Amazon มีระบบร้านค้าแบบไม่มีแคชเชียร์ Just Walk Out ที่นำไปใช้กับร้านหลายแห่งอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามด้วยการทำงานที่อาศัยข้อมูลจากกล้องบนเพดาน เซ็นเซอร์ตามชั้นวางสินค้า เพื่อดูว่าลูกค้าหยิบสินค้าใดบ้าง เป็นข้อมูลในการคิดเงินขั้นตอนสุดท้าย ก็ทำให้มีข้อจำกัดกับสินค้าบางประเภท
สินค้ากลุ่มที่ Amazon บอกว่ามีข้อจำกัดในวิธีการนี้คือกลุ่ม Softline หรือเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย สินค้าเหล่านี้หากต้องขายด้วย Just Walk Out ก็ต้องอยู่บนชั้นวางสินค้า และใส่ไว้ในกล่องแยกเป็นชิ้น ซึ่งขัดแย้งกับพฤติกรรมการซื้อที่ลูกค้าต้องการเห็นตัวสินค้า ได้สัมผัส หยิบมาทาบลอง และบางทีก็วางกลับคืนเข้าชั้น
นักวิจัยความปลอดภัยคนหนึ่งเดินทางไป Berlin เพื่อร่วมงานสัมมนาเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ เหมือนชะตาจงใจเล่นตลก เมื่อเขากลับมายังห้องพักที่โรงแรมแล้วพบว่าคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปของเขาหายไป แต่รู้ทั้งรู้ว่ามีขโมยเข้ามาฉกของไปจากห้องที่ดูจะแล้วถูกล็อกไว้อย่างแน่นหนา เขากลับไม่พบร่องรอยการงัดแงะบุกรุก
เมื่องานเข้า เจ้าของแล็ปท็อปที่อันตรธานไปดื้อๆ เลยปรึกษากับ Timo Hirvonen และ Tomi Tuominen เพื่อนร่วมงานที่ทำงานให้ F-Secure เช่นเดียวกับเขา ซึ่ง 2 หนุ่มที่ปรึกษาก็คิดกันว่าห้องที่ดูจะถูกล็อกไว้แน่นหนานั้น อาจจะไม่ได้แน่นหนาอย่างที่คิด
วันนี้จะมาแนะนำขอนแก่นซิตี้บัส เป็นรถเมล์อัจฉริยะที่ให้บริการในเขตจังหวัดขอนแก่น โดยผ่านจุดหลักๆของเมือง เช่น โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม สวนสาธารณะ วัด
ขอนแก่นซิตี้บัสเป็นรถโดยสารปรับอากาศประจำทาง (ปอ.สาย 24) ให้บริการในเมืองขอนแก่นตลอด 24 ชั่วโมง ระยะทางรวมการให้บริการ 17 กม. อัตราค่าโดยสาร ผู้ใหญ่ 15 บาท เด็ก/นักเรียน 10 บาทตลอดสาย
ผู้โดยสารจะขึ้นประตูหน้าและชำระค่าโดยสารด้วยตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติ หรือใช้บัตรโดยสารแบบ RFID เมื่อถึงจุดหมายจะลงที่ประตูกลาง ภายในมีกล้องวงจรปิด และมีลิฟต์สำหรับให้บริการผู้โดยสารที่ใช้วีลแชร์อีกด้วย
- Read more about ขอนแก่นซิตี้บัส สมาร์ทบัสของจังหวัดขอนแก่น
- 7 comments
- Log in or register to post comments
สายการบิน Delta Air Lines ใช้เงินลงทุน 50 ล้านดอลลาร์ กับระบบแท็ก RFID เพื่อใช้ติดไปกับกระเป๋าสัมภาระของผู้โดยสาร โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปัญหากระเป๋าสูญหายไประหว่างการขนส่ง หรือลำเลียงกระเป๋านำส่งผู้โดยสารล่าช้า ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากระบบการอ่านข้อมูลจากป้ายแท็กติดกระเป๋าที่ผิดพลาดจนทำให้กระเป๋าถูกส่งไปผิดที่ผิดทาง โดยงานนี้ Delta Air Lines จะใช้ชิป RFID ฝังติดไปกับป้ายแท็กกระเป๋าแบบเดิมที่เจ้าหน้าที่ติด/คล้องไปกับกระเป๋า ณ จุดชั่งน้ำหนัก
