หน่วยงานกำกับดูแลตลาดพลังงานของสิงคโปร์ Energy Market Authority (EMA) อนุมัติหลักการโครงการสายเคเบิลใต้น้ำ ส่งพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มในออสเตรเลียมายังประเทศสิงคโปร์
โครงการนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Australia-Asia PowerLink (AAPowerLink) ดำเนินการโดยบริษัท SunCable ของออสเตรเลีย แนวคิดของโครงการนี้คืออาศัยพื้นที่กว้างใหญ่ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย สร้างโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ ปริมาณการผลิตสูงสุด (ตามที่วางแผนไว้) 20 GW แล้วส่งพลังไฟฟ้าข้ามทะเลเป็นระยะทาง 4,300 กิโลเมตร มาให้สิงคโปร์ซึ่งขาดแคลนแหล่งผลิตไฟฟ้าของตัวเอง
การที่โครงการ AAPowerLink มีขนาดใหญ่มาก คาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนทั้งหมดถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 6.7 แสนล้านบาท) ในทางปฏิบัติจึงไม่สามารถทำได้ง่ายนัก และบริษัท Sun Power เองก็เคยต้องล้มละลายมาแล้วรอบหนึ่งในปี 2023 ก่อนฟื้นฟูกิจการแล้วกลับมาได้อีกครั้ง (เจ้าของคนปัจจุบันของ Sun Cable คือ Mike Cannon-Brookes ผู้ก่อตั้ง Atlassian แต่ตัวบริษัทไม่มีความเกี่ยวข้องกัน)
การอนุมัติของ EMA เป็นการอนุมัติแบบมีเงื่อนไข (Conditional Approval) ให้ SunCable สามารถนำกระแสไฟฟ้าจากออสเตรเลียเข้ามาได้ 1.75 GW โดย EMA ถือว่าโครงการนี้เป็นไปได้ในเชิงเทคนิคและเชิงพาณิชย์ แต่ SunCable มีเงื่อนไขอื่นๆ ต้องทำเพิ่มเติม เช่น การขออนุญาตจากประเทศที่สายเคเบิลจะลากผ่าน (อินโดนีเซีย) ก่อนจะได้รับอนุมัติเต็มรูปแบบจาก EMA
SunCable ระบุว่าตั้งเป้าเปิดบริการขายไฟฟ้าจากออสเตรเลียในปี 2035
ที่มา - EMA , Sun Cable , Reuters , New Atlas
Comments
ไกลมาก ทำไม ไม่ทำใกล้ๆ
ถ้าเคยไปออสเตรเลียแล้วจะรู้ว่าแดดพี่จะแรงไปไหน UV เข้มมากจนแแว่น Treansition ผมดำไปเลยอยู่ไทยไม่ดำมากนะ ผมยัง งง เลยว่าออสเนี่ยเอา Solar cell มาวางทั่ว Northern Terriitoy น่าจะไฟพอทั้งประเทศด้วยซ้ำแต่ด้วยความที่ประเทศเค้ายังมี Coal เยอะด้วยเลยใช้ผสมๆกันไป
มีอีกที่ที่สามารถทำแบบนี้ได้คือตรงแอฟริกาเหนือสามารถตั้ง Soalr Cell ในโมร็อกโกแล้วส่งเข้าสเปนสบายๆ
lost ไปในสายเท่าไหร่เนี่ย?โครงการเดียวกับที่จะซื้อลาว แล้วอดีตนายกเราบอกไม่ยอมหรือป่าว?
มีหลายโครงงการครับเพราะเค้าคิดมาถี่ถ้วนกว่าเราแหละ แต่โปรเจคนี้ถือได้ว่ากลางมาก มีอีกโปรเจคนึงคือนิวเคลียแต่สิงคโปร์ค่อนข้างระวังงมากเพราะที่มีอยู่นิดเดียวก็ไม่รู้ว่าจะไปตั้งไหนดี ตอนนี้แค่ศึกษาแบบที่ปลอดภัยที่สุดก่อน
ไหนใครว่าจะเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชียนะ 😂 โรงงานอยู่อำเภถัดไปเขายังยอมลากสายเลย นี่อยู่หมู่บ้านเดียวกันแท้ ๆ เขายังไม่ยอมซื้อ
หรือมีใครไม่ยอมให้เราลากสายผ่านไปสิงคโปร์? ส่วนทางฝั่งออสเตรเลียไปสิงคโปร์ อินโดนีเซียยอม?
