หลายคนคงไม่แปลกใจหากเห็นข่าว Apple ยื่นขอจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือซอฟต์แวร์ใหม่ แต่ล่าสุดยักษ์ใหญ่ไอทีได้แสดงวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลไปกว่านั้น เมื่อ Apple ได้เสนอเทคนิคการผลิตไฟฟ้าโดยอาศัยพลังงานลมที่ถูกเก็บไว้
การผลิตไฟฟ้าด้วยแรงลมโดยทั่วไป ใช้การหมุนของกังหันลมไปขับขดลวดของเครื่องผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีข้อจำกัดไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในช่วงที่ลมพัดไม่แรงพอ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่การเลือกใช้วิธีผลิตไฟฟ้าพลังงานลมถูกจำกัดเฉพาะพื้นที่ซึ่งมีลมพัดแรงอย่างต่อเนื่อง และจำเป็นต้องมีระบบการจ่ายไฟสำรองไว้คอยสับเปลี่ยน
อย่างไรก็ตาม Apple ได้นำเสนอแนวคิดใหม่เพื่อขอจดสิทธิบัตร โดยจะใช้กำลังงานจากกังหันลมมาสร้างความร้อน และถ่ายเทความร้อนนั้นให้ของเหลวชนิดพิเศษ ซึ่งของเหลวดังกล่าวจะต้องมีความจุความร้อนน้อย (สามารถเพิ่มอุณหภูมิได้ง่ายด้วยพลังงานเพียงเล็กน้อย) โดยเมื่อของเหลวได้รับความร้อนจนอุณหภูมิสูงขึ้น ก็สามารถต้มน้ำให้กลายเป็นไอจนมีความดันเพิ่มขึ้นสูง จากนั้นจึงนำไอดังกล่าวไปขับใบพัดเพื่อหมุนขดลวดของเครื่องผลิตไฟฟ้าเป็นลำดับสุดท้าย
ด้วยเทคนิคของ Apple ที่กล่าวมา แม้กังหันจะหยุดหมุนบ้างในบางขณะ แต่ความร้อนที่สร้างขึ้นมานั้นจะยังคงรักษาอุณหภูมิได้อีกชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะสามารถเปลี่ยนน้ำให้กลายเป็นไอและไปขับเครื่องผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง
เชื่อกันว่า Apple พัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานก็เพื่อปรับปรุงระบบจ่ายไฟให้แก่ศูนย์ข้อมูลของตนเองให้เป็นพลังงานสะอาด คล้ายกับที่ Google ได้ลงทุนและปรับใช้งานระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์มาอย่างต่อเนื่อง
ที่มา - ZDNet , ข้อมูลสิทธิบัตรจาก FPO
Comments
ไม่แน่ว่า แมครุ่นใหม่ๆ อาจมีแบบนี้ติดอยู่ที่พัดลมระบายความร้อน ก็เป็นได้
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
งั้นผมเสนอไอเดีย iPhone มีอุปกรณ์เสริมเป็นกังหันลม ไว้ใช้เวลา Batt หมดละกัน ติดกับ Port แล้วก็ บรื้นนนนน :D
เออ...