McDonald's ในยุโรปและบริษัทอื่นๆ เริ่มทดลองใช้ฉลาก RFID เพื่อติดตามดูว่าในระหว่างที่สินค้าของตนเองถูกขนส่งมานั้น มันอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอุณหภูมิเท่าใดบ้าง ทั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานประกันคุณภาพสินค้าในระหว่างการขนส่ง
การใช้ฉลากหรือป้าย RFID เพื่อติดตามตำแหน่งสินค้าในระหว่างการขนส่งนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ฉลาก RFID ที่ McDonald's กำลังทดลองใช้งานนี้ไม่เพียงแต่ใช้เพื่อระบุพิกัดตำแหน่งในระหว่างที่มันกำลังเดินทางเท่านั้น มันยังมีแบตเตอรี่ (ซึ่งสร้างขึ้นจากการพิมพ์แบบ 2 มิติ), เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ, วงจรนาฬิกา, หน่วยเก็บข้อมูลและเสาอากาศสำหรับการสื่อสารกับเครื่องอ่าน RFID ด้วย
ในปี 2013 เมือง Dayton ในรัฐ Ohio เริ่มใช้แท็ก RFID สำหรับงานซ่อมผิวทางถนนเป็นครั้งแรก มันคือระบบงานที่ระบุให้ผู้รับเหมาผู้ดำเนินการเปิดผิวถนนเพื่อซ่อมแซมอะไรก็ตามแต่ต้องฝังแท็ก RFID เอาไว้เพื่อให้สามารถติดตามและระบุตัวคนที่ทำงานซ่อมเปิดผิวถนนนั้นได้ในภายหลัง
เรื่องนี้สำคัญอย่างไร?
Disney Research ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ได้พัฒนาแท็ก RFID ที่มีราคาถูก ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่และสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวได้ภายใน 200 มิลลิวินาที หรือเรียกได้ว่าแทบจะจับการเคลื่อนได้แบบเรียลไทม์ ขณะที่แท็ก RFID ทั่วไปต้องใช้เวลาประมาณ 2 วินาที
ทีมวิจัยเรียกระบบนี้ว่า RapID พร้อมทั้งโชว์ความสามารถเบื้องต้น ผ่านเกมอย่าง tic-tac-toe (หรือที่เรียกกันว่า XO) หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการโต้ตอบของคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบ RapID นี้ ซึ่งนอกจากจะสามารถตรวจจับวัตถุได้เร็วแล้ว ยังสามารถบอกความเร็วที่วัตถุเดินทางผ่านแท็กได้อีกด้วย
ที่มา - Engadget
สโมสรฟุตบอล Tigre ในอาร์เจนตินาปิ๊งไอเดียใหม่ เปิดโครงการ Ticket Pasión(Passion Ticket) ฝังชิป RFID ให้กับแฟนบอลเพื่อใช้สแกนตรงจุดตรวจเข้าสนาม ไม่ต้องเสียเวลาแสดงบัตรประจำตัวและตั๋วอีกต่อไป
ตัวชิปนั้นมีลักษณะเป็นแท่งเล็กๆ ขนาดประมาณเมล็ดข้าวใช้สำหรับฝังใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขน ในการใช้งานจริงแฟนบอลเพียงเอาต้นแขนบริเวณที่ฝังชิปเอาไว้ทาบลงไปที่เครื่องสแกนบริเวณประตูเข้าสนาม ภายในเวลาไม่กี่วินาทีเมื่อระบบตรวจสอบข้อมูลของแฟนบอลคนนั้นและยืนยันได้ว่ายอดเงินคงเหลือเพียงพอสำหรับค่าเข้าชมเกม แผงเหล็กกั้นก็จะปล่อยให้แฟนบอลผ่านเข้าสู่สนามได้โดยไม่ต้องเสียเวลาแสดงบัตรประจำตัวและตั๋วต่อเจ้าหน้าที่สนาม
