คดีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์ประชาไท มาถึงช่วงเวลาอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันนี้ ศาลพิพากษาให้จำคุกนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ 8 เดือนแต่ให้รอลงอาญาเป็นเวลา 1 ปีและปรับ 20,000 บาทจากหนึ่งข้อความที่แสดงบนเว็บไซต์เป็นเวลา 20 วันก่อนจะลบออก จากจำนวนความเห็นทั้งหมด 10 ข้อความที่สั่งฟ้อง
ข้อความทั้งสิบข้อความนั้น อีก 9 ข้อความที่เหลือถูกแสดงบนเว็บไซต์ประชาไทเป็นเวลาสิบวันหรือต่ำกว่า ศาลมองว่ากรอบเวลาสิบวันนั้นอยู่ในเวลาอันสมควรและแสดงความไม่ยินยอมตามมาตรา 15 ของพรบ. คอมพิวเตอร์
ความสำคัญของคำพิพากษานี้คือการแสดงว่าศาลตีความกฎหมายว่าการแสดงความตั้งใจนั้นขึ้นกับระยะเวลาที่แสดงข้อความบนเว็บ ไม่ใช่การได้รับแจ้งเตือนให้ลบแต่อย่างใด การระบุหน้าที่รับผิดชอบเช่นนี้จะเป็นการบังคับให้ทุกเว็บไซต์ต้องตรวจสอบทุกข้อความอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในความเห็นของผม พรบ. คอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบันเป็นการผ่านกฎหมายอย่างรีบเร่งของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อปี 2550 มาตรา 15 นั้นระบุเพียงว่าผู้ให้บริการที่จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการเผยแพร่ข้อความก็ถือเป็นความผิดเช่นเดียวกับการเผยแพร่ข้อความ โดยไม่มีการสร้างกฎระเบียบใดๆ ล่วงหน้าว่าผู้ให้บริการจะต้องทำเช่นไรจึงเป็นการแสดงความไม่ยินยอมเปิดโอกาสให้มีการตีความความยินยอมเช่นในคดีนี้
เว็บไซต์จำนวนมากทั่วโลกเปิดให้บริการโพสข้อความโดยไม่มีการตรวจสอบล่วงหน้า หลายเว็บไซต์ที่ผู้ใช้บริการนับล้านคนมีเจ้าหน้าที่ดูแลเพียงไม่ถึงสิบคน การบีบบังคับให้ผู้ดูแลเว็บไซต์ต้องตรวจสอบทุกข้อความคือการบังคับให้ทุกเว็บไซต์ยกเลิกบริการโพสข้อความด้วยตัวเอง
ในฐานะหนึ่งในผู้ดูแลเว็บไซต์ ผมเรียกร้องให้มีการเร่งแก้ไขพรบ. คอมพิวเตอร์อย่างเร่งด่วน สร้างมาตรการที่ชัดเจนและทำได้จริงโดยไม่ปิดกั้นเสรีภาพอินเทอร์เน็ต
Comments
คนออกกฏหมาย คิดกันอยู่ไม่กี่คน แล้วมาบังคับใช้ทั้งประเทศ o.O
มองแบบนี้ก็ไม่ถูกนะครับ เพราะระบบออกกฎหมายผ่านระบบตัวแทน ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบตรง มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วในทางปฏิบัติที่จะให้ทุกคนร่าง หรือมีสิทธิ์ในการตอบรับกฏหมาย
ส่วนกรณีกฏหมายดีไม่ดี เป็นธรรมหรือไม่ เป็นอีกประเด็นครับ
สนช. ไม่ใช่ตัวแทนครับ
lewcpe.com , @wasonliw
+1
@TonsTweetings
กฎหมายนี้ผ่านสภาโดย สนช.ที่มาจากคณะรัฐประหารนะครับ
pittaya.com
แล้วถ้าสภาชุดปัจจุบันที่ถูกเลือกตั้งมา ไม่แก้ พรบ. ฉบับนี้ จนกระทั้งหมดวาระไป เราก็น่าจะยอมรับ พรบ. ฉบับนี้นะครับ
ไม่เกี่ยวเลยครับ กฏหมายค้างในสภามีเป็นจำนวนมากที่เข้าคิวกันอยู่ จะบอกว่าหมดสมัยถือว่ายอมรับ แสดงว่ากฏหมายใหม่ที่ออกไม่ทันก็ต้องยอมรับว่าเราไม่ต้องมีก็ได้?
