วันนี้บริษัทไฟเบอร์ออปติกส์ TE Connectivity จัดงานสัมมนาที่เซ็นทรัลลาดพร้าว หนึ่งในแขกของเวทีสัมมนามี ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGA) ซึ่งเปรียบเสมือนหน่วยงาน CIO ของรัฐบาลไทย ดร.ศักดิ์ ได้ให้ข้อมูลเรื่องเซิร์ฟเวอร์ของหน่วยงานภาครัฐไทยดังนี้ครับ
- ศูนย์ราชการที่ ถ.แจ้งวัฒนะ มีศูนย์ข้อมูล (data center) ของหน่วยงานรัฐต่างๆ รวมกัน 23 ศูนย์ มีเซิร์ฟเวอร์มากกว่า 400 ตัว ทุกศูนย์แยกกันบริหารอย่างอิสระ งบประมาณต่างคนต่างขอ ทำให้งบของแต่ละศูนย์อาจน้อยและบริหารจัดการได้ไม่ดีนัก
- EGA พยายามเข้ามาผลักดันให้เกิดการบูรณาการกัน ซึ่งนโยบายของกระทรวงไอซีทีก็ไปในทิศทางนี้เช่นกัน โดยโครงการ "ศูนย์ข้อมูลกลางของภาครัฐ" จะรวมศูนย์ข้อมูลทั้งหมดเป็นแห่งเดียว และน่าจะอยู่ที่ CAT
- การมีศูนย์ข้อมูลกลางของภาครัฐจะช่วยให้บริหารจัดการง่ายขึ้น และเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้ดีขึ้นด้วย เพราะตอนนี้ความต้องการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมลิงก์แค่ไม่กี่ Mbps ก็ขึ้นมาเป็นหลักร้อย Mbps แล้ว และถ้าเป็นงานที่มีข้อมูลเยอะๆ อย่างแผนที่ดาวเทียม GIS ก็คงต้องมีลิงก์ระดับ Gbps เชื่อมต่อ
- ระบบสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐตอนนี้ ที่ใหญ่มากๆ มีประมาณ 20 ระบบ เช่น ระบบประกันสุขภาพ ฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย ระบบของกระทรวงการคลัง ต่อไปก็จะผลักดันให้รวมศูนย์กันให้หมด แต่ก็ต้องค่อยเป็นค่อยไป
- ปัญหาเรื่องม็อบปิดศูนย์ราชการตอนนี้ ทำให้หลายหน่วยงานต้องสำเนาข้อมูลออกมาทำงานกันข้างนอก ตรงนี้ก็เป็นเหตุจำเป็นให้ต้องมีศูนย์สำรองข้อมูลของหน่วยงานรัฐ (backup site) และศูนย์กู้ข้อมูลช่วงเวลาฉุกเฉิน (disaster recovery) ด้วย
- ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐตอนนี้ สิ่งสำคัญคือข้อมูลส่วนตัวของประชาชน ซึ่งติดอยู่ที่ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่รอมาเป็นสิบปีแล้วยังไม่ผ่านสภาสักที
Get latest news from Blognone
Follow @twitterapi
Comments
อย่างนี้ถ้าชุมนุมแล้วไปปิด คงเหมือนได้ปิดทั้งประเทศ
ผลกระทบตอนนี้ก็เจอกันไปแล้วครับ แต่คนทั่วไปยังไม่รู้สึก แต่หลังจากนี้รอดูครับ
ถึงคนทั่วไปรู้สึก แต่ถ้าผู้มีอำนาจไม่รู้สึกก็คงยากครับ
รอดูความกระตือรือล้นเช่นกันครับ
ใครคือได้รับความเดือดร้อนก็รู้สึกก่อนแหละครับ
กระตือรือล้น ?
กระทรวงการคลัง เบิกจ่ายงบไม่ได้ ผมว่าผู้บริหารเดือดร้อนแน่นอน เพราะเงินไม่มี งานไม่เดิน
จริง ๆ ควรกระจายไปหลาย ๆ ที่ ไหน ๆ ก็ Host ตัว Government Cloud ด้วยแล้วก็น่าจะทำตัวเป็น Cloud จริง ๆ
เป็นการทดสอบระบบไปในตัว
แต่ถ้าเจอภัยธรรมชาติ แล้วมีคนตายหลายพันคนจริงๆ
ไม่รู้ จะเป็นยังไง
เรียบร้อย ไปละมั้ง เล่นเอามากองรวมกัน
มันจะเงิบกว่านี้ถ้ามี Hardcore Programmer แฝงตัวมั่วนิ่มไปด้วยกับผู้ชุมนุม บุกเข้าไปถึงห้องวางserver แล้วJump Harddiskมาทั้งลูก....
