มาถึงตอนนี้ เลยเส้นตายการจ่ายค่าประมูลคลื่น 900MHz ที่บริษัท JAS ในเครือ Jasmine ชนะการประมูลเมื่อปลายปี 2558 ไปเรียบร้อยแล้ว นั่นแปลว่า JAS ยอมทิ้งคลื่นที่ประมูลได้มาในราคาแพงระดับโลก
JAS ยังไม่แถลงข้อมูลหรือเหตุผลที่ไม่จ่ายค่าคลื่น (รอคำอธิบายจาก JAS กันต่อไป) คำถามที่หลายคนสงสัยคือ ต่อจากนี้ไปจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่ง Blognone มีบทวิเคราะห์ดังนี้
ภาพประวัติศาสตร์ ภาพเดียวที่มีโลโก้ JAS 4G
จะเกิดอะไรขึ้นหลัง JAS ไม่จ่ายเงิน
สิ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆ
- JAS ไม่มีสิทธิเข้าประมูลใบอนุญาตเดิมได้อีก
- JAS จะถูกริบเงินหลักประกันการประมูล 644 ล้านบาท
- JAS ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการประมูล
สิ่งที่ยังไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่
- JAS จะถูก กสทช. ถอนใบอนุญาตประกอบกิจการประเภทอื่นๆ (เช่น 3BB) ด้วยหรือไม่ (ในระเบียบของ กสทช. ก็ไม่มีเรื่องนี้ เพราะไม่เคยมีกรณีนี้เกิดขึ้น จึงขึ้นกับการพิจารณาของบอร์ด กสทช.)
- กสทช. จะจัดสรรคลื่นความถี่ 900MHz สล็อต 1 อย่างไร แนวทางที่ กสทช. เสนอเบื้องต้นคืออีก 4 เดือนข้างหน้าจะจัดประมูลใหม่ โดยราคาเริ่มต้นที่ราคาเดิมของ JAS
บอร์ด กทค. จะประชุมกันในวันพุธนี้ (23 มีนาคม) ซึ่งจะมีมติอย่างเป็นทางการออกมาอีกทีหนึ่ง
ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคม
- การแข่งขันในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะยังมีผู้เล่นรายใหญ่ 3 รายเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
- True อาจจ่ายเงินค่าความถี่ 900MHz แพงเกินไป เมื่อมีผู้ชนะการประมูล 2 รายในราคาไล่เลี่ยกัน แต่มีรายหนึ่งถอนตัวไม่จ่ายเงินค่าประมูล ส่งผลให้มูลค่าคลื่นตามราคาตลาดอาจแพงเกินจริง (ราคาที่เสนอโดย JAS ไม่สะท้อนต้นทุนจริงในสายตาผู้ประกอบการ) อย่างไรก็ตาม True จ่ายเงินค่าความถี่ไปเรียบร้อยแล้ว ก็คงไม่มีทางถอยหลังอีก ต้องแบกรับต้นทุนในส่วนนี้ไป
- คลื่น 900MHz จะว่างลงหนึ่งสล็อต ตรงนี้เราอาจมองได้ว่า True ไม่น่าจะเข้ามาประมูลอีกรอบ (เพราะได้คลื่นไปแล้ว/หมดเงินไปเยอะ) ดังนั้นคลื่นล็อตนี้จะเป็นการช่วงชิงกันระหว่างสองรายที่เหลือคือ AIS และ dtac แทน
- แต่ต้องไม่ลืมว่า ในปี 2562 คลื่นล็อตใหญ่ที่ dtac ถืออยู่จำนวน 50MHz (ใช้จริง 25MHz) จะหมดสัญญาสัมปทานลง (ถือเป็นสัญญาสัมปทานคลื่นอันสุดท้ายภายใต้ระบบเดิม) ภาวะที่เกิดขึ้นคือคลื่นจะล้นตลาด ถึงแม้การมีคลื่นในครอบครองเยอะๆ ย่อมส่งผลดี และผู้ประกอบการทุกรายอยากได้คลื่นไว้อยู่แล้ว แต่เมื่อ supply มีจำนวนมาก ราคาย่อมไม่แพงเหมือนการประมูล 900MHz อยู่แล้ว
- ในกรณีที่ กสทช. จัดการประมูลคลื่นใหม่ Timing หรือช่วงเวลาที่จะประมูลจึงสำคัญมาก เพราะถ้า กสทช. ยืดเวลาให้ช้าออกไปจนใกล้ปี 2562 เท่าไร ใกล้กับการประมูลคลื่นล็อตถัดไปเท่าไร ราคาของคลื่นล็อต 900MHz ก็ย่อมจะถูกลงเรื่อยๆ เพราะผู้ประกอบการมีตัวเลือกมากขึ้น (หรือไม่อย่างนั้น กสทช. ก็จัดประมูลพร้อมกันไปเลย)
ราคาของคลื่นที่จะประมูลใหม่
แนวคิดของการประมูลคลื่นคือ ไม่มีใครรู้ว่าราคาควรเป็นเท่าไร จึงให้การแข่งขันในตลาดเป็นตัวกำหนดราคาที่เหมาะสมของคลื่น ณ ช่วงเวลานั้น
ทุกคนทราบดีว่า ราคาสุดท้ายของคลื่น 900MHz แพงมาก ซึ่งสะท้อนถึงมุมมองของผู้ประกอบการทั้ง 4 รายที่ร่วมแข่งขันเสนอราคาในตอนนั้น
เมื่อสภาพตลาดเปลี่ยนไป มุมมองต่อมูลค่าคลื่นย่อมเปลี่ยนไป ถ้าจัดการประมูลรอบใหม่ ราคาคลื่นย่อมต้องลดลงมาจากราคารอบที่ผ่านมา (และมุมมองของผู้เข้าร่วมประมูลที่ไม่ชนะคือ AIS กับ dtac ก็พูดตรงกันว่าสู้ราคาไม่ไหว)
ดังนั้นการจัดประมูลใหม่ โดย มีราคาตั้งต้นเท่าราคาสุดท้ายของรอบก่อนและหวังว่าจะมีคนมาเสนอราคาแข่ง จึงเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลย
Blognone มองว่า กสทช. ต้องลดราคาตั้งต้นลงมา แต่ก็เข้าใจความยากลำบากของ กสทช. ในการหาราคาตั้งต้นที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน (ไม่ว่าเลือกทางใด กสทช. ก็โดนด่าอยู่ดี) อย่างไรก็ตาม เราขอให้ กสทช. มองเรื่องการจัดสรรคลื่นไปใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า มากกว่าการมองถึงตัวเลขรายได้จากการประมูล เพื่อเลี่ยงปัญหาการนำคลื่นไปกองไว้เฉยๆ เพราะจัดประมูลแล้วไม่มีใครมาเสนอราคา ถือเป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างเสียเปล่า