ลาวอยากขายให้สิงค์โปร์จะตาย แต่ไทยไม่ยอมให้ใช้ Infra Structure ของไทย เหตุผลก็ง่ายๆ ถึงแม้จะเป็นโรงไฟฟ้าจีน โรงไฟฟ้าไฟเวียด เป็นเจ้าของในลาว ถ้าจะไปสิงค์โปร์โดยที่ต้นทุนต่ำสุด คือ ใช้ Infra ของไทย จะผ่านกัมพูชา เมียนมาร์ก็มีความเสี่ยงสูงหากการเมืองภายในประเทศเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงเพราะเขาบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ ซึ่งไทยก็เคยยอมให้ใช้มาครั้งนึงแล้วและหมดสัญญากันไปแล้ว แต่รอบนี้คงยาก เพราะมันเป็นเรื่องผลประโยชน์ของชาติในการดึงดูดผู้ลงทุนด้าน Data Center สิงค์โปร์ก็ต้องหาวิธีเอาตัวรอดแบบนี้นี่แหล่ะ เพราะสิงค์โปร์ก็ไม่ได้เป็นที่รักของชาติในอาเซียนทุกชาติโดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกัน แค่เรื่องน้ำประปายังต่อรองกันมาหลายรอบ ฉันรักเธอแต่ฉันคิดราคาแพงเป็นพิเศษนะ 555
ไฟฟ้าพลังน้ำมันไม่สามารถกะเกณฑ์ได้ โดยเฉพาะลาวที่อยู่ท้ายน้ำ แม้แต่อยากจะเพิ่มกำลังการผลิตก็มีข้อจำกัด ดีไม่ดีต้องไปเจรจาขอความอนุเคราะห์จากจีนอีกต่างหาก ซึ่งตัวเลือกใช้งานไฟฟ้าพลังน้ำจากลาว ในระยะยาวอาจจะกลายเป็นความเสี่ยงความมั่นคงทางพลังงานอยู่ดี
อนึ่ง ตามสัญญา Water Agreement ที่ทาง SG เซ็นกับทาง Johor ค่อนข้างรัดกุม แค่รัฐบาลมาเลเซียอยากจะขอขึ้นราคาจากที่กำหนดไว้ในสัญญาที่เคยเซ็นกันไว้ - https://www.mfa.gov.sg/SINGAPORES-FOREIGN-POLICY/Key-Issues/Water-Agreements
เอาจริงๆแล้วเรื่องซื้อน้ำค่อนข้างเก่าแล้วนะตอนนี้สิงคโปร์ ยืนได้ด้ววยตัวเองเกืบอทั้งหมดแล้วเพราะ ทำอ่างเก็บน้ำ/ป่า กลางเกาะ แถม Reuse Water น่าจะ 60% แล้ว
เพราะอดีตนายกของเรารึเปล่านะ
โปรเจครนี้เริ่มาตั้งแต่ 2019 แล้วครับแต่โควิดเลยกลับไปคุยกันใหม่ นี้กลับมาเซ็นก็แปลกใจดี
1.75GW กับประเทศขนาดนี้ 😱
แต่ทำทั้งทีเอาให้เหลือ นี่สาย Estonia-Finland มี 2 เส้น EstLink (350MW) กับ EstLink2 (650MW) รวมกัน 2 เส้น 1GW แล้วไม่พอใช้ ค่าไฟแพงกว่าอีกฝั่งค่อนข้างบ่อย (เพราะถ้าท่อส่งไม่เต็มราคามันจะเท่ากัน) แถมตอนเรือสินค้าจีนลากสมอทำเส้นใหญ่ขาดไป 9 เดือนต้นปีนี้นี่ค่าไฟแรงเลยเพราะแชร์ไฟฟ้าถูกจากฝั่งนอร์ดิกมาไม่พอแต่เคสที่นี่เป็น 2 ทาง แบบตอนฟินแลนด์ปิดบำรุงโรงนิวเคลียร์พร้อมกัน 2 โรงนี่คือดึงรอบข้างแพงไปด้วยหมดเลยเหมือนกัน เคสในข่าวเข้าใจว่าเป็นทางเดียว
