Tags:
Node Thumbnail

จากข่าว สภาวิศวกรเตรียมกำหนดให้การออกแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ต้องผ่านการรับรองจากวิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร ตอนนี้ทางสภาวิศวกรก็ชี้แจงเพิ่มเติมถึงร่างใหม่ที่กำลังเสนอ ระบุว่าไม่ได้เป็นการก้าวล่วงไปถึงงานคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด

ร่างใหม่ของกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้งานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร ครอบคลุมถึงงานอีก 2 ประเภท จากเดิมที่กำหนดเฉพาะเสาส่งคลื่นความถี่ที่กำลังส่งเกิน 30 วัตต์ EIRP เท่านั้น โดยประเภทงานที่เพิ่มเติมเข้ามาได้แก่ (ตัวเน้นโดยผู้เขียนข่าว)

  1. ระบบรับ ส่ง แยก รวมเพื่อส่งผ่านสัญญาณ ตามสายที่มี ความสามารถในการให้บริการตั้งแต่ 10,000 ผู้ใช้เป็นต้นไป
  2. ระบบควบคุมด้วยไฟฟ้าหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความสามารถในการให้บริการตั้งแต่ 1,000 จุด I/O ขึ้นไป

เอกสารของทางสภาวิศวกรระบุเหตุผลว่า "การควบคุมด้วยไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิสก์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและใช้งานอย่างกว้างขวาง และมีความสำคัญต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน" ขณะที่หมายเหตุของคำอธิบายร่างระบุว่าชัดเจนว่ารวมถึงระบบแสงไว้ด้วย

แม้จดหมายประกาศของสภาวิศวกรจะระบุว่าไม่ได้เป็นการก้าวล่วงงานคอมพิวเตอร์ แต่ผมอ่านร่างประกาศแล้วก็ยังคงเข้าใจได้ว่าเป็นการรวมงานคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์คอยู่นั่นเอง ระบบควบคุมด้วยไฟฟ้าอย่างงาน IoT ทั้งหลายที่มีขนาดใหญ่สักหน่อย Raspberry Pi ไม่กี่สิบตัวก็มี I/O รวมเกินพันจุดได้ไม่ยากนัก ถ้าผมตีความผิดอย่างไรเอกสารคำอธิบายอยู่ในที่มาข่าวนี้ คงต้องชวนผู้อ่านทุกท่านมาช่วยกันอ่านว่าเข้าใจได้อย่างไรบ้าง

ทางสภาวิศวกร เปิดรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะไว้ที่เว็บสภาวิศวกร

ที่มา - จดหมายข่าวสภาวิศวกร ( 1 , 2 ), ตารางเปรียบเทียบการแก้ไขร่างประกาศฯ

Get latest news from Blognone

Comments

By: icez
Contributor iPhone Android Red Hat
on 16 June 2016 - 12:16 #919887

ระบบรับ ส่ง แยก รวมเพื่อส่งผ่านสัญญาณตามสาย ที่มีความสามารถในการให้บริการตั้งแต่ 10,000 ผู้ใช้เป็นต้นไป

การเชื่อมต่อ server ที่รองรับผู้ใช้งานเกิน 10,000 คนนับมั้ย?

By: lew
Founder Jusci's WriterMEconomics Android
on 16 June 2016 - 12:16 #919888 Reply to:919887
lew's picture

"ผู้ใช้" ตามนิยามคือจำนวนอุปกรณ์นะ


lewcpe.com , @wasonliw

By: icez
Contributor iPhone Android Red Hat
on 16 June 2016 - 22:46 #919996 Reply to:919888

ผู้ใช้ 10,000 คนก็ต้องมี 10,000 อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อเข้ามารึเปล่าครับ?

คือมันจะมีปัญหากับนิยามคำว่าการเชื่อมต่อนี่แหละ โดยตรงนี่ switch 48 port ก้นับว่าต่อเข้ากับอุปกรณ์ได้แค่ 48 ตัวรึเปล่า แล้วถ้าเอา switch ต่อกับ switch อีกตัว จะนับจำนวนอุปกรณ์ยังไง

edit :: นิยามบอกว่า system capacity เพราะงั้นนับรวมทั้งระบบ ก็จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้

  • server เครื่องเดียว ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (เป็นสถานีรับ-ส่งสัญญาณ) ที่มีผู้เข้าใช้งานมากกว่า 10000 ผู้ใช้งาน (ซึ่งแน่นอนว่าต้องมี 10,000 อุปกรณ์) พร้อมกัน

กรณีนี้มีความเป็นไปได้ว่าจะตีความให้เข้าข่ายข้อ 2 ได้นะครับ

By: Thaitop_BN
Windows Phone Ubuntu Windows
on 16 June 2016 - 12:31 #919892
Thaitop_BN's picture

ผมเข้าใจว่าอุปกรณ์ไอที ถ้ามันถูกกฎหมายและเสียบเข้ารูได้ มันก็ใช้ได้โดยไม่ต้องมีวิศวกรด้านฮาร์ดแวร์มาควบคุมป่ะ?

