Fujitsu ส่งจดหมายถึงรัฐบาลสหราชอาณาจักร แสดงท่าทีว่าจะไม่เข้าร่วมประมูลโครงการภาครัฐอีก หลังจากรัฐบาลกำลังอยู่ระหว่างสอบสวนและเตรียมการจ่ายค่าชดเชย ให้กับตัวแทนของไปรษณีย์ที่ถูกดำเนินคดีเนื่องจากระบบ POS ที่ชื่อ Horizon
โฆษกรัฐบาลสหราขอาณาจักรระบุว่ายินดีที่ Fujitsu ออกมาแสดงท่าทีครั้งนี้ อย่างไรก็ดี Fujitsu เพิ่งชนะประมูลระบบการศึกษาของไอร์แลนด์เหนือ มูลค่า 485 ล้านปอนด์เมื่อปลายปี 2023 ที่ผ่านมา ครอบคลุมการจัดการโรงเรียน, เนิร์สเซอรี่, และหน่วยงานการศึกษาอื่นๆ โดย Fujitsu ชนะประมูลเพราะยื่นประมูลรายเดียว
ที่มา - The Register
Takahito Tokita ซีอีโอกลุ่มบริษัท Fujitsu กล่าวขอโทษต่อกรณีที่ ซอฟต์แวร์ Horizon มีบั๊กจนทำให้ตัวแทนไปรษณีย์ในสหราชอาณาจักรถูกดำเนินคดีหลายร้อยราย เขาระบุว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และ Fujitsu จะดูเรื่องนี้อย่างจริงจัง
สัปดาห์ที่ผ่านมารายการ Mr Bates vs The Post Office เปิดเผยถึงคดีระหว่างตัวแทนไปรษณีย์อังกฤษ (sub-postmaster) ที่เปิดจุดให้บริการไปรษณีย์แบบแฟรนไชส์ และไปรษณีย์สหราชอาณาจักรกล่าวหาว่าตัวแทนจำนวนมากโกงเงิน รายแสดงให้เห็นว่าไปรษณีย์อังกฤษกล่าวหาตัวแทนอย่างผิดๆ ว่าขโมยเงินแต่ที่จริงแล้วซอฟต์แวร์ point-of-sale (POS) มีบั๊ก ส่งผลให้มีตัวแทนถูกดำเนินคดีกว่า 700 คน
Nikkei Asia รายงานว่าบริษัทไอทีจากญี่ปุ่น 7 ราย ได้แก่ Fujitsu, NEC, AIO Core, Fujitsu Optical Components, Kyocera, Kioxia, Zeon กำลังร่วมมือกันพัฒนาฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์ เพื่อลดการใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูลลง 40% ภายในปี 2031
การใช้งานระบบไอทีที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ศูนย์ข้อมูลถูกวิจารณ์ว่าใช้พลังงานมาก และเริ่มถูกต่อต้านเรื่องการตั้งศูนย์ข้อมูลใหม่ในหลายพื้นที่
Fujitsu ประกาศแผนการหยุดผลิตเซิร์ฟเวอร์เมนเฟรม และเซิร์ฟเวอร์ยูนิกซ์ที่ใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม SPARC
- เมนเฟรมFujitsu จะออกเมนเฟรมซีรีส์ GS21 รุ่นสุดท้ายในปี 2024, หยุดขายในปี 2030, หยุดซัพพอร์ตในปี 2035
- เซิร์ฟเวอร์ยูนิกซ์Fujitsu จะออกเซิร์ฟเวอร์ SPARC M12 รุ่นปรับปรุงเพิ่มเติมในช่วงปลายปี 2022, หยุดขายในปี 2029, หยุดซัพพอร์ตในปี 2034
Fujitsu ให้เหตุผลว่าตลาดโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีเปลี่ยนไป โลกหมุนไปทางคลาวด์และไฮบริดมากขึ้น และบริษัทเองก็เริ่มปรับโมเดลธุรกิจมาเป็นการให้เช่าตามปริมาณการใช้งานจริง (as-a-service) จึงได้เวลาหยุดขายและซัพพอร์ตสินค้ารุ่นเก่าๆ
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับหนึ่งของโลก Fugaku ของสถาบันวิจัย Riken ประเทศญี่ปุ่น ( ขึ้นอันดับ 1 ของโลกในอันดับ TOP500 รอบเดือนมิถุนายน 2020 ) พัฒนาเสร็จสมบูรณ์ เปิดให้นักวิจัยเข้ามาใช้งานอย่างเป็นทางการแล้ว
