Fujitsu ประกาศแยกกิจการพีซีและมือถือออกเป็นบริษัทลูก (subsidiary) โดยบริษัทพีซีจะใช้ชื่อว่า Fujitsu Client Computing Limitedและบริษัทมือถือใช้ชื่อ Fujitsu Connected Technologies Limitedมีผลในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2016
บริษัทลูกทั้งสองยังถือหุ้น 100% โดย Fujitsu แต่มีโครงสร้างการบริหารงานของตัวเองแยกจากบริษัทแม่ การแยกบริษัทครั้งนี้ยิ่งช่วยเสริมข่าวลือว่า ธุรกิจพีซีของ Toshiba, Fujitsu, VAIO จะรวมตัวกันเป็นบริษัทเดียว หลังผู้ผลิตพีซีฝั่งญี่ปุ่นประสบปัญหาอย่างหนัก และไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
Comments
กิจการในครอบครัวโดยแท้ บริษัทแม่ บริษัทลูก .... แล้วบริษัทพ่อ ไปไหนหว่า
เพิ่งรู้ว่ามีมือถือด้วย
มือถือตระกูล ARROWS ในญี่ปุ่นมีชื่อเสียงพอตัวครับ อีกทั้งยังเป็นยี่ห้อแรกๆที่นำระบบสแกนลายนิ้วมือมาใช้ตั้งแต่มือถือยุคฝาพับจนมาถึง smartphone เป็นรายแรกๆ เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ARROWS NX F-04G ผมเดาว่าน่าจะเป็นรายแรกที่ทำสแกนม่านตาบนมือถือด้วยครับ (Iris Scanner)
ถ้ารวมสาย pc hardware ของ sony fujitsu toshiba เข้าด้วยกันจริงนี่ดรีมทีมเลย
และพวกดรีมทีมนี่ ถ้าไม่เทพไปเลย ก็ป่วยไปเลย
Only one problem, Almost Japanese brand only sold and fully promote pretty well in their own country. But oversea is completely different story and completely lose to Samsung and others Chinese brand because of high price, lack of marketing, brand awareness, customer support service and bad period transition.
That is what actually happen to Japanese brand. Good quality but bad marketing.
Get ready to work from now on.
ปัญหาของบริษัทญี่ปุ่นคือชาตินิยมกันจนเกินไป อะไรๆก็ต้องใช้ชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบของญี่ปุ่นทำให้สู้ราคากับประเทศอื่นไม่ได้
ทำให้เก่งในประเทศ คือ แต่ละเจ้าใช้หลักนี้กันหมด แต่พอออกมานอกประเทศ ตายทั้งหมู่คณะ
ขอทำนายด้วยศักดิ์ศรีของลูกเสือสำรอง อีก 10 ปี่ญี่ปุ่นแย่แน่ครับ ถ้าไม่เปลี่ยนนโยบายชาตินิยมจนหูอื้อแบบนี้
หลายๆ สินค้าของญี่ปุ่นนี่ผลิตและประกอบในจีนครับ
เดียวนี้ รุ่นรอง ผลิตต่างประเทศหมดแล้วครับ จีน ไต้หวั่น ไทย แต่ รู้น top ของสายส่วนใหญ่ยั่งผลิตในญี่ปุ่นอยู่
ข้อดีคือ มันทนมาก ... เพราะว่าชิ้นส่วนญี่ปุ่นคุณภาพสูงกว่า (อันนี้จากประสพการณ์ส่วนตัว) จริง ๆ พอจะใช้โปรโมทได้ เพราะว่าแบรนด์ไต้หวันบางตัวก็โปรโมทว่าใช้พาร์ทญี่ปุ่น
อย่าง HDD เนี่ย ทั้งตัวเลขตะวันตก ทั้งประตูทะเล สู้ Hitachi ไม่ได้ (ในแง่ความทน) ส่วนไดร์ฟบลูเรย์นี่ ดาวทองโชคดี หรือ ซุงบ้าง ก็สู้ Matsushita ไม่ได้
ข้อเสียคือ แพง และเสปคเรื่องความทนมันเขียนลงกระดาษไม่ค่อยได้ หลาย ๆ คนก็ซื้อคมตามสเปค ตลาดคอนซูเมอร์เล่นทางด้านราคาเป็นหลักอยู่แล้ว
คิดว่าไปพยายามจับตลาดสูง ๆ เน้นองค์กรณ์กับมืออาชีพ ก็น่าจะอยู่ได้นะ ตลาดล่างวายหมดแล้ว อย่างซุงบ้างนี่ก็ปิดส่วนนี้ไปแล้วเรียบร้อย
พอดีตอนนี้การผลิตแบบ OEM มันทำได้ง่ายไงสำหรับตลาดสินค้า Electronic กลุ่มนี้ เลยทำให้มีผู้เล่นหน้าใหม่ๆเกิดขึ้นเยอะแยะ พอสงครามราคามาก็จบเลย สำหรับของที่ไม่พรีเมี่ยมจ๋าๆ (ถึงกระนั้นก็เถอะ ตลาดบนก็เสียส่วนแบ่งไปเหมือนกัน)
ส่วนตัวก็ยังซื้อของจากแบรนด์ญี่ปุ่นนะ แต่กระแสเศรษฐกิจโลกมันเปลี่ยน ใครที่ปรับตัวไม่ได้ก็คงต้องเป็นผู้แพ้ล่ะเนอะ สบายใจก็ไทยแลนด์เรานี่แหละ ควักเป๋าตังค์อย่างเดียว 555
..: เรื่อยไป
ญี่ปุ่นยังเก่งเท่าเดิม คือเรื่อง ไมโครชิป-แผงวงจรรวม, ไมโครคอนโทรเล่อ,
ชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิค, ชิ้นส่วนเครื่องจักรอุตสาหกรรม
แต่สินค้า consumer ที่ทำกำไรสมัยนี้ แทบทุกตัว
ยุบเหลือเป็น SoC ไม่กี่ตัว แล้ว แปะ ram กับ จอภาพจากเกาหลีใต้ลงไป
ยอดขายมันก็ตกลงๆ เป็นธรรมดา
ขออะไรที่มาแทน Classic ThinkPad ได้มั้ย?
ยังแอบเพ้อ
ถ้ามาจริงๆ จะจัดไว้บูชาสักตัวครับ หลังจากเปลี่ยน keyboard มาเป็นแบบสมัย (ใคร) นิยม นี่ผมไม่แลเลยตระกูลนี้
อนาคตอาจะได้เห็น notebook ที่เป็นการ Fusion กันของ
Fujitsu + vaio + toshiba แล้วสินะ รีบๆๆจัดมาจะรอ + Nec + panasonic ด้วยเลยไหม
จัดมาอยากจะรู้ว่าจะเทพขนาดไหน ขายในไทยด้วยนะ
เมื่อก่อน Fujitsu นี่ทนจริงๆ นะ เคยใช้ S Series ตั้งแต่ปี 2001 มา 3 รุ่น ทนมากมาย ตัวสุดท้ายของ Fujistu ที่ผมเสียเงินให้ คือ รุ่น Made in China ตัวละ 2 หมื่นกว่าบาท ความรู้สึกเรื่องวัสดุนี่ต่างเลย ดีไซน์ก็สู้ไม่ได้ แต่ความทนตอนนี้ยังเอามาใช้งานได้อยู่ครับ
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6