จากเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ทำให้หลายโรงงานต้องย้ายออกไปจากประเทศไทยหรือบางโรงงานก็ย้ายไปยังจังหวัดอื่นๆ ล่าสุดมีการโพสภาพประกาศของบริษัท ซันโย เซมิคอนดักเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ว่าเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อเครื่องจักรทุกเครื่อง โดยไม่สามารถซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีดังเดิม ทำให้บริษัทกำลังจะเลิกจ้างพนักงานส่วนใหญ่ในวันที่ 25 ธันวาคมนี้ และจะมีพนักงานส่วนหนึ่งได้รับการจ้างงานต่อเพื่อดำเนินการอื่นๆ นับแต่การกู้ซากเครื่องจักร ไปจนถึงการดำเนินการอื่นๆ เพื่อหยุดการผลิต
ไม่แน่ชัดว่าโรงงานแห่งนี้มีพนักงานจำนวนเท่าใด แต่การประกาศจัดขึ้นในห้องประชุมโรงแรมแห่งหนึ่ง พนักงานเฉพาะที่ไปฟังการประชุมนั้นก็มีจำนวนมาก ( ดูภาพ )
ขอแสดงความเห็นใจกับเหล่าพนักงานทุกท่าน และขอให้ได้งานใหม่กันในเร็ววันครับ
ที่มา - Facebook: SSTH Today
Comments
ไปอีกหนึ่งนี่ ตอนนี้มีใครไปแล้วมั่งอ่ะฮะ
โอ่ย เค้าจะมีชดเชยให้ไหมเนี่ย ขอให้รัฐจัดหางานรองรับให้โดยเร็ว
ได้ชดเชยมากกว่ากฏหมายกำหนดเยอะมากครับ
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
แต่ฐานทางเศรษฐกิจที่เสียไปจากนักลงทุนนี่สิ ไม่คุ้ม -*-
เห็นภาพตามข่าวทีวี ถ้าท่วมแค่ขาผมว่ายังพอรับได้ นี่มิดหัวคน ทำเลที่ตั้งโรงงานมันต่ำกว่าระดับน้ำทะเลขนาดนั้นเลยหรอเนี่ย
ไม่ต้องต่ำกว่าระดับทะเลหรอกครับ สูงกว่าระดับทะเล 2-3 เมตรยังท่วมครับ
น้ำที่ท่วมโรงงานคือน้ำทุ่งครับ ไม่ใช่น้ำจากแม่น้ำ
ที่นิคมโรจนะ มันลึกลงไปเรื่อยๆ เหมือนทางลาดครับ หน้านิคมสูง หลังนิคมต่ำกว่าด้านหน้าประมาณ 3 เมตร พอน้ำท่วมมันก็เป็นอย่างที่เห็นครับ
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
ที่ตั้งนิคมพวกนี้เป็นท้องทุ่งเดิมทั้งนั้นครับ
แล้วก็เทียบกับระดับน้ำทะเลไม่ได้เพราะมันเป็นน้ำที่มาตามทุ่งครับ
ต้องตุน Eneloop ไหมเนี่ย
จริงด้วย
ว่าจะซื้อมาแจกปีใหม่พอดี
ตัว mobile booster
พังขนาดนี้เป็นผมก็ไม่อยู่ต่อ ไปเวียดนามดีกว่า น่าจะถูกว่า 300 เยอะ
+1
พม่าก็เปิดประเทศแล้ว เผลอๆอาจจะไปพม่าก็เป็นได้ครับ
เศร้า แต่เข้าใจ .. ;'(
my blog
good bye thailand
เดียวคงมีตามไปอีกหล่ะมั้ง ข้อดีของนิคมอุสาหกรรม คือหลายๆอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมาอยู่รวมๆกัน แต่พอมันจะไปมันก็น่าจะเกาะๆกันไป
ไหนบอก "เอาอยู่"
อาววว อยู่
เอา(ตัวเองรอด)อยู่
ซัมซุงไม่ได้พูดนี่ครับ จะจุดประเด็นทำไม
ซันโยรึเปล่าครับ?
ก็ถูกแล้วครับ ซัมซุงไม่ได้พูด 555555
อ่า พลาดเล็กน้อย งั้นเปลี่ยนเป็นบันไดไปเลยละกันครับ T_T
ตอนผมอ่านหัวข้อข่าว ผมงงว่า เซมิคอนดักเตอร์ไปปรากฎบนFacebookได้ไง (555)
ตอนแรกผมก็งง สงสัยเพราะเว้นวรรค 55
จริง ๆ Sanyo อาจจะผลประกอบการไม่ค่อยดีอยู่แล้วก็ได้มั้ง ?
แล้วถ้า Sanyo ไป ผมว่าที่ต้องลุ้นต่อคือ Panasonic (เครือเดียวกัน) ว่าแต่ว่า... มีโรงงานของ Panasonic ในเมืองไทยไหมหนอ ?