Fugaku เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่พัฒนาโดย Fujitsu และใช้ซีพียู Fujitsu A64FX ที่เป็นสถาปัตยกรรม ARM จึงถือเป็นครั้งแรกที่ ARM ได้ครองตำแหน่งซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับหนึ่งของโลก ตัวระบบเปิดทดสอบมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 โดยส่วนใหญ่รันงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19
Fujitsu ประกาศวางจำหน่ายโน้ตบุ๊กตระกูล CH-X และ UH-X ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
รุ่น CH-X มาพร้อม ซีพียู Intel Core 11th Gen รุ่น Core i5-1135G7 น้ำหนักตัวเครื่อง 999 กรัม ส่วนหนาสุด 15.8 มิลลิเมตร หน้าจอ 13.3 นิ้วแบบ IGZO ความละเอียด FHD ความสว่างสูงสุด 400 nits แสดงผลสี sRGB 100%
แรม LPDDR4X ความจุ 8GB, SSD 512GB แบต 45 Whr ใช้งานได้ 13 ชั่วโมง กล้องหน้ารองรับ Windows Hello รองรับ Wi-Fi 6
Fujitsu เปิดตัว Lifebook UH-X / E3มาพร้อมหน้าจอ IGZO 13.3 นิ้วความละเอียด FHD ซีพียู Intel Core i7-1165G7 แรม 8GB SSD แบบ NVMe 1 TB แบตเตอรี่ 25 Wh ใช้งานได้ประมาณ 11 ชั่วโมง พอร์ต USB-C 3.2 Gen 2 สองพอร์ต USB-A 3.2 Gen 1 สองพอร์ต, Gigabit Ethernet, HDMI, SD card reader และรูหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร แต่ไม่สามารถอัปเกรดเพิ่มแรมหรือ SSD ได้
ปกติแล้วเมื่อพูดถึงสินค้าของ Arm เรามักนึกถึงซีพียูตระกูล Cortex แต่จริงๆ แล้ว Arm ยังมีซีพียูแบรนด์อื่นๆ สำหรับงานเฉพาะทาง เช่น SecurCore สำหรับงานด้านความปลอดภัย, Ethos สำหรับงานประมวลผล AI เป็นต้น
เมื่อต้นปี 2019 Arm พยายามบุกตลาดซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เครือข่ายด้วย แบรนด์ใหม่ Neoverse โดยเปิดตัวซีพียูมาสองรุ่นคือ Neoverse N1 และ E1
เมื่อวานนี้ Arm ประกาศแผนอัพเดตแพลตฟอร์ม Neoverse ในระยะอีก 2 ปีข้างหน้าคือ 2021-2022 โดยจะออกซีพียูใหม่อีก 2 รุ่นดังนี้
หลัง รัฐบาลอังกฤษสั่งแบน Huawei และถอดอุปกรณ์ 5G แล้วอย่างเป็นทางการไปแล้ว รัฐบาลก็เริ่มมองหาซัพพลายเออร์ตัวแทนซึ่ง Nikkei รายงานว่าอังกฤษหันไปหารัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งรายหลังก็ตอบรับและอยู่ระหว่างการพูดคุยแล้ว
ซัพพลายเออร์จากญี่ปุ่นที่รัฐบาลอังกฤษหวังจะพึ่งคือ NEC และ Fujitsu ที่มีส่วนแบ่งอุปกรณ์โทรคมนาคมในตลาดโลกไม่ถึง 1% โดยเป้าหมายของรัฐบาลอังกฤษก็เพื่อให้ NEC และ Fujitsu เข้ามาช่วยเร่งให้เกิดการแข่งขันกับ Ericsson และ Nokia (ที่อังกฤษก็ใช้งานอยู่แล้ว) โดยมีเป้าหมายคือลดราคาอุปกรณ์โทรคมนาคมให้ต่ำลง