By: toooooooon
iPhone Windows Phone Android Blackberry
on 16 June 2016 - 12:35 #919894

นับพวก Vitual ด้วยมั๊ย

By: Ford AntiTrust
Contributor Android Blackberry Ubuntu
on 16 June 2016 - 12:36 #919895
Ford AntiTrust's picture

แค่ลากสายเข้า server หรือ load balancer ให้บริการเว็บก็เกิน 10,000 ผู้ใช้แล้ว ><*

By: Polwath
Contributor iPhone Windows Phone Android
on 16 June 2016 - 12:42 #919898
Polwath's picture

มันใช่เรื่องที่ควรเข้ามาควบคุมไหมเนี่ย ไม่เข้าใจความคิดคนร่างกฎหมายเลย คิดได้ไงครับ


Get ready to work from now on.

By: ttaiw
Android Ubuntu
on 16 June 2016 - 12:50 #919899 Reply to:919898

เห็นด้วย ตีความอย่างนี้ พวก Apple Watch / Smart Device ทั้งหมดก็เข้าข่าย

By: halfsta
Android Symbian Windows
on 16 June 2016 - 12:51 #919900

คนที่อนุมัติได้ ต้องเป็นคนที่มี กว. ไฟฟ้าสื่อสารใช่ไหมครับ แล้วขอบเขตเนื้อหาของ กว. ไฟฟ้าสื่อสาร ครอบคลุมถึงเรื่อง Computer Network ด้วยไหมครับ

By: osmiumwo1f
Contributor Windows Phone Windows
on 16 June 2016 - 13:18 #919909 Reply to:919900
osmiumwo1f's picture

เท่าที่รู้คือแค่ผิวครับ

By: hydrojen
iPhone Red HatWindows
on 16 June 2016 - 13:09 #919901
hydrojen's picture

เผลอๆที่เซ็นต์ไปยังไม่รู้ว่าหมายถึงอะไรด้วยซ้ำ

By: wichate
Android
on 16 June 2016 - 13:11 #919903

ให้บริการตั้งแต่ 1,000 จุด I/O (น่าจะหมายถึงจุดส่ง 1 ตัว รองรับ client 1000 ตัวนะ ถ้า raspberry pi 10 ตัวก็ตีว่าตัวละ 100 เอง)

By: tihnov
Windows Phone Android SUSE Ubuntu
on 17 June 2016 - 16:09 #920112 Reply to:919903
tihnov's picture

ถ้า Raspberry PI เป็น Webserver ล่ะครับ??

By: Hadakung
iPhone Windows Phone Android Windows
on 16 June 2016 - 13:13 #919905

อุปกรณ์เน็ตเวิร์คที่ได้รับรองมาตรฐานจากต่างประเทศเรื่องความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานแต่เวลาใช้งานอาจไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนในประเทศสารขันฑ์หรือเนี่ย:P เชื่อว่าร่างนี้ผ่านง่ายๆใน 5 นาที แล้วอนาคตจะขายลูกชิ้นทอดต้องจบป.โท ไหมเนี่ยน้ำมัน มันร้อนโดยคนอื่นมันอันตรายต่อชีวิตและทรัะย์สินเหมือกันนะ

By: gnamsai on 16 June 2016 - 13:15 #919906
gnamsai's picture

วิศวคอมพิวเตอร์ สอบ กว. ไฟฟ้าสื่อสารไม่ได้ด้วย :(

By: fairry15
Windows Phone Android Windows
on 16 June 2016 - 13:24 #919910

"การควบคุมด้วยไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิสก์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและใช้งานอย่างกว้างขวาง และมีความสำคัญต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน" และจากร่างกฏต้นทาง "ซึ่งอาจเกิดรบกวนต่อระบบสื่อสารอื่น ๆ จนมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน"

อ่านแล้วดูเหมือนจะดี แต่เท่าที่รู้ยังไม่เห็นมี switch router server optical fiber ระเบิดหรือทำอันตรายอะไรใครเลยนี่หว่า หรือแค่หาเงิน?

By: Architec
Contributor Windows Phone Android Windows
on 16 June 2016 - 13:36 #919912

เรื่อง wireless ที่ใช้กำลังส่งสูงๆ เอาเลย แต่...โทษนะ สายแลนใช้ digital voltage 200kV เหรอครับ?

แค่มาตรฐานสายดินยังตีกันไม่จบเลย ฝั่งนึงเอาสายล่อฟ้าแบบแยกอิสระจากตัวอาคาร อีกฝั่งบอกต้องให้ศักย์มันเท่ากันต้องใส่ร่วมกับอาคาร เห็นตีกันในบอร์ดยังไม่เห็นจะตกลงกันได้เลย

By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 16 June 2016 - 15:04 #919928 Reply to:919912
hisoft's picture

ไม้กั้นอัตโนมัติคอนโดฯ ผมมาติดตั้งแรกๆ พังทุกครั้งที่ฟ้าแรงเลยครับ ไล่กันไปไล่กันมาเจอว่าเป็นเพราะสายดินอาคารต่อรวมกับสายล่อฟ้า เลยแยกสายดินของระบบไม้กั้นออกไปต่างหาก แค่นั้นแหละครับ เลิกพังเลย

By: Architec
Contributor Windows Phone Android Windows
on 16 June 2016 - 15:24 #919934 Reply to:919928

