สภาสิงคโปร์ผ่านกฎหมาย Protection from Scams Bill ต่อสู้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยกฎหมายนี้มีความพิเศษที่เป็นการล็อก "บัญชีเหยื่อ" เพื่อต่อสู้กับกรณีที่เหยื่อหลงเชื่อคนร้ายไปแล้ว และพยายามจะโอนเงินให้คนร้าย
ธนาคารกลางสิงคโปร์ประกาศบริการ Electronic Deferred Payment (EDP) บริการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์แบบสั่งก่อนจ่ายทีหลังแบบเดียวกับเช็คที่ใช้งานกันในโลกธุรกิจ เรียกว่า Electronic Deferred Payment (EDP)
การใช้งาน EDP คล้ายการโอนเงินทุกวันนี้ที่สิงคโปร์มีระบบ PayNow ที่สามารถโอนเงินด้วยหมายเลขโทรศัพท์หรือหมายเลขธุรกิจ (UEN, NRIC/FIN)
ระบบนี้มีสองแบบ คือ EDP ที่เหมือนเช็คปกติที่เงินจะตัดออกจากบัญชีเมื่อผู้รับเช็คไปขึ้นเงินเท่านั้น ดังนั้นผู้ได้รับ EDP ต้องสั่งขึ้นเงินก่อน อีกแบบคือ EDP+ เป็นเหมือนแคชเชียร์เช็คที่ตัดเงินทันทีที่ออกเช็ค เพื่อรองรับแนวทางการใช้งานต่างๆ เช่น การจ่ายเงินซัพพลายเออร์, การวางเงินประกัน, และการจ่ายค่าบริการธุรกิจต่างๆ
Infocomm Media Development Authority หรือ IMDA หน่วยงานกำกับโทรคมนาคมแบบเดียวกับกสทช. ของไทย รายงานการสอบสวนเบื้องต้นถึง เหตุโทรศัพท์บ้าน (fixed line) ในสิงคโปร์ล่มสี่ชั่วโมงเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา ส่งผลต่อเนื่องให้หมายเลขฉุกเฉินต่างๆ ล่มไปด้วย
เหตุครั้งนี้เริ่มต้นจากอุปกรณ์เน็ตเวิร์คตัวหนึีงมีปัญหา แต่ระบบถูกออกแบบให้มีระบบสำรองขึ้นมาทำงานแทนได้อยู่แล้ว แต่กระบวนการย้ายไซต์กลับไม่สมบูรณ์จนทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่อง
แม้ระบบจะมีปัญหา แต่เมื่อตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ พบว่าที่จริงแล้วการโทรสามารถใช้งานได้ประมาณครึ่งหนึ่ง และระบบค่อยๆ กู้กลับมาได้ระหว่างช่วงเวลาที่มีปัญหา 4 ชั่วโมง
Tencent ประกาศความร่วมมือกับ Visa เพื่อนำเทคโนโลยีการชำระเงิน โดยยืนยันตัวตนด้วยฝ่ามือ ออกมาให้บริการกับลูกค้าในต่างประเทศ โดยจะเริ่มต้นที่ประเทศสิงคโปร์ก่อน ซึ่งมีธนาคารที่ร่วมทดสอบได้แก่ DBS, OCBC และ UOB
ปัจจุบัน Tencent ให้บริการเทคโนโลยีชำระเงินโดยยืนยันตัวตนด้วยฝ่ามือในประเทศจีน ความร่วมมือกับ Visa นี้จึงเป็นการทดสอบตลาดนอกจีนครั้งแรก
ในการใช้งานระบบ Pay by Palm นี้ ลูกค้าต้องยืนยันตัวตนครั้งแรกก่อนที่จุดขาย โดยสแกนบัตร Visa และสแกนฝ่ามือเพื่อบันทึกข้อมูลชีวภาพ โดย Visa จะสร้างชุดโทเค็นเข้ารหัสขึ้นจากข้อมูลนี้ ทำให้สามารถใช้การสแกนฝ่ามือในครั้งต่อได้เลยโดยไม่ต้องแสดงบัตรหรือโทรศัพท์อีก เทคโนโลยีนี้ยังรองรับการอ่านข้อมูลแม้ในสภาพแสงที่มีข้อจำกัด
