ในปี 2013 เมือง Dayton ในรัฐ Ohio เริ่มใช้แท็ก RFID สำหรับงานซ่อมผิวทางถนนเป็นครั้งแรก มันคือระบบงานที่ระบุให้ผู้รับเหมาผู้ดำเนินการเปิดผิวถนนเพื่อซ่อมแซมอะไรก็ตามแต่ต้องฝังแท็ก RFID เอาไว้เพื่อให้สามารถติดตามและระบุตัวคนที่ทำงานซ่อมเปิดผิวถนนนั้นได้ในภายหลัง
เรื่องนี้สำคัญอย่างไร?
การออกแบบระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของเมืองนั้น โดยมากจะมีการติดตั้งระบบส่งควบคู่ขนานไปกับแนวถนน บ้างก็อยู่ข้างบน แต่มีไม่น้อยที่ใช้วิธีฝังตัวอยู่ใต้พื้นถนนเลย ไม่ว่าจะเป็นแนวสายไฟฟ้า, สายเคเบิลสื่อสาร, ท่อประปา, ทางระบายน้ำ กระทั่งท่อส่งแก๊ส และท่อดับเพลิง ซึ่งผลพวงจากการออกแบบการติดตั้งระบบส่งสาธารณูปโภคดังที่กล่าวมา นั่นทำให้การซ่อมบำรุง, หรือตรวจสอบระบบเหล่านี้จำเป็นต้องเปิดผิวถนนที่อยู่ด้านบน กลายเป็นรอยปะผิวด้วยยางมะตอยมากมาย อันไหนที่ทำได้ดีตามมาตรฐานหลังเสร็จงานคนก็ใช้ถนนต่อไปได้ไม่มีปัญหา แต่อันไหนที่เก็บงานห่วย บดอัดไม่ดี, ส่วนผสมวัสดุปะผิวไม่ถูกต้อง เหล่านี้ส่งผลให้ถนนเสียหายเป็นหลุมเป็นบ่ออย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
ด้วยเหตุที่ว่ามา ในแง่ของหน่วยงานกำกับดูแลแล้ว มันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องติดตามตัวให้ได้ว่ารอยปะถนนในแต่ละจุดนั้นเป็นฝีมือใคร ทำงานอะไร เมื่อไหร่ จากแต่เดิมใช้วิธีนั่งหาแบบฟอร์มขออนุญาตทำงานที่เก็บในแฟ้มกันเป็นวัน ต่อมาก็เริ่มเปลี่ยนเป็นการกรอกข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ แต่ข้อมูลในระบบก็ระบุได้แค่ว่าวันไหนมีคนขอทำงานบนถนนเส้นไหน ทว่าไม่อาจระบุแน่ชัดว่าหลุมไหนบนถนนเป็นผลงานของผู้รับเหมารายใด ทำให้ต้องเสียเวลาถกเถียงและนัดหมายเพื่อมายืนยันตำแหน่งหน้างานกัน แต่เมื่อตอนนี้มีเทคโนโลยี RFID เข้ามาช่วยงานนี้ก็ง่ายขึ้นมากโดยทำได้ในเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น
แนวทางการทำงานก็คือ เมื่อผู้รับเหมารายใดก็ตามทำงานของตนเองเสร็จและจะต้องซ่อมปะผิวถนน พวกเขาจะต้องวางแท็ก RFID ที่ทางเมือง Dayton เตรียมให้ก่อนทำการรองพื้นลาดยางมะตอย ตัวแท็กที่ว่านี้เป็นแท็กแบบเส้นลวดยาว ถูกออกแบบมาให้ทนต่อสภาพอากาศต่างๆ ไม่ว่าจะเจอความชื้น, ความร้อนที่ถูกส่งต่อจากไอแดด, ความหนาวเย็นจากหิมะ ตลอดจนแรงกดอัดตัวของคอนกรีตและยางมะตอย หลังจากนั้นเมื่อทางการต้องการตรวจสอบข้อมูลว่ารอยปะผิวถนนนี้เป็นของใคร เจ้าหน้าที่ก็แค่ใช้เครื่องสแกนแบบพกพามาตรวจข้อมูลจากแท็ก RFID ที่อยู่ใต้พื้นนั่นเอง
นับจากปี 2013 จนถึงตอนนี้เมือง Dayton มีการฝังแท็ก RFID ประจำแต่ละจุดที่มีการซ่อมปะผิวถนนราว 9,200 ชิ้นแล้ว และตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มใช้ระบบนี้เมือง Dayton ก็สามารถประหยัดเวลาทำงานของเจ้าหน้าที่ซึ่งคิดเป็นมูลค่าค่าจ้างได้ถึง 60,000 ดอลลาร์
ในปัจจุบันเมืองอื่นๆ ก็เริ่มนำไอเดียนี้ไปปรับใช้งานบ้างเช่นกัน อาทิ Denver ก็เริ่มใช้แท็ก RFID เพื่อทำระบบข้อมูลการซ่อมถนนเมื่อปีก่อน, Colorado Springs ก็เริ่มใช้งานเทคโนโลยีเมื่อเดือนที่แล้ว และเมื่องใหญ่อย่าง Los Angeles ก็เตรียมจะใช้แท็ก RFID สำหรับการก่อสร้างทางเดินเท้าและทางจักรยานในอนาคต
Comments
ฝังกะสะพานลอยได้ไหมครับ
ผมว่าฝังได้หมดทุกรูปแบบนะ ตามที่อ่านในรายละเอียดของข่าวนะครับ แต่สะพานลอยเป็นคอนกรีตนะ มันจะอ่านเจอหรือเปล่า
Get ready to work from now on.