จำได้ว่ากราวด์อิเล็กกับกราวด์ฟ้าผ่าให้ต่อร่วมกัน(จาก MDB)ไปจุดที่ฝังลงดินลึกลงไปฟุตนึงเพียงจุดเดียว นี่ก็จุดนึงที่ผมสงสัยอีกเหมือนกัน บ้างก็ว่าที่ต่ออย่างนี้แล้วโดนเพราะว่าค่าโอห์มยังสูงไป บ้างก็ว่าควรแยกออกดีกว่า

ประสาทจะกินครับ

By: takichi12
iPhone
on 16 June 2016 - 13:36 #919913

ถ้าอยากจะคุมเรื่องการผลิต"ฮาร์ดแวร์"ผมว่ายังคุยกันได้เรื่อยๆ แต่การมา คุมเรื่องการ"วาระบบ(การใช้ฮาร์ดแวร์)"นี่มันอ้างผิดฝาผิดตัวนะเพราะว่ากว่าฮาร์ดแวร์แต่ละรุ่นจะออกมาได้มันก็ต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยอยู่แล้ว

By: ninja741 on 16 June 2016 - 14:18 #919920

กลัวจะ drama แต่อยากจะอธิบายคือ

เวลาวาง IT infrastructure ขนาดกลาง-ใหญ่ เช่น network ทั้งตึกผมเห็นคนคุมก็วิศกรไฟฟ้านะครับ

พอเสร็จแล้วถึงเป็นพวกสาย computer ทั้งลายมาจิ้มสาย lan setup network อะไรก็ว่าไป ซึ่งที่มันเหมือนง่ายแค่เสียบก็ใช้ได้ อาจจะยุ่งหน่อยตอน setup router server อะไรก็ว่าไป เพราะ มัน commissioning ผ่านมาจากตอนวาง infra แล้วนะ

ทุกวันนี้กฏหมายไม่ได้บอกให้ต้องมีการรับรอง แต่งาน scale นี้เวลาจ้างออกแบบ owner ก็ให้วิศวกรไฟฟ้าเซ็นรับรองงานระบบอยู่แล้ว

By: orpheous
Android WindowsIn Love
on 16 June 2016 - 14:34 #919924 Reply to:919920
orpheous's picture

ถ้าในสำนักงาน ในโรงงานเดินระบบไฟ เดินสายไฟ แล้วเดินสายแลนตาม อันนี้พอว่า
ไม่ทราบว่าวิศวกรไฟฟ้ารู้จัก spanning-tree รู้จัก OSPF รู้จัก WAN ไหมครับ หรือรู้แค่ว่าเอาคอมมาเสียบฮับก็จบ
งานออกแบบเน็ตเวิร์คมันไม่ได้มีแค่เดินสาย เอาสายเสียบนะครับ

By: tstcnr1u
iPhone Windows Phone Android Ubuntu
on 17 June 2016 - 01:04 #920010 Reply to:919920

ผมว่าเข้าใจขอบเขตงาน network ผิดแล้วมั้งครับ ลากสายแลนไม่ต้องวิศวกรไฟฟ้าหรอก เด็กๆแถวบ้านก็ลากได้ เอาจริงๆแค่มาตรฐานการเข้าหัวแลนปกติอยู่ในขอบเขตความรู้ที่วิศวกรไฟฟ้ามีติดตัวหรือเปล่าครับ

ปกติงานวิศวคอมจะไปยุ่งกับชั้นถัดจาก physical ครับไอ้เรื่องลากสายนี่นอกเหนือสายงานด้วยซ้ำ ลากสายเป็นผมก็ไม่ทำเองจ้างช่างมาทำดีกว่าสบายมือ แล้วตัวระบบที่มันเลยจากปลั๊กไฟเช่นสายออกจากอุปกรณ์มาแล้ว โดยทำงานเชื่อมอุปกรณ์แต่ละตัวให้คุยกันมันไม่ต้องใช้ความรู้ไฟฟ้าด้วยซ้ำครับ มองเป็น digital logic ได้เลย รู้ว่าอุปกรณ์เข้ากันได้ก็ไม่ต้องสนใจอะไรแล้ว

By: alonerii
Android Ubuntu Windows
on 17 June 2016 - 03:13 #920015 Reply to:919920

ง่าย ๆ นะครับ ระบบ Network ไม่ได้จบที่การเสียบปลั๊กเอาสาย LAN จิ้ม เข้าใจนะครับ ? อย่าเอาระบบไฟฟ้ามาตีมั่วระบบ Network ที่คุณบอกวิศวกรไฟฟ้าคุมมันก็ถูกไง ก็เขาคุมเรื่องระบบไฟฟ้าในอาคาร เกี่ยวอะไรกับ Network ?