ก็ไม่แน่ครับ แต่คงอีกหลายปี
ถ้าอุปกรณ์กินไฟต่ำมากๆ เครื่องกำเนิดพลังงานอันเล็กๆ น่าจะพอให้พลังงานได้
ค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าพลังงานลมแพงมากๆๆๆๆๆครับ เคยกะจะซื้อมาตั้งเล่นที่บ้าน กะว่าต้นเดียวไม่กี่แสน ไม่น่าเกินล้าน
สรุปแล้วต้นละ เกือบ 2 ร้อยล้านบาท
โอ้ มีความคิดซื้อของเล่นราคา "ไม่กี่แสนไม่เกินล้าน" ไว้เล่นหน้าบ้านเลยเหรอครับ - -"
สมมติถ้าซื้อมาได้ ผมขอตามไปเล่นด้วยคนนะครับ :-)
สระว่ายน้ำก็เป็นล้าน เดี๋ยวนี้มีกันหลายบ้านเลย ที่บ้านทำธุรกิจครับ มีของแต่งแปลกๆบ้างก็ดูดึงดูดดี(มั้ง) 555
ผมเสนอไอเดียนี้ครับ
เอาความร้อนของ MBP มาต้มน้ำผลิตไอน้ำเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า แล้ววนซ้ำไปมาอยู่แบบนี้ครับ เป็นพลังงานไร้จำกัด
:อัจฉริยะ:
ไอเดียดี แต่ว่ามันจำกัดครับ เพราะว่าทุกๆ ขั้นตอนของการเปลี่ยนพลังงานดังกล่าวจะมีการสูญเสียพลังงานถ้าทำแล้วคุ้มคงทำกันไปนานแล้วล่ะครับ
ขอบคุณครับ
lol
ถูกครับ ไม่ใช่คนอื่นไม่คิด แต่คิดกันมานานแล้วแต่ไม่จดสิทธิบัตรกันเพราะมัน common เกิน เอาความคิดคนอื่น 2 อย่างมารวมกันแล้วจดสิทธิบัตร อย่าง iPhone ก็เอาทุกอย่างของคนอื่นมารวมกัน ผมยอมรับในแง่ Wow product แต่ไม่ใช่ Innovation
เพิ่มไอเดียให้ครับ
แทนที่พลังงานที่ได้ จะใช้กลับไปใน MBP อย่างเดียว ผมว่าต่อสายออกมาจ่ายไฟให้พวกทีวี, แอร์, ตู้เย็น,... ด้วยน่าจะดีไม่น้อยนะ
แล้วเราก็เอาพลังงานความร้อนจากอุปกรณ์ต่างๆ มาผลิตพลังงานและขายคืนรัฐฯ ได้เงินด้วยครับ
พอเหอะ =__=
เร่ิมต้นด้วยการประหยัดไฟฟ้า โดยการปิดคอมก่อนเลยครับ 555
ผมใช้ความร้อนจากเครื่องคอมผลิตไฟฟ้าให้บริษัทอยู่ครับ
แบบรถพลังแม่เหล็กสินะ
Dream high, work hard.
มันขัดกับกฏข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์
ตอนเด็กๆผมเคยคิดว่า จ่ายไฟฟ้าให้มอเตอร์มันก็หมุน ถ้าเอาแกนของมอเตอร์อีกตัวนึงมาติด ก็ทำหน้าที่ไดนาโมผลิตไฟฟ้า พอได้ไฟฟ้าก็เอาสายต่อเข้ามอเตอร์ แล้วมันก็หมุน ถ้าเอาแกนของมอเตอร์อีกตัวนึงมาติด (ซ้ำ )
หม้อตุ๋นเป็ดของมิสเตอร์จั๊กจี้?
ไอเดียดีจริง ๆ ครับรอบนี้ (- -)d ถ้าลงควบที่ JuSci ได้น่าจะดี
แล้วทำยังไงถึงลงที่ JuSci ได้เหรอครับ ไม่เคยทำพอผมจะล็อกอินก็เจอข้อความแบบนี้ตลอดเลย
Error
The website encountered an unexpected error. Please try again later.
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
โอ้ บั๊กจากชื่อภาษาไทย เดี๋ยวลองหาทางแก้ให้ครับ
lewcpe.com , @wasonliw
อย่างนี้นี่เอง ยินดีด้วยกับการค้นพบแมลงปีกแข็งชนิดใหม่ให้เว็บวิทยาศาสตร์ครับ!
