สมัชชาแห่งชาติเวียดนามกำลังพิจารณาลดขั้นตอนการลงทุนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อดึงดูดบริษัทต่างชาติให้เข้ามาลงทุน
Nguyen Chi Dung รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน ระบุว่า จะเปลี่ยนวิธีคิดจากตรวจสอบก่อน (pre-screening) เป็นการตรวจสอบหลัง (post-screening) สำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมไฮเทค
สำหรับการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมและเขตส่งออก ขั้นตอนการอนุมัติก่อนลงทุนในการป้องกันสิ่งแวดล้อมและการป้องกันอัคคีภัยจะถูกยกเลิก โดยเขาบอกว่า ความล่าช้าในขั้นตอนเหล่านี้ เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนจากต่างประเทศ
ที่มา: Nikkei Asia
Comments
ดีอย่าง เสียอย่าง นะ
ประเทศกำลังพัฒนาก็คงแบบว่าหาเงินเยอะๆ ไว้ก่อนแหละครับ ที่เหลือว่ากันอีกที (เราก็เช่นกัน)
การลงทุนที่ดีที่สุดคือการลงทุนการศึกษา การให้ต่างชาติมาลงทุนผลิตสินค้ามันก็ดีแต่ถ้าเราไม่มีบุคลากรที่ดี เราก็เก็บเกี่ยวอะไรไม่ได้
เห็นด้วยครึ่งนึงครับ
มันอยู่ที่สัญญาการลงทุนด้วย
แบบจีนมาลงทุนโรงงานไทย พนักงานใน office จีนล้วนมีล่ามไทยคน สองคน ส่วนพนักงานในไลน์ผลิต พม่า-เขมร-ลาว supplier วัตถุดิบจากจีน แบบนี้ก็ไม่ไหวนะครับ
อันนี้ไม่ใช่สมมตินะ แต่เกิดขึ้นจริงที่ไทยแล้ว ณ โรงงานแห่งหนึ่งที่ นิคมแห่งหนึง ณ ระยอง
ผมยืนยันจริงๆ ได้ที่เดียว แต่จะมีโรงงานอื่นอีกมั้ย ผมไม่รู้ ก็เดาๆ กันไป ผมอาจจะแค่บังเอิญเจอหนึ่งเดียวที่ทำแบบนี้ก็ได้ 😅
ไม่อยากให้พูดไปเรื่อยนะครับ ไทยมีกฏหมายอยู่ BOI ก็มีกฏการลงทุน ถ้าต่างชาติทำผิดเราสามารถเอาผิดได้ เห็นได้จากข่าวไทยปราบโรงงานถื่อนจีนเทาอยู่เรื่อยๆ ถ้าคุณรู้ว่ามีการทำผิดกฏ ควรแจ้งมานะครับว่าโรงงานอะไร ส่วนสัญญาการลงทุนผมว่าไม่มีประเทศใหนยอมรับการลงทุนแบบเสียเปรียบหรอกครับ เราสามารถหาความรู้เรื่องกฏหมายการลงทุนได้ใน google ถ้าโรงงานที่คุณว่าทำไม่ถูก เราสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ หรือคุณจะแชร์ในนี้ว่าโรงงานอะไรเผื่อคนอื่นจะได้ช่วยๆกันตรวจสอบ
ครับ
ก็เหมือนที่คนรู้ว่าบ่อนอยู่ที่ไหน โต๊ะบอลมีที่ไหนบ้าง เจ้ามือหวยอยู่ที่ไหน อาบอบนวดธุรกิจจริงคืออะไร ฯลฯ