By: hydrojen
iPhone Red HatWindows
on 17 June 2016 - 11:36 #920052 Reply to:919920
hydrojen's picture

นั่นไง...ยังไม่ทันไรก็เข้าใจผิดไปกันใหญ่

By: Bigkung
iPhone Windows Phone
on 16 June 2016 - 14:19 #919921
Bigkung's picture

แล้วเขาจะมายุ่งอะไรกับสายงานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เนี่ย บ้าไปแล้ว มันอันตรายตรงใหนเนี่ย หรือจะให้ วิศวกรไฟฟ้า ต้องมาคุมทุกอย่างเหรอไงนี่ งั้นพวกนั้นไม่มาทำเองกันเลยหล่ะ รู้มันซะทุกเรื่องซะเหลือเกิน พวกวิศวกรไฟฟ้าสื่อสารเนี่ย

By: rattananen
Android Windows
on 16 June 2016 - 14:26 #919922

ควรระบุเจาะจงว่าเป็นระบบใช้กับงานอะไรด้วย
เพราะทั้ง computer network หรือ telephone network มันก็เข้าข่าย
แต่สองระบบนี้ใช้ความเชี่ยวชาญต่างกัน ฉะนั้นคนที่จะมารับรองจะมาจากวิศวะสื่อสารอย่างเดียวไม่ได้

ไม่งั้นเขาจะแยกวิศวไฟฟ้าเป็น วิศวไฟฟ้าสื่อสาร, วิศวไฟฟ้าคอมพิวเตอร์ อีกเพื่ออะไร

By: gobman
iPhone Android Symbian Ubuntu
on 16 June 2016 - 19:28 #919983

ก็ให้ กว. วิศวกรรมสาขาอื่นๆ เค้าบ้างสิ

จะแบ่งแยกแล้วปกครองกันไปถึงไหน

By: sariarty
Contributor iPhone Android Red Hat
on 16 June 2016 - 21:32 #919993
sariarty's picture

สายแลนไม่เคยฆ่าใคร T^T


ข้าขอทรยศต่อคนทั้งโลก ดีกว่าให้ใครมาทรยศข้า

By: Hoo
Android Windows
on 16 June 2016 - 23:33 #920002

แปลกๆว่า ถ้าปัญหาที่ต้องออกกฎหมายนี้ คือเรื่อง "กำลังไฟฟ้าที่สูงจนอาจเป็นอันตราย"
ทำไมถึงไม่ตั้งสเปคที่ "ขนาดกำลังไฟของอุปกรณ์" แต่กลับตั้งสเปคที่ "จำนวนผู้ใช้งาน"
เงื่อนไขแบบนี้ ทำให้อุปกรณ์ใยแก้วนำแสง ที่ใช้ไฟน้อย แต่ จำนวนผู้ใช้งานมาก ติดร่างแหไปด้วย???

By: Log
iPhone Android
on 16 June 2016 - 23:53 #920005

กลับไปคิดใหม่ให้นิ่งกว่านี้ดีกว่า ตีคลุม 3000GHz เพื่อ???? แล้วงี้ระบบที่เป็น Bluetooth หรือ WIFI 2.4 GHz หรือ 5GHz ถ้าต่อเป็น Network เกิน 1000 i/o ก็ต้องให้ไฟฟ้าสื่อสารเซ็นหรอ? อืม.... แล้วมันจะรู้อะไรหรอ?

เอาวัตถุประสงค์ก่อนดีกว่าว่ากลัวอะไร? แค่กฏล้าสมัย? คิดถึงระบบระดับไหน ? แล้วมีงานอะไรบ้าง? Datacenter, Utility,การคมนาคม,ระบบNetwork,โรงงานอุตสาหกรรม ที่สำคัญถ้าเห็นว่ามันสำคัญจริง ๆ ก็ให้ กว. กับวิศวะคอมไปเลยครับ จากใจ ก.ว. ไฟฟ้าเลยอะ แล้วให้สื่อสารกับ คอม Co กันเองจะดีกว่า สื่อสารดูเรื่อง Fiber เรื่อง Radio ไป(ไฟฟ้า สื่อสาร ดู Physical Layer + RF) ระบบ Network + Software + Configuration ก็ให้คอมดูนั้นละ ดีสุดตรงสุดละ

By: alonerii
Android Ubuntu Windows
on 17 June 2016 - 03:10 #920014

เลี่ยงบาลีไปเถอะ แต่สุดท้ายมันก็จบที่ว่า "ตรูจะเอา" แค่นั้นแหละ รายละเอียดเล่นตีขลุมไปซะหมด เจาะจงอะไรไม่ได้สักอย่าง

By: thanyadol
iPhone
on 17 June 2016 - 09:49 #920034

ไม่น่าจะมีความรู้ลงมาดูถึง network modelได้นะครับ น่าจะดูระดับไฟฟ้า

By: Matibul
Ubuntu Windows
on 17 June 2016 - 10:31 #920043

กฏมันมั่วไปหน่อยไหมมันน่าจะกำหนดที่ตัวกำลังส่ง คลื่นความถี่ สิครับ กำหนดที่ L1 พวก Physical บ้างอย่างมันอันตรายก็ควรควบคุม แต่มาเล่นกำหนดที่จำนวนผู้ใช้นี้มันมั่วชัดๆ

By: najib on 17 June 2016 - 14:20 #920085

ผมเห็นด้วยกับสภาวิศวกรนะครับ ผมเป็นคนนึงที่จบวิศวไฟฟ้าสื่อสารมา เนื่องจากปัจจุบันมีการควบคุมเฉพาะระบบการสื่อสารแบบอนาล็อกเท่านั้น แต่การสื่อสารในระบบดิจิตอลยังไม่มีการควบคุม ซึ่งรวมไปถึงการสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งก็อยู่ในความรู้ที่วิศวกรไฟฟ้าสื่อสารมีความรู้เช่นกัน ผมขออธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ

  1. บางคนอาจจะมองว่าไม่จำเป็นสำหรับงานคอมพิวเตอร์ เพราะไม่ได้มีอันตรายต่อชีวิต จริงๆ แล้วมันมีนะครับ ถ้าคุณมองว่ามันไม่มี แปลว่าคุณมองแค่มุมเดียว หลายๆ คนมองข้ามไป การเดินสายสัญญาณ LAN, Fiber Optic ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ดูผิวเผินไม่มีอันตรายอะไร แต่ถ้าหากว่า ช่างเกิดต้องเดินสายในแนวดิ่ง ในแนวชาร์ปของอาคาร เดินใน wire way เดียวกับระบบไฟฟ้า (ผมเห็นหลายอาคารทำแบบนี้กันมากเพราะคุณเจาะแนวใหม่ของอาคารไม่ได้) หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ซึ่งเพื่อนผมก็เจอมาแล้ว ไปสะกิดโดน Bus Bar ของ Main ระบบไฟฟ้า และเกิดเพลิงไหม้ขึ้น ไม่ว่าจะงาน scale เล็ก หรือใหญ่ ก็มีโอกาสเกิดเหตุการณ์นี้ได้ครับ มันควรจะมีการควบคุมให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรม

  2. บางคนมองว่า วิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร จะรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผมขอตอบเลยว่ายุคสมัยเปลี่ยนการศึกษาของวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารก็ปรับให้ทันกับยุคสมัยตามยุคดิจิตอล ผมเห็นหลายคนดูแคลนวิศวกรไฟฟ้าสือสารแล้วผมก็รู้สึกไม่ดีอย่างมาก จริงๆ แล้ววิศวกรไฟฟ้าสื่อสารมีความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เยอะมากนะครับ วิชาเรียนก็มีเรียนหลายวิชาเช่นกันกับวิศวคอมพิวเตอร์ ที่สำคัญวิศวกรไฟฟ้าสื่อสารเขาจะรู้พวกในวิชา Transmission Line และ Power System ที่เป็นวิชาพื้นฐานของไฟฟ้า ถ้ามองกลับกัน หากคุณเปิดเข้าไปในห้องชาร์ป เจออุปกรณ์พวก Main ไฟฟ้า การติดตั้ง UPS การกระจาย Phase ไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ระบบเครือข่าย การเลือกสาย power cord ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ Router/Switch Server และอื่นๆ เขาจะสามารถแนะนำแนวการติดตั้งสายสัญญาณได้ดีกว่าแน่นอนครับ ดังนั้น คำที่ว่าวิศวกรไฟฟ้าสื่อสารไม่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์ ผมอยากให้เข้าใจซะใหม่นะครับ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ก็เป็นแขนงนึงที่แยกออกมาจากวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร และแน่นอนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็เป็นระบบสื่อสาร เป็นสิ่งที่ทางวิศวกรไฟฟ้าสื่อสารมีความรู้แน่นอนครับ

  3. บางคนมองว่าจะทำให้วิศวกรคอมพิวเตอร์ตกงาน บริษัทต่างๆ ก็อยากได้วิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร ผมขอบอกไว้ตรงนี้เลยครับ ผมว่าคุณเข้าใจผิด การออกกฏหมายนี้ออกมา เพื่อหาคนรับผิดชอบหากเกิดปัญหาขึ้นเท่านั้น หากเกิดปัญหาเพลิงไหม้ หรือไปทำให้เกิดการช็อตกันของระบบไฟฟ้ากับอุปกรณ์สื่อสาร พวกคุณอยากให้ลายเซ็นนี้กลับมาทำให้คุณต้องรับผิดชอบหรือครับ

  4. ผมว่าสภาวิศวกรก็ขาดจุดยืนของตัวเอง จากหนังสือชี้แจงก่อนหน้า แสดงให้เห็นชัดว่าสภาวิศวกรขาดจุดยืน แค่โซเชียลวิจารณ์ประเด็นนี้มา ก็กลับตกใจรีบชี้แจงว่าไม่ก้าวล่วงทันที ผมมองว่าถ้าสภาวิศวกรให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย ไม่เห็นต้องกังวลอะไรเลย แต่จากล่าสุดที่ระบุ 10,000 ผู้ใช้งาน / 1,000 I/O ผมว่าก็สมเหตุสมผล แบ่ง scale ที่มีผลอย่างกว้างขวางไว้ พวก Server / Load balance มันใช่ตามข้อที่ 1 ไหม คุณแยกให้ออกนะครับ “ระบบรับ ส่ง แยก รวมเพื่อส่งผ่านสัญญาณตามสาย” มันเข้าข่ายไหม แต่สำหรับงาน Switch 48 port ต้องกี่ตัวถึงจะได้ 1,000 I/O แสดงว่ามันมี Scale ขนาดไหน มีผู้ใช้มากกว่า 10,000 คนไหม ต้องเข้าใจว่าสภาวิศวกรเขาห่วงคือเรื่องของการเดินสายสัญญาณที่ควรควบคุม แยกมุมมองให้ออกครับ ว่ากฏกระทรวงนี้ไม่ได้ก้าวล่วงงานคอมพิวเตอร์แต่อย่างใดเลย เพียงแต่งานบางส่วนมันคาบเกี่ยวกับความปลอดภัย เลยต้องควบคุมครับ