TOP500 ประกาศผลคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงสุดรอบเดือนมิถุนายน 2020 โดยเครื่อง Supercomputer Fugaku ขึ้นอันดับหนึ่งด้วยประสิทธิภาพสูงสุด 415.5 เพตาฟลอบสูงกว่าเครื่อง Summit แชมป์เก่าถึง 2.8 เท่าตัว จุดสำคัญคือมันใช้ซีพียู Fujitsu A64FX ที่เป็นสถาปัตยกรรม ARM เครื่องแรกที่ได้ที่หนึ่งในรายการ TOP500 โดยเครื่องติดตั้งที่ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การประมวลผล RIKEN
Happy Hacking Keyboard (HHKB) เป็นคีย์บอร์ดขนาดเล็ก (60 คีย์) ที่กลุ่มโปรแกรมเมอร์เฉพาะทางบางกลุ่มให้ความนิยม และตัวคีย์บอร์ดอัพเดตไม่บ่อยนัก ครั้งล่าสุดที่ออกรุ่นใหม่คือปี 2016 และปีนี้ที่งาน CES ทาง Fujitsu ก็อัพเดตรุ่นใหม่ ได้แก่ HHKB Pro 3 Classic, HHKB Pro 3 Hybrid, และ HHKB Pro 3 Hybrid Type-S
HHKB Pro 3 Classic เป็นการอัพเดตพอร์ตให้เป็น USB Type-C อย่างเดียว ส่วน HHKB Pro 3 Hybrid นั้นเปลี่ยนพอร์ตเป็น USB Type-C และรองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth กับอุปกรณ์ 4 ตัว ที่เปลี่ยนเยอะที่สุดคือ HHKB Pro 3 Hybrid Type-S ที่ใช้สวิตช์รุ่นใหม่ให้เงียบลงกว่าเดิม
ราคาเริ่มต้น 217 ดอลลาร์ จนถึงรุ่น Type-S ราคา 320 ดอลลาร์ เริ่มวางขายออนไลน์แล้ว
K Computer ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลกช่วงปี 2011 ถึงคราวต้องถูกปลดระวางแล้ว
K Computer ตั้งอยู่ที่ศูนย์วิจัย RIKEN Center for Computational Science ที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง RIKEN กับบริษัท Fujitsu และเคยมีนักวิจัยมากกว่า 2,500 คนได้ใช้ประโยชน์จากซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้
ปัจจุบัน K Computer มีอันดับร่วงมาอยู่ที่ 20 และเทคโนโลยีหลายๆ อย่างก็เริ่มล้าสมัยแล้ว (ซีพียูเป็น SPARC64 ของ Fujitsu และไม่ใช้จีพียูช่วยเร่งการประมวลผลเลย) ทางศูนย์วิจัย RIKEN จึงตัดสินใจหยุดงานประมวลผลเมื่อวานนี้ (16 ส.ค.) และจะปิดเครื่องวันที่ 30 ส.ค. เพื่อเริ่มถอดรื้อเครื่อง
หนึ่งในอุปกรณ์ที่มักได้รับความนิยมในการแปลงเอกสารหรือหนังสือจากรูปแบบปกติ (hardcopy) เป็นอิเล็กทรอนิกส์ (softcopy/electronic copy) คือเครื่องสแกน (scanner) ซึ่งในตลาดมีอยู่หลายเจ้า หนึ่งในนั้นคือ Fujitsu ซึ่งสำหรับตลาดผู้ใช้ทั่วไปอาจไม่คุ้นเคย เพราะมักทำตลาดในระดับองค์กรมากกว่า
ผมได้รับเครื่องสแกน ScanSnap SV600 ของ Fujitsu ที่เป็นเครื่องสแกนระดับสูง (high-end) มาลองใช้อยู่พักหนึ่ง ซึ่งพบว่าทำงานได้ดีและไว แต่ยังคงมีปัญหาอยู่ในบางจุดกับการสแกนหนังสือ และนี่คือรีวิวครับ
มีข่าวมา ตั้งแต่ปีที่แล้ว ล่าสุด Lenovo ก็ประกาศเข้าซื้อหุ้น 51% ในธุรกิจพีซีของ Fujitsu อย่างเป็นทางการ ที่มูลค่าราว 269 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ Fujitsu และ Lenovo จะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่เพื่อทำธุรกิจพีซี โดยมีธนาคาร DBJ ของญี่ปุ่นร่วมถือหุ้นด้วยอีก 5%
