ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2023 ทางสหภาพยุโรปจะบังคับใช้กฎเกี่ยวกับการใช้พลังงานของทีวี 4K และทีวี 8K ซึ่งผลจากกฎนี้จะทำให้ทีวี 8K ทุกยี่ห้อทุกรุ่นในท้องตลาดตอนนี้ (รวมทั้งทีวี 4K ส่วนใหญ่) ไม่สามารถวางขายในยุโรปได้อีกต่อไป
เช่นเดียวกับนานาประเทศทั่วโลกทางสหภาพยุโรปเองมีข้อกำหนดให้ผู้ผลิตข้าวของเครื่องใช้สารพัดประเภทโดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านต้องติด ฉลากพลังงาน ซึ่งจะแสดงข้อมูลการใช้พลังงานของตัวผลิตภัณฑ์เอาไว้ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบการตัดสินใจเพื่อเลือกซื้อสินค้าได้อย่างเหมาะสม ซึ่งทีวีทุกประเภทเองก็ไม่มีข้อยกเว้น จะต้องมีการติดฉลากพลังงานไว้บนตัวผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน
ที่มาภาพ: Marco Verch , CC BY 2.0
ข้อมูลของฉลากพลังงานสำหรับทีวีนั้นมีตัวเลขที่สำคัญอยู่ 1 อย่าง นั่นคือดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency Index (EEI)ซึ่งค่าดัชนีที่ว่านี้ยิ่งมีค่าน้อยแปลว่ายิ่งมีประสิทธิภาพดี
ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภทจะถูกตัดเกรดตามค่า EEI ไล่ตั้งแต่เกรดดีสุดคือเกรด A ไปจนถึงเกรด G ซึ่งเป็นเกรดต่ำสุด ทั้งนี้ในปัจจุบันจอภาพอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึงทีวีทุกประเภทที่วางขายในยุโรปจะต้องติดฉลากพลังงานที่แสดงค่า EEI พร้อมเครื่องหมายระบุเกรดที่ตนเองได้รับไว้ด้วย และหากจอหรือทีวีรุ่นดังกล่าวมีโหมดแสดงภาพแบบ HDR ก็จะมีการแสดงเกรดสำหรับโหมดการใช้งานแบบ HDR แสดงไว้คู่กันด้วย (สามารถดูรายละเอียดเรื่องฉลากพลังงานสำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มจอภาพอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึงสูตรการคำนวณดัชนี EEI และเกณฑ์การตัดเกรดต่างๆ ได้ ที่นี่ )
รูปแบบฉลากพลังงานของสหภาพยุโรปสำหรับจอภาพอิเล็กทรอนิกส์และทีวี
จุดที่เป็นประเด็นสำคัญที่จะทำให้ทีวี 8K ในปัจจุบันไม่สามารถวางขายในยุโรปได้ในต้นปีหน้าคือเรื่องดัชนี EEI นี้เอง โดยในปีหน้าค่า EEI สูงสุดที่ยอมรับได้ (ซึ่งก็คือค่า EEI สูงสุดสำหรับอุปกรณ์เกรด G) สำหรับทีวีและจอภาพที่ความละเอียดสูงถึงระดับ 4K จะถูกปรับลดลงทั้งหมด และทีวีรวมถึงจอภาพที่มีความละเอียด 8K ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยโดนจำกัดค่า EEI สูงสุดก็จะเริ่มมีเกณฑ์บังคับใช้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