สุดท้าย วิศวกรคอมพิวเตอร์ก็ดูแลในส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ไป แต่หากเกิดปัญหาอะไรต่างๆ ขึ้น ที่อาจมีหรือไม่มีผลขึ้นโรงขึ้นศาล ก็ให้วิศวกรไฟฟ้าสื่อสารรับไป พวกคุณก็สบายตัว ไม่ต้องรับผิดชอบล่ะ

By: lew
Founder Jusci's WriterMEconomics Android
on 17 June 2016 - 15:00 #920096 Reply to:920085
lew's picture

สงสัยข้อ 1 ที่คุณว่ามานะครับ การเอาอะไรไปติดตั้งในแนวสายไฟกำลังสูงมันควรได้รับการตรวจสอบก็เข้าใจได้ อันนั้นก็ให้ "วิศวกรไฟฟ้า" ที่ดูแลการติดตั้งระบบไฟฟ้าดูแลไปนี่ครับ บอกไปเลยว่าระบบไฟเกินกี่วัตต์จะถ้ามีใครจะเข้าใกล้ก็ต้องให้รับรอง ม้นก็ตรงไปตรงมา

ข้ออื่นอย่างระบบ UPS ที่คุณว่ามามันก็ "ไฟฟ้ากำลัง" ไม่ใช่หรือครับ หรือผมเข้าใจอะไรผิด

ผมไม่เข้าใจแนวทางการแบ่งงานที่คุณอธิบายมานะครับ อย่างถ้าสาย LAN มีวัสดุไวไฟหุ้มอยู่ และติดตั้งปริมาณมาก การติดตั้งก็ควรได้รับการตรวจสอบจาก safety engineer ก็เข้าใจได้ อย่างอาคารหลายอาคารต้องการสร้าง data center ก็ต้องให้วิศวกรโยธามาตรวจสอบรับรองก่อน เพราะตู้ rack มันหนัก ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่สายไฟเบอร์มันไม่ได้ปล่อยคลื่นความถี่ไปรบกวนวิทยุการบินอะไรแบบนั้นนี่ครับ


lewcpe.com , @wasonliw

By: tihnov
Windows Phone Android SUSE Ubuntu
on 17 June 2016 - 15:48 #920106 Reply to:920085
tihnov's picture

ข้อ 1. วิศวกรไฟฟ้าต้องรับผิดชอบอยุ่แล้วนิครับ เพราะเขาคือผู้เซ็นรับรองแบบไฟฟ้าอาคารตั้งแต่แรก

ข้อ 2. ถ้าเช่นนั้นแสดงว่า สิ่งที่เรียนกันอยู่ในสาขาวิศวกรรมไอที และคอมพิวเตอร์
ไม่ได้มีอะไรมากมาย เนื่องจากคนที่เรียนไฟฟ้าสื่อสารสามารถเรียนได้เท่ากันๆ
ในเวลาที่น้อยกว่า คนที่เรียนสาขานั้น

ข้อ 3. วิศวกรคอมพิวเตอร์ไม่ตกงานหรอกครับ แต่วิศวกรไฟฟ้าสื่อสารน่าจะมีงานชุกเพิ่มขึ้นและความเสี่ยงลดลง เมื่อเทียบกับการเซ็นรับรองในงานแบบเดิมๆ นับเป็นการเปิดตลาดใหม่ๆได้อย่างดี

ข้อ 4. เขาอาจจะไม่ได้ขาดจุดยืนหรอกครับ เขาแค่อาจจะยังไม่แน่ใจในความหมายของคำว่า I/O
แล้วยังมีจำนวน Node ตามด้วย Switch - Hub - Gateway ทั้งแบบของจริง และของปลอม
ถ้าหากดันเอามันออกมาตอนนี้ แค่ตามแก้ ตามตีความ ก็เหนื่อยแล้วล่ะครับ
ดูง่ายๆ หลอดไฟควบคุมการเปิดปิดได้แบบไร้สาย 20000 ตัวเนี่ย คิดว่าจะมีกี่ I/O ครับ
จะต้องขออนุญาต มีคนเซ็นรับรองไหม แล้วแบบนั้นเราจะได้ Concert แบบที่ Coldplay จัดในไทยหรอ

ผมว่าเรื่องแบบนี้ เคยมีการผลักดันกันมาแล้วนะครับ แต่มันดันเกิดขึ้นตั้งแต่สมัย ต้นศตวรรษที่ 20ยุคที่ยังแก้ปัญหา CrossTalk ในสายโทรศัพท์ไม่ได้เลยครับ

By: Architec
Contributor Windows Phone Android Windows
on 17 June 2016 - 16:43 #920118 Reply to:920085
  1. ผมกำลังสงสัยว่ารางไวร์เวย์ที่ไหนเขาให้ใส่ร่วมกับรางสายไฟด้วยเหรอครับ?

