Tags:
Node Thumbnail

ในอีกไม่นาน แอปเปิลพันธุ์ Golden Delicious ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมแบบใหม่เพื่อขจัดปัญหาเนื้อแอปเปิลเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลคล้ำ จะถูกวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา

ผลงานการพัฒนาแอปเปิลนี้เป็นของ Arctic Apples ซึ่งอธิบายได้คร่าวๆ ว่าการที่ทำให้แอปเปิลไม่เปลี่ยนสีคล้ำเข้มหลังจากที่หั่นหรือปอกไว้นานนั้น ทำได้โดยการทำให้กระบวนการปฏิกิริยาทางเคมีของสารที่เรียกว่า PPO (polyphenol oxidase) และ Polyphenolics นั้นไม่เป็นที่สังเกตเห็นได้

อธิบายถึงเรื่องปฏิกิริยาของสารเคมี 2 ตัวหลักที่ทำให้แอปเปิลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำกันเสียเล็กน้อย

สารตัวแรกคือ PPO นั้นเป็นสารโอลิกอเมอร์ (คล้ายกับพอลิเมอร์ แต่พอลิเมอร์นั้นมีการเชื่อมโยงของโมเลกุลที่ไม่จำกัดจำนวน ในขณะที่โอลิกอเมอร์นั้นมีจำนวนที่แน่นอนชัดเจน) ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่พบได้ในผลของพืชผักหลายประเภท มันทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของกลไกการป้องกันตัวเองของพืชผลนั้น ดังเช่นในกรณีของมะเขือเทศ จะพบได้ว่า PPO นั้นช่วยป้องกันเชื้อรา, แบคทีเรีย, ไวรัส และแมลงที่จะมากัดกิน แต่ทว่าสำหรับสาร PPO ในแอปเปิลนั้นแตกต่างออกไป เพราะ PPO ที่แอปเปิลสร้างขึ้นมานั้นเรียกได้ว่าไม่มีบทบาทความจำเป็นอะไรสำหรับแอปเปิลที่ปลูกเพื่อการบริโภคกันในปัจจุบันทั้งนี้ PPO ในแอปเปิลนั้นจะพบได้ในผลแอปเปิลที่ยังอ่อนๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นผลมาจากสายพันธุ์แอปเปิลในอดีต

ส่วน Polyphenolics นั้นเป็นสารเคมีอีกชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อรสชาติและกลิ่นของแอปเปิล ซึ่งเมื่อแอปเปิลถูกทำให้ช้ำ, ตัด หรือกัด สาร Polyphenolics ก็จะทำปฏิกิริยากับ PPO โดยสิ่งที่หลงเหลือภายหลังปฏิกิริยาคือเม็ดสีเมลานินที่ก่อให้เกิดสีน้ำตาลคล้ำในเนื้อแอปเปิล

alt=

การตัดต่อพันธุกรรมคือการเข้าไปแก้เรื่องการผลิตสาร PPO ในเนื้อแอปเปิลอันเรียกได้ว่าเป็นการตีโจทย์กันที่ต้นเหตุ ซึ่งที่ผ่านมาผู้ผลิตและจัดจำหน่ายก็เคยใช้วิธีการใช้สารเคมีในการแก้ปัญหาแอปเปิลเปลี่ยนสี แต่การตัดต่อพันธุกรรมนั้นมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และยังทำให้ร้านค้าและผู้บริโภคมั่นใจว่าจะได้แอปเปิลที่ปราศจากสารเคมีตกค้างด้วย

Arctic Apples จะเริ่มวางจำหน่ายแอปเปิลที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ โดยจะหั่นมาเป็นชิ้นให้เห็นกันไปเลยว่าเนื้อแอปเปิลไม่เปลี่ยนสี นอกจากนี้การตัดต่อพันธุกรรมยังทำให้ได้เนื้อแอปเปิลที่มีความกรอบยิ่งขึ้นด้วย

ที่มา - CNN , Engadget

Get latest news from Blognone

Comments

By: keen
iPhone Android Ubuntu
on 23 January 2017 - 08:11 #965986
keen's picture

มั่นใจไม่มีสารตกค้าง แต่ไม่มั่นใจเพราะ GMO แทนมั้ง

By: tk719
iPhone Blackberry Symbian In Love
on 23 January 2017 - 08:31 #965991 Reply to:965986

