กูเกิลเผยรายละเอียดผ่าน Google Security Blog ถึงการเปลี่ยนโค้ดเฟิร์มแวร์ Android จากของเดิมที่เป็น C/C++ มาเป็น Rust เพื่ออาศัยจุดเด่นเรื่องความปลอดภัยหน่วยความจำ (memory-safe) ที่ระดับภาษา
กูเกิลเริ่มใช้ Rust ใน Android มาตั้งแต่ปี 2021 และ ได้ผลเป็นอย่างดี กรณีนี้ กูเกิลบอกว่าต้องการโชว์ให้เห็นว่าการเปลี่ยนโค้ด C/C++ มาเป็น Rust โดยตรงชนิดใช้แทนกันได้เลย (drop-in replacement) เป็นเรื่องที่สามารถทำได้จริงที่ระดับเฟิร์มแวร์
รายงานอันดับความนิยมของภาษาเขียนโปรแกรมโดย TIOBE ประจำเดือนมิถุนายน 2024 มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดย C++ ได้รับความนิยมสูงกว่า C เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ TIOBE เริ่มมีการจัดอันดับ โดย C++ ขยับมาเป็นอันดับ 2 ที่คะแนน 10.03% ส่วน C ตกไปอยู่อันดับ 3 ที่ 9.23% และอันดับ 1 ยังเป็น Python ที่ 15.39%
TIOBE บอกว่าที่น่าสนใจคือตั้งแต่จัดอันดับมา C ไม่เคยตกมาอยู่ในอันดับที่ 3 เลย เช่นเดียวกับ C++ ซึ่งไม่เคยขึ้นมาสูงถึงอันดับ 2
อันดับอื่นที่น่าสนใจของเดือนมิถุนายนได้แก่ Go ขึ้นมาเป็นอันดับ 7 เป็นครั้งแรก ส่วน Rust ก็ทำสถิติสูงสุดขึ้นมาเป็นอันดับที่ 17
ที่มา: TIOBE
รายงานดัชนีความนิยมภาษาโปรแกรม TIOBE Index ประจำเดือนกรกฎาคม 2023 มีประเด็นที่น่าสนใจ โดยหลังจาก C++ แซง Java มีความนิยมขึ้นมาเป็นอันดับ 3 แทน ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แนวโน้มส่วนแบ่งของ C++ นั้นเข้าใกล้อันดับ 2 ภาษา C มากขึ้น ระยะห่างเหลือเพียง 0.76%
ส่วนอันดับอื่นที่ TIOBE พูดถึง JavaScript ขึ้นมาเป็นอันดับ 6 สูงสุดเท่าที่เคยทำได้ เช่นเดียวกับ Matlab, Scratch และ Rust ขึ้นมาอันดับสูงสุดที่ 10, 12 และ 17 ตามลำดับ ขณะที่ COBOL กลับขึ้นมาในอันดับ 20
อันดับ 1-2-3 ได้แก่ Python (13.42%), C (11.56%) และ C++ (10.80%)
ที่มา: TIOBE
curl ไลบรารีเชื่อมต่อเว็บยอดนิยม เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 1996 พัฒนาด้วยภาษา C ตามมาตรฐาน ANSI C หรือ C89 มาโดยตลอด ไม่ยอมปรับไปใช้มาตรฐานรุ่นใหม่ๆ แม้จะมีการปรับปรุงมาตรฐานมาแล้วหลายครั้ง ล่าสุดทางโครงการเตรียมยอมรับฟีเจอร์ของมาตรฐาน C99 หนึ่งจุด นั่นคือการสร้างตัวแปรแบบ 64 บิตที่ C89 ไม่รองรับโดยตรง
ไมโครซอฟท์มี ส่วนขยาย C/C++ ให้กับ Visual Studio Code มานานแล้ว (และเป็นส่วนขยายยอดนิยมอันดับ 2 ของ VS Code รองจาก Python) ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกเวอร์ชัน 1.0 ของส่วนขยายตัวนี้สักที
