บริษัทข้อมูลพันธุกรรม 23andMe ประกาศว่ามีแฮ็กเกอร์เจาะระบบ ได้ข้อมูลพันธุกรรมไปทั้งหมด 6.9 ล้านคน โดยการเจาะระบบเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2023 ตอนแรกทาง 23andMe บอกว่ามีผู้ใช้โดนขโมยข้อมูล 14,000 คน แต่เมื่อสอบสวนอย่างละเอียดมากขึ้นก็พบว่ามีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก
บริษัท 23andMe ก่อตั้งในปี 2006 โดย Anne Wojcicki อดีตภรรยาของ Sergey Brin ผู้ก่อตั้งกูเกิล (เธอยังเป็นน้องสาวของ Susan Wojcicki อดีตซีอีโอ YouTube ) รูปแบบธุรกิจเป็นการตรวจสอบ DNA ด้วยน้ำลาย เพื่อตามหาบรรพบุรุษ-รู้จักร่างกายของตัวเอง บริษัทเข้าขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ในปี 2021 โดยใช้ตัวย่อว่า ME
เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว หนึ่งในข่าวที่สะเทือนแวดวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์ทั่วโลก คือข่าวที่ นักวิจัยจีนออกมายอมรับว่าได้ทำการวิจัยทดลองตัดต่อพันธุกรรมเด็กทารกหญิง 2 คน ก่อให้เกิดประเด็นถกเถียงกันในวงกว้างถึงความเหมาะสมในด้านจริยธรรมของงานวิจัยดังกล่าว มาบัดนี้องค์การอนามัยโลกได้ออก แถลงการณ์ อย่างชัดเจนขอความร่วมมือหน่วยงานผู้มีอำนาจในทุกประเทศทั่วโลกสั่งห้ามการตัดต่อพันธุกรรมของเซลล์ต้นกำเนิดทั้งหมดจนกว่าเรื่องนี้จะได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเสียก่อน
สองเดือนหลัง He Jiankui นักวิจัยพันธุกรรมชาวจีน ประกาศความสำเร็จในการดัดแปลงพันธุกรรมทารกหญิงสองคนด้วยกระบวนการ CRISPR เมื่อวานนี้ Southern University of Science and Technology ที่เป็นต้นสังกัดของ Jiankui ก็ประกาศว่าเขาถูกไล่ออกแล้ว อย่างไรก็ดีทางรัฐบาลพบว่า Jiankui ทำกระบวนการเดียวกันให้พ่อแม่คู่ที่สอง และแม่กำลังตั้งครรภ์แล้ว
ทางรัฐบาลจีนระบุว่าจะเฝ้าดูฝาแฝดคู่แรกที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมต่อไป
การสอบสวนพบว่า Jiankui ระดมทุนโดยหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ แอบสร้างทีมงานของตัวเอง และปลอมแปลงเอกสารรับรองจากกรรมการจริยธรรมเพื่อใช้หาทีมงาน พร้อมกับระบุว่าเขาทำทั้งหมดเพื่อสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง
Lexus เผยบริการใหม่ล่าสุด Genetic Select by Lexus ซึ่งเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการใช้พันธุกรรมของผู้ขับรถ ในการเลือกและปรับแต่งรถยนต์ให้เหมาะสม โดยร่วมมือกับ 23andMe บริษัทวิเคราะห์ดีเอ็นเอชั้นนำ
การดูดีเอ็นเอทำให้ฟังก์ชันของรถยนต์มีความเหมาะสมมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การปรับที่นั่ง, ขนาดกำลังเครื่องยนต์ ไปจนถึงซันรูฟว่าควรมีหรือไม่ โดยจากการศึกษาของ 23andMe นั้นพบว่าความแม่นยำอยู่ในระดับ 99.99967% เลยทีเดียว
กระบวนการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอนั้นทำได้ง่ายๆ โดยใช้น้ำลาย และสามารถคัดเลือกรถยนต์ได้ในเวลาไม่ถึง 10 นาที และสามารถส่งมอบรถยนต์ได้ใน 48 ชั่วโมง ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถนัดหมายเพื่อค้นหารถที่ตรงกับดีเอ็นเอได้ในวันที่ 1 เมษายนนี้