lewcpe.com , @wasonliw
ไม่ใช่ยังงั้นครับ คือกรอบของการยอมรับมันอยู่ที่ไหนอ่ะครับ สมมุติผ่านไป 8 ปี 10 ปี พรบ. นี้ก็ยังก้ไม่ถูกแก้เสียที เราก็ไม่ยอมรับมันจนกว่าจะแก้หรือครับ (แต่จริงๆคงเป็นไปไม่ได้ เพราะเข้าใจว่าต้องแก้ ให้ทันตามยุคสมัย)
ยอมรับหรือไม่ยอมรับ มันก็มีผลบังคับใช้อยู่ครับ เราบังคับให้ทุกคนยอมรับไม่ได้หรอก แต่กฏหมายไม่ใช่สิ่งตายตัวที่แก้ไขอะไรไม่ได้ ถ้าคนไม่ยอมรับมีมากในระดับหนึ่งการแก้ไขมันก็เป็นไปได้ครับ
pittaya.com
+1 อันนี้ชัดเจนดี
+1
เห็นด้วย ลงชื่อได้ที่ไหนครับ -_-
ลงชื่อด้วยครับ
ลงกันที่ไหนบอกด้วย จะตามไปลงชื่อด้วยคนครับ
ถ้าเจ้าของเว็บไซต์ไม่อยากมีปัญหาก็ปิดการแสดงความเห็นซะ ไชโย!
ตรงที่มีแสง
ไม่ต้องปิดก็ได้ครับ เปลี่ยนตรงการแสดงความเห็น ให้เป็น โพสโดย FB สิครับ ทีนี้เวลามีเรื่องไร มันก็คือความเห็นใน FB หึหึ ไม่เกี่ยวกับเว็บเรา ^^ เดี๋ยวนี้ CMS ต่างๆมี FB comment แล้วครับ อย่าง Wordpress ก็มี เสียดายที่ ต้องใช้กับเว็บไซท์ที่มีโดเมน น่าเชื่อถือเท่านั้น -*- พวกซับโดเมน หรือ โดเมนที่ได้จากเว็บโฮสติ้งฟรี ใช้ไม่ค่อยได้เท่าไร TT
คนสร้างถนนให้โจร ใช้ขับรถผิด ..... ต่อไปการไฟฟ้าให้บริการไฟฟ้ากับโจร ก็คงจะต้องมีความผิดด้วยเช่นกัน
ไว้เวลาโจรปล้นบ้าน ก็ควรต้องฟ้องเทศบาล เพราะดันมีถนนให้โจรขับรถผ่าน
กฎหมายข้อนี้มันพิลึกได้โล่เลย เอาไป 5 กะโหลก
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
อย่าลืมฟ้อง กระทรวงทรัพยากรณ์ธรรมาชาติและสิ่งแวดล้อม ที่สร้างส่งเสริมการสร้าง ออกซิเจน ให้โจรหายใจด้วยนะครับ - -"
Case Study อีกครั้ง ต่อไปโพสต์อะไรเกิน 10 วันต้องรีบเอาออก ?
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
ทำไมกฏหมายไทยมันคลุมเครือ หรือเพราะออกโดยคนไม่มีความรู้ = =
ไม่ใช่เฉพาะข้อนี้หรอกครับ กฏหมายไทยส่วนใหญ่ประโยคนึงตีความได้ร้อยแปด แล้วแต่ผู้มีอำนาจวาสนาจะบรรดาลให้มันเป็น :)
พรบคอมไทยถ้าจำไม่ผิดลอกมาจากเมกาอีกทีนะครับ แต่เมกาไม่ใครออกมาโวยวาย
จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
lewcpe.com , @wasonliw
ลองอ่านข่าวบลอกนันย้อนหลังสักหน่อยก็ดีครับ แล้วจะเห็นว่าอเมริกานี่ขี้โวยเรื่องกฏหมายไซเบอร์ตัวพ่อเหมือนกัน แถมพลเมืองเขาก็ประท้วงกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันเลยทีเดียว
คำใบ้: SOPA
อันนั้นใบ้เหรอครับ คริ คริ
ประท้วงกันสนุกไปเลยตอนนั้น
ลบครับ
"โดยไม่มีการสร้างกฎระเบียบใดๆ ล่วงหน้าว่าผู้ให้บริการจะต้องทำเช่นไรจึงเป็นการแสดงความไม่ยินยอมเปิดโอกาสให้มีการตีความความยินยอมเช่นในคดีนี้"
สาระมันอยู่ตรงนี้แหละครับ กฎหมายฉบับนี้ทำให้การกระทำแบบเดียวกันอาจผิดหรือไม่ผิดก็ได้ แล้วแต่ว่าใครทำ
เขียน plugin CMS ให้ลบ comment เก่าเกินสิบวันทิ้งอัตโนมัติ
pittaya.com
Twitter และ Facebook ถือว่าเป็นของผิดกฏหมายไทยทันทีล่ะสิ?