ของใหม่ที่สำคัญในเวอร์ชันนี้คือ รองรับการใช้งานบนลินุกซ์สถาปัตยกรรม ARM/ARM64 ทำให้สามารถใช้ VS Code เขียนแอพ C++ บนอุปกรณ์อย่าง Raspberry Pi ได้แล้ว, เพิ่มตัวปรับแต่งคอนฟิก C++ IntelliSense และตั้งค่าฟอร์แมตของโค้ด C++ แบบเดียวกับ Visual Studio ตัวเต็มได้
ดัชนี TIOBE ที่จัดอันดับภาษาเขียนโปรแกรมยอดนิยม ได้รายงานอันดับเดือนสิงหาคม 2016 ออกมา ถึงแม้ 5 อันดับแรกจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง (Java, C, C++, C# และ Python ตามลำดับ) แต่สิ่งที่ TIOBE ให้ข้อสังเกตคือคะแนนความนิยม C อยู่ที่ 11.303% ต่ำที่สุดนับตั้งมีการจัดอันดับ TIOBE นี้ขึ้นเมื่อ 15 ปีที่แล้ว
คำอธิบายของ TIOBE คือปัจจุบันการพัฒนาโปรแกรมนั้นเป็นเว็บหรือแอพบนมือถือมากขึ้น ทำให้ความนิยมของ C ลดลง นอกจากนี้ภาษาอื่นยังมีบริษัทขนาดใหญ่คอยผลักดัน อาทิ Java (ออราเคิล) C++, C#, TypeScript (ไมโครซอฟท์) Java, Python, Go, Dart, JavaScript (กูเกิล) Swift, Objective-C (แอปเปิล) แต่ไม่มีบริษัทใดหนุน C เลยนั่นเอง
ที่มา: TIOBE ผ่าน Business Insider
กลุ่มทำงาน (Working Group) การพัฒนาภาษาโปรแกรมบนมาตรฐาน ISO กลุ่ม WG11 (ภาษา C) และ WG16 (C++) ตกลงกันว่าจะรวมตัวภาษากลับมาเป็นภาษาเดียวกันอีกครั้งในปี 2016
เมื่อข่าวนี้ไปถึงกลุ่มทำงานของภาษาอื่นๆ กลุ่มทำงานที่แสดงความสนใจเข้าร่วมทันทีคือ Objective-C และเมื่อส่งอีเมลภายในออกไปไม่กี่ชั่วโมง ภาษา C# ก็แสดงความสนใจเข้าร่วมกันด้วยเช่นกัน ที่น่าแปลกใจคือ WG4 (COBOL) ระบุว่าสนใจพัฒนาภาษาใหม่นี้ด้วย เพื่อเผยแพร่การตั้งชื่อเป็นตัวอักษรใหญ่ในภาษาใหม่นี้ต่อไป
มีภาษาอื่นๆ ที่สนใจเข้าร่วมแต่ถูกปฎิเสธ ได้แก่ JavaScript, Rust, และ Snobol เนื่องจากไม่มีตัวซีใหญ่ในชื่อภาษา
หลังจากที่กูเกิลออก เครื่องมือแปลงโค้ด Java เป็น Objective-C ในชื่อ J2ObjC ผ่านมาเกือบ 3 ปีก็ได้เวลาของไมโครซอฟท์กันบ้าง
ไมโครซอฟท์ออกเครื่องมือแปลงโค้ด จาก Java เป็น C#, C++ และ Objective C++ (โดยในส่วนของ C++ และ Objective C++ จะมีการรองรับในเร็วๆ นี้) ในชื่อ JUniversal มาพร้อมกับไลบรารี JSimple และสามารถใช้ร่วมกันกับ J2ObjC ในการแปลงเป็น Objective-C ได้
ดัชนีวัดความนิยมของภาษาโปรแกรม TIOBE เผยสถิติเดือนเมษายน ภาษา Objective-C ร่วงลงสู่อันดับ 4 เป็นครั้งแรกที่ตำแหน่งลดลง (ก่อนหน้านี้อันดับพุ่งขึ้นเรื่อยๆ จนมาหยุดที่ อันดับ 3 ) โดน C++ แซงกลับสู่ตำแหน่งเดิมอีกครั้ง
- Read more about ดัชนี TIOBE: ภาษา Objective-C โดน C++ ทวงตำแหน่งคืน
- 13 comments
- Log in or register to post comments
ดัชนี TIOBE ที่พยายามวัดความนิยมของภาษาโปรแกรมออกสถิติเดือนกรกฎาคมพบสิ่งน่าสนใจคือภาษา Objective-C ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอด ได้คะแนนในดัชนีจนแซงหน้าภาษา C++ ไปแล้ว