Click to open documentไม่เพียงแค่นั้น นอกเหนือจากการปรับลดค่าดัชนี EEI สูงสุดที่ยอมรับได้แล้ว สหภาพยุโรปได้กำหนดอย่างชัดเจนด้วยว่าจอภาพขนาดต่างๆ ต้องใช้พลังงานสูงสุดได้ไม่เกินเท่าไหร่ โดยไล่ตั้งแต่ขนาดจอภาพ 40 นิ้วไปจนถึง 88 นิ้ว ทั้งนี้เว็บไซต์ FlatPanelsHD ได้รวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานของทีวี 8K ในท้องตลาดมานำเสนอ (โดยข้อมูลที่ถูกใส่ในตารางนี้เป็นค่าการใช้พลังงานที่น้อยที่สุดในบรรดาทีวี 8K หลายรุ่นที่มีขนาดจอเท่ากัน) ซึ่งเปรียบเทียบกับเกณฑ์ใหม่ของสหภาพยุโรปได้ดังนี้
Click to open documentจะเห็นได้ว่าไม่มีทีวี 8K รุ่นใดยี่ห้อใดเลยที่วางขายในท้องตลาดขณะนี้ที่ใช้พลังงานต่ำกว่าเกณฑ์ที่สหภาพยุโรปจะบังคับใช้ในปีหน้า ในขณะที่ทีวี 4K นั้นก็มีหลายรุ่นหลายยี่ห้อเช่นกันที่ใช้พลังงานเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งจะทำให้ไม่สามารถวางขายได้หลังวันที่ 1 มีนาคมปีหน้า
ผลสืบเนื่องจากเรื่องนี้ทำให้ผู้ผลิตทีวีทุกรายต้องไปวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองกันอย่างเร่งด่วน และในระหว่างนี้ก็จะต้องเร่งระบายสินค้าที่ผลิตออกมาแล้วก่อนกฎใหม่จะถูกบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าจะมีผลทำให้ราคาทีวีในกลุ่มนี้ลดต่ำลง
ที่มา - FlatPanelsHD ผ่าน The Next Web
Comments
อยากให้ออกกฏแบบนี้กับคอมบ้าง อยากเห็นการ์ดจอรุ่นใหม่ๆ กินไฟน้อยลง
ก็จะกลายเป็นหยุดพัฒนาความแรง แต่ไปพัฒนาการใช้พลังงานแทน
กลับมาพัฒนา performance per watt บ้างก็ดีครับ ไม่งั้นมันจะกินไฟมากขึ้นเรื่อยๆ
performance per watt ่ก็มีการพัฒนาต่อเนื่องอยู่ครับ แต่อยู่ในฝั่งของการ์ดจอสำหรับ notebook, tablet
@wittawasw
กับในยุคที่ HDR แข่งกันสว่างมากขึ้น จอวิ่งไปถึงระดับ 120Hzและ Full Array Led กำลังเป็น Standard แทนที่ Edge Led
มีแต่ฟีเจอร์กินไฟ
แบบนี้พวก full array led / miniLED ตายหมดเลยสิ เพิ่งลงตลาดอย่างคึกคักในปีนี้เอง
เห็นด้วยเรื่องฉลาก
ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5
ก็ดีจะได้หันมาพัฒนา ประสิทธิภาพต่อพลังงานกันไม่ใช่อัดประสิทธิภาพโดยการเพิ่มพลังงานอย่างเดียว
เห็นด้วยกับแนวทางของ EU เรื่องพลังงานนะ แต่อยู่ ๆ ปรับเกณฑ์แบบโหด ๆ แบบนี้ไม่เกินไปหน่อยเหรอครับ เค้าให้เวลาปรับตัวน้อยจัง แทนที่จะช่วยประหยัดพลังงานได้จริง ๆ จัง ๆ มันจะกลายเป็นเปลืองพลังงานเพราะต้องโละสต็อกกันบ่อย ๆ หรือเปล่า? แถมอาจทำให้ทีวีรุ่นต่อไปแพงขึ้นอีก เพราะโละสต็อกของเก่าไป ต้องไปเอากำไรคืนจากของใหม่งั้รึเปล่าหว่า