ที่งาน ISSC ปีนี้ ทีมวิจัยจาก MIT ร่วมกับ Texas Instruments (TI) สาธิตชิป RFID รุ่นใหม่ที่มีแหล่งพลังงานในตัวเพื่อประเด็นความปลอดภัย
RFID ที่มีแหล่งพลังงานในตัวไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่แนวคิดการออกแบบ RFID เช่นนี้มักใช้งานเพื่อการสื่อสารทางไกล เช่นการอ่านค่าจากระยะทางหลายๆ เมตร แต่ครั้งนี้ข้อเสนอมาจากงานวิจัยการโจมตีบัตร RFID ด้วยการ ตัดพลังงานอย่างแม่นยำ ทำให้บัตรหยุดเขียนข้อมูลลงไปยังหน่วยความจำได้
- Read more about ทีมวิจัย MIT สาธิต RFID ปลอดภัยมีแบตเตอรี่ในตัว
- 2 comments
- Log in or register to post comments
ทางการมาเลเซียออกมาตรการใหม่เพื่อดูแลความปลอดภัยของประชาชนโดยจะให้มีการติดแท็ก RFID ไว้ที่รถยนต์ทุกคัน ประเดิมนำร่องกับรถยนต์ที่จะผ่านด่านยะโฮร์ (ข้ามไปสิงคโปร์) ในเดือนตุลาคมนี้
แท็ก RFID ดังกล่าวจะผนึกมากับสติ๊กเกอร์ที่ผู้เสียภาษีรถยนต์จะได้เอาไว้ติดที่กระจกหน้ารถ โดยแท็กดังกล่าวสามารถตรวจพบได้ด้วยอุปกรณ์ตรวจหาแท็กของเจ้าหน้าที่รัฐ (ซึ่งในอนาคตทางการมาเลเซียจะมีการใช้สัญญาณจากดาวเทียมเข้ามาร่วมใช้งานเพื่อการระบุตำแหน่งรถยนต์ด้วย) และหากใครคิดจะแกะมันออกหรือทำลายมัน ตัวแท็กก็จะสามารถส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปให้อุปกรณ์ตรวจหาในบริเวณใกล้เคียงทราบได้ด้วย
หลังจาก ไมโครซอฟท์ทุ่มเงินกว่า 400 ล้านดอลลาร์ โปรโมท Surface Pro 2 ผ่าน NFL ฤดูกาลที่แล้ว โดยเสนอให้ผู้เล่นและทีมงานของทีมอเมริกันฟุตบอลแต่ละทีมนำ Surface Pro 2 ไปใช้งานจริงระหว่างการแข่งขัน มาฤดูกาลประจำปี 2015 ไมโครซอฟท์ก็ส่ง Surface Pro 3 รุ่นปรับแต่งพิเศษให้ผู้เล่นและทีมงานของทีมอเมริกันฟุตบอลไปใช้
ทีมนักวิจัยจาก Nottingham Trent University (NTU) เผยแพร่งานวิจัยพัฒนาชิป RFID ที่มีขนาดเล็กจิ๋ว เล็กเสียจนนำมันไปแทรกไว้ในเส้นด้ายเพื่อใช้ในการทำสิ่งทอได้สำเร็จ
หน่วยงานวิจัยของ GE หรือที่เคยรู้จักกันในชื่อ General Electric ได้ผลิตแท็ก RFID ที่มีความสามารถในการตรวจจับวัตถุระเบิดและสาร oxidizer (ซึ่งเป็นตัวช่วยเพิ่มความรุนแรงแก่การเผาไหม้) โดยได้รับความร่วมมือในการพัฒนาจาก Technical Support Working Group (TSWG) อันเป็นหน่วยงานต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐอเมริกา
- Read more about GE โชว์แท็ก RFID สำหรับตรวจหาวัตถุระเบิด
- 7 comments
- Log in or register to post comments
ทุกวันนี้บัตรประจำตัวพนักงาน (หรือบัตรอื่นสารพัดสารพันทั้งหลาย) มักจะมีชิป RFID อยู่ภายใน ซึ่งช่วยเพิ่มความสะดวกในการยืนยันสิทธิ์หรือยืนยันตัวตนด้วยการใช้บัตรดังกล่าวกับเครื่องตรวจจับเพื่อผ่านเข้าออกสถานที่บางแห่ง หรือปลดล็อคอุปกรณ์บางอย่าง มันทำให้ชีวิตประจำวันของเราสะดวกมากขึ้น แต่ถ้าหากลืมบัตรล่ะ?
ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นกับพนักงานของ Epicenter บริษัทแห่งหนึ่งในประเทศสวีเดน ที่ซึ่งพวกเขาให้พนักงานฝังชิป RFID ไว้ใต้ผิวหนังเพื่อใช้สแกนสำหรับการผ่านเข้าออกประตู และปลดล็อคเครื่องถ่ายเอกสารเมื่อต้องการจะใช้งาน โดยในอนาคตจะมีการเพิ่มบริการให้ใช้งานชิปดังกล่าวเพื่อจ่ายเงินซื้ออาหารในร้านค้าภายในเขตของบริษัทได้ด้วย
ลีกอเมริกันฟุตบอล NFL ประกาศนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้เก็บสถิติของนักกีฬาแบบเรียลไทม์ โดยนักกีฬาทุกคนจะได้ชิป RFID ฝังไว้ที่อุปกรณ์ป้องกันไหล่ และชิปตัวนี้จะสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุกับระบบ real time location system (RTLS) ที่ฝังอยู่ตามจุดต่างๆ ของสนามแข่งขัน
สิ่งที่ได้มาคือระบบ RTLS จะเก็บสถิติต่างๆ ของนักกีฬา เช่น ตำแหน่ง ความเร็ว ระยะทาง เพื่อนำไปประมวลผลแบบเรียลไทม์และแสดงบนจอภาพให้ผู้ชมรับทราบข้อมูลสถิติกันสดๆ ว่านักกีฬาคนนี้วิ่งไปแล้วเป็นระยะทางเท่าไร หรือมีอัตราเร่งการวิ่งอย่างไรบ้าง
ระบบ RTLS ถูกพัฒนาโดยบริษัท Zebra Technologies และจะเริ่มใช้กับสนามแข่งขัน 17 สนามในถดูกาล 2014 เป็นต้นไป
ผู้ผลิตเครื่องบินโดยสาร Airbus เปิดตัวต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นกระเป๋าเดินทางอัจฉริยะ Bag2Goฝังวงจร RFID, แผ่นป้ายบาร์โค้ด และอุปกรณ์ชั่งน้ำหนักดิจิทัล
กระเป๋า Bag2Go มีการฝังวงจร RFID เอาไว้เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบตำแหน่งของกระเป๋าในระบบลำเลียงสัมภาระตามสนามบินต่างๆ รวมทั้งในห้องเก็บสัมภาระบนตัวเครื่องด้วย
ส่วนป้ายบาร์โค้ดใช้สำหรับจับคู่กับสมาร์ทโฟน เพื่อให้การตรวจสอบตำแหน่งของกระเป๋าสามารถแสดงผลบนสมาร์ทโฟนได้ ยกตัวอย่างเช่นแอพที่ชื่อ Find My Bag บน iPhone สามารถใช้ตรวจสอบตำแหน่งกระเป๋าเดินทางได้ โดยอาศัยข้อมูล GPS หรือตำแหน่งเสาส่งสัญญาณมือถือในระบบ 2G เมื่อใช้อุปกรณ์เสริมเข้าช่วย
นักวิทยาศาสตร์จาก North Dakota State University ในสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จด้านการพัฒนาระบบ RFID โดยการใส่วงจรดังกล่าวลงในเนื้อกระดาษได้แบบเนียนๆ ซึ่งจะช่วยเปิดโอกาสในการประยุกต์เพื่อใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้อีกหลากหลาย
วงจร RFID เป็นวงจรที่ใช้เพื่อจำแนกวัตถุหรือบุคคล โดยใช้วงจรที่มีลักษณะเฉพาะไม่ซ้ำกัน อาศัยการตรวจสอบความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวงจรด้วยสัญญาณคลื่นวิทยุ ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กันหลากหลาย ทั้งในบัตรประจำตัว, หีบห่อสินค้า เป็นต้น
ทั้งนี้การนำวงจร RFID ใส่ในกระดาษนั้น มีการทำอยู่ก่อนแล้วเช่นกัน แต่ผลลัพธ์ที่ได้ คือกระดาษที่มีความหนาอย่างไม่เป็นธรรมชาติ อีกทั้งสภาพกระดาษแข็งจนรู้ได้ทันทีว่ามีวงจรพิเศษฝังอยู่ในเนื้อกระดาษ