ปัจจุบันโมเดล LLM เก่งๆ มีหลากหลายโมเดล แต่ส่วนใหญ่ถูกพัฒนาจากกรอบของภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นที่เป็นภาษาหลักของโลก รวมถึงชุดข้อมูลและการปรับแต่ง ก็ถูกตีกรอบด้วยอิทธิพลและมุมมองจากตะวันตกเป็นหลัก ทำให้ในหลายๆ ประเทศ หลายๆ ภูมิภาค ที่มีภาษาและบริบททางวัฒนธรรมเฉพาะ ไม่สามารถเข้าถึง LLM ได้ ซึ่งบริษัทใหญ่ๆ ก็คงไม่เน้นพัฒนาให้ หรือประเทศนั้นๆ จะพัฒนาเอง ก็ไม่ได้มีทรัพยากรเพียงพอ
ขนส่งทางบกสิงคโปร์ (Land Transport Authority - LTA) ประกาศเพิ่มโควต้าการครอบครองรถยนต์ (Certificate of Entitlement - COE) โดยระบุเหตุผลว่าพบอัตราการการใช้งานรถยนต์ต่อใบอนุญาตน้อยลง และระบบจ่ายค่าใช้งานทางพิเศษแบบใหม่ทำให้ติดตามรถได้ดีขึ้น
COE เป็นใบอนุญาตครอบครองรถที่ทำให้ขนส่งทางบกสิงคโปร์สามารถล็อกจำนวนรถยนต์บนท้องถนนได้เนื่องจากปล่อยใบอนุญาตจำกัด และผู้ต้องการซื้อรถยนต์จะต้องประมูลใบอนุญาตนี้ตามรอบ ทำให้ราคาขึ้นลงตามช่วงเวลา ในช่วงหลังมานี้ความต้องการใช้งานรถยนต์สูงขึ้นมาก ทำให้ราคา COE พุ่งสูง
National Research Foundation (NRF) ของสิงคโปร์ประกาศงบลงทุน 270 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือราวๆ 6.8 พันล้านบาท ให้กับ National Supercomputing Centre (NSCC) เพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของประเทศ
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นถัดไปที่ NSCC กำลังพัฒนามีแผนจะเปิดตัวและเริ่มใช้งานในช่วงครึ่งหลังของปี 2025 โดยจะเป็นความพยายามในการผสานการทำงานของซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิมและควอนตัมคอมพิวเตอร์
นอกจากการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานแล้ว NSCC จะพัฒนาด้านบุคลากรและการพัฒนาทักษะของบุคลากรด้วย ผ่านความร่วมมือกับทั้งมหาวิทยาลัย, สถาบันวิจัยและบริษัทด้าน HPC
หน่วยงานกำกับดูแลตลาดพลังงานของสิงคโปร์ Energy Market Authority (EMA) อนุมัติหลักการโครงการสายเคเบิลใต้น้ำ ส่งพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มในออสเตรเลียมายังประเทศสิงคโปร์
โครงการนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Australia-Asia PowerLink (AAPowerLink) ดำเนินการโดยบริษัท SunCable ของออสเตรเลีย แนวคิดของโครงการนี้คืออาศัยพื้นที่กว้างใหญ่ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย สร้างโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ ปริมาณการผลิตสูงสุด (ตามที่วางแผนไว้) 20 GW แล้วส่งพลังไฟฟ้าข้ามทะเลเป็นระยะทาง 4,300 กิโลเมตร มาให้สิงคโปร์ซึ่งขาดแคลนแหล่งผลิตไฟฟ้าของตัวเอง
ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) เผยแพร่แนวทาง Shared Responsibility Framework กำหนดความรับผิดชอบของธนาคารและผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในกรณีที่ลูกค้าถูกหลอกลวง โดยมุ่งเป้าการหลอกลวงในกลุ่มการปลอมตัวแบบ phishing และแอปดูดเงินก่อน แต่การหลอกลวงที่เหยื่อตกลงโอนเงินด้วยตัวเอง เช่น การหลอกลงทุน ยังไม่เข้าข่ายประกาศนี้