  2. งานพวกนี้วิศวกรไฟฟ้าก็รับไปหมดแล้ว

  3. วิศวกรรมป้องกันอัคคีภัยมีไว้ทำอะไรครับ?

  4. ผมบอกไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่าสายพวกนี้มันไม่ได้ก่ออันตรายถึงขนาดทำให้เกิดไฟไหม้ได้

คือสรุปมาสั้นๆเลยว่าอยากหาช่องทางรับประทานซะก็จบเรื่องแล้ว

By: najib on 17 June 2016 - 20:13 #920146

บางข้อผมอาจอธิบายให้เข้าใจได้ไม่เคลียร์ครับ

1.ส่วนของงานวิศวกรไฟฟ้ากำลังดูเรื่องระบบไฟฟ้าของอาคารถูกต้องครับ แต่ส่วนงานที่เข้ามาร่วมด้วย คืองานระบบไฟฟ้าสื่อสาร เช่น การเดินสาย LAN, Fiber Optic และสายโทรศัพท์ใน ตรงจุดนี้ล่ะครับที่ปัจจุบันยังไม่ได้มีการควบคุมกำกับดูแล จึงเป็นที่มาในหลายๆ ครั้งว่า งานติดตั้งสายสัญญาณสื่อสาร ไม่มีผู้รับผิดชอบเวลาเกิดปัญหาขึ้น เช่น Flexible Conduit ไปบาดสายไฟฟ้า, การเปิดฝ้าติดตั้งสาย LAN แล้วไปกระทบกับระบบอื่นๆ จากประสบการณ์การเป็นที่ปรึกษาตรวจงานในหลายๆ ที่ จะพบผู้รับเหมาติดตั้ง ไม่มีความรู้ และพอหาผู้รับผิดชอบ ก็จะไม่ยอมรับ ส่วนที่ถามว่าราง Wire way ที่ไหน ที่ให้ใส่ร่วมกับสายไฟได้ ก็เพราะมันไม่ถูกต้องครับ และเป็นสิ่งที่ผมตรวจงานเจอบ่อยๆ คุณจะพบเรื่องเช่นนี้จริงๆ ครับ และสุดท้ายก็หาคนรับผิดชอบไม่ได้ จึงเป็นที่มาว่าระบบเหล่านี้ ซึ่งเป็นงานระบบไฟฟ้าสื่อสาร ควรมีวิศวกรไฟฟ้าสื่อสารเป็นผู้ตรวจสอบและรับผิดชอบครับ

2.สิ่งที่วิศวกรรมไอที หรือคอมพิวเตอร์ เรียนจะเจาะลึกไปในด้านคอมพิวเตอร์เป็นหลักครับ เช่น Software, Programming, Database, Data Structure ถ้าเป็นเรื่องของระบบสายสัญญาณไฟฟ้า หรือ Transmission Line วิศวะไฟฟ้าสื่อสารจะมีความรู้มากกว่าครับ และที่สำคัญวิศวกรไฟฟ้าสื่อสารไม่ได้เรียนใช้เวลาน้อยกว่าแน่นอนครับ เพราะวิชาพื้นฐานที่วิศวกรรมไฟฟ้าต้องผ่านเหมือนกันคือ เรื่องของระบบ Power System, Transmission Line แต่พอไปสาขาไฟฟ้าสื่อสาร จะเรียนคล้ายกับที่คอมพิวเตอร์เรียน คือพวก Data Com, Computer network, Radio Wave, Wireless, Satellite, Mobile ซึ่งจะเห็นว่าวิชาที่เกี่ยวกับด้านระบบไฟฟ้าสื่อสารจะตรง และยังรู้ด้านระบบไฟฟ้าควบคู่ไปด้วย

ประเด็นเรื่อง UPS ในหลายๆ ครั้งที่ผมเจอมา อุปกรณ์ส่วนงานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต้องมาเชื่อมต่อ แต่เชื่อไหมครับ บางคนไม่รู้ว่าปลั๊กหรือ Connector ที่มาต่อเป็นประเภทไหน มีขนาดกี่ Amp, ควรใช้สายไฟขนาดเท่าใด หรืองานที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า จะไม่มีความรู้เลย มันจึงเป็นประเด็นที่ผมตรวจงานเจอว่า สายไฟทีต่อกับ Server หรืออุปกรณ์เครือข่ายมีขนาดเล็กเกินไป สายไฟเกิดความร้อนขึ้น แบ่ง Phase ไฟฟ้าไม่เป็น พอไปถามคนที่มาต่อ ก็จะบอกว่าตนเองไม่รู้เรื่อง โบ้ยไปให้พวกไฟฟ้าบ้าง จึงเป็นที่มาว่าทำไงงานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ถึงต้องมีวิศวกรไฟฟ้าสื่อสารเป็นผู้ดูแลอุปกรณ์สื่อสารครับ