Comments
เห็นด้วยครับถ้าใช้ราคาสุดท้ายของรอบก่อนแพงไปและคงไม่มีใครมาเข้าร่วมประมูล ถ้าเป็นกรณีนี้ กสทช. จะเก็บคลื่นไว้หนึ่งปี รอไปราคาขนาดนี้ก็ไม่มีใครประมูลอยู่ดี ผมว่าประเทศเสียโอกาสมาก
ผมเสนอให้ลองใช้วิธี ประมูลแบบลดราคา (Dutch Auction) คือเริ่มต้นที่ราคาประมูลสุดท้าย ถ้าไม่มีคนยื่นก็ลดราคาลงมา จนกว่าจะมีผู้เสนอราคา ถ้ามีคนเสนอราคาแล้วให้ประมูลแบบเพิ่มราคา (English Auction) จะได้ราคาที่เหมาะสมมากกว่า ประเทศไม่เสียโอกาศ แล้วควรให้ True เข้าร่วมได้ด้วย
ผมเห็นด้วยกับวิธีนี้นะครับ
ราคาจะอยู่ระหว่าง 70,000 - 75,000 ล้านบาท
--
True โอเคแน่นอนครับ แต่ได้ราคาเท่าไหร่ true ขอลดเหลือเท่านั้นด้วยนะ
ผบห. true โทรมาบอกเหรอครับ
ดูดีแหะ อยากให้ใช้วิธีนี้เหมือนกัน
ผมอยากให้ กสทช. ลองเสนอราคา'รอบก่อนแพงไป'ให้สิทธิ์ AIS ตัดสินใจซื้อก่อน (เพราะราคานั้นได้มาจากการกดรอบปกติ) ถึงจะแฟร์ถ้า AIS ไม่เอา ค่อยทำ Dutch Auction แบบให้ True ร่วมด้วย
เป็นความคิดที่ดีครับ แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีไหนก็ต้องคุยกับทางทรูก่อนให้ทางทรูยอมรับ จะได้ไม่มีการฟ้องร้องกันภายหลัง
ถ้าวิธีนี้ Jas ขอร่วมด้วยคนครับ 555
มีวิธีการประมูลแบบนี้ในโลกด้วยหรอครับ
เพิ่งรู้ เจ๋งมาก
ไม่มีนะครับ เพราะมันต่างกันคนละทางเลย (รายละเอียดดู comment ผมด้านล่างได้ครับ)
เห็นด้วยกับ คห นี้เช่นกันครับ .... เพราะยังไงก็ปั่นกันมา 4 เจ้าจนถึง 70 อยู่แล้ว (ถ้าผมจำไม่ผิดนะ) แสดงว่าน่าจะมีกำลังจ่ายกันแน่อยู่แล้วถึงกล้าประมูลกันมาขนาดนี้ ... ยิ่งแข่งกันเยอะ รัฐ ก็ยิ่งได้ประโยชน์
แต่ติดที่ว่าการประมูลนี้ออกกฎการลงโทษผู้ประมูลแล้วเบียวอาจจะยังไม่ครอบคลุมเท่าไร เพราะยิ่งประมูลสูงขึ้นเท่าไร ตัวเลขเงินประกันก็จะดูน้อยลงไปเท่านั้น(ก็มันคงที่หนิ) ... อย่างรอบนี้ 75 กับ 0.64 เลขไม่ถึง 1% เลย ถ้าลองปรับเป็น ปรับ 25% ของจำนวนเงินที่ประมูล + 644 ล้าน(หรือจะสูตรอื่นอะไรก็ลองดูอีกที) เลขมันอาจจะออกมาไม่สูงแบบนี้ก็ได้ เพราะต้องคิดให้ดีกว่านี้ ถ้าจ่ายไม่ได้ จะเสียไปอีกเท่าไร?
ปล. ผมไม่ได้อ่านกฎการประมูลมานะ วิเคราะเอาตามที่เห็น :v อาจจะผิดหรืออะไรก็ขออภัย ฮ่าๆๆ
ผมว่าท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องการออกแบบการประมูลครับ ท่านนึกถึง demand supply ก่อนนะครับ การ auction เหมือนกับการลาก demand หรือ supply ครับ
อันดับแรก dutch auction (clock auction) กับ english auction เป็นวิธีประมูลของ 1 ชิ้นและไม่ควรเอาผสมกันเพราะ dutch จะเป็นการลาก supply (จากการเกิด oversupply) ในขนะที่ english จะเป็นการลาก demand (จากการเกิด overdemand) แน่นอนถ้าให้ ais, true และ dtac เข้ามาในรูปของการเสนอ project เช่น uso อาจจะพอใช้ได้ (ใช้ในหลายประเทศครับ)อันดับ 2 วิธีที่ท่านบอกผมว่าจะมีคน stage แรกแบบ dutch จะมีคนหลายคน bid แน่นอนจะสุดท้ายราคาก็เท่าเดิม (ไม่ใช้วิธีที่ optimum) แต่ dutch ก็ไม่ควรใช้อยู่ดีเพราะเราไม่ได้ต้องการหาผู้ขาย
อันดับ 3 ถ้าใช้ english เลยก็มีปัญหาเยอะครับเช่น winner's curse (จาก shade bidding) ถึงต้องมีวิธีที่เราใช้กันเรียกว่า simultaneous ascending auction เป็นวิธีที่นิยมใช้กันทั่วโลกแต่ก็มีปัญหาบ้างนะครับ มีกรณีของกรีซ เยอรมัน ไต้หวัน (แต่ก็เพราะออกแบบแตกต่่งกันด้วย เช่น ของเยอรมันให้เห็นผู้ชนะชั่วคราวแต่ละรอบ)
ข้อเสนอตอนนี้ที่สำคัญคือต้องเชือดไก่ (Jas) ให้ลิงดูก่อนเพราะว่าถ้าเข้ามาปั่นจะโดนลงโทษถึงมีข้อกำหนดโทษที่ค่อนข้างโหดนะครับ จริงเห็นไปถึงหุ้นของ Jas ด้วย (เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ)
คำถามที่น่ากังวลตอนนี้คือราคาเริ่มควรไปอยู่ตรงไหน? และจะมีผู้เข้ามาร่วมใหม? ซึ่งคงต้องศึกษากันซักพัก
อีกประเด็นหนึ่งการถือคลื่นเสียค่าธรรมเนียมด้วยนะครับ ตรงนี้พอปกกันการกักตุนคลื่นไปพอได้ครับ
ไม่น่าเลย JAS ทำตัวเองแท้ๆ ไม่มีเงินแล้วยังไปเข้าร่วมประมูลอีก.... เวรกรรม
Get ready to work from now on.
