สภาผู้บริโภครายงานถึงคดีระหว่างผู้บริโภครายหนึ่งที่ถูกธนาคารฟ้องร้อง หลังจากผู้บริโภครายนี้เป็นเหยื่อของแอปดูดเงิน ติดตั้งแอปจนกระทั่งถูกดูดเงินออกไป และคนร้ายยังเพิ่มวงเงินบัตรเครดิตพร้อมกับถอนเงินจากบัตรเครดิตเป็นเงินสดออกไป
คดีนี้ธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตฟ้องร้องเนื่องจากผู้บริโภคไม่ได้ชำระเงินตามรายการที่คนร้ายถอนเงินสดออกไปนั้น หลังจากถูกดำเนินดคี ทางสภาผู้บริโภคสภาผู้บริโภคแต่งตั้งทนายเข้าช่วยเหลือ และศาลแขวงระยองได้พิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่าผู้บริโภคไม่ได้ทำธุรกรรมด้วยตัวเอง และเงินที่โอนออกไปไม่ใช่เงินของผู้บริโภค
ปัจจุบันแนวทางการช่วยเหลือเหยื่อแอปดูดเงินยังพิจารณาเป็นรายกรณีไป โดยเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยเคยระบุว่า กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมาย แต่ก็ยังจำกัดเฉพาะกรณีธนาคารไม่สามารถปิดช่องโหว่ภายใน 1 เดือน ธนาคารจึงรับผิดชอบเต็มจำนวน
ที่มา - สภาผู้บริโภค
ภาพโดย TheInvestorPost
Comments
ปกติบัตรเครดิตน่าจะคุ้มครองผู้ใช้สินะ แต่นี้โยนเลยสินะ
ถ้าจำไม่ผิดในสัญญาการขอบัตรเครดิต จะระบุไว้เลยว่า "บัตรฯเป็นของธนาคาร(ผู้ถือกรรมสิทธิ์คือธนาคาร) เราเป็นผู้ครอบครอง" ผู้ครอบครอบจะต้องรักษาบัตรแทนธนาคาร ...ถ้าบัตรถูกใช้งานเราไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามแต่(รวมถึงโดนขโมยหรือโดยมิจฉาชีพหลอกด้วย) เราจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทุกกรณี
ซึ่งอ่านๆแล้วผมเองก็ไม่เห็นด้วยทั้งหมดนะครับ... เข้าใจแหละการรูดบัตรฯคือ ตัวคนใช้เป็นผู้ approve transaction และรับผิดชอบเอง... อย่างน้อยถ้ามีการตรวจสอบในขั้นตอนของธนาคารเพิ่มมาอีกชั้นก็จะปลอดภัยขึ้น
เมื่อก่อน ถ้ามี transaction ที่จ่ายเงินมากผิดปกติ หรือถี่เกินไป... ธนาคารจะโทรมาถามเลยว่า เรามีการใช้บัตรจริงๆตามนั้นหรือเปล่า แต่เดี๋ยวนี้เหมือนจะไม่โทรถามแล้ว
อาจจะเป็นปัญหาหรือข้อจำกัดของข้อกฏหมายไทยที่อนุญาตให้ธนาคารไทยเขียนสัญญาในลักษณะนั้นได้?
