ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2560 ราชกิจจานุเบกษาประกาศระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ E-Tax Invoice by Email พ.ศ. 2560 โดยระเบียบดังกล่าวกำหนดให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2560
ระบบ e-tax Invoice by Email เป็นระบบที่กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)(สพธอ.) และสํานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) ร่วมกันจัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการ "ที่ได้รับอนุญาต"สามารถจัดทำ ส่งมอบและเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้รับการประทับตราเวลา (Time Stamp) ผ่านระบบกลางของ สพธอ. โดยกำหนดรูปแบบของไฟล์ที่ใช้ในการออกใบกำกับภาษีไว้ 3 กลุ่มคือ Microsoft Word (.doc และ .docx) Microsoft Excel (.xls และ .xlsx) และ .pdf
คุณสมบัติของผู้ยื่นคำร้องเพื่อใช้งานในระบบนี้ต่ออธิบดีกรมสรรพากร จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- เป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้พึงประเมินไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปีภาษี นับตั้งแต่ปีภาษี 2558 หรือเป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่มีรายได้ต่อรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2558
- ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติให้จัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๕
- ไม่มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษี และไม่มีประวัติการออกหรือใช้ใบกํากับภาษีปลอมหรือใบกํากับภาษีที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ผลจากการที่กรมสรรพากรออกระเบียบฉบับนี้ จะทำให้ผู้ประกอบการ SME และ Startup สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิคส์ให้แก่ลูกค้าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย จากเดิมที่ระเบียบกรมสรรพากร พ.ศ. 2555 ได้อนุญาตให้แต่เฉพาะกิจการที่มีทุนจดทะเบียนเกิน 10 ล้านบาทและมีความน่าเชื่อถือสูงเท่านั้น ที่สามารถยื่นคำร้องเพื่อจัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบการชำระเงินอิเล็คทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-payment) ซึ่งเป็นแนวนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
สำหรับใครที่สนใจยื่นคำร้องเพื่อใช้งานระบบ E-Tax Invoice by Email สามารถยื่นคำร้องได้ ที่นี่ ค่ะ
ที่มา- ราชกิจจานุเบกษา
Comments
ช่วงนี้เห็นเพื่อนๆ วิ่งตามใบกำกับภาษีจากห้างต่างๆ กันเพลิดเพลินเลยครับ
เห็นข่าวบางประเทศ free VAT เมื่อซื้อสินค้าออนไลน์
เสริมเรื่องประเภทไฟล์ในระบบนะครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
สมควรทำนานแล้วจริงๆ...แต่บางอย่างไม่ควร VAT ด้วยซ้ำ
ช่วยได้เยอะเลยครับ
My Blog