คือผมเข้าใจหัวอก วิศวกรที่เขียนtor หรือระบบรีแทคแดนนะ เป็นผมก็ไม่คิดเหมือนกันว่า กระทรวงจะโดนระดับmission impossible เข้าโจมตีแบบถึงตู้ถึงเครื่องแบบนี่......(ไม่งั้นคงเขียนเพิ่มหอคอย เทรร่า ในtorแล้วละ)
เดี๋ยวผมส่งเพื่อนที่ TOT ไป อยู่แถวนั้นพอดี (ฮา)
อีกหน่อยต้องกำหนดในTOR ว่าต้องมีระบบป้องกันผู้บุกรุก แบบในหนัง Mission impossible แบบข้างบนว่าแน่ๆ เหอๆ
กพร. หมวดที่ 4 กำหนดเรื่องระบบสารสนเทศ ต้องมีข้อกำหนดด้านดูแลด้านความมั่นคง ความปลอดภัย และการสำรองระบบ ไว้แล้วครับ
ภาคไหนครับ อยากดู
อ่านจากตำรา IT audit มีแนะนำมาว่า แผนการตั้งศูนย์ข้อมูลที่ดีคือต้องปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับศูนย์ให้มากที่สุด บอกงบบอกสเปคได้ แต่ไม่ต้องเปิดเผยตำแหน่งที่ตั้งทั้งหมด เขามีวิธีเลือกทำเลที่เหมาะสมด้วย (cloud ของ Amazon ก็ทำแบบนี้, ในหนังสือชื่อ big switch ก็เคยกล่าวเรื่องนี้ว่า บริษัทไอทีแห่งหนึ่งยัดศูนย์ข้อมูลไว้ในสถานที่ที่เรานึกไม่ถึง)
ผมไม่แน่ใจว่าไทยมีข้อบังคับไหมว่า ต้องแจ้งทำเลให้สาธารณะทราบ
My Blog
แล้วคิดว่าที่ ดร.ศักดิ์ พูดว่า น่าจะอยู่ที่ CAT มันจะอยู่ที่ CAT จริงๆ หรือครับ :3
ผมชี้ทางให้ม็อบอย่าหลงเชื่อน่ะครับ :D
My Blog
ถ้างั้นผมว่าศูนย์ข้อมูลของ Apple อยู่แถว ๆ วัดบ้านเราแน่เลย
ถ้าอยู๋ในศูนย์ราชการนี้ มีเฮ่
น่าจะอีกนานนะ ขนาดกระทรวงเดียวกันยังทำไม่ได้เลย ผลประโยชน์ทับซ้อนมันเยอะ นอกจากออกเป็นกฎหมายออกมาเลย ความจริงเครือข่าย GIN ไปเกือบทุกที่นะ แต่พอถามว่าเจ้าหน้าที่หน่วยงานว่าทำไมไม่ใช่ ก็ได้คำตอบที่ต้องทำให้พยักหน้าตาม (แต่นานแล้วนะเกือบ 5 ปี ตอนนี้ไม่รู้ว่าดีขึ้นหรือยัง)
ปัญหานี้ใช่ไหมครับ
GIN ใช้ xxx.yyy.0.0 แล้วบางหน่วยงานที่มีมานานแล้ว เขาก็ดันใช้ private ip เป็น xxx.yyy.0.0 ด้วยเหมือนกัน และเขาก็ไม่ยอมเปลี่ยน เปลี่ยนไม่ได้ กระทบกับระบบ server ทั้งหมด
(ไว้อาลัยหนึ่งนาที)
IPv6 คือคำตอบ แต่ไม่ทำกันเพราะขี้เกรียจแก้ app ใหม่
ขอนอกเรื่องไม่เกียวก่ะข่าว ตึกB(แม่ง)แรง ผีเด็กโคตรแรง(ตัวที่เขาตั้งไว้หน้าลิฟห์อ่ะ) ตอนตึกสร้างเสร็จใหม่ๆtorกระจายผมก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ต้องเข้าตึกหลังเวลาราชการเหมือนกัน.....พวกนายช่างไม่มีใครกล้าเดินไปแถวร้านค้าหน้า7-11ตอนตี2-3ซักคน โคตรทำร้ายจิตใจ.....