ความจุความร้อนน้อย ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไอที่อุณหภูมิต่ำนะครับ แต่หมายความว่าสามารถเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิให้สูงขึ้นหรือต่ำลงได้ง่าย ถ้าอ่านให้ดีต้นฉบับจะบอกว่า เป็นการสร้างความร้อนไปเก็บในของเหลงพิเศษที่มีความจุความร้อนน้อย แล้วจากนั้นก็จะถ่ายเทความร้อนไปให้ของเหลวอีกชนิดเพื่อทำให้เกิดไอ ซึ่งจะเป็นตัวไปหมุนแหล่งกำเนิดไฟฟ้าอีกที
ตามนั้นเลย ของเหลวชนิดแรกมี c ต่ำ ของเหลวชนิดที่สองมี l (ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ) ต่ำ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
สงสัยว่ากังหันลมจะสร้างความร้อนได้อย่างไร มันต้องใช้กังหันลมปั่นไฟฟ้า แล้วใช้ไฟฟ้าสร้างความร้อนอีกทีหรือปล่าว
เข้าไปอ่านคร่าว ๆ เขาบอกกังหันต่อกับใบมีด (blades) ทำหน้าที่กวนหรือไม่ก็บีบอีดหรือปั๊ม ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นครับ งงเหมือนกันว่าแค่กวนมันทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นได้ขนาดนั้นเลยหรือ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
อาจจะเหมือนใบพัดในเครื่องยนต์ไอพ่นก็ได้ครับ ที่จะบีบอัดอากาศ
เครื่องยนต์ไอพ่น
เสนอการชาร์จด้วยระบบkinetic ไม่ว่าจะเขย่า หมุนเครืองก็ชาร์จได้ ยิ่งใส่กระเป๋ากางเกงเดินนี่ชาร์จได้เยอะเลย
อย่างไรก็ตาม Apple ในนำ => ได้นำ รึเปล่าครับ
ในน้ำรึเปล่าครับ :p
กังหันลมผลิตไฟฟ้ามีมานานแล้ว ไม่มีใครคิดไอเดียนี้ได้บางเลยหรอ อดไป
มีครับ แต่ว่าใช้กับพลังงานแสงอาทิตย์มากกว่า มันตรงกว่า
ช่วยให้ผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 1 ชม. หลังจากที่แสงอาทิตย์หมดไปแล้ว
ของเหลวชนิดพิเศษนี่แหละครับ ที่จะเป็น key ของสิทธิบัตรตัวนี้
มันเป็นกลยุทของสิทธิบัตรครับ โดยการไม่เปิดเผยว่าใช้ของเหลวอะไร จะได้สามารถใช้ได้ทุกอย่าง จดให้มันครอบคลุม ผมคิดว่างี้นะครับ
ในไฟล์ PDF ของคำขอสิทธิบัตรหน้า 5 มีการกล่าวถึงไว้นะครับว่า
ก็เป็นการเอ่ยถึงแบบกว้างๆ ไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นแก๊สเฉื่อย หรือไนโตรเจน หรือเอธานอล หรือปรอท
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
พลังงานขาวสะอาด ขอให้คนจดสิทธิบัตรขาวสะอาดตามสิ่งที่จดด้วยนะครับ
ในข่าวเขียนว่า Apple อาจจะใช้เทคโนโลยีนี้กับโรงงานของตัวเอง แต่ก็ไม่ได้หมายถึงจะจดเพื่อสร้างรายได้ โดยเทคโนโลยีแบบนี้ก็มีทั่วไป ไม่จำเป็นทุกคนต้องมาใช้สารพิเศษแบบที่ Apple เลือกใช้ มันมีความต่างในความเหมือนอยู่นะครับ