เราได้เห็นการนำปัญญาประดิษฐ์ มาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์มาแล้วหลายโครงการ ทั้ง การวินิจฉัยปอดบวม , การทำนายภาวะออทิสติก และ ตรวจหาเซลล์มะเร็ง ล่าสุด ทีมนักวิจัยจากบริษัท Human Longevity ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับพันธุศาสตร์มนุษย์ ได้รายงานผลงานวิจัยเรื่อง การทำนายรูปลักษณ์ภายนอกจากสารพันธุกรรม (DNA) โดยใช้ machine learning ลงในวารสาร Proceedings from the National Academy of Sciences (PNAS)
ในอีกไม่นาน แอปเปิลพันธุ์ Golden Delicious ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมแบบใหม่เพื่อขจัดปัญหาเนื้อแอปเปิลเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลคล้ำ จะถูกวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา
ผลงานการพัฒนาแอปเปิลนี้เป็นของ Arctic Apples ซึ่งอธิบายได้คร่าวๆ ว่าการที่ทำให้แอปเปิลไม่เปลี่ยนสีคล้ำเข้มหลังจากที่หั่นหรือปอกไว้นานนั้น ทำได้โดยการทำให้กระบวนการปฏิกิริยาทางเคมีของสารที่เรียกว่า PPO (polyphenol oxidase) และ Polyphenolics นั้นไม่เป็นที่สังเกตเห็นได้
อธิบายถึงเรื่องปฏิกิริยาของสารเคมี 2 ตัวหลักที่ทำให้แอปเปิลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำกันเสียเล็กน้อย
Google Genomics เป็นบริการจัดเก็บจีโนมของมนุษย์ ซึ่งก็คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่อยู่บนดีเอ็นเออันเป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะทางชีวภาพของร่างกายนั้น โดย Google Genomics มีเป้าหมายเพื่อสร้างบริการที่ช่วยให้การศึกษาและค้นคว้าวิจัยข้อมูลพันธุกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Sergey Brin หนึ่งในผู้ก่อตั้งกูเกิล ได้เปิดเผยลงใน บล็อกส่วนตัว ของเขาว่า เขามีสิทธิ์ป่วยเป็น โรคพาร์กินสัน โดยมีความเสี่ยงระหว่าง 20-80%
ภรรยาของ Sergey นั้นก่อตั้งบริษัทด้านวิจัย DNA ชื่อ 23andMe และนำเอา DNA ของ Sergey ไปทดสอบ พบว่ายีนของเขามีการกลายพันธุ์ชนิดหนึ่งที่หาได้ยาก แต่มีโอกาสทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน Sergey ยังเล่าว่าในเครือญาติของเขาก็มีคนที่ป่วยเป็นโรคนี้มาก่อนแล้ว
- Read more about Sergey Brin มีโอกาสป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน
- 2 comments
- Log in or register to post comments
นักวิทยาศาสตร์สร้างเอมบริโอมนุษย์ดัดแปลงพันธุกรรมขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ได้สอดใส่ยีนเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์เข้าไปในเอมบริโอ ซึ่งหลังจากนั้นเอมบริโอจะถูกทำลายใน 5 สัปดาห์ต่อมาจากโปรตีนที่แสดงออก ซึ่งนี้เป็นครั้งแรกของการยีนยันการดัดแปลงยีนในมนุษย์
งานวิจัยครั้งนี้ทำมาต่อจากการทำ เอมบริโอมนุษย์ ผสมสัตว์ ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวถูกตั้งคำถามทางจริยธรรมมากมายว่าเหมาะสมหรือไม่ ทางนักวิจัยอ้างว่าการสอดใส่ยีนอื่นลงไปเป็นเพื่อการตอบคำถามสมมติฐาน เพื่อนำไปใช้ในการหาทางรักษาโรค และนักวิจัยยังยืนยันว่าจะไม่ยอมให้เอมบริโอโตได้ โดยหลังจากวิจัยเอมบริโอจะถูกทำลายภายในไม่กี่อาทิตย์ และจะไม่ยอมให้มีการฝังตัวอ่อนในผู้หญิงเด็ดขาด