3.สำหรับประเด็นวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย หรือ วิศวกรด้านความปลอดภัย (Safety Engineer) เขาอาจจะจบวิศวกรรมสาขาไหนมาก็ได้ครับ ซึ่งอาจจะไม่ได้จบด้านไฟฟ้าสื่อสารโดยตรง และที่สำคัญ กว. ไม่ได้มี กว.ด้านวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัยหรือวิศวกรด้านความปลอดภัยโดยตรงด้วยครับ โดยปกติการเขียนแบบระบบต่างๆ เขาจะให้วิศวกรที่มีใบประกอบวิชาชีพหรือ กว. เซ็นรับรอง เช่น วิศวกรไฟฟ้ากำลัง, วิศวกรโยธา, วิศวกรเครื่องกล, วิศวกรสุขาภิบาล และสถาปนิกฯ เป็นคนเซ็นรับรอง จะเห็นว่างานด้านระบบไฟฟ้าสื่อสารจะลอยตัวอยู่ตอนนี้ ไม่มีผู้รับผิดชอบเมื่อเกิดความเสียหายเกิดขึ้น แน่นอนครับสาย LAN, Fiber Optic มันไม่ได้ก่ออันตรายโดยตรง เช่นเดียววัสดุอื่นๆ แต่คนที่นำมันไปติดตั้งแบบไม่ได้มาตรฐานต่างหาก คือคนที่อาจทำให้เกิดความเสียหายหรือเกิดเพลิงใหม้ได้ ซึ่งผมตรวจงานมาก็พบประเด็นนี้มาเช่นกันครับ

ผมกลับมองว่าวิศวกรคอมพิวเตอร์น่าจะทำงานได้สบายใจมากกว่า ให้วิศวกรไฟฟ้าสื่อสารรับเคราะห์ไปในส่วนงานสายสัญญาณ ซึ่งเจตนารมย์ของสภาวิศวกร คือต้องการผู้ควบคุมรับผิดชอบในส่วนงานสายสัญญาณไฟฟ้าสื่อสารและอุปกรณ์ไฟฟ้าสื่อสารเท่านั้นเองครับ วิศวกรไฟฟ้าสื่อสารจึงควรรับผิดชอบในส่วนงานนี้ และสาเหตุที่ไม่มี กว ด้านวิศวกรคอมพิวเตอร์ก็ถูกต้องครับ เพราะงานด้าน Programming, ติดตั้ง Router, Switch, Access Point ไม่ได้มีอันตรายใดๆ แต่ส่วนที่มีอันตรายเกิดขึ้นได้ ทางวิศวกรไฟฟ้าสื่อสารไม่ได้ลงไปก้าวล่วงใน Configuration, การทำ Routing จะใช้ OSPF/RIP/BGP/ISIS หรือแบ่ง VLAN ของงานด้านคอมพิวเตอร์เลยครับ

4.ที่ผมวิจารณ์ว่าสภาวิศวกรขาดจุดยืน คือ สิ่งไหนที่คิดว่าทำเพื่อความปลอดภัย ควรจะยืนหยัดตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการควบคุมให้เกิดความปลอดภัยครับ ไม่อยากให้จุดยืนที่ทางสภาวิศวกรคิดไว้แต่ต้นเพื่อควบคุมงานระบบไฟฟ้าสื่อสารให้มีความปลอดภัย ไปตามกระแสโซเชียลและคอยออกหนังสือตามแก้มากเกินไปครับ ผมเชื่อมั่นในเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการนำระบบไฟฟ้าสื่อสารมาเป็นงานวิศวกรควบคุมครับ

งานด้านระบบไฟฟ้าสื่อสาร ก็ควรให้วิศวกรไฟฟ้าสื่อสารเป็นผู้ควบคุมครับ ถูกต้องแล้วครับ

By: lew
Founder Jusci's WriterMEconomics Android
on 17 June 2016 - 20:55 #920151 Reply to:920146
lew's picture

อ่านมาทั้งหมดที่คุณว่ามา มีแต่ความจำเป็นในการตรวจสอบไฟฟ้ากำลังครับความรู้เรื่อง transmission line หรืออะไรที่เป็นความรู้เฉพาะของไฟฟ้าสื่อสาร ผมไม่พบว่าช่วยอำนวยความปลอดภัยใดเลย มีตรงไหนบอกผมด้วย ผมอ่านสองสามรอบแล้วครับ

ส่วนว่าไม่มี กว. ด้านอัคคีภัย แล้วทำไมคุณที่เป็นวิศวไฟฟ้าสื่อสารจึงเชื่อว่าจะช่วยอำนวยให้เกิดความปลอดภัยด้านอัคดีภัยได้ดีกว่าวิศวกรอื่นๆ หรือครับ? หรือจริงๆ วิศวกรอะไรก็ได้ ให้มาตรวจซ้ำว่าไม่ติดมั่วซั่วอย่างที่คุณว่ามาก็พอ


lewcpe.com , @wasonliw

By: Thaitop_BN
Windows Phone Ubuntu Windows
on 18 June 2016 - 09:46 #920209 Reply to:920146
Thaitop_BN's picture

อ่านแล้วผมก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าเกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์คยังไง ระบบไฟในอาคารก็ส่วนอาคาร เน็ตเวิร์คก็ส่วนเน็ตเวิร์คสิ แล้ว user, I/O นี่คืออะไร เอาตัวเลขมาจากไหน

By: Kerberos
Android Red Hat Ubuntu Windows
on 17 June 2016 - 22:31 #920163
Kerberos's picture

ดูไปเลยดีกว่า ว่าถ้าในสาย มันเป็น baseband signal อย่าได้มายุ่งเลยครับ