@TonsTweetings
ใช่ครับ twitter Facebook YouTube ล้วนผิดกฏหมายทั้งสิ้นคิดว่าแม้ว่าจะเปลียนเป็นระบบ Facebook comment ศาลก็เห็นว่าเจ้าของยัง Moderate ได้
แต่การ comment คือ ecosystem ที่สำคัญของเว็บไซต์ ดังนั้นตั้งระบบ auto ให้ลบก็ไม่เหมาะครับหลังจากนี้การตัดสินครั้งนี้จะเป็นบรรทัดฐานที่ไม่ดีต่อไปจึงเห็นสนับสนุนให้แก้ไขครับ
เช่นเดียวกัน เราน่าจะฟ้องทรู ดีแทค เอไอเอส ที่ทำให้เราเห็นเนื้อหาพวกนี้ได้ ในฐานะไม่ยอม moderate เนื้อหา! ผมควรจะฟ้องร้านอาหารร้านกาแฟทุกร้านที่มีอินเทอร์เน็ต ที่ไม่ยอม moderate เนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตทำให้ผมดึงเนื้อหาเหล่านี้ออกมาได้ในขณะที่ใช้เน็ตของเขาเป็นสื่อกลาง
เหมือนว่าเราจะพัฒนาไกลกว่าอิหร่านเรื่องนี้แล้วสินะ
@TonsTweetings
ชัดเจนครับ สิ่งนี้แหละที่อยากให้คิด แถมถ้าสมมุติผมบังเอิญทำเว็บข่าวการเมือง เว็บดันโชคดีทำมานานไม่โดนฟ้อง มีข่าวสัก 2 หมื่นหน้า ... สงสัยต้องจ้างคน 2 หมื่นคนมามอนิเตอร์แต่ละข่าวป้องกันความซวยจากคนที่โดนข่าวการเมืองพาดพิง
ปัญหาข้อนี้ขอนิยามว่า สลัดเป็ด (ไม่มีความหมายหรอก แต่มันโดน)
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
อ่านแล้วจับใจความได้ว่า เวลา 10 วันที่ข้อความปรากฏอยู่เป็นเวลาที่นานพอที่ผู้ดูแลเว็บจะ "ตรวจสอบจนพบและดำเนินการ" อันนี้หมายความว่า ถ้ามีส่วนแสดงความคิดเห็นในเว็บ ก็จะต้องมีผู้ตรวจสอบในปริมาณที่เหมาะสมกันเพื่อตรวจสอบ "ทุก ๆ ความเห็นที่แสดงเข้ามาในเว็บ" แปลว่าต้องมีคนมานั่งอ่าน "ทุกโพสต์" เพื่อพิจารณาว่า "ควรลบโพสต์นั้นหรือไม่" ถ้าเป็นเว็บพันทิพย์จะต้องจ้างคนอ่านกระทู้กี่คนกัน?!?!?!