เพราะ Visa เองมีกำหนด Zero Liability ไว้ว่า ถ้าผู้ใช้พบ fraud แล้วรายงานภายใน 5 วันทำการ ธนาคาร (issuer) จะต้อง refund เงินคืนให้ผู้ใช้บัตร
Ref: https://usa.visa.com/pay-with-visa/visa-chip-technology-consumers/zero-liability-policy.html
และ
Ref: https://www.visa.co.th/th_TH/products/visa-secure.html
แต่ทั้งนี้ผมไม่มั่นใจว่ากฏ Zero Liability ของ Visa นั้น ครอบคลุมเฉพาะในเมกาอย่างเดียวหรือเปล่า หรือว่าคุ้มครองทุกประเทศ
ถ้าเป็นกรณีของผู้ใช้ในเมกา เมกามีกฏหมาย Fair Credit Billing Act (FCBA) คุ้มครองผู้ใช้บัตรอยู่อีกชั้นหนึ่ง โดยกำหนด liability ไว้สูงสุดที่ $50 โดยผู้ใช้จะต้อง report ภายใน 2 เดือน ผมไม่แน่ใจว่าไทยมีกฏหมายคุ้มครองแบบเดียวกันนี้อยู่ไหม แต่คิดว่าอาจจะไม่มี
Ref: https://stjececmsdusgva001.blob.core.usgovcloudapi.net/public/documents/FCBA_Mar_2016.pdf
ในคำพิพากษาศาลของคดีนี้ (ตามลิงค์ที่มา) ศาลปัดตกข้อนี้ในสัญญาไปครับว่าเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ
เมืองไทยรับผิดชอบ1500 บาทไงครับ กรณีจ่ายแบบแตะ paywave หรือจ่ายช่วงเวลา batch processing ที่จะไม่มีการยืนยันกับระบบของธนาคาร ซึ่งมีความเสี่ยงเรื่องการfraud เขาเลยจำกัดยอดเอาไว้
ต่อไปบริการต่าง ๆ ที่ทำผ่านแอปคงจะใช้งานยากขึ้น
OTP กับ ฺBIOMETRIC น่าจะช่วยได้นะครับ
ก็การฝากเงินกับธนาคาร คือการสัญญาว่าธนาคารใจให้เงินคุณตามจำนวนในบัญชี แต่เงินนั้นไม่ใช่ของคุณ เป็นของธนาคาร
แต่พอมีปัญหาเงินหาย ธนาคารกลับจะบอกว่าเป็นเงินของคุณ คุณต้องรับผิดชอบเอง
เคสนี้เป็นบัตรเครดิตผสมด้วย แต่ถ้าทำ e-KYC เองแล้วปฎิเสธได้โดยอ้างว่าไม่ได้ตั้งใจ แบบนี้อีกหน่อยสมัครแอพคงย้อนไปสมัยแรกที่ต้องไปยืนยันตัวที่สาขาด้วยตัวเองเท่านั้นหรือเปล่า?(สมัย internet banking ยุคแรกต้องสมัครที่สาขาเท่านั้น)
ตาม Source สาระสำคัญคือ "หลังจากรู้ตัวผู้บริโภคพยายามขอความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการบัตรเครดิต แต่ได้รับคำแนะนำให้ไปแจ้งความเพียงอย่างเดียว"เท่ากับว่าธนาคารไม่ดำเนินการในขอบเขตหน้าที่ของตนตั้งแต่แรก และพยายามทำเรื่องให้ยุ่งยากแบบสมัยก่อน
จะแพ้ก็ไม่แปลก
คำถามนะครับ ขอความช่วยเหลือแล้วจะให้ช่วยยังไง? เงินถูกโอนออกไปแล้ว เผลอๆถอนออกไปแล้วจากบัญชีปลายทางด้วย? ถ้าโอนออกไปยังบัญชีธนาคารเดียวกันยังจะพอทำอะไรได้ หรือถ้าแจ้งความทันทีอาจจะอายัดบัญชีปลายทางทัน
แต่แนะนำให้แจ้งความก่อนอันนี้เห็นด้วยนะครับ จู่ๆจะให้ธนาคารไปละเมิดบัญชีปลายทางโดยไม่มีหลักฐานชัดเจน โดนปลายทางฟ้องกลับอีกสิ
อันนี้อาจจะมีpain จาก red tape สมัยก่อน แต่ปัจจุบันเข้าใจว่าเรามีระบบแจ้งความและอายัดบัญชีปลายทางได้ในสองชั่วโมงแล้ว
ไม่งั้นอีกหน่อยคงมีเคส สวมรอยว่าโดนhackแต่จริงๆจงใจเพื่อใช้ช่องโหว่ของเรื่องความรับผิดชอบ หรือต้องทำเรื่องบ้าบอแบบการเรียกร้องให้มีการพักเงินรอตรวจสอบข้ามวันตอนโอนเงินเยอะๆ ธุรกิจเสียหายอีกมหาศาลแน่ๆ ถ้าจะต้องพักเงินจากการโอนแค่หลักหมื่น ย้อนเวลาเหมือนโอนเงินข้ามธนาคารเมื่อสามสิบปีที่แล้วเลยทีเดียว