ผมว่ามันต้องมีบทลงโทษที่หนักกว่านี้นะ เพราะแค่ยึด600กว่าล้านแล้วจบ ระบบการประมูลรวมถึงความเชื่อมั่นนี่ถูกทำลายไม่เหลือชิ้นดีเลยนะครับ(TRUEซวยมาๆ) 600กว่าล้าน รายได้จาก3bb แปปเดียวก็ได้คืนแล้วมั้ง...
เดี่ยวนะ ซวยยังไง ก็ประมูลได้คลื่นไปแล้ว จะใช้เมื่อไหร่ก็ได้นิครับ
JAS นี่ตอนประมูลกดเพลินซินะ สุดท้ายหาเงินมาจ่ายไม่ได้ หาคนค้ำประกันไม่ได้ส่วน 3BB ผมว่าคงไม่โดนริปใบอนุญาต เพราะคนละส่วนกัน แถมกระทบลูกค้าจำนวนมากซึ่งพวกเขาไม่ได้ทำผิดอะไร
มาเร็วมากครับ -0-
ถามแบบไม่ได้อ่านระเบียบนะครับว่าทำได้หรือเปล่า ถ้าผู้ประมูลลำดับแรกไม่ชำระเงินตามกำหนด ผู้ประมูลได้ลำดับที่ 2 ใน slot นั้นจะได้คลื่นไป ในราคาที่ประมูลท้ายสุด ทำได้หรือไม่ครับ
ผมว่าก็ควรเป็นแบบนั้นนะ จะจัดประมูลใหม่อีกทำไม จะปล่อยให้เสียโอกาสใช้คลื่นความถี่ไปฟรีๆ อีกเหรอ
ปล. ในต่างประเทศ คลื่นพวกนี้ไม่เห็นต้องประมูลเลยนี่ ตั้งโครงข่าย กำหนดคลื่นความถี่ใช้งานได้เลย ทำแค่ขอใบอนุญาตจากทางการเท่านั้น
Get ready to work from now on.
เนื่องจากคลื่นมีจำกัด มีความต้องการเยอะ หากใช้วิธีขออนุญาตแล้วรัฐอนุญาตจริงจะเกิดข้อครหามากมาย
อันนี้มั่วแล้วครับ เขาประมูลคลื่นกันเยอะแยะเป็นข่าวกันโครมๆ Blognone ก็ลงไปตั้งเยอะ
โทษทีครับ เพราะข่าวประมูลเจอแต่ของไทย หาที่เป็นข่าวต่างประเทศแทบไม่เจอเลยครับ ส่วนของ Blognone ผมก็พึ่งเจอแต่ก็หลายปีแล้ว
Get ready to work from now on.
Wikipedia มีทุกคำตอบขอเพียงแค่อ่านมัน
เป็นบทเรียนว่าเวลาจะอ้างว่าต่างประเทศทำกันอย่างไร ก็ควรอ่านข่าวต่างประเทศให้มากขึ้นครับ การประมูลพวกนี้เยอะมากทั่วโลก ถ้าไม่เป็นครั้งสำคัญๆ ผมคงไม่เอามาเขียนลง Blognone
lewcpe.com , @wasonliw
ผมว่าแค่ตามข่าวประมูลนี้ก็น่าจะทราบว่าต่างประเทศก็ประมูล กสทชก็บอกว่าต่างประเทศก็ประมูล ทีวีอีก ช่วงนั้นฟังจนเอียนเลย
จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
@TonsTweetings
"กำหนดคลื่นความถี่ใช้งานได้เลย"???
สมัยผมเรียน น่าจะ ม.ปลาย มั้ง ผมจำได้ว่าผมเรียนเรื่องคลื่นความถี่ด้วยนะครับ คลื่นเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด มันมีช่วงที่ใช้งานได้ของมัน ไม่ใช่ว่าใช้ได้ไม่จำกัด มันเลยต้องมีการจัดสรรคลื่นความถี่ ไม่ใช่ว่านึกอยากจะใช้คลื่นไหนก็จับใช้เองได้เลย
พอคลื่นเป็นที่ต้องการและมีมูลค่าสูง ดังนั้นส่วนใหญ่เลยออกมาในรูปแบบของการประมูลเพื่อให้มีการแข่งขันทางด้านราคาอันจะเป็นผลประโยชน์เข้ารัฐ ซึ่งการประมูลคลื่นเป็นรูปแบบสากลด้วยซ้ำไปเลยครับ
อยากรู้ว่าข้อมูลเหล่านี้คุณได้แต่ใดมาครับ ถึงทำให้คุณเข้าใจแบบนี้ได้
คลื่นความถี่นิยมใช้การประมูลทั่วโลกเลยครับ (แต่การออกแบบแตกต่างกันแต่คล้ายคลึงกัน) มีแค่บางประเทศที่ให้ใช้เลยคือมาเลเซียครับ
ผมว่าคงไม่มีในกฏ คงทำแบบนั้นไม่ได้
ถึงจะอยากทำ แต่มันไม่มีอะไรมารองรับ
แล้ว อันดับสองเขายังอยากได้ราคานั้นอยู่ไหม อันนี้ก็บอกไม่ได้
ต้องกลับไปถาม AIS ครับว่ายังอยากได้คลื่น 900MHz ที่ราคาที่กดไปตอนนั้นอยู่หรือเปล่าเพราะสถานการณ์ตลาดมันเปลี่ยนไปแล้ว
ปรากฏว่าผู้ประมูลได้ลำดับ 2 บอกว่าตอนนั้นกะเคาะเพื่อบลั๊ฟเฉยๆ ของเข้าเลยทีนี้
ให้ลำดับสองจ่ายเท่าที่กด ผมว่าทำไม่ได้นะ เพราะอย่าง AIS นับตั้งแต่ประมูล พอรู้ว่าไม่ได้คลื่น 900 เค้าก็ไปลงทุนทางอื่นเพื่อแก้ปัญหาแล้ว ทั้งออกแคมเปญแจกมือถือ โรมมิ่งดีแทค แบบนี้ลงทุนไปเยอะแล้ว จะให้มาจ่ายราคาเท่าเดิมที่ประมูลไว้แบบนี้ก็ไม่แฟร์ครับ
คิดแทน กสทช ทำยังไงไม่ให้ติดคุก ผมว่าต้องทำให้เบสิกและถูกกฎหมายที่สุด เช่น
- เตรียมจัดประมูลอีกรอบ ราคาตั้งต้นเท่าราคาที่ JAS กดไว้สูงสุด(ต่ำกว่านั้นไม่ได้ เสี่ยงคุก #1)- แล้วส่งหนังสือเชื้อเชิญให้ทุกเจ้าเข้ามาประมูล ถ้าไม่มีใครสนใจเข้าร่วม(ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น) ก็ไม่ต้องจัดเลยจะได้ไม่เสียงบประมาณไปเปล่าๆ(เสี่ยงคุก #2) แล้วก็งดประมูลหนึ่งปี