เว็บใหญ่ถึงได้มีระบบ report นั้นแหล่ะครับ เพราะพรบคอมไทยก็ลอกมาจากเมกาอีกที การตีความกฏหมายตีความเจตนา ไม่ได้ตีความตามตัวอีกษร
แต่ผมยังไม่ได้อ่านคำพิพากษาฉบับเต็มเลยยังไม่รู้ว่าศาลในหลักการอะไรในการพิจรณาเจตนาว่า mod เห้นข้อความนั้นแล้วจงใจปล่อยทิ้งไว้
ร่วมลงชื่อไม่เห็นด้วยครับ
"ศาลตีความกฏหมายว่าการแสดงความตั้งใจนั้นขึ้นกับระยะเวลาที่แสดงข้อความบนเว็บ ไม่ใช่การได้รับแจ้งเตือนให้ลบแต่อย่างใด"
ตรงนี้ชัดเจนว่าผู้ดูแลเว็บไม่มีทางเลือกอื่นเลย ถ้าเป็นระบบแจ้งเตือนแล้วค่อยลบ ยังพอจะจัดการให้อยู่ในระยะเวลาได้ แต่ด้วยคำตัดสินแบบนี้หมายความว่าคนเป็นตัวกลางต้องป้องกันตัวเองไว้ก่อน จะเล็กน้อยแค่ไหนก็ต้องเซ็นเซอร์
pittaya.com
อยู่ยากขึ้นทุกวัน ทำเป็นวิศวกรโยธาไปได้ =A=แก้ใหม่เตอะ
พรบ.คอมพิวเตอร์ต้านกันมาหลายรอบตั้งแต่แรกคลอดด้วยซ้ำ (จำได้รางๆ ว่าเคยลงชื่อไป) แต่ท่าทางจะไม่มีพรรคไหนสนใจเสียงประชาชนจริงๆ (หรืออาจจะไม่กล้าแตะกฎหมายจากทหารซึ่งก็น่าหดหู่อยู่ดี) แถมการตัดสินคดีทางการเมืองช่วงหลังๆ ยังสร้างบรรทัดฐานที่พิลึกพิลั่นบ่อยๆ มืดมนอนธการเหลือเกินเมืองไทย
อีกเรื่องที่ยังต้องจับมองก่อนจะแตกตื่น คือคุณจีรนุชจะสู้ถึงฎีกาหรือเปล่า เพราะคำตัดสินอันนี้ยังไม่ถึงที่สุด ต้องให้คดียุติในทางใดทางหนึ่งก่อนถึงจะเป็นบรรทัดฐานได้
แต่เพื่อความปลอดภัยของเว็บนี้เอง ขอเสนอให้ปิดส่วนแสดงความคิดเห็นไปเลย ไม่งั้นติดคุกนะเออ
ปล.ไอ้ข่าวนี้สงสัยจะกลายเป็นจริงแล้วเว้ยเฮ้ย ซักเคอร์เบิร์กหวั่นตกเป็นเหยื่อ ม.112 วอนคนไทยเลิกใช้เฟซบุ้ค
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
ถูกต้องครับ ว่ากันตามตรงก็คือผมกับคุณ lew มีความเสี่ยงที่จะโดนแบบเดียวกับคุณจีรนุช รวมถึงเว็บมาสเตอร์อื่นๆ ทั่วฟ้าเมืองไทยด้วย
ผมว่าต่อไปเว็บที่ให้บริการในไทยคงไม่มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นอีกต่อไปแล้วละครับ เพราะถูกควบคุมซะขนาดนั้น แถมเสียงประชาชนสู้เสียงในสภาส่วนใหญ่แทบไม่ได้เลย ก็ไม่รู้ว่าพรบ.คอมพิวเตอร์จะได้แก้ให้มันพอเหมาะพอควรรึเปล่า หรือปล่อยให้แก้จนประชาชนทั่วๆไปแทบไม่มีสิทธิ์ในการแตะต้องอินเทอร์เน็ตเลย
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
คุณทั้งสองพูดก็ถูก แต่ถามว่าคุณเคยอ่าน comment ในประชาไทไหมครับ และถ้าเคยทำไมถึงได้ต่อต้านออกหน้าออกตาขนาดนี้
คำถามคือประเด็นที่คุณอยากให้แก้คือเฉพาะเรื่องที่อยากให้เอาผิดกับผู้ post แทนที่จะเอาผิดกับเจ้าของเว็บใช่ไหม? ถ้าเป็นประเด็นนี้ผมเห็นด้วยแต่เพื่อไม่ให้เิกิดการหย่อนยานหรือปล่อยปล่ะละเลยจนเกินไปเฉกเช่นประชาไท ยังไงเสียเจ้าของหรือผู้ดูแลเว็บก็ย่อมต้องมีส่วนรับผิดชอบเช่นกันเรื่องนี้ก็เหมือนทุกเรื่องมันมีสองด้านเสมอครับ แล้วอะไรล่ะที่อยู่ตรงกลางที่สุด ผมเองก็ตอบไม่ได้ ทุกคนก็ย่อมคิดถึงแต่ส่วนที่เข้าข้างหรือมีผลประโยชน์กับตัวเองเสมอ และผมจะบอกกับคุณ mk ว่า ถ้า blognone มีการดูแลที่ดีเฉกเช่นทุกวันนี้ ยังไงเสียที่นี่ก็ไม่มีทางโดนคดีนี้หรอกครับ
คุณเคยอ่านคอมเมนต์ใน Facebook ไหม? ทำไม Mark Zuckerberg ถึงได้หย่อนยานหรือละเลยจนเกินไปถึงได้เกิดหน้า Page จำนวนมากเช่นนี้