เข้าท่ามาก
สนับสนุนความคิดนี้ครับ และอยากให้แอปเปิ้ลอนุญาตให้เจ้าอื่นนำไปผลิตได้โดยไม่คิดค่าสิทธิบัตรแพงมากเกินไปหรือให้ฟรีไปเลยสำหรับหน่วยงานไม่หวังผลกำไร เพื่อโลกจะได้สีเขียวทั่วถึงกันทั้งหมด
ตื่นครับตื่นขำๆครับ
รู้สึกหลายขั้นตอนไปหน่อย ยิ่งขั้นตอนมากยิ่งทำให้พลังงานที่สูญเสียเยอะ โดยเฉพาะขั้นสร้างความร้อนจากการหมุนกังหัน อยากรู้ว่าประสิทธิภาพมากแค่ไหน สารความจุความร้อนต่ำ หมายถึง การเก็บพลังงานก็ต่ำไปด้วย ดูเหมือนต้องใช้ปริมาณสารเยอะตามไปด้วย
ผมว่าเป้าหมายในการใช้สารที่มีความจุความร้อนน้อยก็เพื่อทำให้สามารถถ่ายเทพลังงานไปยังสารที่มีความร้อนแฝงน้อยได้ดีมากขึ้น ไม่ต้องการเก็บความร้อนในสารความจุความร้อนน้อยหรอกครับ เมื่อสารความจุความร้อนน้อยได้รับพลังงานเพียงนิดหน่อยก็มีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก ทำให้สามารถถ่ายเทพลังงานความร้อนไปยังสารที่มีความร้อนแฝงน้อยได้ดีขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้ปริมาณสารเยอะ ตรงกันข้ามอาจจะใช้น้อยก็ได้
เป้าหมายคือ สำรองพลังงานไว้ในช่วงที่ลมไม่พัดไม่ใช่หรือครับ ตอนกังหันหยุดหมุนวิธีที่จะทำให้ต้มน้ำได้คือความร้อนที่เก็บไว้ในสารความจุความร้อนต่ำ แต่น้ำเองเป็นสารที่ heat capasity และheat of vaporization สูงมากต้องใช้พลังงานมากกว่าน้ำจะกระเถิบอุณหภูมิ หรือกลายเป็นไอ ถ้าสารที่ความจุความร้อนน้อยมีปริมาณน้อย ก็เหมือนกระทะเหล็กใบเล็กๆ โดนน้ำฉ่าเดียวก็หมด สำรองไว้ได้สั้นมากๆครับ
ผมมีความคิดโรงงานปั่นไฟฟ้าของมนุษย์ครับ
แบบประมาณถีบจักรยานปั่นไฟ บวกเป็นเครดิตๆ ไป ว่าแต่ละวันทำได้กี่เครดิต
แบบนี้จดฯ ได้ไหมครับ ^^
จดได้ครับ แต่ทำจริงให้ติดตั้งโซล่าเซลล์ให้บ้านทุกหลังคาเรือน
แล้วก็มาผ่อนค่าติดตั้งแทนค่าไฟ ง่ายกว่าครับ
ปริมาณก็ได้มากกว่า กินทรัพยากรมนุษย์น้อยกว่า พอทำเยอะต้นทุนก็ถูกลง
ในฐานะนักเคมี และอยู่ใกล้กับระบบน้ำโรงผลิตไฟฟ้า ถือว่าเป็นสิทธิบัตรที่งี่เง่ามากจดแนวการใช้งาน สารเคมีอะไรก็ไม่รู้คาดว่ายังไม่มีแต่จดก่อน ถ้าต่อไปเกิดมีใครการสังเคระห์ได้สารที่ทำได้ กลายเป็นสิทธ์การใช้งานอยู่ที่Apple
ปล.1 สิทธิบัตรนี้ไม่น่าให้จดได้เลย(เดี๋ยวก็โดนยกเลิกอีก) เพราะเอาความคิดและสิ่งที่มีอยู่แล้วผสมกันคือ กังหันลม+ระบบHeat pump +stream turbine +ความคิดตัวเอง (สารเคมีนำความร้อน ซึ่งคือตัวอะไรไม่รู้แต่จดไว้ก่อน)ปล.2 วิธีการนี้ในโลกความเป็นจริงใช้ไม่ได้หรอกครับ ไปทำอะไรที่ถนัดจะดีกว่า