ในช่วงไม่กี่ปีหลังจีนเดินหน้าลงทุนในโครงการเกี่ยวกับพลังงานสะอาดเป็นจำนวนมาก โดยหนึ่งในเทคโนโลยีที่จีนให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าแบบอื่นคือระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม
โครงการระบบไฟฟ้าพลังงานลมแห่งล่าสุดที่กำลังจะเริ่มก่อสร้างคือฟาร์มผลิตไฟฟ้านอกชายฝั่งที่เมือง Chaozhou ซึ่งโครงการนี้เรียกได้ว่าใหญ่สะท้านโลกเลยทีเดียว เพราะกำลังการผลิตไฟของฟาร์มนี้สูงถึง 43.3 GW ใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีการสร้างมา
หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพมากขึ้นว่ากำลังการผลิตไฟของฟาร์มไฟฟ้าพลังงาน Chaozhou นั้นมากมายแค่ไหน ลองเปรียบเทียบกับกำลังการผลิตไฟฟ้าของโรงงานไฟฟ้าในประเทศไทยอาจช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น
กังหันลมผลิตพลังงานในเดนมาร์กชื่อ Monster Wind เพิ่งทำลายสถิติผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากที่สุดในรอบ 24 ชั่วโมง ผลิตได้ถึง 216,000 กิโลวัตต์ ปริมาณเพียงพอหล่อเลี้ยงหนึ่งครัวเรือนในสหรัฐได้ 20 ปี
Monster Wind สูง 720 ฟุต ใบพัดแต่ละใบหนัก 35 ตัน ตั้งอยู่นอกฝั่งทะเล Østerild ในเดนมาร์ก เคยทำสถิติไว้เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาคือ 215,999.1 กิโลวัตต์ และทำลายสถิติได้อีกรอบในเดือนนี้
ทางบริษัทคือ MHI Vestas Offshore Wind คาดหวังว่า ในอนาคตจะสามารถผลิตพลังงานได้มากกว่านี้ ในราคาต้นทุนที่ถูกกว่า และใช้กังหันลมน้อยลง โดยการนำกังหันลมไปติดตั้งนอกชายฝั่งจะเจอลมแรงกว่า
เดนมาร์กเป็นผู้นำเรื่องการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมนอกชายฝั่ง สามารถผลิตพลังงานให้ใช้ได้ทั้งประเทศ
งานวิจัยของ MIT เกี่ยวกับโดรนนั้นมีมาต่อเนื่องหลายปี โดย กลุ่ม Robust Robotics Group แห่งห้องปฏิบัติการ CSAIL ของ MIT ในปัจจุบันได้พัฒนาโดรนให้มีขีดความสามารถในการบินเพิ่มมากขึ้น ด้านหนึ่งของงานนี้คือการพัฒนาความฉลาดของโดรนให้ใช้พลังงานลดน้อยลง อันจะช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ในการบินแต่ละครั้ง ซึ่งการทำ "แผนที่ลม" ก็เป็นเทคนิคหนึ่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ว่านี้
Trinity คือโครงการพัฒนากังหันปั่นไฟแบบพกพา ที่ผู้ใช้สามารถนำมันไปต่อพ่วงเพื่อชาร์จไฟให้แก่แบตเตอรี่ของสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่ไหนก็ได้ที่มีลม (หรือต่อให้ไม่มีลมภายนอก ผู้ใช้ก็ยังนั่งเป่าลมเองเพื่อชาร์จไฟได้) โดยโครงการนี้กำลังเปิดรับเงินทุนสนับสนุนผ่านทางเว็บ Kickstarter
Google เพิ่งประกาศข่าวการลงทุนในฟาร์มผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชื่อ Panhandle 2 ซึ่งตั้งอยู่นอกเมือง Amarillo ในรัฐ Texas ด้วยเงินมูลค่า 75 ล้านดอลลาร์ ถือเป็นการลงทุนในธุรกิจพลังงานทางเลือกแห่งที่ 15 ของ Google
เมื่อ Panhandle 2 เริ่มดำเนินการ มันจะสามารถผลิตจ่ายไฟฟ้าด้วยกำลังงาน 182 เมกะวัตต์ โดยอาศัยกังหันผลิตไฟฟ้าของ Siemens ขนาด 2.3 เมกะวัตต์ จำนวน 79 ตัว ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานของบ้านพักอาศัยราว 56,000 หลังคาเรือน ทั้งนี้กำหนดการแล้วเสร็จของงานก่อสร้างของโครงการนี้คือช่วงปลายปี 2014
- Read more about Google ลงทุนในฟาร์มผลิตไฟฟ้าจากลมอีก 75 ล้านดอลลาร์
- 4 comments
- Log in or register to post comments
Google ลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ทำสัญญาซื้อไฟจากแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศสวีเดน เพื่อจ่ายไฟข้ามประเทศไปเลี้ยงศูนย์ข้อมูลในฟินแลนด์
Google ลงทุนทำสัญญาซื้อไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตด้วยกังหันลม 24 ตัวรวมกำลัง 72 เมกะวัตต์จากฟาร์มที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสวีเดน เพื่อจ่ายให้แก่ศูนย์ข้อมูลของตนเองซึ่งตั้งอยู่ในฟินแลนด์ เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 10 ปี