ถ้าคุณพูดถึงบัญชีปลายทาง แสดงว่าคุณเข้าใจคดีนี้ผิดไปอย่างมากครับ
สาระของคดีนี้ มีเพียง 1 ส่วน คือ
"บัตรเครดิตของจำเลย ถูกใช้ในการขอเพิ่มวงเงินและเบิกถอนเงินสด 2 ครั้ง"
ส่วนเรื่องการโอนเงินออกจากบัญชี เกิดขึ้นในคาบเกี่ยวเวลาเดียวกัน แต่ ไม่ได้เป็นสาระสำคัญของคดีนี้
คดีนี้ ธนาคารเป็นโจทย์ ฟ้องเจ้าของบัญชีให้ตกเป็นจำเลย ในคดี "ไม่ทำการชำระบัญชีกดเงินสดออกจาก Credit Card"
เอาแค่นี้ เรื่องอื่นไม่เกี่ยว
ซึ่งจำเลยดำเนินการติดต่อโจทย์แล้วให้อาญัติ Credit Card แต่ โจทย์ปฏิเสธในการดำเนินการ และไม่ดำเนินการใด ๆ ตามขอบเขตความรับผิดชอบ
เมื่อดูองค์ประกอบอื่น ๆ อีก ศาลก็ตัดสินให้ "คำฟ้องตกไป"
ก็ไม่ต่างครับ มีการยืนยันตัวตนผ่าน e-KYC แล้ว โดยปกติถือว่าธุรกรรมถูกต้อง ไม่ต่างการทำ 3d-secure ที่รับ OTP หรือกด PIN เลยเช่นกัน การปฎิเสธยอดทำได้ยาก ยกเว้นจะพิสูจน์ได้ในแง่ว่าเกิดจากความบกพร่องของระบบเอง อันนี้ว่าตามมาตรฐาน card payment โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็น VISA/MASTER นะครับ ไม่ได้พูดถึงข้อกฎหมาย ยอดที่ปฎิเสธได้คือยอดฝ่ายเดียว เช่นการกรอกเลขบัตรเครดิตเฉยๆ แบบนี้ปฎิเสธง่ายและโยนเป็นภาระของทางร้าน merchant ในการพิสูจน์เอง และที่แม้แต่ที่คคห.ข้างบนยกมา ก็รับผิดชอบให้แค่ 50USD หรือ 1500 บาทในบ้านเรา ซึ่งเคสเอาไปแตะ paywave แบบโกงๆที่ญี่ปุ่น มีเคสโกงติดๆกันแบบทำต่อเนื่องช่วงเวลาที่ระบบหยุดเพื่อทำ batch processing หลายแสนเยน
ถ้าการทำ e-KYC ยังไม่สามารถใช้ยืนยันธุรกรรมได้ เพราะมีบรรทัดฐานนี้ก็เตรียมปวดหัวกับการป้องกัน หรือต้นทุนการทำธุรกรรมที่จะเพิ่มขึ้น เพราะเราจะไม่สามารถพิสูจน์กลับได้ว่า ผู้ใช้จงใจใช้แอพที่ดัดแปลงมาเพื่อยกเป็นข้ออ้างในการปฎิเสธยอดหรือไม่?
ความยากคือกรณีนี้ไม่ใช่การปฎิเสธยอดกับร้านค้าภายนอก แต่เป็นการกด cash advance แล้วโอนต่อทันทีนี่แหละ ถ้าเป็นการโกงเพื่อรูดบัตรซื้อของ เงินมันยัง hold ไว้อยู่
เอ เหมือนผมจะหาไม่เจอ ที่ว่าผู้ใช้ทำ e-KYC เองแล้วปฎิเสธได้โดยอ้างว่าไม่ได้ตั้งใจ นี่มีเขียนไว้ตรงไหนนะครับ
คำพิพากษาศาลในคดีนี้เขียนไว้ครับว่าควรจะช่วยอย่างไร
ความจริงแล้ว เรื่องแกงค์ Call Center
ธนาคารควรจะ Action มากกว่านี้
Transaction ทุกอย่างธนาคารเห็นหมดแต่ไม่ทำอะไร ไม่ Blocked ไม่จัดการ ความผิดปกติ บัญชีไหนที่โอนเงินเข้าอยู่ไม่เกิน1นาทีแล้วโอนต่อๆกันไป ถ้า Tracking จริงๆ ก็น่าจะจับได้แล้วว่ามีบัญชีไหนน่าสงสัยบ้างรวมถึงวงเงินที่วิ่งแต่ละครั้งแต่ละวัน แต่ธนาคารเลือกที่จะไม่จริงจัง
โอนต่อๆกันภายในไม่กี่นาทีนี่ธรรมดาของการทำธุรกรรมเลยครับ ผมโอนเงินข้ามบัญชีตัวเองเพื่อไปจ่ายบัตรเครดิต หรือจ่ายบางอย่างที่มีสิทธิพิเศษเฉพาะbank เป็นประจำ และยอดก็หลักหมื่น ถ้าคิดเหมารวมง่ายๆคงใช้งานลำบากอีกเยอะเลย
ทนาย เข้า? ช่วยเหลือ
แอปดูดเงินมีจริงๆหรอ
2022
lewcpe.com , @wasonliw