datacenter ตึกใหญ่ๆ ตึกเดียวก็หลักร้อย MW ละครับ... 1.75GW นี่ยังน่าจะไม่พอไปถึง 10 ปีด้วยซ้ำ
คิดว่าพอ สำหรับสิงคโปร์ อย่าลืมว่า เจ้าใหญ่ทั้ง AWS Google Microsoft เขาไปลงทุนใน Local ของแต่ละประเทศ เช่น ไทย อินโด มาเลย์ ดังนั้น โหลดที่ไปตกสิงคโปร์มันจะไม่ได้เติบโตเร็วขนาดนั้นแล้ว เพราะต่อไปคนจะนิยมใช้ในประเทศตัวเองแทน
นี่มันแค่ส่วนหนึ่งของ 2050 net zero ของประเทศเค้า โครงการมีโครงการอีกมากมายที่กำลังทำอยู่ ถ้ามองไม่ไกลพอที่จะเห็นภาพใหญ่ ก็คงสงสัยว่าทำไปทำไม
สงสัยว่าสายขาดใต้น้ำ ปลาจะโดนช็อตตายไหม
3 อย่างที่สิงคโปร์ไม่มี และวางแผนกระจายความเสี่ยง
ยิ่งเติบโต ยิ่งต้องการ
1500 MW ไม่เอา SMR มาทำอะ แค่ 5 หน่วยเอง
ยังไม่มีใช้เลยครับ มีแต่ทดลอง สายเคเบิลนี่มีใช้กันหลายเส้นแล้ว proven กว่ามาก
lewcpe.com , @wasonliw
ประเทศไทยโรงงานถดถอย แผน PDP ทำนายการเติมโตโรงงานผิด
ค่าสำรองความพร้อมเลยเป็นภาระในตอนนี้ทางที่จะรอดได้ รัฐบาลชวน DC ระดับโลกมาตั้งเยอะๆ ไม่ต้องเอากำไรในช่วงนี้
เน้นให้มาใช้ไฟฟ้าที่จ่ายค่าความพร้อมไปเยอะๆ ดีกว่า
โรงงานเอกชนไทยผลิตไฟฟ้าเกินความต้องการแล้วคนใช้ไฟต้องจ่ายค่าไฟแบกรับค่าใช้จ่ายให้ Gu*** อยู่ตามสัญญาที่ทำไว้แบบอิหยังวะ
ถ้าหาทางขายไฟฟ้าให้สิงคโปร์ได้ก็น่าจะดี ใกล้กว่าออสเตรเลียด้วย
ไกลมาก!ส่งไป 100 ถึงปลายทางเท่าไหร่เนี่ย?
ขนาดสาย Fibre ใต้น้ำยังมีโอกาศขาดได้เลย นี่สายไฟยังไงละเนี่ย หรือลอยๆ ไม่ถึงก้นทะเล แล้วๆ ระดับประเทศเน้น Green อะไรขนาดนั้นเนี่ย
แปลกใจที่ว่าทำไมไม่ขึ้นฝั่งตรงเกาะใกล้ๆ ทำสถานีย่อย หรือสถานีตรวจการ แล้วค่อยเอาลงใต้น้ำไปเกาะต่อเกาะ แทนการทำแบบลากใต้ดินยาวไปสิงคโปร์ เวลาซ่อมบำรุงก็ทำได้ง่ายกว่าด้วย
หรือทำความร่วมมือกับอินโดนีเซีย ติดตั้งสายส่งไฟฟ้าบนบก หรือขุดอุโมค์สางสายไฟใต้ดินยาวไปทั้งอินโดฯ แล้วค่อยลงใต้น้ำไปมาเลย์ หรือสิงคโปร์ ยังจะถูกกว่าลงใต้น้ำยาวไปสิงคโปร์นะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว