หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท
คดีประชาไทในการตรวจลบคอมเมนต์เป็น คดีมาตั้งแต่ปี 2012 และส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง มี หน่วยงานทั่วโลกออกมาแสดงความเห็น วันนี้ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษา ยืน ตามศาลอุทธรณ์ ตัดสินโทษจำคุก 8 เดือนรอลงอาญา 1 ปี และปรับ 20,000 บาท
ความผิดครั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 15 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่มุ่งเอาผิดผู้ให้บริการ
ที่มา - ประชาไท
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษาในคดีที่นางสาวจีรนุช เปรมชัยพรผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไทถูกฟ้องร้องว่ายินยอมให้มีข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยืนยันตามศาลชั้นต้น ยกคำร้องเกี่ยวกับข้อความที่ปรากฎบนเว็บไซต์ 11 วันลงไปทั้งหมด ยกเว้นหนึ่งข้อความที่ถูกแสดงบนเว็บไซต์นาน 20 วัน โทษตามเดิมคือจำคุก 8 เดือนรอลงอาญา และปรับสองหมื่นบาท
คดีนี้ทั้งฝ่ายอัยการและจำเลยต่างอุทธรณ์ ในฝั่งนางสาวจีรนุชนั้นอุทธรณ์โดยยืนยันว่าไม่มีความผิดเนื่องจากได้ลบข้อความตามที่เจ้าหน้าที่แจ้งมาแล้ว
คำตัดสินจำคุก 8 เดือนรอลงอาญา 1 ปีและปรับ 20,000 บาทที่ศาลอาญาพิพากษาคุณจีรนุช เปรมชัยพร ทำให้หน่วยงานทั่วโลกออกมาแสดงความเห็นนี้อย่างต่อเนื่อง ผ่านไปสองวันหน่วยงานหลักๆ น่าจะแสดงความเห็นกันครบถ้วนแล้ว ก็คงรวบรวมไว้ในข่าวเดียวกัน
- Read more about ความเห็นของหน่วยงานทั่วโลกต่อคดีประชาไท
- 25 comments
- Log in or register to post comments
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียแถลงคดีประชาไท: ผิดหวังกับอันตรายของเสรีภาพการแสดงออกและสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission - AHRC) ออกแถลงการต่อคดีประชาไทเมื่อวานนี้ แสดงความผิดหวังอย่างรุนแรง (gravely dismayed) กับการการขยายตัวของอันตรายต่อเสรีภาพการแสดงออกและสิทธิมนุษยชน
Human Rights Watch (HRW) แสดงความเห็นในคดีประชาไทเมื่อวานนี้ว่าการลงโทษผู้ดูแลเว็บด้วยกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นการแสดงถึงการใช้กฏหมายอย่างผิดประเภทมากขึ้นเรื่อยๆ ของรัฐบาลไทย และตัดสินโทษจำคุกเป็นการเพิ่มบรรยากาศความกลัวและผลักดันให้มีการเซ็นเซอร์ตัวเองมากขึ้นในสื่อของไทย
Brad Adams ผู้อำนวยการฝ่ายเอเซียของ HRW ระบุว่าคำพิพากษานี้จะทำให้ผู้ดูแลเว็บและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะเซ็นเซอร์การพูดคุยในเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะความกลัวที่จะต้องโทษเสียเอง และการลงโทษทางอาญากับตัวกลางในอินเทอร์เน็ตเป็นการแสดงว่าขีดจำกัดความอดทนต่อเสรีภาพทางการพูดของไทยนั้นตกลงต่ำสุดอีกครั้ง
ศูนย์เพื่อประชาธิปไตยและเทคโนโลยี (Center for Democracy and Technology - CDT) ออกแถลงการคัดค้าน (object) คำพิพากษาคดีประชาไท ว่าการลงโทษเว็บมาสเตอร์ที่ดูแลเว็บที่สร้างเนื้อหาโดยผู้ใช้ (user-generated content) ไม่เพียงแต่ไม่ยุติธรรม แต่ยังเป็นอันตรายต่อการแสดงออกของผู้ใช้โดยรวม การตัดสินเช่นนี้จะทำให้เว็บมาสเตอร์ต้องลบข้อความใดๆ ที่มีความเสี่ยงว่าจะผิดกฏหมายแม้จะมีโอกาสน้อยเพียงใดก็ตาม หรือเว็บมาสเตอร์จำนวนหนึ่งอาจจะเลือกที่จะไม่รับเนื้อหาจากผู้ใช้อีกเลย
ต่อจากกูเกิลที่ออกแถลงการประเด็นคำพิพากษาคดีประชาไทไปในช่วงเย็น สมาคมผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporter without Borders / Reporters sans Frontieres - RSF) ก็ออกแถลงการตามมาถึงความเห็นต่อคดีนี้ว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ของไทยนั้นมีบทลงโทษที่ไม่สมสัดส่วนความผิด และคำพิพากษาในคดีนี้เป็นผลร้าย (threat) กับทุกคนที่ให้บริการโฮสต์เนื้อหาที่ให้บริการในประเทศไทย