เดี๋ยวนี้คงหาแทบไม่มีแล้วครับ ที่ไม่ตัดต่อ

By: takato
iPhone Windows Phone Android Blackberry
on 23 January 2017 - 08:25 #965989
takato's picture

ข่าวต่อไป ทานอาหาร gmo แล้วอายุยืนยาวมากขึ้น รัฐเร่งผลิต

By: MaxDOL
iPhone Windows
on 23 January 2017 - 09:18 #966000

คนกลัวGMOเกินไป
ทั้งๆที่มนุษย์เราทานอาหารที่ผ่านGMOกันมาตั้งนานแล้ว
เช่น กล้วย (กล้วยที่เราทานกับกล้วยแบบดั้งเดิมมันแตกต่างกันมาก มนุษย์นำกล้วยมาปรับปรุงสายพันธ์มานานแล้ว)

By: YF-01
Android Ubuntu
on 23 January 2017 - 10:12 #966033 Reply to:966000

ปรับปรุงด้วยการผสมข้ามสายพันธ์นี่นับเป็น GMO ด้วยเหรอครับ ผมนึกว่านับเฉพาะที่ตัดต่อยีน

By: Kittichok
Contributor
on 23 January 2017 - 12:13 #966082 Reply to:966000

เห็นด้วยกับเรื่องที่คนบางกลุ่มวิตกกังวล GMO มากเกินไป แต่การปรับปรุงสายพันธุ์กับ GMO นี่คนละเรื่องกันครับ

By: isk on 23 January 2017 - 09:41 #966012

กลัว GMO แต่ดื่มเหล้า,สูบบุหรี่กลับไม่กลัว นั่นแหละเป็นตัวก่อโรคชัดๆ

By: nidss
Android
on 23 January 2017 - 11:16 #966061 Reply to:966012
nidss's picture

+1

By: sukjai
iPhone Android Red Hat Ubuntu
on 23 January 2017 - 12:28 #966088 Reply to:966012

+1

By: Gored on 23 January 2017 - 13:11 #966098 Reply to:966012
Gored's picture

ผมกลัว gmo แต่ไม่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ไม่ทานหวานทานเค็ม

By: Chamoz
iPhone Android
on 25 January 2017 - 01:32 #966445 Reply to:966012

คนที่กลัวน่าจะคนละกลุ่มกันนะครับ

By: tanapon000 on 23 January 2017 - 11:31 #966066
tanapon000's picture

ราคาจะแพงขึ้นไหมนะ

By: delta on 23 January 2017 - 13:25 #966100
delta's picture

สิ่งที่น่ากลัวGMO คือ การที่ทำให้เกิดโรคใหม่ๆมากขึ้นในอนาคต แล้วผลิตยาไม่ทันแก้

By: nrml
Contributor In Love
on 23 January 2017 - 14:29 #966112 Reply to:966100
nrml's picture

ผมว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเชื้อโรคก็พัฒนาสายพันธุ์กันเป็นปกติอยู่แล้วนะครับ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเจอแจ็คพอตกันตอนไหน

By: Tanapongs
Android
on 23 January 2017 - 14:46 #966117

คือแอ๊ปเปิ้ลดำ ก็แก้ด้วยการไม่ปอกทิ้งไว้น่าจะคุ้มกว่า ลงทุนไปตัดต่อพันธุกรรมรึเปล่า

By: darkfaty
Android Windows
on 23 January 2017 - 19:31 #966172 Reply to:966117
darkfaty's picture

สะดวกต่ออุตสาหกรรมครับ แอปเปิ้ลปอกเปลือกขายเป็นแพค ทำที่โรงงานส่งร้านสะดวกซื้อง่าย

By: jedising
iPhone
on 23 January 2017 - 20:33 #966190

เพิ่งจะเห็นข่าวapple แล้วรู้สึกว๊าวก็คราวนี้แหละ

By: KuLiKo
Contributor iPhone Windows Phone Android
on 24 January 2017 - 06:24 #966255 Reply to:966190
KuLiKo's picture

ถถถ

By: -Rookies-
Contributor Android WindowsIn Love
on 24 January 2017 - 09:15 #966280 Reply to:966190

โอยยย หัวเราะท้องแข็งอะ คิดได้ไง


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: loptar on 24 January 2017 - 11:31 #966311 Reply to:966190
loptar's picture

นี่สินะ นวัตกรรมของ Apple