- เสร็จแล้วก็ต้องไปไล่เอากับ JAS ทั้งยึดเงินประกัน และฟ้องเรียกค่าเสียโอกาสที่ไม่ได้ค่าคลื่นหนึ่งปี เช่น เอา 7 หมื่นล้านหารจำนวนปีของใบอนุญาตไปเลย แล้วก็บวกกับค่าดำเนินการประมูลที่ต้องจัดในอนาคต และค่าอื่นๆเท่าที่จะคิดออก ฟ้องให้หมด ให้ศาลตัดสิน (จะได้ไม่เสี่ยงคุก #3 ว่าปล่อยให้ประเทศชาติเสียผลประโยชน์ฟรีๆ)
+1
ซึ่งผมว่า คงเป็นไปตามที่ท่านว่า คือ คลื่นโดนดองไปยาวๆ
ท่าดีท่าเหลว
ผมว่า jas ดูแล้วไม่คุ้มเสี่ยง ในการเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ แต่ลวทุนสูงขนาดนั้น
แต่ สมมุติ เลื่อนประมูลออกไป ใครได้ ใครเสียยังไง แบบ true นี้ กลายเป็น ซวย ประมูลแพงเกิน แต่ผมว่าราคาใหม่ ตั้งให้เท่ากับที่ true จ่าย
Ais ยิ้มใช่ไหมครับแบบนี้True เสียยังไงบ้างครับ เกมออก หน้า แบบนี้
ถ้าประมูลใหม่ แล้ว true ได้ไปอีก มันจะมีประโยชน์ต่อ true ไหม หรือว่า เหลือคู่แข่งแค่ 2 ราย ais dtac
ประมูลรอบใหม่ได้ตังค์เท่าไร ส่วนต่างจากยอดเดิม jAS จ่าย
ห๊ะ
คงเหลืตแต่aisเจ้าเดียวแล้วมั้งครับ เพราะdtacบอกแล้วว่าเอา70,000ล้านไปทำอะไร แย่หน่อยคือtrueประมูลแข่งซะแพงเลย
Marketing ชัดๆครับผมว่า
เข้าใจถูกต้องละครับ พวกบอกลงทุนระบบ software สิบล้าน... แต่เงินเดือนลูกน้องเท่าเดิมเหอะ
ผมมองว่า กสทช. ควรจะจัดประมูลคลื่น 900 ที่ว่างอีกรอบโดยเร็ว โดยเหลือผู้เข้าแข่งขันแค่ AIS กับ dtac (เพราะ true ได้คลื่นไปแล้ว และ JAS โดนแบน) ใช้กติกาเดิม เริ่มต้นที่ราคาเดิมและปรับขึ้นรอบละเท่าเดิม แต่เมื่อได้ผู้ชนะแล้วให้ปรับลดราคาประมูลของ true ลงมาด้วย ให้เหลือเท่ากับราคาของผู้ชนะประมูลรอบนี้ + ผลต่างราคาของ true กับ JAS รอบก่อน(644 ล้านบาท)
อันนี้เป็นวิธีเร็วที่สุดที่จะให้ กสทช ไปนอนคุกข้อหาทำรัฐเสียหายเลยครับ ลดราคาย้อนหลังเนี่ย
แนวคิดประมูลคือ เอกชนรู้ดีที่สุดว่า คลื่นมีราคาเมกเซนต์เท่าไหร่ และจะยอมจ่ายกำไรให้รัฐเท่าไหร่
เมื่อคุณตัดสินใจว่าราคานี้โอเค และจ่ายเอง เคาะเอง มาขอคืนเงินนี่ไม่เมกเซนต์ครับ
ถ้าคุณคิดว่าราคานี้แพงเกินอย่าเคาะสิ ทำแบบดีแทค กับ เอไอเอส คือถอยไปซะ
+900
ราคาขึ้นกับสภาพแข่งขันในตลาดครับ ตอนประมูลรอบที่แล้วมีผู้เข้าร่วม 4 ราย โดนแบนไปหนึ่งเหลือสามราย ราคาก็ไม่ควรเท่าเดิมแล้วครับ
อย่างความเห็นก่อนหน้า ต้นทุนนึงคือค่า โอกาสทางธุรกิจ กรณีมี JAS มาแบ่งเค๊ก ราคานี้ ทรู AIS Dtac ย่อมเห็นว่าคุ้มเลยกดกันใหญ่ แต่ JAS เล่นพลีชีพแบบนี้ มันทำให้การคำนวนความคุ้มค่า ณวันนี้ผิดเพี้ยนไป
ใช่ครับ ถ้ามันมีผู้ชนะสองเจ้าในราคาเท่ากัน มันไม่แพงไป เพราะการแข่งขันมันจะไปด้วยกัน ไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่างกันนักแต่ถ้าเจ้านึงจ่าย 100 บาท แล้วอีกเจ้านึงดันได้มาในราคา 40 บาท แบบนี้ไม่เรียกว่าแข่งขันครับ
สมมุติ dtac AIS ไม่อยากได้แล้วเพราะลงทุนไปกับทางอื่นแล้ว ประมูลต่ำๆ แบบนี้รัฐไม่เสียหายกว่าหรือครับ
ตามหลักคือ True ได้คลื่นไปแล้ว และไม่ได้ทำอะไรผิด ก็มีสิทธิประมูลได้ครับ เพราะถือเป็นตัวของคนละชิ้นกัน เว้นเสียแต่ว่า กสทช. จะมีกฎ Spectrum Cap เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งมีคลื่นเยอะเกินไป
ส่วนเรื่องราคาที่ True จ่ายไปแล้ว ก็ถือว่า True ยินดีที่จะจ่ายในราคานั้น ไม่มีเหตุอะไรให้ต้องปรับลดลงมาครับ
ผมมองว่าเหมือนเช่าร้านขายของ สองร้าน อีกร้านนึงเข่าแพงกว่า แต่ เจ้าของที่บังคับให้ขายของราคาเดียวกันน่ะครับ
ของขายราคาไหน ขึ้นกับสภาวะตลาดและการบริหารต้นทุนครับ ไม่เกี่ยวอะไรกับเจ้าของที่เลย
อ๋อ ไม่ใช่มีแค่ค่าโทรนี่น่า ลืมไปมี 3G ด้วย
มหากาพย์ เลยครับ
ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้ หุ้นแต่ละตัว จะวิ่งยังไง...