กฎหมาย โดยเฉพาะกฏหมายอาญาจะต้องระบุความผิดให้ชัดเจน ไม่สร้างฐานความผิดบนความคลุมเครือ
รัฐที่ดีเขาไม่ทำกันครับ
lewcpe.com , @wasonliw
มันเป็นคนละเรื่องกันครับ ถ้าเขาเลือกตัดสินให้ผิด โดยให้เหตุผลว่า "เชื่อได้ว่าเว็บไซต์ประชาไทต้องการนำเสนอเนื้อหาหมิ่นสถาบัน" ก็คงไม่มีคนออกมาโวยวายประเด็นนี้ครับ (แต่คงมีประเด็นอื่นแทน)
แต่กรณีที่เป็นปัญหาคือ การให้เหตุผลว่า "การไม่ลบข้อความผิดกฎหมายที่ปรากฎบนเว็บเกินสิบวันถือว่าผิด" ซึ่งจะกระทบต่อคนทำเว็บโดยทั่วไปทันทีครับ
ผมตอบในฐานะที่ถูกพาดพิง และรู้จักทีมงานประชาไทพอสมควรนะครับ ว่าประชาไทดูแลคอมเมนต์ละเอียดกว่า Blognone เยอะมากครับ
ถ้าคุณมาโพสต์ตอนตีสี่ในวันที่ผมมีธุระยุ่งๆ ผมไม่มีทางเห็นคอมเมนต์คุณหรอกครับ
ทั้งรัฐ และทั้งเว็บมาสเตอร์ต่าง ๆ ต่างก็ต้องรับผิดชอบมากขึ้นเมื่อระบบของตนเองใหญ่ขึ้นนะครับ
เพจตัวอย่างผลงานถ่ายภาพ / วีดีโอ
รับทราบครับ ยังไงผมก็ึคงต้องยอมรับ เพราะคงเถียงไม่ชนะจริงๆ ถ้ามองในแง่ของตัวข้อกฏหมายที่ยังมีจุดอ่อนมากเกินไป
ผมเดาว่ากฏหมายข้อนี้จุดประสงค์ที่เขียนไว้เช่นนี้ก็เพื่อ ป้องกันการส่งเสริม มากกว่า มันเลยคลุมเครือ ไม่ใ่ช่เพราะเขียนไม่ดีแต่เพราะไม่รู้จะเขียนยังไงให้พอดีมากกว่าครับ
ถ้าจะตีความว่า การแสดงความตั้งใจ คือระยะเวลา
งั้นต้องเอาจำนวนผู้ดูแลหารกับจำนวนผูัใช้บริการ และหารกับโทษของจำนวนวันด้วย ถึงจะยุติธรรม
สมมุติว่า 100000 ผูัใช้บริการ ต่อผู้ดูแล 5 คน เท่ากับ 0.00005
แสดงจำนวน 10 วันโทษ 1 ปี เงิน 20000 บาทความผิดทั้งหมด = 1ปีx0.00005 ปรับ 1x0.00005
เหลือจำคุก 0.01825 วัน ปรับ 1 บาท
LinkedIn
ถ้าผู้พิพากษาใช้ความรู้สึกในการตัดสิน พันหลักฐาน ล้านเหตุผล ไม่มีประโยชน์ หากศาลพูดว่า "ศาลเชื่อโดยสนิทใจว่าจำเลย..."
Patrickz's blog |
linkedin
ภาษากฎหมาย มีไว้ให้"ตีความ" ไม่ได้เขียนไว้ให้ชัดเจนครับ การตีความ ก็ขึ้นกับ บุคลากรตามขั้นตอนกฎหมาย
ปกติกฎหมาย มีเจตนารมณ์ของมันอยู่แล้ว
ปกติไม่ได้เห็นด้วยกับกฎหมาย แต่พอได้มีโอกาสศึกษากฎหมายจริงๆ จังๆ มุมมองจะเปลี่ยนไป (อยากให้ลองศึกษากฎหมายดู)
อย่าลืมว่า กฎหมายไทย ไม่ได้ครอบคลุมไปถึง Facebook, Twitter ที่อยู่ต่างประเทศ แต่เว็บประชาไท อยู่ภายใต้กฎหมายไทย
ถ้ามี สส. มากพอ ก็สามารถแก้ไข กฎหมายอะไรก็ได้ (สส.เป็นตัวแทนประชาชน) ดังตัวอย่างที่เห็น และเป็นอยู่ในบ้านเรา
ผิดครับ กฎหมายไทยครอบคลุมผู้กระทำชาวต่างชาติที่กระทำนอกประเทศด้วยตาม มาตรา 17
lewcpe.com , @wasonliw
ขอบคุณครับ ที่แก้ไขความเข้าใจผิดให้ครับ
ประชาไทมีบทความและข้อความที่หมิ่นเหม่เยอะมาก น่าจะโดนปิดไปนานแล้ว (ความเห็นส่วนตัวนะ)
ปัญหาคือมันมีคนคิดแบบนั้นจริงๆ และการห้ามไม่ให้พูดไม่ใด้แก้ปัญหา แต่เป็นการย้ายปัญหา เหมือนที่จีนห้ามชื้อ-ขายเกมส์ Diablo III แล้วออกมาเป็นสับปะรดยักษ์แทน
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
Facebook / Twitter / YouTube มีบทความและข้อความที่แรงๆ กว่าประชาไทเยอะมากครับ สมควรโดนปิดด้วยไหมครับ?
