Gergely Orosz วิศวกรซอฟต์แวร์ผู้คร่ำหวอดในซิลิกอนวอลเลย์ และผู้เขียนจดหมายข่าววงการซอฟต์แวร์ The Pragmatic Engineer บรรยายในงาน Craft Conference ถึงความเปลี่ยนแปลงของสายงานโปรแกรมเมอร์ว่ากำลังเข้าสู่ช่วงยากลำบากแบบเดียวกับยุคฟองสบู่ dotcom ที่โปรแกรมเมอร์หางานได้ยาก
Orosz เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สหรัฐฯ เคยอยู่ในยุคดอกเบี้ยต่ำที่ยาวนานจนมีการลงทุนในสตาร์ตอัพต่อเนื่อง โปรแกรมเมอร์กลายเป็นมนุษย์ทองคำที่นายจ้างหาคนมาทำงานได้ลำบาก แต่หลังจากสหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วก็ทำให้บริษัทต่างๆ แม้จะเป็นบริษัทที่มีกำไรสูงพากันปลดพนักงาน และหลังจากนี้โปรแกรมเมอร์จะหางานได้ยากขึ้น โดยยกตัวอย่าง SupplyPike สตาร์ตอัพรายหนึ่งที่พบว่าใบสมัครเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว, มีอัตรการสมัครจากโปรแกรมเมอร์บริษัทเทคขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น, ผู้สมัครระดับซีเนียร์จริงจังกับการสมัครงานมากขึ้นจากเดิมที่มักมาลองสมัครเผื่อๆ ไว้, และเงินเดือนที่เรียกร้องก็กลับไปอยู่ระดับ "ปกติ"
ในแง่ของเทคโนโลยีที่ใช้งาน Orosz ระบุว่าบริษัทต่างๆ หันกลับไปเลือกเทคโนโลยีเดิมๆ ง่ายๆ กันมากขึ้น สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ถอยจาก microservices กลับไปสู่ monolith มากขึ้นเพราะคนทำงานอยู่ที่เดิมกันนานขึ้นและไม่ได้ขยายทีมงานเร็วๆ เหมือนเดิม โปรแกรมเมอร์ต้องทำงาน fullstack กันมากขึ้น รวมถึงต้องรับผิดชอบงานส่วนอื่นๆ เช่น QA, SRE, หรือ Ops ด้วยตัวเอง
คำแนะนำของ Orosz หลังจากนี้คือโปรแกรมเมอร์ต้องเข้าใจโมเดลธุรกิจขององค์กรมากขึ้น เตรียมตัวกับการถูกปลด เตรียมพร้อมสำหรับการหางานใหม่ เช่น การสมัครงานแต่เนิ่นๆ, หาบุคคลอ้างอิงในการสมัครงาน ตลอดจนทำความเข้าใจในการใช้ LLM เพื่อทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่มา - YouTube: The Pragmatic Engineer
Comments
?
-/\-
lewcpe.com , @wasonliw
ถึงไม่โดนปลด ก็ลาออกเปลี่ยนงานอยู่ดี ประวัติยาว ๆ เงินเดือนขึ้นเร็วกว่า ใช่มะ?
ไม่หรอกครับ บางบริษัทเขาดูจำนวนเวลาที่อยู่ในบริษัทแต่ละบริษัทด้วย โดยเฉพาะงานที่ต้องการความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสูง เงินเดือนสูง คงไม่รับคนที่อยู่แต่ละที่ 1-2 ปีแล้วก็ออก เพราะบางงานมันก็ต้องใช้เวลาสอนงานเพื่อให้ทำงานแทนกันได้ สมัยก่อนเพื่อนผมทำแบบที่คุณบอกนี่แหล่ะ เขาสบาย แต่รุ่นน้องที่มารุ่นหลังลำบาก ด่ากันตรึม บริษัทเข้มงวดมากขึ้นในการคัดคนยิ่งพอเห็นว่ามาจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน การสอนงานมันมีต้นทุนมหาศาลมากกว่าหาคนใหม่อีกนะครับเพราะคนที่มาสอนส่วนใหญ่มักมีต้นทุนทางเวลาสูงมาก
ผมเคยเจอคนที่ประวัติยาวๆ แต่อยู่แต่ละที่ไม่เกิน 1 ปี (บางที่ 2-3 เดือน)ถามไปถามมา มีปัญหากับที่ๆ ตัวเองทำงานตลอดเลย
ก็ตามนั้น ทำงานได้จริง เข้าใจในสิ่งที่ทำจริงๆ ผมว่ายังไงก็ยังมีงานรองรับแหละ เว้นแต่อยู่ใน domain ที่การแข่งขันสูงจริงๆ
..: เรื่อยไป
กลุ่มแรกที่โดนปลดออกเลยน่าจะเป็นแผนก DEI
เคยเจอ is แบบตำแหน่งอ่านชื่อแล้วเป็นตำแหน่งล่างสุด
แต่ทุกตำแหน่งในบริษัท ใครมาใครไปต้องมาไหว้สวัสดีครับ แนะนำตัวก่อนเริ่มทำงานจะลาออกก็มาสวัสดีครับผมไปแล้วนะครับพี่ คือเค้าอยู่ตั้งแต่สมัยเริ่มระบบ
แล้วรู้ทุกเสี้ยววินาทีของระบบนี้ แบบไม่สามารถถอดออกได้มั้ยหล่ะครับ?
ถ้าคุณตัดสินใจแล้วว่า ชีวิตคุณจะเน้นขายไฮเทค คุณต้องวิ่งให้ทันตลอดเวลานะ
ต้องทำใจก่อนทำงานเลยว่า พรุ่งนี้เปลี่ยนคือ ตกงาน เรียนตัวใหม่ สมัครงานใหม่
เท่านั้นแหละ
จะ microservices ทำไม จะเขียนภาษาใหม่ ก็แยก server ไปเลย ทำ link เข้ามาใหม่ ใช้ได้อีก ยาวๆ
ถึงจะไม่จ้างก็ไม่อยากทำอยู่ดี
งานที่ทำตั้งแต่เช้ามืดยันดึก โอฟรี อยู่ดีๆต้องมาตื่นตี 3 เพื่อมาแก้โปรแกรม
จะลางานไปทำธุระก็ต้องติดโน้ตบุคไปด้วย เสาร์อาทิตย์ก็ไปไหนไม่ได้
ทำงานมามีแต่เสมอตัวโปรแกรมติดบัคโดนด่า
พอแล้ว นึกถึงแล้วซึมเศร้าจะมาเยือน
แล้วทำไมไม่ลาออก
ลาออกไปทำอย่างอื่นมานานแล้วครับ ตอนนี้เอาวิชาไปทำแอพเปิดบอทลดเวลางานลงไปได้เยอะชีวิตดีขึ้นมาก