Cambridge Consultants บริษัทให้คำปรึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากประเทศอังกฤษได้คิดค้นและพัฒนา DropTag ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับติดกับพัสดุ เพื่อใช้ตรวจสอบการกระแทกที่อาจเกิดขึ้นกับพัสดุในระหว่างการเคลื่อนย้ายขนส่ง
ตัว DropTag มีลักษณะเป็นแผ่นป้ายขนาดเล็ก ภายในมีเซ็นเซอร์ตรวจจับความเร่ง (accelerometer), แบตเตอรี่ซึ่งมีอายุการใช้งานนานหลายสัปดาห์, ชุดวงจรบลูทูธแบบพลังงานต่ำสำหรับเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน และเสาส่งสัญญาณซึ่งมีระยะการส่งประมาณ 150 ฟุต โดยต้นทุนในการผลิตประมาณ 2 ดอลลาร์ต่อชิ้น และสามารถนำมาหมุนเวียนใช้ซ้ำกับพัสดุหลายชิ้นได้
เรื่องมีอยู่ว่าโรงเรียนระดับมัธยม John Jay High School ในเขตการศึกษา Northside Independent School District (NISD) ได้ออกกฏใหม่โดยให้นักเรียนทุกคนแขวนสายห้อยคอ ที่ข้างในมีชิป RFID อยู่ด้วย ซึ่งโรงเรียนได้ทำการวางระบบเพื่อตรวจสอบกิจกรรมต่างๆ ของนักเรียน
โดย NISD อ้างว่าการนำ RFID มาใช้ทำให้โรงเรียน ทำให้สามารถตรวจสอบนักเรียนตั้งแต่เดินเข้ามา จนเดินออกจากโรงเรียนไป สามารถตรวจสอบเวลาเข้าเรียน การนั่งในชั้นเรียน การซื้อสินค้าในโรงอาหาร เพิ่มความปลอดภัยในโรงเรียนและเป็นประโยชน์กับผู้ปกครอง
Andrea Hernandez นักเรียนคนหนึ่งไม่พอใจในกฏนี้ เธอปฏิเสธที่จะสวมสายคล้องคอนี้ในขณะอยู่ที่โรงเรียน และได้ทำการฟ้องโรงเรียนต่อศาลว่าละเมิดสิทธิและความเชื่อทางศาสนา
นักเรียนอเมริกาคนหนึ่งต่อต้านนโยบายการพกพาตราโรงเรียนที่ฝังชิป RFID ซึ่งใช้ในการระบุที่อยู่ของผู้เรียน จนทำให้ถูกไล่ออกในที่สุด
โรงเรียน John Jay High School ได้ริเริ่มโครงการนำร่องให้นักเรียนทุกคนรวมจำนวน 4,200 คน พกตราโรงเรียนซึ่งมีลักษณะเป็นสร้อยคอฝังชิป RFID ไว้กับตัว ทั้งนี้เพื่อให้ทางโรงเรียนสามารถตรวจสอบตำแหน่งของนักเรียนได้ผ่านการค้นหาและระบุตำแหน่งของชิปที่ติดอยู่ โดยให้เหตุผลเรื่องการดูแลระแวดระวังความปลอดภัยให้แก่นักเรียนในขณะอยู่ในสถานศึกษา
สำนักงาน กสทช. เปิดเผยว่าหลังได้รับคำร้องเรียนว่ามีสัญญาณรบกวนมือถือความถี่ 900MHz และเข้าตรวจสอบ พบว่าปัญหาเกิดจากเครื่องส่งสัญญาณ RFID ที่ใช้ควบคุมไม้กั้นทางเข้าบ้านจัดสรร-คอนโดมิเนียม มีความถี่หรือกำลังส่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด และนำเข้ามาในประเทศไทยไม่ถูกต้องตามกระบวนการ ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
ความถี่และกำลังส่งของ RFID ที่ กสทช. กำหนดมีดังนี้
- ความถี่ใช้งาน 13.553 – 13.567 MHz
บัตร Mifare เป็นบัตร RFID ที่ใช้กันในการตรวจคนเข้าออกประตูหรือเพื่อการจ่ายเงินที่ค่อนข้างปลอดภัย โดยมีการเก็บข้อความลับไว้ภายในตัวบัตรและอาศัยซีพียูภายในประมวลผลข้อความที่ส่งเข้าไปเพื่อยืนยันตัวตน แต่ล่าสุดนักวิจัยก็สามารถดึงเอาข้อความลับในตัวบัตรออกมาได้แล้ว ทำให้สามารถปลอมแปลงบัตรได้อย่างสมบูรณ์ ในบัตรรุ่น MF3ICD40 ของ NXP
มีข่าวลือออกมาจากกลุ่มผู้สนใจ Near Field Communications ว่าแอปเปิลกำลังทดสอบ iPhone ที่มีเครื่องอ่าน RFID ในตัว ผลการทดสอบออกมาค่อนข้างดี และมีความเป็นไปได้สูงว่า iPhone รุ่นหน้า (หรือ "iPhone 4") น่าจะมีความสามารถด้าน RFID ด้วย
ถ้าข่าวลือนี้เป็นจริง ประโยชน์ของ RFID บนมือถือจะมาช่วยในการ sync ข้อมูลระหว่างเครื่อง (คล้ายๆ กับ Bluetooth ในทุกวันนี้) เช่น เอา iPhone แตะใกล้ๆ กับคอมพิวเตอร์เพื่อ sync ข้อมูล เป็นต้น
มีวิดีโอตัวอย่างที่คนโมเอา iPhone กับ RFID reader ให้เล่นวิดีโอเรื่องที่ระบุเมื่อนำไปแตะกับอุปกรณ์ต่างๆ ครับ ดูแล้วจะเห็นภาพมากขึ้น
- Read more about [ข่าวลือ] iPhone 4 มี RFID ในตัว???
- 13 comments
- Log in or register to post comments
บริษัทวิจัยตลาด ABI Research คาดว่าตลาด RFID (Radio Frequency Identification) ทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงกว่า 5.3 พันล้านเหรียญ และในอีก 5 ปีข้างหน้ายังจะคงมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี
RFID เป็น ระบบเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง (หรือเป็นวิธีการเก็บข้อมูลหรือระบุข้อมูลแบบอัตโนมัติ) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการคำนวณ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยทำงานผ่านการรับสัญญาณจากแท็ก (tag) เข้าสู่ตัวส่งสัญญาณ ผ่านทางคลื่นวิทยุ ทั้งนี้ปกติแท็กของ RFID มีขนาดเล็ก สามารถติดตั้งเข้ากับผลิตภัณฑ์สินค้า สัตว์ บุคคลได้ ซึ่งเมื่อตัวส่งสัญญาณส่งคลื่นวิทยุไป และพบกับแท็กนี้ สัญญาณจะถูกส่งกลับพร้อมกับข้อมูลที่เก็บไว้ในแท็ก โดยตัวส่งสัญญาณนี้เองยังสามารถบันทึกข้อมูลลงในแท็กได้
- Read more about ตลาด RFID ปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 5.3 พันล้านเหรียญ
- 1 comment
- Log in or register to post comments
ปัจจุบัน RFID ได้มีที่ใช้แพร่หลาย โดยเฉพาะในโรงพยาบาล เริ่มมีความคิดที่จะนำมาใช้เพื่อ tag ถุงยา, เลือดที่จะให้ผู้ป่วย เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการจ่ายผิดราย อย่างไรก็ดี ยังไม่ค่อยมีงานวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของเทคโนโลยีนี้ต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์
- Read more about RFID อาจทำให้เครื่องมือทางการแพทย์ทำงานผิดพลาด
- 11 comments
- Log in or register to post comments