โครงการ LIGO ที่เพิ่งประกาศค้นพบคลื่นความโน้มถ่วง (gravitational wave) เปิดเผยข้อมูลดิบชุด GW150914 สู่สาธารณะพร้อมกระบวนการประมวลผล
ข้อมูลเป็นไฟล์ในฟอร์แมต HDF5 การประมวลผลใช้ไลบรารีไพธอนที่ใช้งานกันทั่วไปอย่าง numpy และ matplotlib เอกสารที่เปิดมาพร้อมข้อมูลมีโค้ดสอนการประมวลผลข้อมูลจากข้อมูลดิบออกมาเป็นกราฟที่ใช้ในรายงานวิจัยทีละขั้นอย่างละเอียด
ต่อให้ไม่ได้ทำวิจัยด้านดาราศาสตร์ แต่ไปโหลดมาทำตามเล่นๆ ศึกษาการประมวลผลข้อมูลก็น่าจะคุ้มอยู่ดี
ที่มา - LIGO
Get latest news from Blognone
Follow @twitterapi
Comments
อ่านแล้ว...รู้สึกประทับใจในความมีน้ำใจของพวกเค้าจริง ๆ
เนอะ เก่งแล้วยังพยายามช่วยพัฒนาคนอื่นอีกด้วย
..: เรื่อยไป
มีค่ามาก ของเล่นใหม่มาอีกแล้ว
เห็นกระแสวงวิชาการไทยพูดถึงเรื่อง
Author จำนวน 3 หน้า (มีคนไทยด้วย)
ชื่อเรียงตามนามสกุล
ถ้าเอามาขอ ตำแหน่งวิชาการ คงจะหารกันลำบาก
RIP ระบบของไทย
ยังไงครับ งง ที่ว่า author 3 หน้าคือโครงการในข่าวนี้เหรอครับ?
ถ้าใช่ แล้วถ้ามาขอตำแหน่งวิชาการทำไมต้องหารด้วย เพราะโครงการนี้มีคนไทยคนเดียวเองนี่นา
ระบบราชการไทยนับเฉพาะ paperที่มีส่วนแบ่งผลงาน 50% ขึ้นไป ทำเป็นทีมหลายๆคนไม่นับ ราชการไทย ไม่นิยม teamwork ครับ
แล้วก็ระบบ KPI ที่เน้นให้คนทำหัวข้อใหม่ทุกปีด้วย ถ้าทำหรือต่อยอดของเดิมจะโดนลด % ลงอีก
งานวิจัยไทยมันเลยไปไหนไม่ได้สักที
งานวิจัยระดับโลก ทำเพื่อมวลมนุษย์
งานวิจัย... ทำเพื่อเอาไปส่งทำปริมาณงานเพื่อขอ up เงินเดือน
มันก็ต้องต่างกันอยู่แล้ว
พาดหัว: ค้น --> ค้นพบ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ใช่คนที่บอกคนเก่งต้องเรียนฟิสิกส์?