นอกจากนี้ RSF ยังระบุว่ากฏหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายปิดกั้นที่สามารถตีความไปในทางที่ไม่สมเหตุสมผลได้ โดย RSF เสนอว่าการร้องขอให้ลบเนื้อหาออกจากเว็บนั้นควรเป็นอำนาจของศาลเท่านั้นไม่ใช่อำนาจของตำรวจ
ข่าวคดีประชาไทในวันนี้สำนักข่าวจำนวนมากรายงานกันทั่วโลก แต่เรื่องน่าสนใจคือบริษัทที่มีสำนักงานในไทยอย่างกูเกิลก็ออกมาแสดงความกังวลกับการใช้กฏหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 อย่างตรงไปตรงมา
กูเกิลยกตัวอย่างบริษัทโทรศัพท์ ว่าต้องไม่ได้รับโทษจากบทสนทนาของผู้โทร เว็บไซต์เองก็ไม่ควรต้องรับผิดจากข้อความบนเว็บไซต์เช่นเดียวกัน แต่การพิพากษาในวันนี้คือการลงโทษเว็บไซต์จากข้อความที่มีผู้อื่นมาโพสต์ พร้อมกับแสดงความกังวลด้านการลงทุน
คำพิพากษาในคดีภาระของผู้ดำเนินการเว็บไซต์ในวันนี้คงมีประเด็นให้ถกเถียงกันอีก ตอนนี้ทาง ThaiNetizen ได้ส่งตัวแทนไปร่วมฟังพิจารณาคดีด้วย และได้ถ่ายภาพเอกสารคำพิจารณามาด้วย
ภาพไม่ชัดสักหน่อย แต่อ่านออกคงเป็นข้อมูลสำหรับการพูดคุยกันต่อไปได้
UPDATE:ผมเพิ่งตรวจพบว่าหน้าสามหายไป กำลังติดต่อขอเอามาวางเพิ่มใหม่ครับ
UPDATE2:เพิ่มครบแล้วครับ
UPDATE3:แก้ไขหัวข้อ เพราะเป็น "ย่อคำพิพากษา"
- Read more about คำพิพากษาฉบับย่อคดีประชาไทมาแล้ว
- 14 comments
- Log in or register to post comments
คดีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์ประชาไท มาถึงช่วงเวลาอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันนี้ ศาลพิพากษาให้จำคุกนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ 8 เดือนแต่ให้รอลงอาญาเป็นเวลา 1 ปีและปรับ 20,000 บาทจากหนึ่งข้อความที่แสดงบนเว็บไซต์เป็นเวลา 20 วันก่อนจะลบออก จากจำนวนความเห็นทั้งหมด 10 ข้อความที่สั่งฟ้อง
ข้อความทั้งสิบข้อความนั้น อีก 9 ข้อความที่เหลือถูกแสดงบนเว็บไซต์ประชาไทเป็นเวลาสิบวันหรือต่ำกว่า ศาลมองว่ากรอบเวลาสิบวันนั้นอยู่ในเวลาอันสมควรและแสดงความไม่ยินยอมตามมาตรา 15 ของพรบ. คอมพิวเตอร์
เมื่อวานนี้ (22 ก.ย.) ช่วงบ่าย น.ส. จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ถูกกักตัวอยู่ที่สนามบินสุวรรณภูมิ หลังจากเดินทางไปประชุม Internet at Liberty 2010 ที่ประเทศฮังการี
คดีที่ถูกจับกุมนั้น ถูกฟ้องโดยนายสุนิมิต จิระสุข ชาวขอนแก่น เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 และ 15 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เนื่องจาก น.ส. จีรนุชเป็นผู้ดูแลเว็บบอร์ดประชาไท โดย ข้อความตามคดีถูกโพสต์เมื่อ 27 เม.ย. 2552และระบุสถานที่เกิดเหตุเป็น จ. ขอนแก่น ทำให้ น.ส. จีรนุชถูกควบคุมตัวไปยังขอนแก่นทันที
เมื่อเวลา 00.58 ของวันที่ 23 ก.ย. ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองขอนแก่น ได้ให้ประกันตัว น.ส. จีรนุช โดยใช้เงินสด 200,000 บาท วางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
หน้าผู้ใช้ Prachatai ใน Facebook รายงานว่า
"บรรณาธิการ เว็บไซต์ประชาไทแจ้ง ได้รับการชี้แจงจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ว่าถูกไอซีทีสั่งให้ทำการบล็อกตามคำสั่งศาล ทั้งนี้บรรณาธิการแสดงความเห็นว่านี่เป็นครั้งแรกที่ถูกปิดอย่างเป็นทางการ แม้กระทั่งหลัง 19 กันยายน 2549 คณะรัฐประหารก็ไม่เคยสั่งปิด"
ขณะที่เขียน 8 เมษายน 2553 เวลา 12.55 น ด้วย อินเตอร์เนท 3BB ไม่สามารถเข้า ประชาไท ได้แล้ว นี่อาจจะเป็นการถูกเซ็นเซอร์ครั้งแรกหลังจากมีการรัฐประหาร
ที่มา: Prachatai
- Read more about เว็บประชาไทถูกสั่งบล็อคด้วยหมายศาล
- 320 comments
- Log in or register to post comments