pittaya.com
แยกให้ออกนะครับ เนื้อหา คนดูแล คนโพส ตัวเว็บมันคนละอย่างกัน เว็บประชาไทยคนก่อตั้งเป็นคนไทย ทำผิดจริงก็ต้องรับผลของมันไป ถ้าใครอยากทำแต่กลัวผลก็ไปเปลี่ยนสัญชาติซะแล้วลองทำดูสิ ผมอยากรู้เหมือนกันว่าจะเป็นไง
กฎหมายไทยบังคับใช้แต่กับคนสัญชาติไทยหรอครับ ผมไม่ค่อยมีความรู้เรื่องกฎหมาย หรือว่าเจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ?
pittaya.com
แบบนี้ถ้า Mark Zuckerberg มาไทยอีกที ตร. ไปรอที่สนามบินยื่นหมายเรียกไปสอบสวนเรื่องที่มีผู้โพสต์หรือทำแอคเค้าท์หมิ่นสถาบัน ถ้าขัดขืนก็ขอหมายจับเลย
อ่อ Larry Page ด้วยนะครับ (Youtube)
การปิดเว็บเป็นเรื่องบัดซบครับ เหมือนหลับตานั่งขี้กลางห้าง เพื่อไม่ให้คนอื่นเห็น หากประชาไทผิด ควรฟ้องร้องดำเนินคดีไปตามกระบวนการยุติธรรม
เห็นภาพชัดเจนเลยครับ. อี๋....
อันตรายมาก ถ้าแนวทางการตัดสินเป็นแบบนี้ แสดงว่าผู้ให้บริการ ต้องคอยนั่งอ่านและกรองข้อความทุกอัน ไม่ให้อยู่นานเกินสิบวัน
เวบโลกสวยจะอยู่ได้หรือ? สงสัยต้องจ้างพนักงานกรองกระทู้ร้อยคนถึงจะทันอ่านทุกคคห.ใน10วัน เหอๆ
หรือไม่ก็จะลบกระทู้ภายในสิบวันมันซะเลย แต่ไม่ใช่คดีหน้ามาอ้าง3วัน5วันก็นานเกินไปอีกนะ?
โดยส่วนตัวกฎหมายนี้เขียนแบบคลุมเครือมากไป เอื้อต่อการตีความแบบเหวี่ยงแห และที่สำคัญมันไม่เป็นบรรทัดฐานอีกด้วยน่ะซี (ไม่อยากจะยกคดีตัวอย่าง กลัวโดนข้อหาหมิ่นศาลฯ จำคุก1-7ปีนะครับ)
ป.ล.ระบบยุติธรรมบ้านเราดันยึดตัวบท มากกว่าจะยึดที่มาและนิติธรรม มันก็เลยเป็นปัญหาว่า เผด็จการถือปืนจะออกกฎหมายมั่วยังไงก็ได้(สนช.แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารทุกคน) ต้องบังคับใช้เสมอจนกว่าจะมีคนแก้ ปัญหาคือพอจะมีคนแก้ก็ดันออกมาขวางก่อม๊อบกันวุ่นวายอีก มันตลกที่เราบูชาตัวอักษร แต่ไม่ตระหนักถึงที่มาและเนื้อหาของมัน
ถ้าตีความแบบนี้เจ้าของเฟซบุ๊คก็โดนด้วยสิครับ
ถ้ามีคนฟ้อง Facebook / Twitter / YouTube เว็บพวกนี้จะโดนแบบเดียวกับคดีนี้ไหมครับ?
เข้าใจว่าเป็นอาญาแผ่นดิน อัยการเป็นคนฟ้อง และฟ้องนิติบุคคล จำคุกไม่ได้
อาญาแผ่นดิน คนปกติน่าจะ "แจ้งความ" ได้ครับ (แต่ก็คืออัยการมาจัดการต่ออีกที)
@TonsTweetings
เราเป็นได้แค่ผู้อยู่อาศัยเท่านั้นจริง ๆ ไม่ใช่เจ้าของประเทศ แถมดีไม่ดียังโดนยัดเยียดว่าเป็นหนี้แผ่นดินอีกต่างหาก
ผมว่าเวปประชาไทยสมควรโดนแล้ว เพราะมีบทความและข้อความหมิ่นอยู่เยอะมาก ถ้าไม่พูดหรือไม่พิมพ์ กฎหมายนี้ก็คือแค่กฎหมายเท่านั้นน่ะ ไม่มีผลอะไรกับชีวิตประจำวันหรอก ก็เหมือนกฎหมายทั่วๆไปที่กำหนดไว้ ถ้าเราไม่ทำผิดมันก็ไม่กระทบกับชีวิตเราสักนิด
กฏหมายมีผลกับชีวิตประจำวันนะครับ มีผลมากด้วย เพราะว่ามีกฏหมายไงครับ คุณ(รวมถึงทุกคน) ถึงได้ใช้ชีวิตประจำวันแบบนี้ ไม่งั้นซักวันคงมีคนเอาปืนออกมายิงคนบนถนนตายแล้วไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
มันคือกติกาที่คนในสังคมร่วมกันกำหนดขึ้น เราใช้กฏหมายคุ้มครองสิทธิของเราและสิทธิของผู้อื่น
(ข้อความนี้จะทำลายตัวเองภายในสิบวัน)
เป็นการสนับสนุนสังคมปิดในอีกรูปแบบนึงล่ะมั้ง
เหนื่อยยยย และเศร้า T_T
งานนี้ pantip.com เดือดร้อนเต็ม ๆ
blog.semicolon.in.th
จริงๆ ไม่ชอบเว็ป ประชาไท ไม่เคยเข้าแต่รู้ว่าเป็นพวกเสื้อแดง
แต่ทำอย่างนี้ก็ไม่ถูกต้องทีเดียวหากเป็นเว็ปที่เปิดกว้างคอมเม้นได้ ต้องให้สิทธิ คัดกรองข้อมูลหรืออาจจะถูกฟ้องร้องได้ภายใน กี่วันก็ว่าไป 30 - 60 วัน แต่ถ้าจงใจเจตนาให้ปล่อยผ่านเป็นครึ่งปี เป็นหลายๆเดือน ก็แสดงว่า จงจัยให้ข้อมูลอันเป็นเท็จและให้ร้ายผู้อื่นก็สมควร ก็ไม่เคยเข้าด้วยว่ามีการส่งข้อความร้องเรียนไปได้หรือไม่
กฏหมายควรละเอียดกว่านี้จะได้ไม่ต้องมีประเด็นเร่งมือแก้ไขด่วน
ถ้าเอาแต่กรอบเวลาที่แสดง แต่ไม่ได้นับจากวันเวลาที่แจ้งเนื้อหา แบบนี้ตายล่ะครับ
มันไม่มีทางเลยครับ เพราะถ้าเราสร้างเนื้อหาเป็นจำนวนมหาศาล (อย่างเป็นสำนักข่าว) อย่างนี้ทุกๆวันจะมีหน้าเกิดใหม่เป็นเรือนร้อย แบบนี้ผมแบบไปซุกเนื้อหาหมิ่นพระบรมฯแหมะไว้หน้าที่รองๆที่ไม่ฮ็อทเท่าไร (เช่นไปซุกในข่าวขี้หมูราขี้หมาแห้งที่เกิดขึ้นมาแล้วสักสองสัปดาห์?!?) แล้วบ่มไว้สักครึ่งปี แบบนี้ก็เข้าข่ายปิดเว็บได้นะครับ
ข้อดีคืออาจทำให้ผมต้องเข้าไปตรวจความเห็นในบล๊อกร้างๆ ของผมทุกๆ สิบวัน -_-;
ตอนนี้ต้องทำ พรบ. ปรองดองกันก่อนนะ เรื่องอื่นช่างมัน
ถ้าอยากแกล้งเวบบอร์ดไหน ก็แอบไปโพสมั่วๆ ไว้ก่อน แล้วรอให้กระทู้ตกไปไกลๆ แล้วก็กลับไปแก้ไขโพสนั้นอีกที ใครมันจะมาตรวจเจอ