แม้ประกาศจะครอบคลุมถึงผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ แต่ก็มีความรับผิดชอบเพียงแค่คัดกรอง SMS, ตรวจสอบและบล็อคข้อควาามเสี่ยงสูงเท่านั้น ความรับผิดชอบส่วนใหญ่อยู่กับธนาคาร โดยประกาศบังคับให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น ต้องวางมาตรการเพิ่มเติม ได้แก่
OpenAI ประกาศเปิดสำนักงานสาขาเพิ่มในอีกหลายเมือง โดยในทวีปเอเชียเพิ่มสาขาอีกแห่งที่สิงคโปร์ จากก่อนหน้านี้มีสาขาที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ส่วนสาขาอื่นที่อยู่ในประกาศนี้ได้แก่ นิวยอร์ก, ซีแอตเทิล, ปารีส และบรัสเซลส์
Sam Altman ซีอีโอ OpenAI กล่าวว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์มานานเรื่องผู้นำเทคโนโลยี รวมทั้งด้านปัญญาประดิษฐ์ สำนักงานในสิงคโปร์คาดว่าจะเริ่มเปิดภายในปี 2024 นี้ โดยเป็นฐานหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งความต้องการด้านปัญญาประดิษฐ์เติบโตสูง ตำแหน่งงานเบื้องต้นมีประมาณ 5-10 ตำแหน่ง ทั้งงานเทคนิค งานนโยบายสาธารณะ และสื่อสารองค์กร
Singtel ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์แบบสายดั้งเดิม (landline) พบปัญหาระบบล่มตั้งแต่ช่วงเวลา 16:29 ตามเวลาท้องถิ่น (เร็วกว่าไทยหนึ่งชั่วโมง) สร้างปัญหาเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะหมายเลขฉุกเฉิน, ตำรวจ, โรงพยาบาล, และธนาคาร ล้วนติดต่อไม่ได้ทั้งหมด
ผู้ใช้บางส่วนระบุว่าบรอดแบนด์ในบ้านก็ใช้งานไม่ได้ด้วย ผู้ใช้บางส่วนระบุว่าโทรศัพท์มือถือก็มีปัญหาเช่นกันแต่ทาง Singtel ยังไม่ยืนยันว่าเป็นปัญหาเดียวกันหรือไม่
ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือหมายเลข 995 และ 999 ที่เป็นหมายเลขฉุกเฉินใช้งานไม่ได้ ทางรัฐบาลสิงคโปร์สามารถเปลี่ยนไปรับแจ้งเหตุผ่าน SMS หมายเลข 70995 และ 70999 แทน
ทาง Singtel ระบุว่าแก้ปัญหาทั้งหมดแล้วเมื่อเวลา 20:25 ตามเวลาท้องถิ่น รวมใช้เวลาเกือบสี่ชั่วโมง
ธนาคารสิงคโปร์เตรียมเริ่มบังคับการสแกนใบหน้าในธุรกรรมความเสี่ยงสูงแบบเดียวกับที่แอปธนาคารไทยมักใช้งานกันอยู่แล้ว อย่างไรก็ดีธนาคารจะยืนยันใบหน้าผ่านบริการ Singpass Face Verification (SFV) ที่พัฒนาโดยรัฐบาล
แนวทางนี้ต่างจากแอปธนาคารในไทยที่แต่ละธนาคารอิมพลีเมนต์ระบบยืนยันใบหน้าด้วยตัวเอง ขณะที่ Singpass Face Verification นั้นอาศัยบริการของรัฐบาลโดยตรง
เบื้องต้นธนาคารต่างๆ จะใช้ SFV เมื่อผู้ใช้สร้าง digital token (DT) ในแอปธนาคารที่กำลังมาแทน SMS แต่อาจจะมีธุรกรรมความเสี่ยงสูงอื่นๆ ต้องการ SFV เพิ่มเติมด้วย
ที่มา - MAS
รัฐสภาสิงคโปร์ผ่านกฎหมาย Platform Workers Act วางแนวทางการคุ้มครองแรงงานที่ทำงานผ่านแพลตฟอร์ม ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงลูกจ้างตามปกติมากขึ้น
กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องคุ้มครองและชดเชยการบาดเจ็บจากการทำงานเหมือนลูกจ้างปกติ และบังคับให้แพลตฟอร์มต้องหักเงินค่าประกันสังคม โดยอัตราการจ่ายจะค่อยๆ เพิ่มจนเท่าพนักงานปกติ และสุดท้ายคือพนักงานและแพลตฟอร์มต่างมีสิทธิตั้งสหภาพของตนเองเพื่อต่อรองกันเอง
กฎหมายนี้มีผลบังคับวันที่ 1 มกราคม 2025
ที่มา - Strait Times
ธนาคาร OCBC ในสิงคโปร์เปิดบริการ OCBC MyOwn Account ให้บริการเด็กอายุ 7-15 ปี เพื่อให้สามารถจ่ายเงินผ่านการสแกนหรือบัตรเดบิตได้
บัญชีธนาคารเป็นชื่อเด็กเหมือนบัญชีปกติ แต่จากเดิมที่ตัวเด็กจะเปิดบัญชีออนไลน์และทำบัตรเดบิตได้ต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป บริการใหม่นี้จะเปิดให้ผู้ปกครองอนุญาตให้เด็กทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั้งการสแกนจ่ายผ่าน QR และการจ่ายผ่านบัตรได้ด้วย โดยที่ฝั่งผู้ปกครองจะมีความสามารถดูรายการธุรกรรมทั้งหมด, จำกัดวงเงิน, ได้รับแจ้งเตือนเมื่อเด็กจ่ายเงิน, และสามารถรีเซ็ตรหัสบัตรหรือแจ้งบัตรหายได้จากฝั่งผู้ปกครองเอง
สมาคมธนาคารสิงคโปร์ประกาศมาตรการเตรียมนำไปสู่การยกเลิกใช้งาน OTP ทั้งระบบ โดยเริ่มจากผู้ใช้ที่เปิดแอป digital token ไว้แล้วภายในสามเดือนข้างหน้าจะไม่สามารถใช้งาน OTP ได้อีก แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ลงแอปนั้นธนาคารจะพยายามผลักดันให้ติดตั้งแอปต่อไป
รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศความสำเร็จในการสั่งหน่วยงานกว่าร้อยหน่วยงานที่ต้องส่งข้อความหาประชาชน โดย SMS ทั้งหมดจะส่งผ่านระบบกลางด้วยชื่อผู้ส่ง "gov.sg" เท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงที่ประชาชนจะถูกหลอกจากคนร้ายปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ
เนื่องจากหน่วยงานทั้งหมดต้องส่ง SMS ภายใต้ชื่อเดียวกันหมด ข้อความที่ส่งออกไปจะมีชื่อหน่วยงานที่ส่งข้อมูลอยู่ในข้อความเอง
แอปเปิลเริ่มส่งมอบเฮดเซต Apple Vision Pro ให้กับลูกค้าในเอเชียได้แก่ จีนแผ่นดินใหญ่, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ตามที่ ประกาศ ไปก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งเป็นประเทศกลุ่มแรกที่ Vision Pro มีขายนอกสหรัฐอเมริกา หลังจาก เริ่มขาย มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์
ราคาขายนั้นใกล้เคียงกับราคาในสหรัฐ ที่เริ่มต้น 3,499 ดอลลาร์ (1.3 แสนบาท) โดยสิงคโปร์ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 5,299 ดอลลาร์สิงคโปร์ (1.4 แสนบาท), ญี่ปุ่นเริ่มต้น 599,800 เยน (1.37 แสนบาท) หรือในฮ่องกงราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 27,999 ดอลลาร์ฮ่องกง (1.32 แสนบาท)
ศาลสิงคโปร์สั่งจำคุก Kandula Nagaraju เจ้าหน้าที่ฝ่าย Quality Assurance (QA) ของบริษัท NCS ผู้ให้บริการไอทีในสิงคโปร์ หลังจากที่ Kandula ล็อกอินเข้าระบบเพื่อลบ virtual machine ของบริษัทออกจากระบบไปถึง 180 เครื่องล้างแค้นที่ถูกไล่ออก