มีครับ
On semiconductor ผลประกอบการดีนะครับ
อันนี้เรียกว่าลอยแพของแท้ เพราะลอยตอนน้ำท่วม
Rip. Sanyo
ขอแสดงความเสียใจด้วยนะครับ คนที่ไม่มีงานก็ขอให้หางานได้เร็วๆ :)
ห่วง sanyo ห่วงอนาคตตัวเองด้วย
ใครมันจะอยากมาทำโรงงานในไทย ในเมือปีหน้าไม่รู้โรงงานตัวเองน้ำจะท่วมหรือเปล่า
แถมต้องจ่ายค่าแรงวันละ 300 อีก
ไปหาประเทศอื่นอยู่ดีกว่า
แถมจะพัฒนาประเทศ จะสร้างเมกะโปรเจคต์อะไร ก็ไม่รู้จะโดนรถถังมาสั่งล้มเมื่อไหร่อีก รัฐบาลจะสร้างเขื่อนกันน้ำท่วมก็ไม่รู้จะมีพวก NGOๆ มาประท้วงให้เสียเวลาแค่ไหนอีก แล้วไม่รู้จะต้องคอยใต้โต๊ะให้พวกข้าราชการเช้าชามเย็นชามไปเท่าไหร่อีก แถมถ้ารัฐบาลพยายามปฏิรูปข้าราชการ ก็ไม่รู้จะโดนรัฐประหารกลับไปเช้าชามเย็นชามเหมือนเดิมมั้ย
ไปหาประเทศอื่นอยู่ดีกว่า
โทษคนอื่นตลอด รัฐบาลนี้ในสายตาคุณไม่เคยผิดอะไรเลยใช่ไหมเนี่ย
555+ คุณเพิ่งรู้เหรอครับ ^^
ถูกใจ ฮาๆ
รัฐบาลเทพ เอะอะก็โยนขี้
ข้อเท็จจริงมันปรากฎอยู่ ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่เข้าใจว่าจะอวยอะไรกันนักหนา
แล้วผมพูดซักคำรึยังว่าไอ้ที่เขาบอกตอนแรกมันไม่จริง?
แค่ "แถม" อย่างอื่นไปด้วย ก็แค่นั้น
ของแถมนี่มันคนละเรื่องกับ topic เลยนะครับ
ทีอย่างนี้ไม่เห็นคุณ mk จะมาพูดเรื่อง off topic บ้าง.. อุ๊ป!
ถ้าคุณไม่เชื่อว่าไอ้ที่แถมนั่นเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้ต่างชาติอย่างซันโยถอนตัว ผมว่าคุณคิดใหม่ได้
แถมอีกนิด ตัชนีการคอรัปชั่น จะสูงขึ้น ทุกครั้งที่รัฐบาลมาจากประชาธิปไตย และตกต่ำลงทุกครั้งที่มีรัฐประหาร และได้รัฐบาลพรรค ปชป.
ในทีนี้คือการคอรัปชั่นจากภาคราชการต่อธุรกิจ มีการเรียกใต้โต๊ะสูงขึ้น คิดว่าต่างชาติไม่เบื่อ?
ไม่อยากจะนับกรณีคนต่างชาติโดนจับ เพราะ 112 หรือการที่มีนักข่าวต่างประเทศมาตายเพราะเขตกระสุนจริงจากรัฐบาลก่อน
ถ้ามันจะ Off Topic ก็คง Off ตั้งแต่ 300 แล้ว
เขารัฐประหารกันมากี่ปีแล้วครับคุณ พูดอย่างกับเกิดเมื่อวาน
300 มันเป็น factor ที่เพิ่งเกิดขึ้น ไม่ใช่ factor เมื่อหลายปีก่อนครับ
ส่วนดัชนีต่างๆ ผมขอที่มาหน่อยได้ไหมครับ ขอข้อมูลจริงๆนะครับ ไม่ใช่ข้อมูลจากพวกเว็บล้ม เว็บสำนักข่าวเพื่อประชาธิปไตยจอมปลอมทั้งหลาย ที่ make ข้อมูล นั่งเทียนเอง
ต่างชาติโดนจับเพราะ 112 ผมถามหน่อยเถอะ ถ้าไม่รับงานมา ไม่มายุ่งกับวัฒนธรรม ประเพณี ของไทย ไม่คิดล้มล้าง มันจะโดนไหมครับ ไหนขอรายชื่อกับข้อหาหน่อยสิครับ หรือจะหมายถึงลูกครึ่งที่ไปแปลหนังสือต้องห้ามเอ่ย ?
ส่วนนักข่าวที่เสียชีวิต แน่ใจเหรอครับว่ามาจากรัฐบาลฝ่ายเดียว ที่เขามีเขตกระสุนจริงไม่ใช่เพราะมีกลุ่มติดอาวุธเหรอครับ แหม่ ทหารก็เสียชีวิตและบาดเจ็บไปเยอะนะครับ ทั้ง M79 ทั้ง RPG แหม
Factor มันไม่ใช่แค่ส่งผลปีต่อปีหรอกครับ ปัจจัยมันก็รวมหลายอย่าง
ส่วนดัชนีที่ว่า ผมก็รู้หรอกนะว่าสลิ่มอย่างคุณ ไม่เคยคิดจะหาอ่าน
ถ้าเอะอะอะไรก็ใส่ความชาวบ้านว่ารับงานมาทำนั่นทำนี่ ก็.....คงต้องไว้อาลัยที่มีปัญญาคิดแค่นี้
จะให้ผมเพ้อเจ้อแบบนี้มั่งก็ได้ ทฤษฎีคอนสไปเรซี่แบบนี้ ฝั่งอำมาตย์มีมูลให้เล่นกว่าเยอะ ไม่อยากพูดหรอกนะว่าระบบราชการของเราเป็นระบอบอำมาตย์หมดแล้ว รวมไปถึงกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบด้วย ไม่เคยมีอะไรน่าเชื่อถือ ที่ตัดสินให้อีกฝ่ายถูกบางครั้งก็แค่ลดกระแสสังคม แต่ความจริงเอียงเรียบ