ภาษา C++ มีความนิยมเป็นอันดับสามรองจากภาษา C และ Java มาตั้งแต่เริ่มวัดดัชนี TIOBE ช่วงกลางปี 2001 แต่ความนิยมตามดัชนีก็ตกลงมาเรื่อยๆ อย่างช้าๆ เช่นเดียวกับภาษา Java ที่มีแนวโน้มได้รับความนิยมลดลงเช่นเดียวกัน
น่าสนใจว่าขณะที่ภาษา Objective-C นั้นได้รับความนิยมเพราะการเติบโตของ iOS เป็นหลัก การเติบโตของแอนดรอยด์ที่ใช้ Java เป็นแกนกลางกลับไม่สามารถดันความนิยมให้กลับขึ้นมาตามดัชนีนี้ได้
ที่มา - TIOBE
TIOBE เป็นดัชนีวัดอันดับความนิยมของภาษาโปรแกรมผ่านทาง search engine ต่างๆ ซึ่งเดือนเมษายนก็มีอันดับที่น่าสนใจดังนี้ครับ
- Read more about TIOBE: C กลับสู่อันดับ 1, Objective-C ใกล้ได้ที่ 3
- 39 comments
- Log in or register to post comments
ต่อเนื่องจากข่าวเมื่อเดือนสิงหาคม มาตรฐาน C++0x ผ่านการโหวตเป็นทางการ, เปลี่ยนชื่อเป็นมาตรฐาน C++11
- Read more about ISO ประกาศข่าว C++11 อย่างเป็นทางการ
- 18 comments
- Log in or register to post comments
รายงานข่าวจากหลายสื่อวันนี้ระบุว่า Dennis Ritchie ผู้สร้างภาษา C ปูชนียบุคคลอีกหนึ่งคนในวงการคอมพิวเตอร์ ได้เสียชีวิตลงแล้วเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากต่อสู้กับอาการป่วยมาเป็นเวลานาน (แหล่งข่าวไม่ได้ระบุว่าป่วยเป็นอะไร)
ผลงานของ Dennis Ritchie มีมากมาย ที่เรารู้จักกันดีก็ในฐานะผู้สร้างภาษา C และสร้างระบบปฏิบัติการ UNIX ร่วมกับ Ken Thompson
ทุกวันนี้ระบบคอมพิวเตอร์รอบตัวเราแทบทุกอย่างล้วนแต่สร้างขึ้นจาก C หรือ UNIX อย่างใดอย่างหนึ่ง โลกคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้อาจจะไม่ได้มีโฉมหน้าแบบนี้ ถ้าหากไม่มีผลงานของ Dennis Ritchie ครับ
- Read more about Dennis Ritchie ผู้สร้างภาษา C เสียชีวิตแล้ว
- 93 comments
- Log in or register to post comments
หลัง มาตรฐาน C++0x ผ่านร่างสุดท้าย การโหวตรอบจริงก็ไม่มีปัญหาอะไรเมื่อคณะกรรมการโหวตด้วยมติเอกฉันท์ให้รับมาตรฐานนี้เข้าเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:2011 หรือมาตรฐาน C++ ปรับปรุงครั้งที่สาม และได้ชื่อใหม่เป็น C++11 ตามปีที่ออกมาตรฐานสำเร็จ
หลังจากผ่านมาตรฐานแล้ว สิ่งที่เราต้่องรอกันต่อไปคือคอมไพลเลอร์ต่างๆ จะต้องปรับปรุงความสามารถในรองรับกันจนครบถ้วน ซึ่งคอมไพล์เลอร์หลักๆ เช่น gcc หรือ Visual Studio จะรองรับความสามารถบางส่วนไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็ยังต้องรออีกสักพักกว่าจะครบถ้วนกันจริงๆ (ดู ตารางเทียบการรองรับ )