Kandula ทำงานกับ NCS ตั้งแต่ปลายปี 2021 จนถึงปลายปี 2022 และเมื่อครบสัญญาบริษัทก็แจ้งไม่ต่อสัญญากับเขา ทำให้ Kandula ผิดหวังเพราะมองว่าทำงานได้ดี หลังจากนั้น Kandula กลับไปยังอินเดียแต่ก็ได้รหัสผ่านระบบของ NCS กลับไปด้วย เขาทดลองล็อกอินหลายครั้งจนะกระทั่งกลับมาหางานที่สิงคโปร์ในช่วงเดือนมีนาคม 2023 เขาเขียนสคริปต์ลบเซิร์ฟเวอร์ของ NCS ทั้งระบบที่เขาเข้าถึงได้ 180 เครื่อง
แอปเปิลประกาศขายเฮดเซต Apple Vision Pro เพิ่มเติมในอีกหลายประเทศ มีรายละเอียดดังนี้
- จีนแผ่นดินใหญ่, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ เริ่มสั่งจอง 13 มิถุนายน สินค้าส่งมอบ 28 มิถุนายน เป็นต้นไป
- ออสเตรเลีย, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี และสหราชอาณาจักร เริ่มสั่งจอง 28 มิถุนายน สินค้าส่งมอบ 12 กรกฎาคม เป็นต้นไป
ที่มา: แอปเปิล
Vanguard International Semiconductor Corporation (VIS) บริษัทผลิตชิปจากไต้หวันประกาศร่วมทุนกับ NXP Semiconductor ในสัดส่วน 60:40 ลงทุนตั้งโรงงานผลิตชิป ในสิงคโปร์ด้วย ลงทุนก่อสร้าง 7,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 285,000 ล้านบาท โรงงานจะจ้างงานประมาณ 1,500 คน
โรงงานใหม่นี้เป็นโรงงานที่ผลิตชิปด้วยเวเฟอร์ขนาด 300 มิลลิเมตร กำลังผลิต 55,000 เวเฟอร์ต่อเดือน ผลิตด้วยเทคโนโลยี 130nm ไปจนถึง 40nm ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานในสินค้ากลุ่มพลังงาน, ชิปจัดการสัญญาณอนาล็อก, ชิปสำหรับอุตสาหกรรม, ตลอดจนชิปอุปกรณ์คอนซูมเมอร์ต่างๆ
ทาง VIS ลงเงินลงทุน 2,400 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ NXP ลงทุน 1,600 ล้านดอลลาร์ หลังจากนี้ทั้งสองฝ่ายจะลงทุนเพิ่มอีก 1,900 ล้านดอลลาร์ ส่วนเงินที่เหลือเป็นเงินกู้
คุณโจเซฟีน เตียว (Josephine Teo) รัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศแห่งสิงคโปร์ เปิดตัว AI Verify - Project Moonshot เวอร์ชันเบต้าเป็นชุดเครื่องมือทดสอบปัญญาประดิษฐ์ ออกแบบมาประเมินความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ซึ่งเป็น Open-source เจ้าแรกๆ ที่สามารถจำลองการโจมตี (red-teaming) การเปรียบเทียบมาตรฐาน และการทดสอบพื้นฐานมารวมกันในแพลตฟอร์มเพื่อรับมือกับความเสี่ยงด้าน AI
สิงคโปร์ประกาศจัดสรรพลังงานสำหรับศูนย์ข้อมูลเพิ่ม 300MW จากตอนนี้ที่มีใช้งานอยู่แล้ว 1.4GW เพื่อรองรับการเติบโตต่อไป แม้ว่าตอนนี้สิงคโปร์จะติดปัญหาพลังงานมีจำกัดจนต้อง จำกัดการเปิดศูนย์ข้อมูล