แต่ใครจะแจ้ง แจ้งแล้ว(คนแจ้ง)ได้อะไรนอกจากความเสี่ยง และใครรับประกันความปลอดภัยให้(แบบจริงๆ) และแจ้งแล้วเอาเวลาที่ไหนไปให้ปากคำ คนไม่มีมีตังมากมายและว่างและใหญ่ระดับนึง เลยไม่มีใครอยากทำเพราะต้องทำมาหากิน ผมก็แค่มนุษย์เงินเดือนคนนึงไม่มีเวลาไปทำอะไรแบบนั้น และไม่อยากมีปัญหากับใคร จะว่าเห็นแก่ตัวก็ได้ ผมก็แค่เห็นแก่ตัวพอๆ กับทุกคนที่รู้ว่า "บ่อนอยู่ที่ไหน โต๊ะบอลมีที่ไหนบ้าง เจ้ามือหวยอยู่ที่ไหน อาบอบนวดธุรกิจจริงคืออะไร ฯลฯ" แต่ไม่ทำอะไรนั่นแหล่ะครับ
เอาเป็นว่า FYI ครับ ถือเป็นฟังเรื่องเล่าจากใครซักคนในร้านน้ำชาครับ
ไม่ใช่ที่เดียวครับเราอยู่ในวงการเดียวกัน แต่ผมเป็น Contractor ครับ
มองการปกป้องประเทศและประชาชนในประเทศตัวเอง เป็นความล่าช้าไปแล้ว----
ข้าราชการช้าตัดขั้นตอนซะเลย ถถถถ
เสียน้อย เสียยาก อะสิแบบนี้
อาจโดนชาติใหญ๋หาช่องกีดกันทางการค้าจากกม.มลพิษ
เขาคิดเร็วทำเร็ว
ช่วงจีนโดนอเมริกากระทืบ เวียดนามพยายามชิงการลงทุนต่างชาติ
ไม่เกินสิบห้าปี เวียดนามคงแซงหน้าไทย
ความปลอดภัยของประชากรเป็นตัวถ่วงความเจริญไปซะแล้ว
ไม่ต้องเสียเวลาล่าช้าจากการคอรัปชั่นของข้าราชการ
ผมว่าคิดผิดนะแนวทางแบบนี้ Trend การลงทุนของโลกในตอนนี้ คือ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และประชาชนในประเทศให้การยอมรับ ถ้าคุณเดินสวนทางแบบนี้ก็จะได้แต่บริษัทเล็กๆ ที่เขาผลิตสินค้าที่มีห่วงโซ่อุปทานไม่ได้ยาวมาก จากประเทศที่ไม่ได้สนใจโลกใบนี้แล้วเข้ามาลงทุนเพื่อกอบโกยทรัพยากรและสิทธิประโยชน์ ส่วนบริษัทใหญ่ๆ ที่มีเทคโนโลยีระดับสูงในมือเขาก็จะระมัดระวังเรื่องพวกนี้มากและดูเรื่องสิทธิประโยชน์ที่รัฐจะให้มากกว่า เพราะของแบบนี้ลงทุนไปแล้วหากประชาชนในประเทศต่อต้านขึ้นมาเรื่องใหญ่มากๆ เพราะมันมีห่วงโซ่อุปทานที่จะไปร่วมลงทุนด้วยเพื่อให้ประหยัดด้านการขนส่ง หากพังก็พังกันทั้งแถบ เรียกว่าประเมินแบบมีความเสี่ยงสูงได้เลยล่ะ
แล้วที่บอกว่าตรวจสอบทีหลังเนี่ย จะโดนแบบบริษัทเบียร์ไทยหรือเปล่าที่พอลงทุนแล้ว รัฐออกนโยบายต้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทันทีหลังขายรัฐวิสาหกิจไปแล้ว จากที่เมื่อก่อนอุดหนุนกันเต็มที่ เล่นเอาเจ้าสัวเบียร์มึนตึ๊บไปเลย เพราะตลาดหดตัวลงไปเยอะจากนโยบายของรัฐที่ปล่อยออกมา
ก็ตามเทรนอยู่นะ ทรัมป์ไม่แคร์โลกร้อนอยู่แล้ว
จริง ๆ Trend การใส่ใจสิ่งแวดล้อมเหมือนจะบังคับใช้ได้แต่กับประเทศเล็ก ๆ อะครับ ที่ไม่มีปากมีเสียง
พวกประเทศใหญ่ ๆ ไม่ได้สนใจอะไรกันขนาดนั้นเลยเช่น ตั้งแต่ช่วงเริ่มสงคราม พี่ ๆ แกก็กลับมาใช้ไฟฟ้าจากถ่ายหินกันเนียน ๆ เลย
คิดว่าบริษัทที่มาจากประเทศใหญ่ ๆ ก็น่าจะพอกัน
ประกาศว่าใส่ใจแค่ส่วนที่ตัวเองทำได้
แต่พอไปบังคับคนอื่นเอาซะกดให้ไม่ได้โงหัวเลย