ผมว่าเจ้าของความเห็นเค้ากำลังกัดจิกสะพานลอยที่กำลังเป็นประเด็นในบ้านเรารึเปล่าครับ ฮ่าๆ
รู้สึกว่าสะพานลอยนั้นเค้าทำประชดการไฟฟ้านะครับ
เค้ารับงานมาสร้างสะพานลอยตรงนั้น แต่มันมีเสาไฟฟ้าขวางอยู่ พอแจ้งให้การไฟฟ้ามาย้ายออกก็ไม่มาย้ายซักที
ก็เลยสร้างประชดไว้แบบนั้นเลย เพราะถ้ารอการไฟฟ้า โครงการสร้างก็จะล่าช้าไปอีก ทำให้โดนปรับ
ผมว่าพวกที่พาดวางสายก็พอกันครับ การไฟฟ้าส่งเรื่องไปหาเจ้าของแล้วแต่เงียบ (แทนที่จะย้ายตั้งแต่แรกก็จบเรื่อง)
ผมว่าเป็นรัฐวิสาหกิจที่ทำตัวทุเรศที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาเลยนะ
น่าจะเพิ่มเงื่อนไขนะครับ ถ้าไม่ทำอะไรกับสายภายในหนึ่งสัปดาห์ (สองก็ได้อ่ะ) การไฟฟ้าตัดสายย้ายเสาได้เลย
ปกติก็ร่อนจดหมายแบบนั้นครับ พื้นที่ผมเค้าก็ส่งไปแล้วไม่ยอมมาก็จับมัดโยนไปเสาใหม่เลย
เรื่องของเรื่องคือการไฟฟ้าพื้นที่นี้ไม่ยอมทำอะไรเลยมากกว่า
เหลือเชื่อ! สะพานลอยฉาวเมืองนนท์ฯ ระบุส่งงานครบแล้ว
มีไหมแบบ แกล้งใส่ของบริษัทอื่นลงไป
ผมว่า พอทำงานเสร็จ คนตรวจต้องมายิงตรวจดูก่อนล่ะ ว่าฝังจริงมั้ย ฝังของตัวเอง รึเปล่า
บ้านเราคงมาทั้งกระทรวง ดีไม่ดีคนไม่พอช่อม LOL
กลัวจะทำเป็นลืมใส่นี่ซิ
มาประเทศสารขัณฑ์คงใส่ RFID ไว้ในรอยปะ เพื่อให้รถหักหลบได้ทันแทน >__<
มันอยู่ได้ไม่เกินสองอาทิตย์ ผมว่าคงเปลืองค่า RFID มากทีเดียว
ความหนาวเย็นจากหิม >>> ความหนาวเย็นจากหิมะ ครับ
ฝั่ง => ฝัง
ราดยาง => ลาดยาง
ใคร ่ => ใคร
ของบ้านเรายิงพื้นที่เดียวกันอาจจะเจอ tag 3-4 อัน ขุดแล้วกลบ กลบแล้วขุดอยู่นั่น ไม่รู้จักนัดกันมาทำ
ที่พูดมานี่แถวบ้านผมเอง.... ปัจจุบันเป็นถนนเส้นที่อันตรายที่สุดสำหรับผม ไปเส้นนี้ทีไรต้องระวังเพิ่มขึ้นมาก ๆ ทุกที เพราะไหล่ทางมันใช้ไม่ได้เลย เอาไว้จอดรถอย่างเดียว
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เจอ "เป็นจักรยานทำไมไม่ปั่นชิดซ้าย" ทีนี่ผมอยากจะกราบให้พี่มาปั่นชิดซ้ายตลอดทางให้ผมดูเลยครับ orz
ผมเจอพี่วินพูดว่า "ทำทางให้จักรยานทำไม ภาษี(รถยนต์/มอไซ)ก็ไม่เสีย" แล้วอยากตอบเหลือเกินว่า ผมเสียภาษีอย่างอื่นเยอะกว่าพี่อีก..... แต่ไม่กล้าพูด ซ้อนเขาอยู่
อย่าว่าแต่จักรยานเลยครับ มอเตอร์ไซค์กับรถยนต์ยังต้องหลบ น้ำตาจะไหลเวลาขี่ผ่านเส้นนี้ TT^TT
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ไอเดียที่ใช้งานได้จริงก็ควรยินดี