เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับที่ 8 โดยเพิ่มข้อความมาตราเดียว คือมาตรา 23/1 ระบุถึงแนวทางการจ้างงานที่ลูกทำงานจากที่บ้านหรือทำงานจากสถานที่อื่นๆ โดยเพิ่มรูปแบบการจ้างที่ชัดเจนขึ้น ระบุชัดเจนว่าสามารถทำข้อตกลงจ้างงานเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้
นอกจากรูปแบบการจ้างแล้ว มาตรานี้ยังระบุให้ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธการติดต่อสื่อสารจากนายจ้างไม่ว่าทางใดๆ เมื่ออยู่นอกเวลางาน ยกเว้นได้ทำความยินยอมเป็นหนังสือล่วงหน้าไว้ก่อน และมาตรานี้ยังยืนยันว่าลูกจ้างที่ทำงานจากที่บ้านมีสิทธิเท่ากับลูกจ้างที่ทำงานในสำนักงาน
กฏหมายใหม่นี้มีผลบังคับจริง 30 วันหลังประกาศ
ที่มา - ราชกิจจานุเบกษา
ภาพโดย tookapic
Comments
"...ยกเว้นได้ทำความยินยอมเป็นหนังสือล่วงหน้าไว้ก่อน"
มีคนร่างหนังสือรอให้เซ็นละ
คิดเหมือนกันเลย ไม่เซ็นก็ไม่เอาแต่นั้นก็หมายถึง นายจ้างก็ทำงานอยู่เหมือนกันตอนนั้น นอกเวลางาน ทำงานด้วยกันนะ
นายจ้างอาจไม่ได้ทำงานอย่างที่คิดนะครับ แค่ fw ต่อ แล้วก็ทำธุระส่วนตัวต่อไปส่วนลูกจ้างก็ทำงานไปสิคับ
มันจะไม่เป็นสัญญาไม่เป็นธรรมเอาล่ะมั้งครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ผบห ร่างสัญญาใหม่ได้ แต่ขอตกลงก็ต้องแฟร์ๆ กันไป แล้วลูกจ้างไม่เซ็นก็ได้แล้วไปบีบให้เค้าออก ก็สู้กันต่อจ่ายชดเชยกันไป
ผมว่ามันก็คล้ายๆ พวกห้ามทำงานนอกเวลา (อยู่ในกฎหมายฉบับเดียวกัน) นะครับ ที่ว่าเอาจริงก็ทำได้ แต่ต้องแจ้งให้ชัด กับมีเงื่อนไขบ้าง
ถ้าเขียนโหดอาจจะบอกว่าถือเป็นการทำงานนอกเวลาอะไรแบบนั้น แต่ก็อาจจะโหดไปสำหรับนายจ้าง (?) พวกนี้มันปรับเพิ่มลดกันได้ อย่างน้อยตอนนี้ก็เพิ่มมาว่าต้องแจ้งก่อน พอไหมก็ควรถกกัน
lewcpe.com , @wasonliw
นึกถึงมุข
ลูกจ้างเนียนลางาน
แต่อ้างทำงานบ้านแทน นายหักไม่ได้นา
เป็นการยืนยันว่าลูกจ้าง remote ได้รับสิทธิ์เท่ากับลูกจ้างปกติ (มีเวลางาน มีวันหยุด) น่ะครับ พวกสิทธิ์พวกนี้ไม่ทำตามก็มีพ.ร.บ. เดิมมีบทลงโทษอยู่
lewcpe.com , @wasonliw