แน่ใจไม่แน่ใจก็แล้วแต่คุณจะคิดล่ะ พยายามอ้างชายชุดดำ คิดเหรอว่าฝั่งอำมาตย์ไม่ใช่คนที่จ้างชายชุดดำมาป่วน? บอกแล้วนะว่าถ้าจะเพ้อเจ้อกันมันก็ไม่มีวันจบหรอก อะไรมันก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
โดนแบนข้อหาเตือนแล้วไม่รู้จักเข็ดหลาบนะครับ
ดูเป็นข้อๆ ไปดีกว่าอันไหนมันทำงานห่วยก็ยอมรับความจริงเถอะ ตอนน้ำเริ่มจะเต็มๆ เชื่อนเทพกรมชลของพรรคลุงบรรหารก็เล่นสั่งกักน้ำซะ อันนี้แกออกมาประกาศเองว่ากะผิดแต่แปลกใจไม่มีใครเอาเรื่องแกสักคน สงสัยกลัวโดนรวบไปด้วยเพราะตอนนั้นเองรัฐบาลก็ไปเตะบอลเล่นอยู่ แถมท่วมแล้วถามว่ามีมาจการช่วยอะไรบ้าง กับมีการวางแผนกันน้ำท่วมอย่างไรกับบอกยังไม่มีการกำหนดแน่ชัด สอบตกเห็นๆ เรื่องนี้อ่ะส่วนเรื่องรถถังรถไถมันไม่เกี่ยวกับน้ำท่วมนะเออ
ป้าด มันไปถึงเรื่องรถถังได้ไงฟะเนี่ย
เหมารวมเกินไปหน่อยมั้ยครับ
แยกออกมาเป็นประเด็นๆไปจะดีกว่านะครับ
นี่เหมามาได้ตั้งแต่เมกะโปรเจคเกี่ยวพันถึงรถถัง
เชิญครับ
คนไทยเป็นยังงัย นักการเมืองก็เป็นแบบนั้นแหละครับ เพราะพวกนี้เข้าไปได้ก็เพราะคนไทยเลือกเข้าไป ไม่ได้เดินเข้าไปเป็นเอง
ก็ต้องทำส่วนอื่นให้เค้าคิดว่า จ้าง 300 คุ้มกว่าที่เพื่อนบ้านรึเปล่าครับ ( สนับสนุนด้านอื่นแทน ) ไม่งั้นลองคิดดูถ้าไม่ขึ้นค่าแรงซะที แรงงานก็แย่สิ ของก็แพงขึ้น แค่คิดว่าถึงได้วันละ 300 ต้องเลี้ยงครอบครัวนี่ก็แย่และ
ปีหน้าน้ำคงไม่ท่วมแบบนี้หรอกมั๊งครับ โอกาสที่จะมีพายุเข้าเหนือเขื่อน 4 ลูกติดกันแบบที่เกิดขึ้นนี้จะมีโอกาสเกิดขึ้นสักกีมากน้อยกันเชียวครับ
ค่าแรงถูกกว่าเราตอนนี้น่าจะมีแค่เวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชานะครับอยากให้ลองคิดดูว่า ถ้าแค่ขึ้นค่าแรง แล้วทุนย้ายไปประเทศที่เราคิดว่าเค้าด้อยกว่าเรา นั่นหมายความว่าในสายตาต่างชาติ ประเทศอย่างลาว กัมพูชา เวียดนามยังดีกว่าไทยเลย
ถ้าคุณคิดว่าค่าแรงแพงเค้าเลยย้ายหนี อันนี้น่ากลัวนะครับ เพราะแสดงว่าประเทศเรากำลังจะไม่มีอนาคต
ปัจจัยต่อเนื่องจากเรื่อง 300 ก็คงเป็นเรื่องนโยบายการป้องกันน้ำท่วมในอนาคตนี่แหละครับ
เพราะปัจจุบันก็ยังไม่มีอะไรที่แน่ชัด ที่จะทำให้กลุ่มบริษัทที่ตั้งโรงงานในนิตมฯทั้งหลายมั่นใจได้ว่าปีหน้าจะมีการบริหารจัดการน้ำที่ดี และรอดพ้นจากน้ำท่วมได้
ต่างชาติเค้ามองจริงจังกับเรื่องนี้มากอยู่ครับ อย่าง JICA ก็ออกมาพูดหลายครั้งแล้วเหมือนกันตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ ว่าต้องการเห็นแผนการบริหารน้ำที่เป็นรูปธรรมกว่าที่เป็นอยู่ ไม่งั้นจะพิจารณาเรื่องการลงทุนต่อ
ขึ้นค่าแรงเป็น 300 จะทำให้รู้สึกว่าไม่แพงก็ได้ครับ ถ้าพัฒนาฝีมือและคุณภาพแรงงานตามไปด้วย (แต่ผมยังไม่เคยได้ยินเลย)
โรงงานเหล่านี้ส่วนมากผลิตแล้วส่งออกใช่หรือป่าว และการเพิ่มค่าแรงมันก็เฉพาะในไทย .. เดี๋ยวมีคนในรัฐบาลหัวใส สั่งให้ลดค่าเงินบาทนะเออ
มินิแบร์ก็ไปตั้งที่เขมรหนีค่าแรง300ละนี่ เค้าบอกเขมร80กว่าบาทเอง
ผมว่าของเขาไม่ต้องใช้แรงงานมีฝีมือมากนี่ครับ เอาแรงงานเขมรก็เพียงพอแล้วประหยัดได้เยอะว่าแต่มินิแบร์ผมจำได้ว่ากั้นน้ำได้ อยู่รอดปลอดภัยนี่ครับไม่ได้ท่วมเหมือนที่อื่น
มีอยู่ 5 site โดนไป 2 กั้นอยู่ 2 ครับ
เรื่องค่าแรง ผมจับนัยเบื้องหลังได้ว่า"งั้นแปลว่าคนไทย/แรงงานไทย ไม่ควรทำงานได้เงินมากขึ้นว่างั้น?"
แต่ย้อนมามองว่าแรงงานไทยคุ้มค่า 300 บาทหรือเปล่า ก็ต้องบอกว่า คุ้มบ้าง ไม่คุ้มบ้าง แล้วแต่คน ถ้าบ. ยอมจ่าย 300 คนงานก็ต้องยอมทุ่มเททำงานให้สมน้ำสมเนื้อกับค่าแรงหน่อย ไม่ใช่ประเภทเมามาทำงาน โดนปลดเนื่องจากความสามารถไม่ถึงก็ไปประท้วงเย้วๆ แบบนี้ผมว่าไม่คุ้มละ
ส่วนเรื่องบริหารจัดการน้ำ ผมมองหลายมุม
1) หน่วยงานที่บริหารน้ำในเขื่อน ไม่ว่าจะเป็นกรมชลฯ การไฟฟ้า กระทรวงต่างๆ ไม่ว่าผิดหรือไม่ผิด ต้องรับผิดชอบไปเต็มๆ เราเลือกตั้งท่านมาบริหารประเทศ ท่านต้องทำให้ประเทศอยู่ในภาวะที่เรียบร้อย
2) เขตอุตสาหกรรมต่างๆ ทำไมอยู่ในแนวน้ำหลาก ในเมื่อย้อนไปดูประวัติศาสตร์ชาติไทย พม่าบุกเราทีไร เรายันจนถึงฤดูน้ำหลาก พม่าต้องถอยกลับไปทุกที แล้วทำไมในเมื่อตัวเอง จัดตั้งเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่คาดว่าน้ำจะหลากแล้ว ไม่เตรียมการป้องกันให้ดีกว่านี้?
3) โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โอเค ท่านอาจจะไม่ทราบว่า ตัวเองอยู่ในเขตเสี่ยงภัย แต่เมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว ก็ขอให้เป็นบทเรียนสำคัญเลยว่า ภัยพิบัติ มันมาด้วยหลายสาเหตุ จะภัยธรรมชาติ จะน้ำมือมนุษย์ เตรียมตัวรับมือให้ดีแล้วหรือยัง?
4) คนไทยตาดำๆ นี่ละ เกิดเหตุทีไร เถียงกัน กัดกัน ทะเลาะกัน ทุกที เมื่อวานได้ยินข่าวทางวิทยุแว่วๆ ว่าใครซักคนเรียกประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับผลกระทบทุกจังหวัด เพื่อประเมินสถานะการณ์ว่า จังหวัดไหนโอเคแล้ว จังหวัดไหนยังไม่เรียบร้อย ก็ประกาศไล่เรียงกันมา มาสะดุดหูเอาตรงวรรคสุดท้าย ปลัดฯ กรุงเทพฯ แล้วผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ท่านหายไปไหน? ท่านแน่ใจแล้วหรือว่าคนกรุงเทพฯ เรียบร้อยดีกันหมดทุกเขตแล้ว แล้วถ้าต้องมีการตัดสินใจในที่ประชุม ปลัดฯ กทม. มีอำนาจตัดสินใจแทนหรือไม่? นี่เป็นตัวอย่างที่ทำไมผมถึงบอกว่า "เกิดเหตุทีไร เถียงกัน กัดกัน ทะเลาะกัน ทุกที" อีกตัวอย่าง ก็เช่น น้ำท่วมฝั่งข้า ฝั้งเองก็ต้องท่วมด้วย แล้วก็ยกพวกตีกัน มีเสียงปืนดังขึ้น มีคนรื้อกระสอบ แล้วแทนที่มันจะมีที่แห้งใกล้ๆ ตัวไว้บ้าง (แค่ข้ามกระสอบ) ก็เลยเปียกกันไปหมด คราวนี้จะหาที่แห้งก็ยากหน่อยแล้วนะ
ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
ช่วงปีหลังๆมานี้ trend โลกร้อนมันมาครับ เคยเห็นงานวิจัยชิ้นนึงที่ชี้ว่าโลกจะเกิดพายุที่รุนแรงและเยอะขึ้นเรื่อยๆ จากความต่างของสภาพอากาศที่สุดขั้วขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเราไม่อาจจะใช้ความคิดเดิมๆ เกี่ยวกับปริมาณน้ำในปีที่ผ่านๆ มาเพื่อชี้ถึงความไร้ประสิทธิภาพในการเตรียมรับมือล่วงหน้าของรัฐได้เลย เพราะน้ำท่วมครั้งนี้พายุเข้า 5 ลูกนะครับ เริ่มตั้งแต่ไหหม่าและตามมาอีก 4 ลูก เรียกได้ว่ามากที่สุดเท่าที่ประเทศเราเจอกันมาเลยทีเดียว
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
แต่เข้าไปดูในFacebookแล้ว น่าสงสารมากเลยครับ พนักงานคงทำใจไม่ได้เลย เหตุการณ์มันกระทันหันมากเลย
ทำใจ
Sanyo เสียหายหนักจากน้ำท่วม แล้วปีหน้าเจอค่าแรง 300 บาททำให้เค้าเลือกตัดสินใจย้ายฐานการผลิตดีกว่า
ผมเชื่อว่าจะมีอีกหลายบริษัทที่เตรียมย้ายฐานการผลิตอีก ปีหน้าหนักแน่ๆ
ปีหน้าอาจจะเห็น GDP โตเยอะเพราะค่าแรงที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดแต่มันตามมาด้วยเงินเฟ้อและอัตราว่างงาน ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดด้วยเช่นกัน
ทำไมคนคิดว่า พอเจอค่าแรง 300 บาท แล้วทุนจะย้ายหนีไปกัมพูชาเพราะค่าแรงถูกกว่าทุกวันนี้ค่าแรงในกัมพูชา เวียดนาม ลาว ก็ถูกกว่าไทยอยู่แล้ว และถูกกว่าเยอะ ซึ่งทุนทั้งหลายเค้าก็ย้ายไปเวียดนามกันนานแล้ว
ทุนที่มาลงในทุนในไทย มองปัจจัยค่าแรงไทยว่าไม่สูงนักก็จริง แต่ก็มีจุดแข็งเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่าประเทศลาว กัมพูชา พม่า
แทนที่ไทยจะกลัวทุนย้ายไปกัมพูชา เวียดนาม ลาว ทำไมไม่คิดกันว่า ทำไมทุนไม่ย้ายจากมาเลย์ อินโดนีเซีย มาที่ไทย? ถ้าปัจจัยเรื่องค่าแรงมีผลต่อการย้ายทุนจริง
บางบริษัทเค้าก็มีลงทุนในไทยอยู่แล้ว ค่าย้ายมันสูง พอน้ำท่วมเสียหายมาก ส่วนต่างค่าย้ายตรงนี้ก็ลดลงไปมาก เพราะสร้างโรงงานใหม่ก็ค่าใช้จ่ายสูงเหมือนกัน
เรื่องค่าแรงแพงขึ้น มันก็เป็นข้อนึงให้เค้าพิจารณาประกอบกับหลายๆ ปัจจัย เราทำให้เค้ารู้สึกคุ้มค่าได้ด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงานหรืออะไรก็ว่าไปได้พอหรือไม่
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ตอนนี้แค่ให้นำเข้าเครื่องจักรไม่เสียภาษีคงไม่พอดึงดูดให้เขาไม่ย้ายละครับ ต้องงัดสารพัดมาตราการมาดึงแล้วไม่งั้นไปอีกหลายเจ้าแน่
จะย้ายไปไหนอ่ะ
ถ้ามองโลกในแง่ดี ก็ถือว่าเป็นโอกาสภาคบังคับรัฐบาลให้ปรับกำหนดนโยบายมาตรฐานฝีมือแรงงานให้สูงขึ้น รวมถึงการสร้างคนที่มี innovation สร้างศูนย์วิจัยพัฒนา เพื่อดึงดูดอุตสาหกรรม ที่ต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง ก็คงยากพอสมควร กว่าจะถึงตรงนั้น แต่ถ้าทำได้ ผมว่าน่าจะเป็นผลดีกับประเทศไทย เพราะตอนนี้เราก็คงย้อนไปแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว มีแต่ต้องเดินกันไปข้างหน้า
หลายคนที่โทษรัฐบาลผมอยากถามหน่อยครับ
1. ถ้าปล่อยน้ำออกมาเลยไม่กักไว้ในเขื่อนท่วมไหม
2. น้ำเริ่มท่วมภาคเหนือตอนล่างเมื่อไหร่
3. รัฐบาลเริ่มทำงานได้เมื่อไหร่
4. พายุ 4 ลูกที่ว่านั้นเข้ามาช่วงไหนบ้างครับ (เอาวันที่เลย)
5. น้ำทั้งหมดต้องใช้เวลาระบายนานแค่ไหน (โดยประมาณ)
ดร. สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
ประวัติ และ อาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดี กรมชลประธาน ผู้ที่เคยถวายงานรับใช้พระบาทสมเด็กพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับด้านการบริหารจัดการน้ำมาหลายสิบปี
ประวัติ
ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐถึงสาเหตุความผิดพลาดของการบริหารจัดการน้ำ
ในวันที่ประเทศไทยโดนมวลน้ำสามัคคีกันกระชับพื้นที่ศูนย์กลางประเทศ ที่ไร้ซึ่งความสามัคคีแห่งนี้ ไทยรัฐออนไลน์มีโอกาสได้พูดคุยกับ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำนอกจากถามวิธีแก้ไขที่จะไม่ทำให้กรุงเทพฯ ปราการด่านสุดท้าย ศูนย์กลางเศรษฐกิจประเทศไทยหยุดยั้งไม่ทำให้มันจมน้ำตายแล้ว
คำถามที่น่าใคร่ครวญ ก็คือพวกเราเดินทางมาถึงวิกฤติน้ำกลืนประเทศตรงนี้ได้อย่างไร...?
“ผมอดีตอธิบดีกรมอุตุฯ กับ อาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เจอกันทำงานด้วยกัน หลายอย่างที่เราแนะนำไปเขาก็ไม่เชื่อ ตอนนี้กำลังจะสาย ดังนั้นรัฐบาลต้องฟังเราบ้าง…!” ดร.สมิทธ กล่าวด้วยน้ำเสียงผิดหวัง และย้ำคำถามว่าเราเดินทางมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
“ข้อผิดพลาดทั้งหมดมันเริ่มเพราะมันเกี่ยวกับการบริหารน้ำ ซึ่งไม่ใช่กรมชลฯกรมเดียว ทุกๆหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบทั้งหมด ผิดตรงที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ประมาณปริมาณน้ำฝนที่จะตก ในฤดูฝนนี้ มันจะมีพายุเข้ากี่ลูกแล้วปริมาณน้ำที่จะตกในต้นฤดูมีเท่าไหร่ กลางฤดู ปลายฤดูเท่าไหร่ แล้วการที่จะเก็บน้ำไว้ในเขื่อนตั้งแต่ต้นฤดูควรจะเก็บน้ำเอาไว้กี่เปอร์เซ็นต์ของความจุของเขื่อน ไม่ใช่เก็บทีเดียวเต็มเขื่อนตั้งแต่ต้นฤดู เพราะหากกลางฤดูฝนตกมากกลางฤดูน้ำก็จะล้นเขื่อน พอล้นก็จำเป็นที่จะต้องปล่อยน้ำ ที่สำคัญไม่ควรจะปล่อยออกมาพร้อมๆกันหลายเขื่อน เพราะปริมาณที่ปล่อยออกมาพร้อมกัน พื้นที่ประเทศไทยไม่สามารถรับปริมาณน้ำที่ไหลออกมาพร้อมกันได้แน่นอน ทางแก้ไขก็คือควรจะปล่อยน้ำให้เป็นจังหวะ ให้มันไหลออกไปสู่ทะเลธรรมชาติตั้งแต่ต้นฤดู แล้วกลางฤดูก็ทำการป้องน้ำเอาไว้ในเขื่อนใหญ่ ปริมาณฝนที่ตกในกลางฤดูที่มันเพิ่มเติม ที่มันทำให้น้ำท่วมเก็บเอาไว้บ้างแล้วก็ไม่ปล่อยน้ำ น้ำก็ไม่ท่วมปลายฤดูนี่ก็เหมือนกัน แต่นี่ปลายฤดู ขนาดน้ำท่วมหลักๆ ก็ยังปล่อยมาวันละ 200-300 ล้านลูกบาศก์เมตร แบบนี้อยู่กันไม่ได้”
ดร.สมิทธบอกว่า เคยแนะนำเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่แรกๆ แต่ไม่มีใครเชื่อ ซึ่งหากเชื่อประเทศไทยก็ไม่เสียหายขนาดนี้ ซึ่งตนไม่ได้อวดอ้างก็ไม่ได้ว่ารู้คนเดียว แต่ได้ศึกษาค้นคว้ามามีประสบการณ์มา ก็ควรจะเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ต่างคนต่างทำต่างคิดต่างปล่อย แล้วก็ปล่อยน้ำจำนวนมหาศาลก็ไม่บอกกันด้วยว่าทำไมต้องปล่อยออมาจากทั้ง 3 เขื่อนใหญ่ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แล้วยังมีเชื่อนเล็กๆแถวนครราชสีมา ผมบอกว่าก็ควรจะปิดเขื่อนได้แล้ว น้ำท่วมภาคกลางแทบแย่แล้ว อยุธยา นครสวรรรค์ก็ควรจะปิดน้ำแล้ว เขื่อนไม่มีพังหรอก มันมีทางออกโดยอัตโนมัติเวลาน้ำขึ้นไปเต็มๆ มันก็ค่อยไหลออกมา แต่นี่ปล่อยลงมาเกินน้ำที่จะไหลออกมาตามธรรมชาติมันก็ท่วม”
ดร.สมิทธ วิเคราะห์ว่า สาเหตุที่เขาไม่สามารถนำ “ดรีมทีม” จัดการน้ำ เข้าไปช่วยวางแผนป้องกันน้ำท่วมได้ ก็เนื่องจากติดที่รัฐบาลไม่ชอบคนที่มาติความคิดของตัวเอง
“ตอนแรกเขาก็ชวนเหมือนกัน แต่เนื่องจากผมไปติเขากรณีใช้เรือไล่น้ำ ก็เพราะไม่อยากให้เขาเอาพระราชดำริในหลวงมาใช้เรื่องการเมือง ที่พระองค์ทรงทำได้ผลก็เพราะว่าทำในคลองแคบๆ คลองลัดโพธิ์ เป็นคลองไม่แคบแล้วมันก็ไม่ลึกทำแล้วน้ำมันจะไหลแรงไหลเร็ว แต่พอมาทำตรงแม่น้ำเจ้าพระยามันกว้าง แล้วทำไปมันก็ไปผิวน้ำข้างบนเท่านั้น น้ำข้างล่างลึกๆไป 2-3 เมตรมันไม่เคลื่อนตัว เพราะใบจักรมันก็ไปไม่ถึง เปลืองน้ำมัน เปลืองพลังงานเปล่า พอไปติเขาก็อย่าเอามาทำงาน เพราะติมาก ผมทำกับอาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด ก็ไม่โดนเชิญเข้าร่วมในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมประเทศในครั้งนี้”
ซึ่งหากได้มีโอกาสเข้าไปทำงาน ดร.สมิทธเสนอวิธีแก้ไขน้ำล้อมกรุงเทพฯ ศูนย์กลางของประเทศไทยบ้าง นอกจากการนั่งตาปริบๆ คอยน้ำกระชับพื้นที่
“มีทางเดียวต้องระบายน้ำออกสู่ปลายคลองปลายแม่น้ำบางประกงออกทางคลองสำโรง คลองแสนแสบ คลองจระเข้ แล้วก็ออกไปทางคลองด่าน ที่นั่นมีระบบระบายน้ำด้วยการสูบที่มีประสิทธิภาพมาก อีกที่หนึ่งก็ระบายน้ำออกไปทางแม่น้ำท่าจีนแล้วก็ระดมเครื่องสูบน้ำไปติดตั้งที่นั่น “เครื่องสูบน้ำเป็นระบบเดียวที่สามารถระบายน้ำได้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ใช้ใบจักรเรือ” ตั้งเครื่องปั๊มขนาดใหญ่ที่ปลายคลองปลายแม่น้ำ มันจะระบายออกเลยแล้วก็สูบออกตลอด 24 ชั่วโมง 2-3 อาทิตย์ก็แห้งแล้ว แต่ผมย้ำว่าต้องลงทุนเอาเครื่องสูบน้ำทั้งหมดไปช่วยกัน กรมชลประทานก็มีจุดระบายน้ำอยู่แล้วที่ปากคลองบางปะกงประสิทธิภาพมาก มีทั้งหมดเครื่อง 16-17 เครื่อง ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง น้ำออกวันละหลายร้อยลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำแบบนี้ทุกคลองทุกแม่น้ำ 3- 4 อาทิตย์น่าจะแห้ง”
ดร.สมิทธ ย้ำว่า ทุกวันนี้แม้รัฐบาลไม่สนใจ แต่ทว่าตนเองกับอ.ปราโมทย์ไม่ได้อยู่นิ่ง ยังเจอกัน ทำงานกัน และมีการเตือนภัยไปยังประชาชนทุกวัน
“เราทำในฐานะมูลนิธิของเอกชน แต่จะให้ไปสอนรัฐบาลเขาก็น่าจะรับฟังเราบ้าง ซึ่งผมเสียดายความเสียหายเป็นแสนๆล้าน นี่ยังไม่รวมค่าที่ต้องซ่อมถนน มันเป็นเงินที่ไม่ควรเสีย แล้วใครจะรับผิดชอบแล้วความเสียหายทางเศรษฐกิจของพ่อค้าใครจะไปช่วย ผมได้รับสัมภาษณ์จากนสพ.นิวยอร์กไทมส์ กับเอพี เขาเป็นห่วงมากๆ แต่นี่ในศูนย์ป้องกันยังมีทะเลาะกันเลย บางคนก็บอกท่วม บางคนก็บอกไม่ท่วม คาดการณ์ผิดๆถูกๆจริงๆ ดังนั้นก็อยากจะให้รับฟังหน่วยงานที่เขาให้องค์ความรู้ได้ นี่ถ้าหยุดปล่อยน้ำตั้งแต่กลางฤดูฝน ฝนจะตกมาบ้างเขื่อนมันจะเต็มก็ให้มันไหลออกโดยธรรมชาติ ไม่ใช่ปล่อยออกมาเยอะๆพร้อมๆกัน มันก็ท่วมกรุงเทพฯหมด”
ต่อจากนั้น ถ้าเขื่อนดินแตก 24 ชั่วโมง กรุงเทพฯ ก็ต้องรับชะตากรรม ถ้าไม่แตกความเสียหายจะน้อยลง แต่ถ้าแตกน้ำจะกระจายไปทั่วกรุงเทพฯ
“สิ่งหนึ่งที่ผมอยากพูดถึงก็คือคานกั้นน้ำที่ทำด้วยดิน ผมไม่เห็นด้วย เพราะดินแช่น้ำไปนานๆ มันก็เป็นเลน ความแข็งแรงไม่มี น้ำสูง 1 เมตรจะมีน้ำหนัก 1 ตัน สามารถจะดันเขื่อนดินไปอย่างสบายๆ กระสอบทรายมาวางก็ไม่มีประโยชน์ ยิ่งทำสูงยิ่งอันตราย ทำสูง 3 เมตร น้ำหนักของน้ำ 3 ตัน ฉะนั้นในเขื่อนที่ยิ่งทำยิ่งสูงนึกว่ายิ่งรอดไม่รอด ถ้าจะทำสูงอย่างนั้นสันเขื่อนก็ต้องกว้าง และต้องมีแก่นเขื่อนที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กลึกลงไป ถึงทำได้ นี่ไม่มีอะไรเลย”
สุดท้าย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำยังกล่าวด้วยน้ำเสียงเศร้าว่า น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ตนได้เห็นสภาพบ้านเมืองเสียหายเพราะน้ำมากอย่างนี้
“ผมก็สงสัยว่าทำไมไม่มีใครศึกษาโครงสร้างผังเมือง ณ วันนี้มันเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่เหมือนก่อน การที่ปล่อยน้ำมาจากเขื่อนออกมาเยอะๆ น้ำมันต้องท่วมแน่นอน แล้วสิ่งที่สำคัญ การสร้างนิคมอุตสาหกรรม สร้างสิ่งปลูกสร้างหลายแห่งมันไปเป็นทางกั้นน้ำ ทำให้พอปล่อยทีเดียวมันก็ท่วม แม้ไม่มีฝนมันก็ท่วม ดังนั้นหลังจากนี้ต้องมีการศึกษาผังเมือง เอาข้อมูลต่างๆ มาใช้ร่วมกัน หน่วยงานที่ควบคุมน้ำของรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลนี้หรือรัฐบาลที่แล้วมีอยู่ 20 กว่าหน่วยงาน ต่างคนก็ต่างมีอธิบดีของตัวเอง มีรองอธิบดี มีนักวิชาการของตัวเอง ก็ใช้ข้อมูลของตัวเองเป็นหลัก ไม่มีการเอาข้อมูลมารวมกันแล้วเอามาวินิจฉัย ผมพูดได้เต็มปากว่าหลายเดือนที่ผ่านมามันไม่มีเอกภาพ แล้วที่สำคัญเขาไม่เห็นคุณค่าประสบการณ์ของทั้งผมและอาจารย์ปราโมทย์ ถ้ารัฐบาลรู้จักใช้คนที่มีความรู้จริงๆ จะสามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้
เปิดใจ ปราโมทย์ ไม้กลัด
"เชื่อว่าการที่ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยใหญ่ในครั้งนี้ หลังน้ำลดรัฐบาลควรจะต้องมีการหามาตรการแก้ปัญหาน้ำแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างเป็นรูปธรรมเสียที ไม่ควรปล่อยเอาไว้อีก เพราะในอนาคตหากไม่คิดแก้ไข ปัญหาก็จะกลับมาอีก อาจอีก 3 ปี 5 ปีข้างหน้า แต่งบประมาณมากแค่ไหนก็จะช่วยอะไรไม่ได้ หากไม่เข้าใจธรรมชาติการไหลของน้ำก็คงไม่เป็นผล ยิ่งหากพยายามสร้างอะไรขวางทางน้ำก็จะยิ่งแย่ ทางแก้ที่ดีที่สุดคือ ต้องไม่ฝืนและต้องให้สอดคล้องกับธรรมชาติ และต้องฉลาดในการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งตนมีแผนงานอยู่ แต่ก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะฟังหรือไม่" นายปราโมทย์ ไม้กลัด ให้สัมภาษณ์กับไทยรัฐออนไลน์
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์ รัฐบาลต้องฟังเราบ้าง
ผมว่าคุณลองค้นประวัติ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช มาอ่านเพิ่มดูละกัน ว่าเค้าทำนายอะไรไว้บ้างแล้วมันไม่เกิดขึ้นจริง
มีคน debunk กันไว้เยอะมากเลยครับ ดร.คนนี้ (ดร.อาจองก็อีกคน ไม่รู้ทำไมสื่อไทยชอบเอามาลงข่าวกันจัง สงสัยลืมง่าย ลืมไปหมดแล้วว่าทั้งคู่เคยมั่วอะไรเอาไว้บ้าง)
+1T ครับ สุดยอดของความมั่วจริงๆ แต่คนก็เชื่อไปเรื่อย
+1นี่แค่ตัวอย่าง...
ดร.สมิทธ ธรรมสโรช เตือนปี 54 สถานการณ์น้ำเข้าขั้นวิกฤติทั้งการอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม เตรียมสร้างสระน้ำต้นแบบแก้ปัญหาภัยแล้งแห่งแรกของประเทศที่โคราช
นครราชสีมา บ่ายวันนี้ (31 ก.ค. 53) ที่โรงแรมวีวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังเป็นวิทยากรสัมมนาโครงการสระน้ำต้นแบบร่วมใจต้านภัยแล้ง ถึงแนวโน้มสถานการณ์ทางธรรมชาติของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้ว่า
ในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยอาจจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะน้ำในการทำเกษตรกรรมและน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค ซึ่งสภาวะความแห้งแล้งของประเทศได้เกิดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 และเราไม่มีพายุจรพัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศมานานแล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างกักเก็บน้ำต่างๆทั่วประเทศลดน้อยลง ถ้าในปี 2553 นี้ยังไม่มีพายุจรพัดผ่านเข้ามาอีกเราจะเกิดสภาวะวิกฤติ และในปีหน้าเราจะไม่มีน้ำทำการเกษตรกรรมเลย รวมทั้งอาจจะไม่มีน้ำในการใช้อุปโภคบริโภคด้วย ซึ่งหากเรายังไม่มีการเก็บกักน้ำไว้ประชาชนจะได้รับความเดือดร้อนมาก
ซึ่งคาดการณ์ว่าเดือนกันยายนนี้จะเกิดปรากฏการณ์ลานีญ่าขึ้นมา แต่เรายังคาดการณ์ไม่ได้ เพราะว่าเราขาดแคลนน้ำที่เก็บกักไว้ในเขื่อนใหญ่ ๆ หรืออ่างเก็บน้ำใหญ่ๆมาต่อเนื่องกันนาน 3 ปีแล้ว ฉะนั้นถ้าไม่มีปรากฎการณ์ลานีญ่าและไม่มีปริมาณฝนที่ตกลงมามากพอสมควร ในปี 2554 ปริมาณน้ำเราจะอยู่ในขั้นวิกฤติมาก ต้องย้ำว่าขั้นวิกฤติ
ลองอ่านบทความอันนี้ของไทยรัฐดูก่อนครับ
แกะรอยน้ำท่วม’54บันทึกไว้ก่อนเลือน
http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/218830
มีคำตอบบางข้อไว้แล้ว เช่นข้อ 3-4
ข้อ 3.
ข้อ 4.
ผมจำได้ว่าวันที่ 4 ก.ย. รัฐบาลมีนโยบายออกมาว่าจะไม่ทำการปล่อยน้ำออกมาจากเขื่อเพื่อให้พี่น้องเกษตรกร ได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อน ต่อจากนั้นอีก ไม่นานก็......
เรื่องนี้ไม่ต้องไปจุดประเด็นเกี่ยวกับรัฐบาลแล้วครับ
ถ้าอยากเล่นรัฐบาลรอดูนโยบายแก้ปัญหาหลังจากนี้ดีกว่าครับ
comment กันคึกคักมากกว่าข่าว it อีก
คอมเมนต์น่าสนใจนะครับ
หลายๆคนที่หยิบเรื่องค่าแรง 300 มาพูด แต่อาจไม่ได้พูดถึงข้อดีนะครับคือภาษีนิติบุคคลลดจาก 30% เหลือ 23% ซึ่งโดยรวมแล้วมีทั้งผลดีและผลเสียแล้วแต่ธุรกิจ
การย้ายโรงงานน่าจะเป็นเพราะธุรกิจของ ซันโย เซมิคอนดักเตอร์ ทำท่าไม่ดีมาเป็นปีแล้วมากกว่า ล่าสุดพึ่งถูกเทคโอเวอร์ไปโดย ON Semiconductor ซึ่งมีสายการผลิตทับซ้อนกันกับบริษัทในมาเลเซียและเวียดนาม การซ่อมอุปกรณ์ในไทยมันไม่คุ้มแม้ว่าอนาคตจะไม่มีน้ำท่วมอีกก็ตาม พวกนี้น่าจะเป็นสาเหตุจริงๆที่ทำให้ปิดโรงงานครับ