Yang Yuanqing ซีอีโอ Lenovo กล่าวว่า พีซียังเป็นธุรกิจหลักของบริษัท และบริษัทก็ยังอยู่ในตำแหน่งที่ดี รวมทั้งลูกค้าระดับองค์กรก็ยังมีความต้องการพีซีอยู่ตลอด
ดีลนี้ยังเป็นโอกาสที่ทำให้ Lenovo บุกสู่ตลาดญี่ปุ่นได้มากขึ้น และก็เป็นโอกาสในทางกลับกันของ Fujitsu ที่ออกจะสู่ตลาดโลกด้วย ทั้งนี้รายละเอียดการควบรวมกิจการยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจา โดยดีลนี้จะมีข้อสรุปทั้งหมดในต้นปีหน้า
Fujitsu ในฟินแลนด์ เปิดบริษัทร่วมทุน Fujitsu Greenhouse Technology Finland Oy กับบริษัทปลูกผักออร์แกนิกส์เรือนกระจกในท้องถิ่น Robbe's Little Garden Ltd สร้างโรงงานปลูกผักที่อาศัยเทคโนโลยีไอทีเข้าช่วย ตั้งเป้าไม่เพียงขายในประเทศแต่หวังส่งออกทั่วยุโรป
Fujitsu ระบุว่าเป็นโรงงานปลูกผักที่ใช้เทคโนโลยีคลาวด์เป็นพื้นฐาน ควบคู่ไปกับการใช้แสงไฟ LED มีถาดหลุมเป็นแปลงปลูก และดำเนินการเพาะปลูกด้วยระบบอัตโนมัติ
ฟินแลนด์มีภูมิอากาศหนาวเป็นส่วนใหญ่ การปลูกผักใบเขียวจึงทำได้ยาก อาหารที่คนฟินแลนด์กินคือ มันฝรั่ง, ธัญพืช, เบอร์รี่, เนื้อหมู, เป็ด และกะหล่ำปลี คนฟินแลนด์ยังกินกาแฟเฉลี่ยต่อคนสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และอาหารมีราคาแพงมากด้วย
ต่อจากข่าวลือ Lenovo กำลังพูดคุยอยู่กับ Fujitsu เรื่องการเข้าซื้อธุรกิจพีซี ล่าสุด Tatsuya Tanaka ประธานของ Fujitsu ออกมายืนยันแล้วว่ากำลังพูดคุยอยู่กับ Lenovo จริง ซึ่ง Reuters รายงานว่าดีลออกไปในลักษณะ ความร่วมมือด้านดีไซน์และการผลิตพีซี
Lenovo และ Fujitsu แถลงร่วมกันว่า กำลังเจรจาหาหนทางที่จะทำงานร่วมกัน (Cooperation) รวมถึงกำลังพูดคุยเรื่องการสนับสนุนทางการเงินกับ Development Bank of Japan ขณะรายละเอียดอื่นของดีลครั้งนี้ ยังไม่มีการเปิดเผยออกมาครับ
ที่มา - Reuters
เว็บไซต์ The Straits Times รายงานอ้างอิงแหล่งข่าววงในว่า Lenovo กำลังพูดคุยอยู่กับ Fujitsu ในเรื่องการควบรวมกิจการคอมพิวเตอร์พีซี โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาเงื่อนไขและราคา และดีลนี้คาดว่าน่าจะตกลงกันได้ภายในเดือนนี้
ขณะที่หนังสือพิมพ์ Nikkei ระบุว่าดีลนี้ฝ่ายพัฒนา ผลิตและวางแผนพีซีของ Fujitsu จะถูกควบรวมเข้ากับบริษัทที่ Fujitsu ตั้งร่วมขึ้นมากับ NEC ซึ่งพนักงานราว 2,000 คนของ Fujitsu ก็น่าจะถูกย้ายมาทำงานกับ Lenovo-NEC ด้วย
ที่มา - The Straits Times
เมื่อวันพุธที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมชม “ห้องเรียนอนาคต” ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม โดยความร่วมมือของบริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด ในงาน “Pilot Project of Future Classroom’s Fujitsu Learning Project of Tomorrow” ซึ่งจัดขึ้นที่โรงเรียนนั่นเอง