เพราะไม่มีกฏหมายรักษาความเป็นส่วตัวสินะ พวกเอสเอ็มขายของมาเต็มเลย แล้วก็ชอบอ้างว่าเบอร์นี่เคยมีคนสมัครมาแล้ว
ถามจริง!! ระบบระดับประเทศไม่มี dr site หรอ
บางระบบก็ใช้งานต่อเนื่องมา 10 กว่าปี ของบซื้อใหม่ยังไม่ได้เลยครับ
แต่เข้าใจว่าระบบที่พึ่งพัฒนาในช่วง 2-3 ปีนี้ ก็น่าจะมี dr site เป็นส่วนใหญ่เท่าที่รู้มา บางทีถ้างบไม่พอ มักจะถูกตัด dr site ออกเป็นอย่างแรก
แทนที่จะตัดโมดูลที่ไม่เร่งด่วนออก แล้วไปจัดจ้างในโครงการใหม่แทน
ไม่เฉพาะราชการไทยครับ เอกชนไทยก็เป็น (แต่ราชการจะหนักหน่อย เพราะเป็นอารมณ์ผูกขาด ต่อให้ระบบล่มซักสองสามวัน ใช้ระบบกระดาษแทนไปก่อน ประชาชนก็ไม่หนีไปไหน งบประมาณปีหน้าที่จะได้ก็ยังเท่าเดิม) คือเน้น functional requirement ครับ ส่วนพวก non-functional พวก remote HA, DR site พวกนี้เป็นตัวเลือกแรกๆ ที่จะโดนตัดออกครับ
ต้องรอให้น้ำท่วม, โดนกีฬาสีโน่นแน่ะครับ หน่วยเหนือถึงได้รู้ว่ามันใกล้ตัวกว่าที่คิดนะ จึงได้ฤกษ์
อ่านcommentแต่ละคนไม่ค่อยรู้เรื่อง
"ศูนย์ข้อมูลกลาง" นี่หมายถึงจะเอา data มา merge กันรึเปล่าครับ นึกถึงส่วนที่จะ conflict กันแล้วมึนเลย ทำดีๆ 10 ปีไม่น่าจะเสร็จ แต่ถ้าชุ่ยๆ ทิ้งไปให้หมดก็คง...
แค่ใช้เครื่องร่วมกันแบบระบบ cloud ก็พอครับ
อย่างนี้คงต้องยิงศูนย์ข้อมูลขึ้นอวกาศแล้วละ ปิดล้อมไม่ได้ด้วย ดีจะตาย (ช่างจินตนาการ)
อย่าเพิ่งย้ายไซต์กันนะ... สงสาร Engineer ตาดำๆหน่อย T-T
ทุกวันนี้ข้อมูลยังไม่ normalize กัน(ทั้งหมด)เลย
การที่หน่วยงานนึงไม่อยากจะเอา datacenter หรือ server ของตัวเอง ไปไว้รวมกับที่อื่น หรือเอาไปให้ที่อื่นดูแล เพราะ ความต้องการมีแตกต่างกันในแต่ละหน่วยงาน ทำให้เกิดความกังวลที่จะไปใช้ที่อื่น หรือให้คนอื่นช่วยบริหารจัดการ เช่น ความเชี่ยวชาญของคนที่ดูแล หรือ การรับประกัน SLA ที่ต่ำกว่าที่ตัวเองต้องการ
อย่างมากอาจจะยอมรับได้เฉพาะ DR Site ที่มีโอกาสในการรวมกันได้มากกว่า เพราะ สามารถยอมรับข้อจำกัดต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น SLA, security, performance เป็นต้นครับ
หากรัฐต้องการจะทำให้สำเร็จ รัฐต้องเลือกแนวทาง ไม่ว่าจะเป็น การสร้างคนของตัวเองขึ้นมา หรือให้เอกชนเป็นคนเข้ามาบริหารจัดการ ซึ่งไม่มีถูกหรือผิด แล้วแต่ความเหมาะสม เพราะหลายๆ ประเทศ ก็เลือกแนวทางที่ต่างกัน
แต่ปัจจุบัน ขอเน้น PR ก่อน ส่วนงานว่ากันทีหลังครับ
พอพูดถึง ศูนย์ ข้อมูล + ม๊อบแล้ว
ถ้าหากว่า เอาศูนย์ ข้อมูล ไปตั้งอยูในค่ายทหาร จะปลอดภัยหรือเปล่า
อาจจะถูกทหารยึดครับ (ฮา)