งานชิป x86 ช่วงปี 2005-2006 ที่มีแฟนๆ รับไม่ได้กัน ( 1 , 2 )มากมายนั้น ชิปในตระกูล POWER ก็แทบจะหายไปจากวงการพีซีที่เราจับๆ กันทุกวันไปตลอดกาล แต่ไปปรากฏร่างในฐานะชิป Cell ที่เครื่องคอนโซลทุกเครื่องในตอนนี้ใช้งานกันอยู่
แม้ตัว Cell จะเป็นชิปที่ใช้ชุดคำสั่ง POWER เป็นฐาน แต่สถาปัตยกรรมอื่นๆ นั้นก็มีความต่างออกไป เพราะไอบีเอ็มเองมีการดัดแปลงชิปให้เข้ากับความต้องการของลูกค้ากระเป๋าหนักเสมอๆ และ POWER7 นั้นเป็นชิปในตระกูลเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก DARPA (เจ้าเดียวกับที่ออกเงินวิจัยอินเทอร์เน็ตยุคแรก) เพื่อสร้างเครื่อง Blue Water และในที่สุดก็มีการ เปิดตัวไปในงาน Hot Chip ที่ผ่านมา
ชิป POWER7 นั้นเปิดตัวมาหลังจากไอบีเอ็มได้เงินในโครงการนี้ไป 244 ล้านดอลลาร์นับแต่ปี 2006 เพื่อสร้างเครื่องในปี 2010 งานนี้ไอบีเอ็มก็มีอาวุธมาเต็มกระเป๋านับแต่กระบวนการผลิต ไปจนเทคโนโลยีการออกแบบ โดยความสามารถสำคัญของ POWER7 ก็มีเช่น
- 8 คอร์ แต่ละคอร์รับ 4 เธรด จากเทคโนโลยี SMT++
- ระบบส่งข้อมูลระหว่างซีพียู ยังไม่เปิดเผย แต่อ้างว่ารองรับได้ 32 ชิป
- แคชขนาด 32 เมกกะไบต์ (เครื่องแรกที่ผมใช้มี HDD 10 เมก)
- ประเด็นสำคัญที่สุดคือจำนวนทรานซิสเตอร์เพียง 1.2 พันล้านตัว
ถ้าเราตามตัวเลขจำนวนทรานซิสเตอร์ในซีพียูกันมาบ้าง คงจะเห็นว่าจำนวนทรานซิสเตอร์นั้นเพิ่มขึ้นอย่างหนักในช่วงหลังๆ เนื่องจากการจากที่การปั๊มความถี่ของสัญญาณนาฬิกาไม่สามารถใช้เพิ่มความเร็วคอมพิวเตอร์ได้อีกต่อไป ทำให้ขนาดชิปใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และต้นทุนสูงขึ้น
พื้นที่ที่เพิ่มขึ้นนั้นส่วนมากกลับไปอยู่กับขนาดแคชที่ใช้ทรานซิสเตอร์ 6 ตัวต่อบิต แต่ใน POWER7 นั้นจะมีการใช้เทคโนโลยี eDRAM ที่ใช้เทคโนโลยี DRAM แบบเดียวกับโมดูลแรมราคาถูกๆ ที่ใช้ซื้อมาเสียบเครื่องกัน เพราะใช้ทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียวต่อแรม 1 บิต โดยปรกติแล้ว DRAM นั้นจะมีปัญหา latency ทำให้การทำงานช้ากว่า static RAM อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ผู้ผลิตชิปเช่นอินเทลหรือเอเอ็มดีนั้นต่างใช้ static RAM ในแคชที่ต้องการความเร็วสูงสุด
ชิป POWER7 นั้นจะถูกผลิตด้วยเทคโนโลยี 45 นาโนเมตร ขณะที่อินเทลนั้นเริ่มสายการผลิตในเทคโนโลยี 32 นาโนเมตรซึ่งทำให้พื้นที่ของชิปเล็กลงและต้นทุนต่ำลง แต่ด้วยจำนวนทรานซิสเตอร์ในชิป Nehalem-EX ที่มากถึง 2.2 พันล้านตัวนั้น ก็ยังนับว่า POWER7 มีความได้เปรียบอยู่ เพื่อพิจารณาขนาดชิปรวม
โดยปรกติเราๆ ท่านๆ นั้นคงไม่ได้จับชิป POWER กันอยู่นัก ถ้าจะมีบ้างคงเป็นสายธนาคารที่อาจจะซื้อ System-p หรือ System-i ของไอบีเอ็มมาใช้งาน แต่เทคโนโลยีหลายๆ ตัวของไอบีเอ็มนั้นก็มาอยู่ในสายการผลิตของเอเอ็มดีบ่อยครั้ง เช่น SOI หรือ Silicon-on-Insulator สำหรับครั้งนี้ ถ้าเอเอ็มดีซื้อเทคโนโลยี eDRAM ไปใช้ได้ เราก็อาจจะเห็นเอเอ็มดีขจัดจุดอ่อนที่แคชมีขนาดเล็กกว่าอินเทลเสมอๆ ไปได้เสียที
ที่มา - ArsTechnica
Comments
ถ้าผมเป็น AMD คงเอา eDRAM มาใส่ใน Fusion แหละครับ เป็นจริงคงสนุกไม่น้อย
งานนี้ถ้าAMDได้ ผมจะเฮ ดังๆเลยอิอิ
+1 จะมาช่วยเฮอีกคน
น่าสนใจครับ เรื่องสถาปัตยกรรมของ CPU ใหม่ๆ
แต่เอาเข้าจริงๆ เราๆ ก็คงแตะแค่ X86 ไปอีกนาน :P
ป.ล. ตามข่าวเก่ามาให้ดูได้เก่ามากๆ (Node 810 กับ 813)
I'm a DS Lover ^^
:: DigiKin8 ::
ผมล่ะหนุน x64 เต็มที่ แต่ยุไม่ขึ้นสักที
The Phantom Thief
จริงๆมันคือ x86_64 นะครับมันก็คือ x86 อยู่ดีล่ะครับตั้งแต่ 8086 แล้วครับ
ถ้าทำงานสายไอทีตรงๆ นี่เอาจริงๆ ก็ไม่ยากขนาดนั้นนะครับ ผมเองก็เคยทำงานกับ itanium มาแล้ว เพื่อนๆ น้องๆ ผมเองก็มีช่วงเวลาที่ต้องไปทำงานกับระบบที่ไม่ใช่ x86 กันบ่อยๆ
ไม่นับพวก embedded ที่สารพัดตระกูลเช่น AVR, 8051,ARM7, ARM9 ที่ตลาด Embedded นี่ x86 ออกจะเป็น "น้องใหม่" ที่เพิ่งบุกตลาดด้วย Atom ได้ไม่นานด้วยซ้ำไป
LewCPE
lewcpe.com , @wasonliw
ผมคิดว่า Cell ไม่ได้มีใน ทุก ๆ Console ปัจจุบันนะครับ มีแต่ PS3 ที่ใช้ Cell
แต่สิ่งที่ถูกต้องคือ เครื่อง Console ตอนนี้ทั้งสามตัว (PS3, XBox 360, และ Wii) ใช้ชิพจาก IBM ครับ
ถ้าไม่เชื่อผม ก็ลอง Google ดูก็ได้ครับ
ปล. Cell เป็นสิ่งที่เกิดจากความร่วมมือของ Sony, IBM และ Toshiba ครับ
PowerPC ไปโผล่ใน Dreambox ซะเยอะ