แผนการพัฒนาศูนย์ข้อมูลของสิงคโปร์ยอมรับว่ามีข้อจำกัดของประเทศขนาดเล็ก แต่ก็ถือว่าเป็นโอกาสที่จะพัฒนาศูนย์ข้อมูลประสิทธิภาพสูง โดยศูนย์ข้อมูลใหม่จะต้องมีประสิทธิภาพพลังงาน (Power Usage Effectiveness - PUE) ต่ำกว่า 1.3 และหันไปใช้แนวทางระบายความร้อนประสิทธิภาพสูงเช่นการระบายความร้อนด้วยน้ำ, การพัฒนาศูนย์ข้อมูลให้ทนความร้อนได้ดีขึ้น, และกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้เทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน
รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศงบลงทุนเป็นเงิน 295 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 8,000 ล้านบาท ในช่วงเวลา 5 ปีข้างหน้า เป็นงบประมาณสำหรับการสร้างนักวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอก 100 คน พร้อมกับทุกสนับสนุนต่างๆ ให้มีการสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมในประเทศ
สิงคโปร์ลงทุนวิจัยคอมพิวเตอร์ควอนตัมตั้งแต่ปี 2002 รวมเป็นเงิน 400 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 11,000 ล้านบาท และตอนนี้มีนักวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมประมาณ 450 คน
Heng Swee Keat รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ยอมรับว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ควอนตัมยังต้องผ่านข้อจำกัดอีกหลายอย่างกว่าจะใช้งานเชิงธุรกิจได้จริง แต่ก็ยังลงทุนต่อ โดยแผนกลยุทธ์ควอนตัมของสิงคโปร์วางเป้าให้สามารถพัฒนาโปรเซสเซอร์ของตัวเอง
Ong Ye Kung รัฐมนตรีสาธารณสุขสิงคโปร์ออกมาขอให้ประชาชนไปรับวัคซีน COVID-19 เวอร์ชั่นอัพเดต หลังจากตัวเลขผู้นอนโรงพยาบาลจาก COVID-19 ในสิงคโปร์เริ่มเพิ่มขึ้น จนถึง 280 คนในสัปดาห์ที่ผ่านมา
รัฐบาลสิงคโปร์แนะนำให้ประชาชนไปรับวัคซีนเพิ่มเติม โดยห่างจากเข็มล่าสุดไม่ต่ำกว่า 5 เดือน และควรไปรับหากเข็มล่าสุดได้รับมาประมาณหนึ่งปีแล้ว โดยมีตัวเลือก 4 ตัวเลือก ได้แก่ Pfizer/BioNTech, Moderna, Novavax, และ Sinovac ก่อนหน้านี้ Novavax เคยถอนออกจากตลาดไปเนื่องจากยังไม่ได้อัพเดตสายพันธุ์ แต่ตอนนี้ Novavax/Nuvaxovid XBB.1.5 ก็กลับมาใช้งานในสิงคโปร์อีกรอบแล้ว โดยแนะนำสำหรับผู้ที่ไม่สามารถฉีดวัคซีน mRNA
คาดว่า COVID-19 เวฟใหม่ในสิงคโปร์ยังจะเพิ่มขึ้นจนถึงจุดสูงสุดในปลายเดือนมิถุนายนนี้
คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสิงคโปร์ (Personal Data Protection Commission - PDPC) สั่งปรับบริษัท PPLingo Pte ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเรียนรู้ออนไลน์ LingoAce หลังเกิดเหตุข้อมูลหลุดกระทบนักเรียนและผู้ปกครองกว่า 550,000 คน เนื่องจากผู้ดูแลระบบตั้งรหัสเป็น "lingoace123" ซึ่งเป็นบริการตามด้วยเลข 123
ระบบที่ถูกแฮกคือเซิร์ฟเวอร์ operations support system (OPS) ที่ใช้สำหรับจัดการชั้นเรียน และตารางเรียนต่างๆ โดยเซิร์ฟเวอร์ติดตั้งตั้งแต่ปี 2020 และไม่เคยเปลี่ยนรหัสเลย ในวันที่ 26 เมษายน 2022 แฮกเกอร์ก็พยายามยิงรหัสผ่านบัญชีแอดมิน และภายในวันเดียวรหัสผ่านก็หลุด