ควรมีการออกหมายแจ้งเตือนเป็นรายลักษณ์อักษรอย่างน้อยสองรอบก่อนจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมครับ เพราะเว็บนั้นเหมือนของเหลวมากกว่าของแข็ง ดังนั้นจึงมีกรณีที่ควรประนีประนอมได้มากกว่า การตีความที่ระบุชัดเจน เช่นกรณีประชาไทคือการที่รัฐหรือผู้ฟ้องไม่ได้มีการตัดเตือนในทางกฏหมายเพื่อดำเนินการ ซึ่งแบบนี้จะทำให้ผู้ให้บริการเว็บรู้และ Moderate เนื้อหาได้ (เพราะยื่นหมายต้องให้อีกฝ่ายรับรู้ด้วยครับ)
การออกกฏหมายที่แข็งไปก็จะทำให้เกิดช่องโหว่ การออกกฏหมายที่อ่อนไปก็จะเกิดความหล่ะหลวม เช่นที่เห็นรอบนี้คือมันแข็งไป
กฏหมายต้องดิ้นได้เหมือนสาวในผับครับ ... หล่อนจะสวยขึ้นหากหล่อนดิ้นได้มากขึ้นครับ
ปล.ไม่ควรกำหนดข้อบังคับชัดเจนบนอินเตอร์เน็ตครับ พรบ.คอม ควรทำหน้าที่เอื้อเฟื้อกฏหมายอื่นในกรณีที่คดีมีส่วนเกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตมากกว่าที่จะมากำหนดขอบเขตโทษบนอินเตอร์เน็ตครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
ภาครัฐควรเป็นฝ่ายเฝ้าระวัง เมื่อพบเห็นข้อความที่ไม่ควรก็แจ้งให้เวปนั้นๆลบ ถ้าไม่ลบในเวลาที่กำหนดก็ค่อยลงโทษ
ศาลตัดสินจากเจตนาไม่ใช้จากตัวอักษร ผมคิดว่ามีคนหลายๆคนเข้าใจผิดจุดนี้ไปกันเยอะนะ
ผมยังไม่ได้อ่านคำพิพากษาฉบับเต็ม เลยยังไม่อยากตีโผยตีผายโทษกฏหมายไปซะก่อน เพราะยังไม่รู้ว่าศาลใช้อะไรในการพิจรณาการปล่อยข้อความที่ผิดกฏหมายทิ้งไว้ 10วันเป็นการเจตนาสนับสนุนการทำผิดกฏหมาย แต่ถ้าพิจรณาเนื้อหาในเว็บนั้นร้วมด้วยก็อาจจะไม่ใช้เรื่องแปลกอะไร
จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ครับ
ศาลตัดสินจากตัวอักษรครับ
pittaya.com
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
^
ไม่เห็นได้ระบุไว้เลยว่าเกิน 10 วันแล้วมันจะผิด ผมว่าหลายท่านในนี้ตีโพยตีพายเรื่อง 10 วันกันเกินไปแล้ว
ถ้าปล่อยทิ้งไว้ซัก 100 วันมันก็ไม่ผิดหลอก (ถ้าเราไม่ได้สนับสนุน)
คำตัดสิน ไม่ได้ระบุเกณฑ์มาตรฐานครับ แต่ในคดีนี้ใช้ 10วัน ส่วนคดีข้างหน้าอาจจะกำหนด 3วัน 5วันก็ได้ เพราะใช้ดุลพินิจของผู้ตัดสิน ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานใดๆ
ที่สำคัญ ไม่มีการพิสูจน์เจตนาว่าผู้ดูแลจงใจปล่อยปละละเลย หรือจงใจเผยแพร่ข้อความเหล่านั้นนะครับ เพราะพอมีการแจ้งเข้าไปผู้ดูแลก็รีบลบออกทันที ฉะนั้นข้ออ้างที่คุณว่าถ้าปล่อยไว้100วันก็ไม่ผิดถ้าไม่ได้สนับสนุน จึงอ้างไม่ขึ้นครับ
ยังสงสัยว่าถ้าเป็นเวบไซท์ที่คนเล่นเยอะๆแบบเวบโลกสวยพันทิป มีคดีแบบนี้ ผู้ดูแลที่ไหนจะตามอ่านคคห.วันละหลายพันคคห.ได้ทันบ้าง?
ข้อกำหนดที่คลุมเครือนี่แหละทำให้มันไม่มีบรรทัดฐาน และไม่มีหลักประกันเลยว่า เราต้องดูแลแค่ไหนถึงจะพ้นความรับผิดได้