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ผมว่า EU น่าจะส่งสัญญาณมาให้ผู้ผลิตมานานพอสมควร แต่ไม่ได้เป็นข่าวเหมือน USB-C ส่วนที่ว่าทำไมผู้ผลิตปรับตัวไม่ทัน อาจเป็นเพราะผู้ผลิตคิดว่าน่าจะล็อบบี้ป้องกันกฏหมายนี้ได้สำเร็จ เพราะกฏหมายนี้กระทบทุกยี่ห้อ (8K ในตลาดไม่ผ่านเกณฑ์ซักตัว) ถ้าทุกยี่ห้อรวมพลังกันน่าจะคว่ำกฏหมายได้ไม่ยาก แต่สุดท้ายพลิกล็อค คว่ำไม่ได้ เลยหนีตายกันอลหม่านอยู่
บางทีก็กำหนดซะจนไม่มีใครทำตามได้ จนต้องโกงข้อสอบกัน
รอมาโละขายราคาถูกๆ ในประเทศโลกที่สามอย่างเราครับ
เรื่องฉลากเกรดนี่ดีมากเลย แม้แต่ในอาหารก็มี อยากให้บ้านเรามีแบบนี้ทุกอย่างเลย
ลำโพงติดจอ วัตต์สูงเสียงดีคงเอามาเป็นจุดขายไม่ได้อีกแล้วสินะ
แบรนด์น่าจะขอบคุณ EU นะครับได้โอกาสขายพ่วงซาวด์บาร์เลย😁
อนาคตวันดีคืนดีอียูอาจจะควบคุมการกินไฟเครื่องเสียงเพิ่มอีกก็ได้นะครับ ใครจะรู้ 😅
ผู้ผลิตทีวีน่าจะคิดหนักเลย ใส่ออปชั่นเยอะก็กินไฟ ตัดออปชั่นไปก็แข่งกับคู่แข่งได้ไม่เต็มที่ จะไปดัน 8K ก็ยากอีก นี่ยังไม่รวมถึงผู้ผลิตคอนเทนต์ที่จะดันไป 8K อีกนะคงต้องรอดูจนกว่าวิกฤติพลังงานยุโรปจะคลี่คลายนั่นแหละผมว่า ถ้าขนาดรัดเข็มขัดกันขนาดนี้ แสดงว่าเขาประเมินไว้แย่สุดๆ
ส่วนตัวคิดว่าอัพเดตบางอย่าง ปรับลดความละเอียดสูงสุด/กำลังเสียงสูงสุด น่าจะช่วยให้หลายรุ่นผ่านมาตรฐานได้ (แบบจอมืดๆ หน่อย ไม่แสงพุ่งแบบตอนนี้)
lewcpe.com , @wasonliw
จากที่มา (FlatPanelsHD) เขาว่า ข้อกำหนดนี้ใช้กับโหมดภาพเริ่มต้นในทีวี แต่สามารถมีโหมดอื่นให้ผู้ใช้เลือกได้ ถ้าเลือกเปลี่ยนเป็นโหมดที่ใช้พลังงานมากขึ้นก็แสดงคำเตือน
รุ่นที่ไม่ผ่านเพราะใช้พลังงานมากในการเพิ่มความสว่าง น่าจะแค่ออกอัพเดทเฟิร์มแวร์ให้เลือกโหมดประหยัดพลังงานที่ความสว่างน้อยเป็นโหมดเริ่มต้นรุ่นใหม่ๆ ผู้ผลิตคงต้องพยายามพัฒนาให้ประสิทธิภาพดีขึ้นในด้านความสว่างต่อการกินไฟ
การประมวลผลของ Smart TV ในการใช้งานแอพต่างๆ และเว็บ ก็กินไฟเยอะตามความเร็วด้วย ถ้าจำกัดการใช้พลังงานส่วนนี้ ก็จะเป็นการจำกัดความสามารถในการประมวลผลด้วย
ทีวี 8k กินไฟกว่า ได้ยินว่าเพราะเม็ดpixel มันละเอียด PPI สูงกว่า 4kระยะห่างระหว่างpixelน้อยมาก ทำให้ต้องเร่งหลอดLED ให้ส่องสว่างมากกว่าปกติ เพื่อให้แสงผ่านออกไปได้ใกล้เคียงกับจอ 4k ถ้าจะบังคับให้ผ่าน คงต้องยอมลดแสงสว่างลง ดูในห้องมืดๆเอา?