เดาว่าหุ้นขึ้นทุกตัว เพราะตลาดมองว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมโทรฯ น้อยลง
- DTAC เยอะสุดเพราะราคาลดไปเยอะ- AIS เพิ่มนิดหน่อยและราคาลดลงไปไม่มาก
- true อาจไม่เพิ่มเลย เพราะจ่ายค่า license ไปแพง ประมูลรอบใหม่เป็นไงยังไม่รู้
มาป่วนแบบนี้ ต้องลงโทษหนักๆ ไม่งั้นจะมีบริษัทผีตามมาเล่นแบบนี้อีกเพียบแน่อย่างน้อยก็ TRUE ถ้ามีการประมูล 900 ในรอบ DTAC กับ AIS
คงไม่มีใครอยากเอาเงิน 600 กว่าล้านมาประมูลเล่นๆ แล้วโดนยึดมั้งครับ ผมเชื่อว่า JAS คงอยากเข้าสู่ธุรกิจนี้จริง แต่อาจคิดไม่รอบคอบ ราคาสูงมากยังกล้าประมูล พอประมูลได้ธนาคารไม่กล้าปล่อย พันธมิตรถอยหมด JAS เลยต้องยอมทิ้งเงินประกัน
จริงๆ มีข่าวว่าธนาคารกรุงเทพจะปล่อย Bank Garantee ให้อยู่แล้วแต่ทาง JAS ไม่วางเงินประกันส่วนตัว ผมว่าถ้าทำได้นะ ปัญหาก็จบไปนานแล้ว ทำผิดพลาดเอง โทษใครไม่ได้จริงๆ
เซ็งมากครับ โดยเฉพาะบริษัท JAS Mobile ที่อาจล้มละลายได้เลย ไม่มีใครอยากเข้าไปร่วมธุรกิจด้วยหรอกครับ และที่สำคัญ ไม่มีเจ้าใหม่มาคานอำนาจ 3 เจ้าหลักแล้ว โอกาสแบบนี้หายากมากครับ แต่เมื่อเลือกจะปล่อยไปแล้ว เพราะรู้อยู่แล้วว่าไม่คุ้ม เราก็คงทำอะไรไม่ได้นอกจากทำใจและลืมมันไป กลับไปทำงานต่อตามเดิม
Get ready to work from now on.
รอเพนกวิน ถ้ารุ่งก็อาจจะมาร่วมประมูลในอนาคตได้ :P
มันมีกรณี ที่จะทิ้งคลื่นไว้ 1 ปีด้วยครับ
สมมุติแบบ JAS ทำรอบนี้คือเสียเงินประมาณ 1000 ล้าน (ค่าเข้าประมูล + ค่าปรับไม่จ่าย ในกรณีไม่มีบทลงโทษอื่น เพราะเป็นบริษัทนอมินี) แต่สามารถทำให้คลื่นราคา 70000 ล้านลอยในอากาสได้ 1 ปี
ใครเสียโอกาสบ้าง 1. ประชาชน 2. บริษัทคุ่แข่งทาง
ควรจะจัดการ JAS ให้หนัก เพื่อให้เป็นตัวอย่าง ว่ามันวุ่นวายยยยย
บ.ที่เข้าประมูล คือ JAS Mobile นะครับ
ไม่ใช่ Jasmin international
ช่องสามมี 3 บริษัทโดน กสทช.เล่นงานมาแล้วครับ
แบบนี้ ค่ายที่ประมูลไม่ได้ดูดีจึ้นมาทันที่ เมื่อเทียบกับค่ายที่ประมูลได้แต่ไม่มีเงินมาจ่าย
ผมมองว่า เอาเงินไปลงทุน ระบบเสาสัญญาณ กันหมดแล้วสำหรับ AIS, DTAC ส่วน True ก็อิ่มไปแล้วกับคลื่น 900
จัดประมูลใหม่ รอบหน้า (4 เดือนข้างหน้า) ไม่มีคนเอาครับ ชะลอไปอีก 1 ปี
จะไปติดกับประมูลคลื่นที่หลุดจาก CAT 50 MHz ในอีก 3 ปีข้างหน้าเอาเงินไปถมตรง 50 MHz ไม่ดีกว่าเหลอครับ ?