ฟาร์มดังกล่าวซึ่งสร้างโดยบริษัทผลิตไฟฟ้าพลังงานลม O2 และบริษัทประกันภัย Allianz จะเริ่มผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้งานได้ในช่วงต้นปี 2015 โดยจะจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ผ่านทางเครือข่ายสายส่งกำลัง (power grid) ที่กลุ่มประเทศในแถบสแกนดิเนเวียมีข้อตกลงใช้งานร่วมกัน ไปสู่ที่ตั้งของโหลดในอีกประเทศ
Google ลงทุน 200 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 6,000 ล้านบาท) กับฟาร์มผลิตไฟฟ้าพลังงานลมในรัฐ Texas และบริจาคเงินอีกส่วนหนึ่งให้แก่ Energy Foundation ซึ่งเป็นองค์กรด้านการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าของภาครัฐ
ฟาร์มผลิตไฟฟ้าพลังงานลมซึ่งใช้ชื่อโครงการ Spinning Spur Wind Project ตั้งอยู่ในเขต Oldham County มีกำลังผลิตพลังงานไฟฟ้า 161 MW เทียบเท่ากับการใช้ไฟของบ้านพักอาศัยราว 60,000 หลัง
การลงทุนในครั้งนี้นับเป็นโครงการธุรกิจพลังงานทดแทนรายที่ 10 ที่ Google เข้าร่วมลงทุนนับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา ซึ่งกำลังผลิตไฟฟ้ารวมของทุกโครงการเกินกว่า 2 GW ไปแล้ว
หลายคนคงไม่แปลกใจหากเห็นข่าว Apple ยื่นขอจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือซอฟต์แวร์ใหม่ แต่ล่าสุดยักษ์ใหญ่ไอทีได้แสดงวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลไปกว่านั้น เมื่อ Apple ได้เสนอเทคนิคการผลิตไฟฟ้าโดยอาศัยพลังงานลมที่ถูกเก็บไว้
การผลิตไฟฟ้าด้วยแรงลมโดยทั่วไป ใช้การหมุนของกังหันลมไปขับขดลวดของเครื่องผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีข้อจำกัดไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในช่วงที่ลมพัดไม่แรงพอ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่การเลือกใช้วิธีผลิตไฟฟ้าพลังงานลมถูกจำกัดเฉพาะพื้นที่ซึ่งมีลมพัดแรงอย่างต่อเนื่อง และจำเป็นต้องมีระบบการจ่ายไฟสำรองไว้คอยสับเปลี่ยน
- Read more about Apple ยื่นจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าพลังงานลม
- 48 comments
- Log in or register to post comments
จากเดิม MSI Wind ส่งรุ่นหน้าจอ 10 นิ้ว (U100) ออกวางตลาดก่อน และปล่อยข่าวว่าจะออกรุ่นจอ 8.9 นิ้วตามมาทีหลัง ตอนนี้มาแล้วครับ ขึ้นบนเว็บไซต์ของ MSI เรียบร้อย
สเปกตามนี้
- Read more about MSI Wind U90 แบบหน้าจอ 8.9 นิ้ว
- 9 comments
- Log in or register to post comments
การค้นหาแหล่งพลังงานสะอาดยังคงเดินหน้าต่อไปทั่วโลก ล่าสุดประเทศเนเธอร์แลนด์ก็มีความคืบหน้าล่าสุดจาก มหาวิทยาลัย Delft ในการใช้ว่าวมาเป็นอุปกรณ์เก็บพลังงานจากลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
ทีมงานได้สาธิตว่าวขนาด 10 ตารางเมตรที่สามารถผลิตพลังงานได้ 10 กิโลวัตต์เป็นผลสำเร็จ และกำลังเตรียมการสาธิตขั้นต่อไปที่จะให้พลังงานได้ 50 กิโลวัตต์ โดยทีมงานระบุว่าเมื่อเทคโนโลยีนี้ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เราอาจจะสามารถสร้างสนามที่ใช้ติดตั้งว่าวเหล่านี้จำนวนมากพอที่จะผลิตพลังงานได้ถึง 100 เมกกะวัตต์
หน่วยวิจัยของกระทรวงพลังงานสหรัฐ ร่วมกับภาคเอกชนได้สำรวจถึงการใช้พลังงานลมของสหรัฐฯ และพบว่ามีแนวโน้มว่าสหรัฐกำลังจะใช้พลังงานลมถึงร้อยละ 20 ภายในปี 2030 ที่จะถึงนี้ โดยพลังงานในสัดส่วนนี้จะเท่ากับพลังงานที่ผลิตจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เลยทีเดียว
ปัจจุบันสหรัฐฯ ใช้พลังงานลมทั้งประเทศอยู่ที่ 16,000 เมกกะวัตต์ แต่พลังงานร้อยละ 20 นั้นหมายถึงสหรัฐต้องใช้พลังงานลมเป็น 300,000 เมกกะวัตต์ แม้การเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะมีอุปสรรคที่ต้องการการแก้ไขอีกมากมาย แต่ข่าวดีคือเทคโนโลยีพลังงานลมนั้นมีความพร้อมค่อนข้างสูง และไม่ต้องการการวิจัยเพิ่มเติมมากนัก