อันที่จริง “ห้องเรียนอนาคต” แห่งนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 2558 แล้วครับ งานนี้ก็เลยจะพูดถึงความร่วมมือของทั้งสององค์กร ในการประยุกต์นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆ การดำเนินโครงการ ความคืบหน้าตลอด 1 ปี จนไปถึงสาธิตบรรยากาศของชั่วโมงเรียนที่เกิดขึ้นในห้องเรียนดังกล่าวอีกด้วย
ARM พยายามบุกตลาดระดับสูงขึ้นกว่าโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตมาเป็นเวลานานแต่จนตอนนี้ดูจะยังไม่ประสบความสำเร็จนัก ที่งาน Hot Chip ปีนี้ทาง ARM ก็เปิดตัวชุดคำสั่งใหม่ที่จะทำให้ ARM สามารถประมวลผลในคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงได้ดีขึ้น
ชุดคำสั่ง Scalable Vector Extension (SVE) เปิดให้ผู้ออกแบบซีพียูสามารถรับคำสั่งเพื่อประมวลผลข้อมูลแบบเวคเตอร์ได้ แม้ว่าก่อนหน้านี้ ARM จะมีชุดคำสั่ง NEON อยู่ก่อนแล้ว แต่ SVE จะเปิดให้รองรับเวคเตอร์ขนาดไม่คงที่ได้ (vector-length agnostic - VLA) เมื่อซีพียูมีเวคเตอร์ใหญ่ขึ้นก็จะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้นไปด้วย
นอกจากขนาดเวคเตอร์ที่ไม่คงที่แล้ว ตัวรีจิสเตอร์ในการประมวลผลเองก็สามารถปรับแต่งได้ระหว่าง 128 บิต ถึง 2048 บิต
- Read more about ARM เปิดตัวชุดคำสั่ง SVE สำหรับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
- 3 comments
- Log in or register to post comments
ฟูจิตสึผู้ผลิตซุปเปอร์คอมพิวเตอร์รายใหญ่จากญี่ปุ่นประกาศในงาน ISC 2016 ระบุว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องต่อไปจะใช้ชิปที่รันชุดคำสั่งสถาปัตยกรรม ARM จากเดิมที่ฟูจิตสึเคยเน้นชิปสถาปัตยกรรม SPARC มาโดยตลอด
ซีพียูที่ใช้นี้จะออกแบบใหม่โดยรับชุดคำสั่ง ARMv8 การเชื่อมต่อระหว่างซีพียูจะใช้ระบบ Tofu ของฟูจิตสึเอง
ฟูจิตสึได้รับว่าจ้างจากศูนย์วิจัย RIKEN ให้สร้างซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ Post-K ที่น่าจะเปิดใช้งานในปี 2020 โดยมีพลังประมวลผลระดับ 1,000 PFLOPS (เครื่อง Sunway TaihuLight ของจีนตอนนี้มีพลังประมวลผล 125.4 PFLOPS)
แม้จะใช้สถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ARMv8 แต่ในการนำเสนอในงาน ISC ทางฟูจิตสึก็เน้นว่าสถาปัตยกรรมภายในเป็นของบริษัทเอง
เทรนด์อุปกรณ์ไอทีสวมใส่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ล่าสุดข้ามฝั่งจากการใช้งานทั่วไปสู่การใช้งานในปศุสัตว์แล้ว โดยมี Fujitsu ยักษ์ใหญ่ไอทีจากญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มนำไปใช้