เพราะ "True" ดัน False Start ปีนี้ไปแล้ว 70,000 กว่าล้านครับ
เตรียมตัวปล่อยคลื่นลอยในอากาศทิ้งไปครับ 900 อ่ะครับ
จะใช้ Action Replay อย่างสมัย TT&T ไหมล่ะครับ?
pantip.com/topic/32421997
JAS ตั้งบริษัท มาประมูลก็ไม่ผิดกฎนิ
ให้ ais ได้ไปแต่แรกก็ไม่ต้องลุ้นซิมดับไม่ดับให้วุ่นวาย ถ้ารุ้ว่าไม่มีตังจ่ายแบบนี้นะไม่เชียร์หรอก
แต่เชื่อว่า ais ก็ยังอยากได้อยู่นะในราคานี้
ถ้าผมเป็น ais ผมจะเล่นตัวและตอบว่าราคานี้ผมไม่เอาแล้วครับ
+1 ผมว่าไม่จำเป็นต้องไปลำบากแหละ
โอกาสน้อยมากครับ ที่ ais จะเอา เพราะจ่ายตังค่าโรม dtac ไปแล้ว
หรือว่าแหล่งเงินทุนที่เคยตกลงกับ JAS ไว้เปลี่ยนใจด้วยอำนาจมืดบางอย่าง
เพราะจะเคาะราคาขนาดนั้นได้ ผู้บริหารต้องมั่นใจก่อนเปล่าว่าหาเงินได้
ผมว่า Ais รู้อยู่แล้วว่า jas ไม่จ่าย เท่าที่ดูเขาเดินเกมมา
สมมุติ ประมูลใหม่ราคาเดิม ไม่มีใครเอา
รอ อีก 3 ปีแน่
ถ้า true เดินเกม เอาทุกคลื่น จนไม่เหลือถึง dtac จะเป็นไงนะมีโอกาส คุ้มลงทุนไหม ยึดตลาดเจ้าเดียว
แบบนี้มันปั่นราคาชัดๆ
เป็นผมเป็นทรู ถ้าราคารอบใหม่มาถูกมากเกินผมคงฟ้องแหลก
ไม่กสทช.ก็ต้องบังคับให้ JAS จ่ายค่าปรับให้รัฐ และค่าส่วนต่างให้ทรู เพราะเหมือนมาปั่นราคาแล้วเบี้ยวประมูล ส่งผลให้ราคาประมูลมันสูงเกินจริง
อารมณ์ กับ เหตุผล น่าจะต้องแยกกครับ ตอนนั้น ถ้าไม่กด jas ได้ไปทั้ง 2 ช่อง ค่อยว่ากันดีกว่า
จริงๆ ถ้าคิดว่าแพง ก็หยุดกด ก็จบแล้วนิ
มันไม่แพงเมื่อเทียบราคากับอีกสล็อต
และมันกำลังจะแพง เมื่อเทียบราคากับอีกสล็อต
คืนเงิน True ไปก่อน แล้วประมูลกันใหม่ครับ
ถ้าประมูลรอบใหม่ราคาเพิ่มขึ้กก็ดีไป(ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้) แต่ถ้าราคาลดลง กสมช. มีสิทธ์นอนคุก ฐาน ทำรัฐเสียผลประโยชน์นะครับ
เห็นด้วย เกรงว่าตอนนี้เขาจะเล่นเกมถ่วงเวลา เลื่อนไปประมูลอีกสี่เดือนโดยตั้งราคาเดิม ไม่มีคนประมูล ก็เลื่อนออกไป 1 ปี ก็ไม่มีคนเอาอีก เลื่อนรอบสุดท้ายอีกปีนึง ไปชนกับคลื่น 1800 ที่หลุดมาพอดี ตอนนั้นก็อ้างว่า เงื่อนไขตลาดเปลี่ยน เลยต้องตั้งราคาประมูลใหม่
สรุปว่าถ่วงเวลาสองปีครึ่งให้....ได้ใช้คลื่นไปก่อนคนเดียว
คุณจำได้ไหม ไม่ต่างจากตอนล้มประมูล 2100 เลย มีเจ้าไหนได้ทำ 3G ก่อนใครไปสองปีกว่าๆกัน? ใครออกแบบระบบเพื่อการถ่วงเวลา?
ส่วน AIS กับ DTAC คงไม่เอาที่ราคา 7หมื่นล้านแน่ๆ เขาผันเงินประมูลไปลงทุนขยายเครือข่ายเดิม1-2หมื่นล้านกันไปแล้ว ไม่งั้นจะกลายเป็นต้นทุนแพงกว่า true อีก
ก็เป็นไปได้นะครับ
WE ARE THE 99%
รอบนี้ถ่วงเวลาสองปีแต่จ่ายไปเจ็ดหมื่นกว่าล้านแล้ว ผมยังโอเคกว่ารอบก่อนนะ
รอบก่อนนี่เงินก็จ่ายไม่ครบ เอาคลื่นไปทำสบายๆเฉย
แต่ตอนนี้คลื่น 900 นั้นก็ไม่มีใครได้ใช้ฟรีๆนะครับ
คนที่ได้ใช้คลื่นก็เป็นคนที่ยอมจ่ายเงินประมูลไปแล้ว ถ้าคนอื่นเห็นว่าไม่แฟร์ก็เข้าร่วมประมูลใหม่ที่(น่าจะเป็น)ราคาเดิมของ JAS ได้นะครับ
ตอนนั้น 3G 850 ก็ไม่ได้ฟรีๆเช่นกันครับ แค่ได้สิทธิพิเศษทำ 3Gก่อนใครแค่สองปีกว่าๆเอง
ผมจะไม่มโนต่อนะ ว่าใครกันที่อยู่เบื้องหลังการล๊อบบี้ล้มประมูล 2100 รอบแรก? ที่ตลกคือพอล้มแล้ว ไอ้ข้อหาที่ฟ้องทั้งหลายยกฟ้องไปหมด
ใครกัน ที่อยู่เบื้องหลังการส่งคนไปข่มขู้ให้แบ่งคลื่นกันดีๆ คนละ 15MHz ทั้งๆที่ตอนแรกสองค่ายบอกจะเอา20MHz ตอนประมูลรอบสอง สุดท้ายเราเลยเห็นการประมูลที่ไม่ต้องแย่งกันเลย(เหมือนแบ่งเค๊ก)
ใครกันที่ได้ประโยชน์จากการเยียวยา เกือบสองปี(แถมปีแรกขยายให้เลยโดยไม่ต้องขอ) แต่พออีกค่ายจะทำบ้าง ทำเป็นไม่ยอมจนต้องฟ้องศาล?
คือถ้ามองย้อนไปทั้งหมด มันก็ไม่ได้โปร่งใสหรือตรงไปตรงมา ดีกว่าสมัยสัมปทานนิดหน่อย แต่ก็ไม่ได้มีธรรมาภิบาลอะไรสักเท่าไร ทั้งคนเข้าร่วม และคนจัด(ที่มีข่าวลือว่าไปข่มขู่เสียเอง?)