ทีวี 8k ญี่ปุ่น 60นิ้วรุ่นนึงที่ขายในตลาดบ้านเรา เป็นจอที่ใช้backlight แบบ FALD specเขียนว่ากินไฟ 500watt แต่ฝั่งเกาหลีดูประหยัดกว่าหน่อย มีรุ่นนึงเป็น mini LEDตามspecเขียนว่า 280watt (สำหรับจอ 55")
เมื่อปี 2013 ตอนที่ทีวี 4K เพิ่งออกใหม่ๆ ไปเที่ยวญี่ปุ่นเดินอากิฮาบาระเจอทีวี Sony 4K สิ่งแรกที่ทำคือลองเอามือไปอังหน้าจอ... ร้อนจี๋เลย
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
ไม่แปลกหรอกครับ เพราะความ"ใหม่"น่ะแหละ ถึงทำให้ยังต้องพัฒนาต่อ มาทุกวันนี้เข้าใจว่าความร้อนแบบ 10 ปีก่อนน่าจะไม่ค่อยเกิดแล้วด้วยซ้ำ
เอาเข้าจริงความ 8K กำลังจะเกิด แต่ EU ดันมารีบคุมกำเนิดซะงั้น 😑😑😑
8k มันหาประโยชน์ยากในตลาด consumer แล้วครับยกเว้นจะมีจอขนาดเท่าโรงหนังในบ้านน่ะนะ 😂
แปลกๆ ออกกฎที่ไม่มีใครผ่านเหมือนมาจากหอคอยงาช้าง ไม่ได้สำรวจตลาดก่อนเลย 🤔
คงเหมือนรถ บีบให้จนต้องไป EV แทน ที่ผ่านแน่นอนไม่ปล่อยมลษิษ แต่อีกสิบปีใครจะรู้ทำไงกับแบต หรือแร่แบตที่ความต้องการมหาศาล
ถ้าไม่มีใครทำได้เลยจะทำไง ยุโรปจะไม่มี TV 8K 4K ขาย?
แรงและประหยัดมันก็ดี แต่ของแบบนี้ควรให้ตลาดเป็นผู้เลือกเองไหม?
ค่า Density สูงมันไม่ได้จำกัดแค่พลังงานที่จ่ายให้กับแผงหน้าจอนะ พวก Chip อื่นๆก็ลากตามกันมาทั้งนั้น ยิ่งถ้า TV รับสัญญาณ Wifi ได้แบบแรงๆร่วมด้วยจะไม่ยิ่งซดไฟยิ่งกว่าเก่าหรือ? 😑😑😑
ปล. ถ้าพวกเม็ด LED ที่ถือว่ากินพลังงานน้อยมาก แต่ด้วยความว่าปริมาณเยอะเลยทำให้กินไฟน้อยลง ลองคิดดูว่าถ้าใช้เทคโนโลยียุคเก่าแบบการยิงพลาสม่าดูเถอะ มาเป็นยุคนี้ไม่กินไฟกันเกิน 2000 Watt เลยหรือ?
.
..
ยุโรปไม่ใช่ดินแดนที่จะปล่อยให้นายทุนหรือตลาดมาครอบงำได้ง่ายนัก
มาตรฐานคุ้มครองคนตัวเล็กตัวน้อย คุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองสังคม มักจะเริ่มจากยุโรปก่อนแล้วจึงกระจายไปทั่วโลก
ถ้าโลกนี้มีแต่ตลาดจ๋า ทุนจ๋า อำนาจจ๋าแบบอเมริกันกับเอเซีย คงแทบไม่มีมาตรฐานอะไรมาคุ้มครองคน
นึกถึงยุค Plasma สูบพลังงานกันเป็นว่าเล่น ^ ^"
เรื่องแบตEVมีอยู่รุ่นนึงที่รีไซเคิลได้ทั้งหมด
ไม่ได้ใช้แร่โลหะหายากในการผลิต
เป็นแบตลิเธียมคาร์บอน
ชาร์จเต็มเร็วภายในเวลา90วินาที
ชาร์จไฟสองหมื่นวัตต์แล้วแบตไม่ระเบิด