โซลูชันอุปกรณ์ไอทีสวมใส่เพื่อการปศุสัตว์ของ Fujitsu นี้เรียกว่า Estrus Detection System for Cattle (EDSC) ออกแบบมาสำหรับตรวจจับการติดสัดของวัวในคอก โดยแบ่งอุปกรณ์เป็นสองส่วนคือตัวรับข้อมูล และเครื่องเก็บข้อมูลที่ผูกติดกับขาของวัวเพื่อนับก้าวเดิน โดย Fujitsu ระบุว่าวัวในช่วงติดสัดใช้เวลาเดินเพิ่มขึ้นเป็นหกเท่า เพื่อบอกให้เจ้าของฟาร์มวัวสามารถจัดการผสมเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เว็บไซต์ The Japan Times รายงานว่าบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ฝั่งญี่ปุ่นอย่าง Toshiba, Fujitsu และ VAIO กำลังอยู่ในการเจรจาขั้นสุดท้ายเพื่อจัดตั้งบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์พีซีร่วมกัน โดยแต่จะบริษัทจะยังคงแบรนด์พีซีของตัวเองไว้ เพราะแบรนด์ยังคงแข็งแกร่งในตลาดญี่ปุ่น
ทั้ง 3 บริษัทจะพยายามให้การปรับโครงสร้างองค์กรและควบรวมส่วนการผลิตพีซีนี้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 31 มีนาคม ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดงบดุลปี 2015 โดยทาง Toshiba และ Fujitsu ตั้งใจจะถือหุ้นในบริษัทร่วมที่จะตั้งขึ้นใหม่นี้น้อยกว่า 50% เพราะไม่ต้องการให้ธุรกิจพีซี เป็นภาระโครงสร้างผลประกอบการของบริษัท
การร่วมบริษัทครั้งนี้ มีขึ้นเพื่อต้องการแย่งส่วนแบ่งการตลาดพีซีในญี่ปุ่นมาจาก NEC Lenovo
Fujitsu ประกาศแยกกิจการพีซีและมือถือออกเป็นบริษัทลูก (subsidiary) โดยบริษัทพีซีจะใช้ชื่อว่า Fujitsu Client Computing Limitedและบริษัทมือถือใช้ชื่อ Fujitsu Connected Technologies Limitedมีผลในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2016
บริษัทลูกทั้งสองยังถือหุ้น 100% โดย Fujitsu แต่มีโครงสร้างการบริหารงานของตัวเองแยกจากบริษัทแม่ การแยกบริษัทครั้งนี้ยิ่งช่วยเสริมข่าวลือว่า ธุรกิจพีซีของ Toshiba, Fujitsu, VAIO จะรวมตัวกันเป็นบริษัทเดียว หลังผู้ผลิตพีซีฝั่งญี่ปุ่นประสบปัญหาอย่างหนัก และไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
- Read more about Fujitsu แยกธุรกิจพีซีและมือถือออกเป็นบริษัทลูก
- 15 comments
- Log in or register to post comments
เราเพิ่งเห็นข่าว Sony ซื้อธุรกิจเซ็นเซอร์กล้องจาก Toshiba แต่แผนการฟื้นฟูบริษัท Toshiba ดูยังไม่จบแค่นั้น เพราะมีข่าวว่า Toshiba เตรียมแยกธุรกิจพีซีของตัวเองเป็นบริษัทใหม่ด้วย
เท่านั้นยังไม่พอ ธุรกิจพีซีของ Toshiba ยังมีโอกาสไปรวมพลังกับผู้ผลิตพีซีญี่ปุ่นอีก 2 ราย นั่นคือธุรกิจพีซีของ Fujitsu และ VAIO ที่แยกตัวมาจาก Sony เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ทั้งสามบริษัทกำลังเจรจากันเรื่องสัดส่วนการถือหุ้น และคาดว่าจะเห็นบริษัทใหม่ในเดือนเมษายน 2016 (ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าจะใช้ชื่อบริษัทใด)
พีซี Toshiba เข้มแข็งในทวีปอเมริกาเหนือ ส่วน Fujitsu เด่นในยุโรป และ VAIO เด่นเรื่องแบรนด์