บทลงโทษผมอยากให้พักใบอนุญาติ 3BB สัก 3 ปี
อ้าว ออกแบบระบบประมูลผิดพลาดเอง ไหงจะมาสังเวยประชาชนคนอื่นล่ะครับ? ได้ฟ้องศาลปกครองกันนัวแน่ๆ อย่าลืม 3BB เป็นเครือข่ายinternet หลักในตจว.เลยครับโดยเฉพาะที่อำเภอรอบนอก บ้านนอกอย่างบ้านผมที่ตจว.มีแค่ค่ายเดียวครับ แม้แต่ TOT ยังไม่คิดจะลงทุนลากสายมาวาง dslam เลย(เครือข่ายโทรศัพท์ยังไม่ขยายเลยครับ)
ว่ากันตามข้อกฎหมาย ใช่ว่ากสทช.จะมีอำนาจไปสั่งถอนดื้อๆ จะบอกว่าผู้บริหารเป็นญาตินามสกุลเดียวกันถือเป็นบ.เดียวกันก็คงไม่ได้
ถ้าทำจริง ต้องเรียกว่า กสทช หน้าแหกแล้วพาล
ช่องสาม มี3บริษัท โดนมองว่าเป็นบริษัทเดียวครับ
ความรับผิดชอบ อาจฟ้องแพ่งไปถึงผู้ถือหุ้นได้ แต่ไม่ได้มีอำนาจไปยุ่งเกี่ยวกับบ.ในเครืออื่นๆครับ ไม่งั้นเขาไม่ตั้งบ.แยกมาประมูลกันหรอก
ป.ล.เพิ่งเห็นว่าbbc อ้างอิงข่าวนี้จากblognone ด้วย
มันคนละกรณีกัน เขาได้ 3bb มาอย่างถูกต้อง ทำอะไรเขาไม่ได้หรอกครับ
อ่านข่าวมา ไม่รู้จริืงรึป่าวคือ บริษัทที่ทำ 3BB ไม่ใช่ JAS ที่เข้าประมูล...เหมือนบริษัทลูกอะไรงี้
ถ้าเกิดยืดก็โดนฟ้องแน่นอน...เอาอำนาจส่วนไหนไปยึด...
ถ้าคิดแบบนี้ก็เอากฎข้อนี้ออกไปเหอะ ครับ
ครั้งต่อไป นอมินี jas ก็มาใหม่เพราะถือว่าคนละบริษัท ไม่ติดคาดโทษ
ม.44
ผมว่าทางที่แฟร์ๆคือ แบน JAS หรือ ร่างทรง JAS หรือ บุคคลที่อาจจะเป็น JAS มา ห้ามมาประมูลอะไรแบบนี้อีก แบนไป 10ปีก็อ่วมแล้ว
ถ้าตามข่าว การประมูลจะเริ่มต้นใหม่ที่ 75,654
แบบนี้เข้าทางทรูสิครับ
เข้าทางยังไงเหรอครับ ทรูก็เสีย 75,000 ++ นะครับ จะให้เจ้าอื่นที่เข้ามาตอนนี้เสียน้อยกว่าทรู ผมมองว่าไม่แฟร์นะ
ที่ผมบอกก็ 75,000 ++ นะครับจากข่าว
ถ้ามองในแง่ธุรกิจหากเป็นราคานี้จริงๆ อีก 2 เจ้าน่าจะไม่กล้าเข้ามาประมูลต่อในเร็ววันนี้แน่นอน
ซึ่งส่งผลให้กลายเป็นทรูเองที่ถือคลื่น 900 เพียงเจ้าเดียว
ซึ่ง...
ซึ่ง ais กับ dtac เค้าก็คำนวนมาแล้วว่าราคานี้ไม่คุ้ม และเค้ามีวิธีแก้ปัญหาทางอื่นๆครับ
เมื่อ true ยอมจ่ายแล้วก็สมควรที่จะได้ใช้คลื่นไป จะได้ใช้คนเดียวก็ไม่เป็นไร เพราะในทางธุรกิจคนอื่นเค้าคำนวนความคุ้มทุนมาแล้วครับ
ซึ่งก่อนหน้านี้ AIS ก็ใช้คลื่น 900 เพียงเจ้าเดียวมาตลอดเช่นกัน
การตั้งราคาเดิมแบบนี้ เค้าคงกะไว้ว่าอีก15ปีหมดสัญญาสัมปทานค่อยมาประมูลกันใหม่ แต่ใครจะไปคิดว่า ดันมีคนเบี้ยว
ผมขำคนที่บอกจะตามไปใช้ JAS คงนึกว่าเสกเสาได้
ไม่เห็นเกี่ยวกัน ถ้าหาแบงค์การันตีได้ เขาทำแน่นอน
ทำแน่นอนนี่คือยังไงดี เพราะจนบัดนี้ธนาคารเองก็บอกว่ายังไม่เห็นเงาของแผนธุรกิจเลยไม่อนุมัติให้เงินกู้
เขาทำแน่นอนนี่มันยังไงกัน?
+900
บอร์ดบริหารแจสนี่ มีประเด็นมาเยอะครับ โชกโชน เรื่องความโปร่งใสในการใช้เงิน ธรรมภิบาล ที่ตำ่เรี่ยดิน
ขออนุญาตขำนะครับ
ทำได้นะทำได้ครับ แต่ กำไรพอที่จ่าย แบงค์หรือเปล่า
อย่าลืมว่า เจ็ดหมื่นล้าน เฉพาะค่าใบอนุญาต ไม่รวมการลงทุนระบบนะครับ หลายคนคิดว่าประมูล 7หมื่นแล้วแล้ว เปิดบริการได้เลย
ถ้าแผนธุรกิจทำได้ ผมว่า แบงค์มีเหรอจะไปปล่อยครับ ดอกเบี้ยแบบนี้ สบาย
กรณีนี้ ทำไม่ไม่เสนอ ใช้ ม.44 จัดการไปเลย
เห็นใช้ ม.44 จัดการปัญหาหลายเรื่องทั้งเรื่องที่ประชาชนต่างเห็นด้วย เห็นต่าง และคัดค้านก็มีเยอะแยะ
เรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของเอกชนอย่างเดียวแต่มันเกี่ยวกับความเสียหายของชาติด้วย
ลองใช้ดูครับ จะดูว่ามีอีกกี่ บ. ในหลายธุรกิจ คงมีย้ายฐานการผลิตแน่เรื่องของธุรกิจ รัฐเผด็จการไม่ควรแส่
แต่มันเป็นเรื่องการลงทุนของเอกชนล้วนๆครับ ไปใช้ ม 44 แทรกแซงการทำธุรกิจของเอกชนนี่ ป่นปี้แน่ครับ
มันมีกระบวนการของมันอยู่ครับ ไม่ใช่เชียร์เอามันเอาสะใจ
lewcpe.com , @wasonliw
ข่าวต่อไป นายก ใช้ ม.44 ยกเลิการประมูลที่ผ่านมา
และให้ กสทช.คืนเงินให้ทรู
สั่งให้มีการประมูลใหม่ภายใน 90 วัน
ก็โอเคอยู่นะ หึ...หึ...
กลุ่ม True ที่สามารถนำมาจ่ายได้ เพราะแบงก์แต่ละแบงก์มองเห็นแล้วว่า True ศักยภาพของ True มีสูง (แหม... จะไม่ให้สูงได้ไง มีตั้งกี่ธุรกิจกัน ไม่ว่าจะธุรกิจเครือ CP, 7-ELEVEN, MAKRO, True vision, True Internet, True Coffee, Truemove ฯลฯ)
แต่พอมามอง JAS ซึ่งผมเห็นหลักๆ ก็มีแค่ 3BB แล้วธนาคารที่จะปล่อยกู้เขาจะกล้าไว้ใจได้อย่างไรว่าถ้าปล่อยกู้ให้ JAS จะไม่ล่มไปซะก่อน นี่จึงเป็นปัญหาสำหรับ JAS เลยว่าถ้าธนาครไม่ปล่อยให้กู้ แล้วจะหาเงินมาจากไหน ถ้ามีแนวโน้มแบบนี้ อาจจะตัดสินใจละจากธุรกิจนี้ไปเลยซะดีกว่าก็ได้
เห็นว่าเค้าให้เซ็นต์ค้ำส่วนตัว แต่ไม่ยอมเซ็นต์
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
ขอสรุปหน่อย
1. ตอนนี้ JAS ถือใบอนุญาตอะไรอยู่บ้าง
2. แล้วแต่ละใบอนุญาต มีอายุหรือไม่
3. หากคราวหน้าจะมีผู้ประมูลรายใหม่ เราจะแน่ใจได้อย่างไงว่าเค้าจะสามารถนำคลื่นที่ได้ไปให้บริการได้จริง
4. เรียก JAS มาคุยหรือยัง ตกลงว่าติดปัญหาอะไร มีอะไรให้ช่วยไหม
จะเป็นไปได้ไหมครับ
1. จัดการประมูลใหม่โดยเริ่มต้นที่ราคาเดิม
2. หลังจากมีผู้ชนะแล้วก็จ่ายตามราคาที่ประมูลได้
3. บังคับให้ JAS ชดเชยส่วนที่เหลือถ้าหากราคายังไม่ถึงเพดานที่ JAS เคยชนะการประมูล รวมถึงราคาส่วนต่างที่ True ชนะการประมูล
ปล.ไม่แน่ใจว่าถ้าจะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ได้ไหม(กสทช. ก็รอดด้วย)
สงสาร แต่จะปัดก้นแล้วเดินจากไปเฉยๆมันก็กะไรอยู่
จากชนะ กลายมาเป็นแพ้ JAS เลือกที่จะโยนเงินหลักประกันทิ้ง (ที่ไม่ถึง 1% ของราคาประมูล 75,654 ล้านบาท) แล้วโบ๊ยเป็นความผิดของผู้ร่วมลงทุนรายหนึ่งจากประเทศจีน ว่าอนุมัติไม่ทัน 90 วัน รอบหน้าถ้าอิงตามราคานี้สงสัยคงไม่มีผู้ร่วมประมูล
JAS จะโดนเรื่องธรรมาภิบาลหรือเปล่าครับ
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
เห้อ เม่าที่มีหุ้นJASตอนนี้คงสบถว่า.."ยับ..."
ครั้งหน้า กสทช ต้องปรับปรุงกฎ
- เรื่องแบงค์การันตีต้องได้ก่อนเข้าร่วมประมูล- ประกาสวันประมูลล่วงหน้า 90 วัน
- ถ้าเบี้ยว ต้องมีส่วนของค่าปรับ ที่คิดเป็น % จากราคาสูงสุดที่กดด้วย มันจะได้ไม่กดกันง่ายๆ
เรื่อง bank guarantee ก่อนประมูลนี่ผมว่าลำบากนะ แต่ถ้ามีทางออกชัดเจนล่วงหน้า ว่าประมูลใหม่แล้วคนชนะไปแล้วทำไง อาจจะได้ใช้ก่อนระยะเวลาหนึ่ง (อาจจะหนึ่งปีนับจากวันเริ่มได้ใบอนุญาต) ของพวกนี้ถ้าบอกก่อนล่วงหน้าคนกดประมูลก็ต้องรู้เองว่ามีความเสี่ยง (จ่ายแพง ได้ใช้ก่อนไม่นาน) แล้วคิดกันเอาเองว่าจะกดไหม
lewcpe.com , @wasonliw
แจ๊ส4จีตอนนี้คงมีแต่ หลวงพี่แจ๊ส4จีมั้ง ค่ายโมโนด้วยไม่รู้ตอนทำนี่คิดจะโปรโมทมือถือด้วยไหม
ผมว่าถ้าจะเอาเงินมาสร้างหนังอะไรแบบนั้น เอามาจ่ายค่า 4G ยังจะดีกว่านะ จะได้ไม่ต้องเจอปัญหาแบบนี้ บริษัทในเครือด้วย เสียดายงบจริงๆ
Get ready to work from now on.
งบทำหนังมันจะสักเท่าไหร่เชียวครับ :p
ประมูล 7หมื่นล้าน ทำหนังแบบเว่อๆก็น่าจะไม่เกินร้อยล้านนะครับ(ดูจากภาพตัวอย่าง น่าจะไม่เกินหลักสิบล้านซะมากกว่า)
เพิ่งรู้ความเกี่ยวข้องกันก็วันนี้แหล่ะครับ
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6